หน้า 30ท่านไม่ต้องตกใจ ขอให้ค่อยๆถอนออกจากการฝึกสมาธิแล้วนอนราบกับพื้นทำใจให้สบาย ปล่อยให้เลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองสักครู่ นอนนานประมาณ 5 นาที ร่างกายก็จะหายเป็นปรกติ
วิธีการถอนออกจากการปฏิบัติจิตทุกครั้ง
ขอให้ค่อยๆ คลายออกจากสมาธิ ด้วยการหายใจตามปรกติช้าๆ 10 ครั้ง แล้วถอนหายใจลึกๆ ช้าๆ ตามแบบการฝึกลมปราณ (หน้า 79 ) สัก 10 ครั้ง ให้โล่งอก และตื่นจากภวังค์แล้วค่อยๆขยับร่างกายให้เคลื่อนไหวเล็กน้อย ถอนฝ่ามือที่ซ้อนกันอยู่นั้นออกแล้วมาวางบนหัวเข่า ลืมตาขึ้นเล็กน้อย มองลาดต่ำใกล้ตัวใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึง เบาๆ ช้าๆ ที่ตาสักครู่แล้วจึงลืมตาขึ้นเต็มที่ และถูฝ่ามืออีกครั้งจนร้อนแล้วนวดคลึงตั้งแต่ขมับ ท้ายทอยลงมาต้นคอ ไหล่ แขน หน้าอก หน้าท้อง เอว หลัง ต้นขา แล้วจึงค่อยๆยืดขาออกกระดิกปลายเท้าให้ยืดออกพักหนึ่งจนรู้สึกหายจากอาการชาแข็งกระด้าง
หน้า31ปรับเช่นนี้ จนจิตใจและร่างกายคืนสู่สภาพปรกติ รับรู้สิ่งแวดล้อมเต็มที่แล้วจึงลุกขึ้นจากที่นั่ง
แม้จะมีคนรีบด่วนมาเรียก ก็ขอให้ท่านใจเย็นๆ ค่อยๆ ขานรับ ค่อยๆ คลายออกจากสมาธิเพื่อให้พ้นจากการสะดุ้งหวาดกลัว อันเป็นเหตุให้สะเทือนกายทิพย์
เมื่อถอนออกจากการปฏิบัติสมาธิแล้ว ไม่ให้รีบถอดเสื้อผึ่งลมหรือรีบไปล้างหน้าอาบน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหวัด เพราะขณะที่นั่งฝึกสมาธิจนจิตสงบธาตุทั้ง4 เสมออยู่นั้น ต่อมเหงื่อและรูขุมขนทั่วร่างกายจะเปิดกว้างกว่าปรกติเพื่อขับเหงื่อ เมื่อออกจากสมาธิแล้ว เช็คเหงื่อให้แห้งและรอจนกว่า ร่างกาย ปรับอุณหภูมิให้เสมอกับอากาศแวดล้อมก่อน จึงควรจะไปล้างหน้าอาบน้ำได้
9) เดินจงกรมหลังจากฝึกปฏิบัติสมาธิแล้วทุกครั้ง ขอให้ท่านเดินจงกรมอย่างน้อย 15 นาที เพื่อ
__________________
หน้า32
เป็นการบริหารร่างกายให้เลือดลมที่คั่ง ค้างตาม เอ็นตามข้อเดินสะดวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งขาจะได้ไม่เสียสุขภาพด้วย
10) บูชาและน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย ตามบทสวดมนต์ข้างต้น
( หน้า 12 ) เพื่อส่งเสริมเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติสมาธิเกิดความเลื่อมใสศรัทธาบารมีพระรัตนตรัยที่ภาวนาเป็นการสนับสนุนเสริมพื้นฐานของจิตไม่ให้หดหู่ เกิดความหนักแน่น กล้าหาญ เข้มแข็ง สงบ พร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกปฏิบัติจิตต่อไป
และอธิษฐานตามบทก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิ
หน้า33คำเตือนขณะปฏิบัติสมาธิ
เพื่อไม่ให้ตกใจขณะปฏิบัติสมาธิ จะต้องพยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตกใจจนเกิดความกลัว ถ้าเกิดตกใจจากเหตุใดๆก็ตาม ห้ามลุกขึ้นจากที่นั่งอย่างเด็ดขาด
ถ้านั่งหลับตาอยู่พบเห็นเป็นนามธรรมคือ พวกวิญญาณแล้ว ให้ตั้งจิตถามไปว่าท่านเป็นใคร มาจากไหน ต้องการอะไร ถ้าวิญญาณนั้นมาดี ก็จะได้รับคำตอบ ถ้าวิญญาณนั้นมาร้ายคือมาเป็นมารผจญหรือว่าเป็นภาพอุปาทานที่ลวงตา หรือว่าเสียงอุปาทานที่ลวงหูจากความคิดจิตใต้สำนึก หรือว่านิมิตที่น่าหวาดกลัวตื่นเต้น ขอให้ท่านวางจิตใจให้นิ่งๆ ระลึกถึงพระรัตนตรัยครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำใจดีสู้เสือ และอุทิศกุศลให้อโหสิกรรม แล้ววิญญาณหรือรูปเหล่านั้นก็จะหายไปในที่สุด
__________________
หน้า34แต่ถ้าเป็นการตกใจเพราะเหตุอื่น เช่นเสียงดังหรือจิตใจตกภวังค์ สะดุ้งทำให้ตกใจ ให้ค่อยๆลืมตาขึ้น เมื่อพบว่าเหตุนั้นแม้จะถึงขั้นคอขาดบาดตายก็ต้องทำจิตใจให้สบายก่อนแล้วค่อยลุกจากที่ได้
การปรับจิตหลังภาวะตกใจ ในสภาวะที่จิตใจสงบอยู่ในสมาธิที่นิ่งนั้น ทะเลแห่งความนึกคิดของเรานั้น จะนิ่งเรียบเงียบสงัด ผิวน้ำเรียบเสมอตกอยู่ในภวังค์แห่งความว่างเปล่า
เพียงสะดุ้งหวาดกลัวจากเหตุใดก็ตาม เสียงดังที่แทรกขึ้นในท่ามกลางความเงียบนั้น จะทำให้ตกใจเหมือนใครเอาก้อนหินปาลงในน้ำอันนิ่งเงียบนั้น หินยิ่งก้อนใหญ่ เสียงยิ่งดัง ยิ่งจะทำให้ผิวน้ำแตกกระจายกระเซ็นแผ่ซ่านเป็นวงคลื่นออกเป็นระลอกๆ มากขึ้น จากศูนย์กลางที่หินปาลงไป และจะสงบลงอีกครั้งด้วยการปรับจิตให้สงบคืนสู่สภาพปรกติ ผิวน้ำทะเล แห่งความคิดของเราก็คืนสู่สภาพเรียบเงียบอีกครั้ง และเมื่อเราตกใจในระหว่างฝึกสมาธินั้น หัวใจจะเต้นแรงผิดปรกติ และปวดเสียวเป็นระยะๆ หน้าจะซีด นิ้วหัวแม่มือ
หน้า35ที่จรดชนกันนั้น พอเกิดการตกใจก็จะถูกสลัดออก ขอให้กดจรดชนกันใหม่ และค่อยๆหลับตาลง ถอนหายใจลึกๆ ช้าๆ ประมาณ 5 ครั้ง แล้วเริ่มต้นตั้งจิตใจส่งไปที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วใหม่ หายใจเข้าว่า พุท หายใจออกว่า โธ ปฏิบัติเช่นนี้อยู่ประมาณ 15 นาที หรือนานกว่านี้ จนหัวใจที่เต้นแรงผิดปรกตินั้นคืนเข้าสู่ภาวะปกติ ความกลัวก็หายไป แล้วจึงค่อยๆคลายออกจากการฝึกสมาธิได้
ภาวะตกใจ เรียกว่า กายทิพย์สะเทือน
ภาวะตกใจแล้วลุกขึ้นวิ่งหนีจากที่นั่ง เรียกว่า กายทิพย์ถูกสะเทือนถึงขั้นแตกกระจาย
ภาวะปรับจิตให้หายตกใจ เพื่อรักษากายทิพย์สะเทือน เรียกว่า ปรับธาตุของกายทิพย์ที่สั่นสะเทือนนั้นให้นิ่งและคืนสู่สภาพปรกติ
อย่าลืมหลักการปรับจิตหลังภาวะตกใจนี้ มีความสำคัญต่อผู้ที่จะฝึกจิตมาก เพราะหลักการนี้ จะทำให้ท่านพ้นจากการเสียสติเพราะนั่งสมาธิ
__________________
หน้า36อาการของคนที่ป่วยเพราะกายทิพย์สะเทือน
1 ) คนที่ป่วยชนิดเบาๆ คือหลังตกใจแล้ว ไม่ได้สมานกายทิพย์ จะมีอาการเบื่อหน่ายชีวิต เมื่อยๆ ชาๆ ไม่ค่อยมีจิตใจจะทำงาน และพอตกบ่ายก็จะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน มึนศีรษะ ปวดหัวเล็กน้อยจนปวดหัวมาก
วิธีรักษา
พยายามหาเวลานั่งสมาธิให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนบ่ายที่ง่วงนอนไม่ควรไปนอน แต่ไปนั่งฝึกสมาธิปฏิบัติเช่นนี้ 7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ
2) คนที่ป่วยอาการหนัก อาการของคนที่ป่วยหนักนี้ คือ หลังตกใจแล้ว กายทิพย์ที่ถูกสะเทือนจนแตกกระจาย จะมีอาการควบคุมสติไม่อยู่ เช่น จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเหม่อลอย หรือพูดจาไม่สมประกอบ บางขณะไร้สติอย่างที่เรียกว่า คนบ้านั้นเอง
หน้า37วิธีรักษาขั้นต้น
การพอกกายทิพย์เพื่อรักษากายทิพย์ที่ถูกสะเทือน ถึงขั้นแตกกระจาย เป็นวิธีรวมจิตที่แตกแยกกระจายให้สมานคืนรูปเดิม
หาพี่เลี้ยงใจเย็นๆ มีมหาเมตตา พูดจาดีๆ มาช่วยควบคุมให้เขาปฏิบัติสมาธิจิตเริ่มต้นใหม่ด้วย การเพ่งพระพุทธรูปเป็นนิมิตดังนี้คือ
หาห้องสะอาดปราศจากความรุงรัง ที่ฝาห้องติดผ้าขาวหรือกระดาษขาว และตั้งพระพุทธรูปองค์ไม่ใหญ่นัก ประมาณหน้าตัก 5 นิ้วก็พอ ตั้งสูงประมาณพอดี กับระดับสายตาของผู้ที่จะปฏิบัติฝึกสมาธิจิต แล้วแนะนำคนไข้นั่งในท่าสมาธิ ( ตามบทในการนั่งสมาธิ ) ห่างจากองค์พระพุทธรูปพอสมควร แล้วให้คนไข้เพ่งไปที่พระพุทธรูปนั้นจนจำภาพได้ และให้ปิดหนังตาลง พยายามให้นึกเห็นภาพ พระพุทธรูป นั้นอีกจนกว่าภาพพระจะชัดเป็นรูปสมบูรณ์แต่พอภาพหายไปให้ลืมตาใหม่
__________________
หน้า38เพ่งแล้วหลับตาอีก ปฏิบัติหมุนเวียนเช่นนี้จนกว่าหลับตาเห็นพระพุทธรูป
สำหรับคนไข้ที่ไม่มีสติของตัวเองเลยนั้น ขอให้เขานั่งอยู่กับที่เพ่งองค์พระพุทธรูปไปเรื่อยๆ เมื่อยก็พักสายตาแล้วก็เพ่งไปอีก จนกว่าจะจำภาพได้
จากการที่หลับ ตาแล้วจำภาพพระพุทธรูปได้นั้น เรียกว่า เริ่มมีสติรู้สึกตัว ควบคุมตัวเองได้แล้ว เป็นการรักษาขั้นต้น
จากนั้นให้ฝึกด้วยวิธีพอกกายทิพย์
หน้า39วิธีรักษาขั้นสูง
การพอกกายทิพย์ให้สมบูรณ์ เมื่อการรักษาขั้นต้นนั้นจะมีความรู้สึกว่า " หลับตาจำพระพุทธรูปได้ " แต่พระพุทธรูปนั้นจะยังเลือนลางลอยอยู่เบื้องหน้าแล้วเราก็ค่อยๆ ส่งความรู้สึกนึกคิดเพ่งส่งเข้าไปที่พระพุทธรูปเหมือนเก็บรวบรวมเอาสรรพความคิด สรรพกำลังในร่างกายรวมตัวเป็นธนูพลัง ยิงออกจากคันธนูคือ ร่างกายเราไปที่เป้า คือพระพุทธรูป ฝึกเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าภาพพระพุทธรูปจะค่อยๆชัดขึ้นจนเห็นทุกสัดส่วนชัดเหมือนเห็นด้วยการลืมตา เพ่งต่อไปอีก
__________________
หน้า40พระพุทธรูปจะค่อยๆเปล่งแสงสว่างจนเป็นวงกลมล้อมรอบพระพุทธรูปที่เราเรียกกันว่าดวงจิตหรือดวงแก้ว แรกๆตรงกลางดวงแก้วยังมีพระพุทธรูปอยู่ เมื่อฝึกขึ้นไปอีกชั้น พระพุทธรูปจะหายไป คงเหลือแต่ดวงแก้วหรือดวงจิตอย่างเดียว และเมื่อเพ่งไปอีก ดวงแก้วนั้นก็จะกลมและสว่างจนเรารู้สึกเกิดความปีติสงบสุข
นั่นละ ท่านหายเป็นปกติแล้ว
ระหว่างฝึกนั้นให้หลับตาตลอด แต่ถ้าภาพพระพุทธรูปจับไม่อยู่หายไป ก็ลืมตาขึ้นมาเพ่งจับภาพพระพุทธรูปใหม่อีกครั้งแล้วดำเนินตามวิธีข้างต้นอีก
( หมายเหตุ การฝึกนี้จะต้องไม่เกร็งบีบประสาท ถ้ามีอาการมึนชาหรือปวดขมับให้ดูวิธีการคลายความตรึงเครียดในบทที่3 )
วิธีการพอกกายทิพย์ให้สมบูรณ์นี้ ก็คือการดึงเก็บรวบรวมเอามวลสาร ของอะตอมในโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนละอียดที่สุดของส่วนประกอบดวงจิตที่เหมือนดวงแก้วที่แตกกระจายออกไปนั้นมารวมตัวสมานกันอีก ครั้งพระพุทธรูปที่เราเพ่งนั้นเป็นนิมิตหรือศูนย์กลางของ
หน้า41การเพ่ง เมื่อการเพ่งจับนิมิตจน จิตรวมเป็นหนึ่งก็จะเกิดอำนาจดึงดูด เหมือนแม่เหล็ก ยิ่งส่งความนึกคิดเข้าไปในองค์พระพุทธรูปมากเท่าใดแล้วเหมือนเสริมพลังให้กับแม่เหล็ก อำนาจแม่เหล็กที่ศูนย์กลาง คือ พระพุทธรูปจะยิ่งเพิ่มพลังดึงดูดมากขึ้น จึงเกิดกำลังทวีคูณ ดึงดูด เก็บรวบรวมชิ้นส่วนอันละเอียดของดวงจิต ( ดวงแก้ว)ที่แตกซ่านกระจายนั้นรวมตัวเข้าเป็นวงกลม (ดวงแก้ว) ที่สมบูรณ์ (ใหม่ๆดวงแก้วอาจจะไม่ค่อยสว่างและไม่ค่อยกลมด้วย)
สุดท้าย อำนาจดึงดูดสูงยิ่งขึ้นๆ เศษส่วนต่างๆของดวงแก้วก็จะติดแน่นสมานจนไม่มีรอยตำหนิ
__________________