ภูมิแพ้.......ใครๆก็ไม่อยากเป็น.........
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 08:28:31 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภูมิแพ้.......ใครๆก็ไม่อยากเป็น.........  (อ่าน 4026 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 28, 2007, 11:03:02 pm »

"ภูมิแพ้" โรคที่เอาชนะได้ 
 

ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ นำประสบการณ์จริงในชีวิตที่ภรรยาและลูกสาวคนโตต้องทุกข์ทรมานกับโรคภูมิแพ้มาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่สุดท้ายทุกอย่างก็ดีขึ้น และคุณหมอค้นพบคำตอบว่า "ภูมิแพ้ เป็นโรคที่เอาชนะได้" ติดตามเรื่องราวและคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกป่วยด้วยโรคนี้ใน.... ดวงใจพ่อแม่ Special ฉบับนี้ค่ะ

ขณะที่หลายครอบครัวพ่อแม่นอนหลับฝันดี พร้อมลูกน้อยนอนหลับสบายอยู่เคียงกาย กลับมีพ่อแม่อีกหลายคู่ต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะเสียงไอติดๆ กันของลูก และไม่สามารถหลับตาลงได้อีก เมื่อพบว่าลูกมีอาการหอบจนตัวโยน หายใจดังวี้ดๆ มือเท้าเกร็ง ราวกับจะสิ้นแรงสิ้นลมหายใจเสียให้ได้ ความทรมานที่ลูกกำลังได้รับจาก "โรคภูมิแพ้" คือความทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงของผู้ให้กำเนิด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตระหนก เมื่อพบว่าเด็กไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้นี้เพิ่มขึ้น

ตามการรับรู้ของคนทั่วไป โรคภูมิแพ้อาจดูไม่น่ากลัวเมื่อเทียบกับโรคเด็กชนิดอื่นๆ เพราะมีสถิติการเสียชีวิตต่ำ และคิดว่าการพาลูกไปหาหมอ และรับยามากิน จะช่วยประทังชีวิตของลูกให้เติบโตต่อไปได้

แต่ในความเป็นจริง โรคนี้บั่นทอนทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่เมื่อโรคกำเริบขึ้นมาคราใด ก็ทรมานกันทั้งคนป่วยและคนใกล้ชิด

และเด็กเหล่านี้ต้องป่วยบ่อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับเชื้อโรค ต้องขาดเรียน ไม่กล้าออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ทำให้เด็กขาดความมั่นใจที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติสุข อีกทั้งพ่อแม่ยังต้องหยุดงานบ่อยเพื่อมาดูแลลูก ต้องสูญเสียรายได้ของครอบครัวแบบน้ำซึมบ่อทราย

เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่า ภูมิแพ้เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่พอจะมีหนทางบ้างหรือไม่ ที่คนเป็นพ่อเป็นแม่จะช่วยพาลูกออกจากชะตากรรมนี้ได้ ที่สำคัญยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญกับภูมิแพ้ โดยที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น...

ผศ. นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อาจารย์หน่วยโรคภูมิแพ้ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกรรมการบริหารสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมโมโนวิทยาแห่งประเทศไทย อธิบายถึงหลักการทำงานของภูมิต้านทานในร่างกายว่า ตามปกติร่างกายของเราทุกคนจะมีภูมิต้านทานอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุจมูก เยื่อบุหลอดลม ทางเดินอาหาร ลำไส้ คอยทำหน้าที่เหมือนทหารเฝ้าประเทศ คอยตรวจหาเชื้อโรคชนิดที่เป็นศัตรูกับร่างกาย

หากเจอสิ่งแปลกปลอม ภูมิต้านทานจะสั่งให้ร่างกายหลีกเลี่ยง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็จะขับไล่ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีพร้อมกัน เช่น

การจาม แรงลมจากการ"ฮัดเช้ย" นี้มีความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยขับเชื้อโรคออกมา

น้ำมูกไหล ช่วยชะล้างเชื้อโรคออกไปจากร่างกายวิธีหนึ่ง

อาการคันและระคายเคือง เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้เจ้าของร่างกาย ใช้มือขยี้หรือแคะเอาเชื้อโรคออก

อาการคัดจมูก เกิดจากเยื่อบุจมูกค่อยๆ บวมจนปิดรูจมูก เพื่อปิดประตูกั้นไม่ให้เชื้อโรคเข้ามา จึงทำให้เราพลอยหายใจไม่ออกไปด้วย

ภูมิแพ้คืออะไร

ภูมิต้านทานของร่างกายก็เหมือนคนเราที่ต้องทำหน้าที่ของตัวเอง หากละเลยหรือไม่สามารถทำตามหน้าที่ได้ ย่อมส่งผลร้ายตามมา และผู้ที่รับผลร้ายจากการไม่ทำตามหน้าที่ของภูมิต้านทานก็คือ ร่างกายของเรานั่นเอง

หากภูมิต้านทานขี้เกียจ มองไม่เห็นเชื้อโรคและยอมปล่อยให้เข้ามา โดยไม่ขับไล่หรือทำลาย เราเรียกว่า "โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์********

แต่ "โรคภูมิแพ้" กลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงคือ ภูมิต้านทานจะขยันทำหน้าที่ขับไล่เชื้อโรค และสิ่งที่ไม่ใช่เชื้อโรค จนเกิดผลเสียกับร่างกาย เพราะการทำงานขับไล่เชื้อโรคแต่ละครั้ง จะทำให้เราเกิดอาการไม่สบายตามมาเช่น เป็นไข้ เจ็บคอ คัดจมูก

นอกจากนี้ คนที่เป็นภูมิแพ้มักมีแนวโน้มที่จะเป็นกับอวัยวะหลายๆ ส่วนในคนคนเดียวกัน โดยมีอาการเด่นและอาการรอง ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนของอีกหลายโรคตามมา เช่น ถ้าเป็นภูมิแพ้ของจมูก ทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ แพ้อากาศ มักจะมีภูมิแพ้ของเยื่อบุตาและไซนัสแทรกซ้อน ส่วนคนที่เป็นภูมิแพ้หลอดลม จะมีอาการหอบหรือที่เรียกกันว่าหอบหืดร่วมด้วย

เอสแอลอี ใช่ภูมิแพ้หรือไม่

พ่อแม่บางคนคิดว่าโรคเอสแอลอี (โรคที่ทำให้คุณพุ่มพวง ดวงจันทร์เสียชีวิต) คือโรคเดียวกับภูมิแพ้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้น คุณหมอเฉลิมชัยได้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ว่า

" ภูมิแพ้ ในความหมายของภาษาไทยจะระบุชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นกรณีภูมิคุ้มกันของร่างกายขยันทำงานเกินไป ส่วนภาษาอังกฤษโรคภูมิแพ้ใช้คำว่า Hyper Sensitivity หมายถึงภูมิคุ้มกันไวต่อสิ่งแปลกปลอมเกินไป ซึ่งสามารถแยกเป็นสองแบบคือ 1. ไวต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้ามาในร่างกาย หรือเรียกว่าโรคภูมิแพ้ในภาษาไทย 2. ไวกับอวัยวะหรือสิ่งแวดล้อมในร่างกายเราเอง เรียกว่าเอสแอลอี

ตามปกติภูมิต้านทานจะตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมนอกร่างกายและอวัยวะในร่างกาย แต่คนเป็นเอสแอลอี ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่ายก็เหมือนกับภูมิต้านทานจะงง จำอวัยวะในร่างกายตัวเองไม่ได้ คิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงขับไล่และทำลายจนเกิดการอักเสบ ซึ่งอวัยวะที่เกิดการอักเสบบ่อยได้แก่ ผิวหนัง ไต ระบบเลือด และระบบประสาท

กรณีนี้พ่อแม่บางคนเข้าใจผิด จึงกังวลว่าลูกตัวเองซึ่งเป็นภูมิแพ้ที่จมูก หอบหืด หรือลมพิษ จะมีโอกาสพัฒนาไปเป็นเอสแอลอีได้ ผมไม่อยากให้เรียกโรคเอสแอลอี ว่าโรคภูมิแพ้นะครับ เพราะถ้าเข้าใจสับสน จะเกิดปัญหาเรื่องการดูแลรักษาและดูแลตัวเองตามมา "
ภูมิแพ้ในเด็กไทย

เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น โดยเฉพาะภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ เนื่องมาจากมลพิษในอากาศ มีผลโดยตรงกับการหายใจของคนเรา ยิ่งไปกว่านั้นเด็กในขวบปีแรกก็เป็นภูมิแพ้กันมากขึ้นเช่นกัน

" มีการสำรวจเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ประมาณปี 2523 มีเด็กเป็นภูมิแพ้ของจมูกร้อยละ 20 และหอบหืดร้อยละ 4 อีก 10 ปีต่อมา มีการสำรวจ พบว่ามีเด็กเป็นภูมิแพ้ของจมูกร้อยละ 40 หอบหืดร้อยละ 13 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเยอะมาก และประเทศอื่นๆ ในโลกก็มีแนวโน้มแบบนี้เช่นกัน ทั้งในยุโรป ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ เอชีย อเมริกา และแคนาดา

จากประสบการณ์การเป็นหมอ ผมพบว่า เด็กช่วงขวบปีแรกมักจะป็นหอบหืดจากภูมิแพ้ของจมูก การแพ้นมวัวทำให้เกิดภูมิแพ้ที่ผิวหนังและทางเดินอาหาร ส่วนอาการจามมักจะเจอในเด็กอายุ 4 ขวบไปแล้ว เพราะเด็กเริ่มออกไปเจอสิ่งแวดล้อมนอกบ้านมากขึ้น "

จากคอลัมน์ รอบรู้เรื่องตั้งครรภ์ 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!