ช่างไทย นั่งเถึยงกัน เตาะๆ แตะๆ เพราะ..
-ไม่มีทุน(เพราะส่วนใหญ่เกิดมาไม่ได้คาบเงินมาด้วย ..)ข้อนี้รัฐสามารถเข้ามาสนับสนุนได้ ,
-ไม่มีเวลาทดลองวิจัย(ต้องเอาเวลามาทำมาหากินเลี้ยงชีพไปวันๆให้รอดได้ก็เก่งแล้ว)..,
-สุดท้ายเป็นเพราะต้องเรียนมาตรงสายงานด้วย(เช่นจะค้นคว้าเรื่องเเบตเตอรี่ ต้องเรียนด้านเคมีมาแน่นๆๆๆ ..จะมีช่างอิเล็คฯกี่คนที่เรียนเคมี มาครับ)
ดูเมืองนอกเขาทำถึงขั้นนี้กันแล้วครับ... "สงครามแบตเตอรี่ รถยนต์" แบตเตอรี่ ที่สามารถชาร์ตใหม่ได้ จะมีหลายรูปแบบ เช่น แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด, นิเกิล-แคดเมี่ยม, นิเกิล-เมทัลไฮดราย, ลิเทียม-ไอออน, ลิเทียม-โพลิเมอร์ ,
แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง คือ ลิเทียม-ไอออน, ลิเทียม-โพลิเมอร์ ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือปัจจุบัน
ในขณะที่ รถยนต์ไฮบริดที่ขายอยู่ในไทย ยังใช้แบตเตอรี่คุณภาพต่ำอย่าง นิเกิล-แคดเมี่ยม ในโตโยต้า และ, นิเกิล-เมทัลไฮดราย ในฮอนด้า
แต่น่าสนใจที่สุดในขณะนี้ รถยนต์ไฟฟ้า เทสล่า ใช้แบตเตอรี่ ลิเทียม-ไอออน ซึ่งมีประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานสูง โดยรับประกันแบตเตอรี่ 8 ปี ไม่จำกัดระยะทาง !!
แล้วเทคโนโลยี่ใหม่ๆละ มีการแข่งขันเรื่อง ระยะเวลาการประจุไฟฟ้าใหม่ให้กับแบตเตอรี่ เช่น
-แบตเตอรี่ ไททาเนียม ไดออกไซด์ เจล ของ มหาวิทยาลัย นานยางสิงคไปร์ ชาร์ตไฟฟ้าได้ 70 % ใน 2 นาที ;
-แบตเตอรี่ อลูมิเนียม-ไอออน ของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ท แคลิฟอเนีย สามารถประจุไฟได้ถึง 80 % ของความจุ ใน 1 นาที !! : ยังมี เทคโนโลยี่ โพแตสเซียม ไอออน ที่สามารถชาร์ตประจุไฟใหม่ได้นับล้านครั้ง !!?? (ใช้กัน 10 ชั่วโคตร)
แต่ทั้งนี้ -ต้นทุนการผลิต ความจุต่อน้ำหนัก ความปลอดภัย ความทนทาน ก็เป็นปัจจัยสำคัญ หากพิจารณาจาก เวปไซท์ ของเทสล่าแล้ว
แบตเตอรี่ที่ เทสล่า จะใช้ในอนาคต เป็นเทคโนโลยี่ของ ม.นานยาง สิงคโปร์ ชาร์ทไฟให้รถวิ่งได้ 400 กิโล ใน 5 นาที และมีต้นทุนต่ำ ความปลอดภัยสูง อายุการใช้งาน ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
อนาคต เชื้อเพลิงฟอสซิล จะหมดความสำคัญ เมื่อพลังงานไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ ผลิตขึ้นมาได้ ในราคาถูก และสามารถเก็บไว้ได้ เทคโนโลยี่ปัจจุบัน เป็นไปได้แม้กระทั่ง การทำ โซล่าฟาร์ม ในอวกาศ แล้วส่งพลังงาน กลับโลกผ่านเลเซอร์
ขอบคุณข้อมูลจาก เพื่อนร่วมรุ่น อิเล็คฯตีนดอยเชียงใหม่