ชวนเพื่อนๆมาคิดประดิษฐ์อุปกรณ์-วิธีทดแทนพลังงานน้ำมัน...
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 21, 2024, 03:41:58 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนเพื่อนๆมาคิดประดิษฐ์อุปกรณ์-วิธีทดแทนพลังงานน้ำมัน...  (อ่าน 34495 ครั้ง)
bakanus005
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


อีเมล์
« ตอบ #29 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2009, 07:53:57 pm »

ไปเจอมาครับ

พลังงานไฟฟ้าจากกล้วย
   
     

 

หาก มีการจัดอันดับประโยชน์ใช้สอยของต้นไม้ทั้งหมดของโลกใบนี้ ผมเชื่อมั่นเลยนะครับว่า ต้นกล้วยนั้นจะต้องได้ที่หนึ่งแน่ๆ เพราะทุกส่วนของต้นไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้นานับประการเลยทีเดียว และต้นกล้วยก็เป็นต้นไม้ที่ผูกพันกับคนไทยมาตั้งแต่เกิดจนตายเลยทีเดียว
   
     

 

แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ต้นกล้วยนั้นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้ครับ  โดยนักเรียนของคุณครูรมิดา ชาญประโคน ซึ่ง เป็นคุณครูระดับมัธยมโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร จังหวัดบุรีรัมย์  ได้ค้นพบระหว่างต้องเตรียมวัสดุทดลองสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน  และมีการส่งเข้าไปประกวดสิ่งประดิษฐ์หรือวิจัย ก็ปรากฎว่าได้รับรางวัลมา แต่ยังไม่ใครเอาไปพัฒนาต่อยอดในเป็นเชิงพาณิชย์ แต่ก็ได้ข่าวเหมือนกันว่าประเทศออสเตรเลียนั้นมีการทำโครงการพลังงานจากต้น กล้วยเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว
   
     

 

ที่มาของการประดิษฐ์คิดค้น
   
     

 

การ ที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพได้นั้น นอกจากครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดให้กับผู้เรียนแล้ว สื่อการสอนก็มีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียน รู้ได้เร็วขึ้น การสร้างสรรค์สื่อการสอนที่แปลกใหม่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้มาก ยิ่งขึ้น การผลิตสื่อการสอนควรจะคำนึงถึงประโยชน์ ความประหยัด และควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งจากกรณีที่ผู้ประดิษฐ์ได้สัมผัสอยู่กับธรรมชาติในชุมชนที่ทำการเกษตรได้ สังเกตเห็นว่าพืชพรรณบางประเภท หลังจากเก็บผลผลิตไปแล้วต้นที่เหลือก็จะถูกทิ้งไปโดยใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้ม ค่า ยกตัวอย่างเช่น ต้นกล้วย ซึ่งผู้ประดิษฐ์คิดว่าน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่านี้ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ผู้ประดิษฐ์ได้เล็งเห็น คือผลผลิตจากกล้วยจะมีรสฝาดซึ่งเป็นคุณสมบัติของสารประเภทด่าง ซึ่งอาจนำไฟฟ้าได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าสมบัติดังกล่าว และจากการทดลองต่อมาพบว่า ทุกส่วนของต้นกล้วยตลอดจนของเหลวที่ได้จากต้นกล้วย สามารถใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ได้ ดังนั้นจากความรู้ที่ค้นพบจึงได้นำมาถ่ายทอดให้กับผู้เรียน และจัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ง่ายต่อการนำไปใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ยังได้นำของเหลวที่สกัดได้จากต้นกล้วย มาเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในแบตเตอรรี่ที่ได้จำลองขึ้น ไปเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ไฟขนาด 1.5 โวลต์ เช่น นาฬิกา เกมกด เครื่องเสียงขนาดย่อม (ของเด็กเล่น) ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
 
   
     

 

ระยะเวลาในการประดิษฐ์คิดค้น
   
     

 

การ พัฒนาดังกล่าวเริ่มต้นจากการค้นพบสารอิเล็กโทรไลต์ที่ได้จากต้นกล้วยจนถึง การนำไปใช้ในแบตเตอรี่จำลองคิดเป็นระยะเวลาในการประดิษฐ์คิดค้นประมาณ 5 ปี
   
     

 
คุณสมบัติและลักษณะเด่น
   
     

 

จาก การศึกษาสมบัติทั่วไปของสารละลาย กรด-เบส พบว่าสารละลาย กรด-เบส มีสมบัติบางประการที่คล้ายกัน และบางประการที่แตกต่างกัน สมบัติที่คล้ายกันประการหนึ่งที่พบคือ การนำไฟฟ้าได้  หรือเป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์นั่นเอง สารละลายอิเล็กโตรไลต์ที่ใช้ส่วนมากเป็นสารเคมีซึ่งเป็นกรดอนินทรีย์ สมบัติทั่วไปคือมีรสเปรี้ยวและมีฤทธิ์กัดกร่อนจึงเป็นอันตรายต่อชีวิตและ ร่างกาย รวมถึงยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สารที่มีสมบัติดังกล่าวที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก คือสารละลายกรดซัลฟิวริก (H2SO4) ซึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือใช้ในแบตเตอรี่ แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้สารละลายที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กรดแอซิติก กรดมะนาว ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์มาใช้เป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์ได้  แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากราคาค่อนข้างแพงและเสียง่าย คณะผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดที่จะหาสารที่มีอยู่ในธรรมชาติซึ่งมีสมบัติเป็น สารอิเล็กโทรไลต์ มาใช้ทดแทนสารดังกล่าว โดยของเหลวที่ได้มาจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีอยู่มากมายรวมถึงจะต้องสามารถให้ของเหลวได้ในปริมาณที่มากพอ รวมถึงวิธีการได้มาด้วย จากการทดลองกับพืชเศรษฐกิจของไทยหลายชนิดพบว่าของเหลวที่ได้จากต้นกล้วย สามารถนำมาเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้ และรวมถึงมีอยู่มากมายตามธรรมชาติด้วยเช่นกัน น้ำจากต้นกล้วยจะมีสภาพเป็นเบสอ่อนๆ สมบัติทั่วไป คือ มีรสฝาดและขม มีความลื่นคล้ายสบู่ ไม่กัดกร่อน จึงไม่เป็นอันตราย
   
     

 

หลักการ วิธีการ และกรรมวิธี
   
     

 

1. หลักการ     

ใช้ของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์แทนสารละลายกรด  ซัลฟิวริกในเซลล์ไฟฟ้าเคมี  เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรง
   
     

 

2. วิธีการ


2.1 ศึกษาคุณสมบัติของของเหลวที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย ด้วยอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อหาค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า จากการใช้ของเหลวที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์

2.2 ประดิษฐ์ชุดเซลล์ไฟฟ้าเคมี หรือชุดกัลวานิกเซลล์ แบบ 4 เซลล์ และแบบ 16 เซลล์ โดยใช้ของเหลวที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์

2.3 เปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า และค่ากระแสไฟฟ้า ที่เกิดจากการใช้ชุดเซลล์ ไฟฟ้าเคมีตามข้อ 4.2.2                 

2.4 นำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบกระแสตรง
   
     

 

3. กรรมวิธี

เป็นกรรมวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์โดยการนำสารที่ได้จากธรรมชาติ คือ ของเหลวจาก  ต้นกล้วยเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ในเซลล์ไฟฟ้าเคมี
   
     

 

4. วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น


             4.1 กล่องพลาสติกใสขนาด    กว้าง x ยาว x สูง   = 12.5 x 12.5 x 5.0   cm3
             4.2 แผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสี   กว้าง x ยาว    = 1.5 x 4.0  cm2 ชนิดละ 16 แผ่น
             4.3 สายไฟอ่อนสีแดงและสีดำ ยาวสายละ  1 m  พร้อมปากจระเข้  2  อัน
             4.4 ของเหลวที่ได้จากต้นกล้วย  1,000    cm3
   
     

 

5. งบประมาณที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น

งบประมาณที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน  5,000  บาท
   
     

 

6. ประโยชน์ที่ได้รับ


             6.1 ได้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ชนิดใหม่ที่ปลอดภัยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
             6.2 ได้พลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรง สามารถนำไปใช้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแทนพลังงานจากถ่านไฟฉายได้
             6.3 ใช้เป็นอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง "เซลล์ไฟฟ้าเคมี" ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
   
     

 

7. การนำผลงานไปใช้ประโยชน์

การ ที่เรานำทรัพยากรธรรมชาติที่ทิ้งแล้วกลับมาใช้ใหม่ เป็นวิธีการหนึ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง และเป็นวิธีการแก้ปัญหาสังคม  พัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับประเทศชาติได้
   
     

บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #30 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 10:30:08 am »

ช่างไทย นั่งเถึยงกัน เตาะๆ แตะๆ เพราะ..

-ไม่มีทุน(เพราะส่วนใหญ่เกิดมาไม่ได้คาบเงินมาด้วย ..)ข้อนี้รัฐสามารถเข้ามาสนับสนุนได้ ,

-ไม่มีเวลาทดลองวิจัย(ต้องเอาเวลามาทำมาหากินเลี้ยงชีพไปวันๆให้รอดได้ก็เก่งแล้ว)..,

-สุดท้ายเป็นเพราะต้องเรียนมาตรงสายงานด้วย(เช่นจะค้นคว้าเรื่องเเบตเตอรี่ ต้องเรียนด้านเคมีมาแน่นๆๆๆ ..จะมีช่างอิเล็คฯกี่คนที่เรียนเคมี มาครับ) 


ดูเมืองนอกเขาทำถึงขั้นนี้กันแล้วครับ...
   Cry




"สงครามแบตเตอรี่ รถยนต์"



   แบตเตอรี่ ที่สามารถชาร์ตใหม่ได้ จะมีหลายรูปแบบ เช่น แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด, นิเกิล-แคดเมี่ยม, นิเกิล-เมทัลไฮดราย, ลิเทียม-ไอออน, ลิเทียม-โพลิเมอร์ ,

   แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง คือ ลิเทียม-ไอออน, ลิเทียม-โพลิเมอร์ ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือปัจจุบัน

   ในขณะที่ รถยนต์ไฮบริดที่ขายอยู่ในไทย ยังใช้แบตเตอรี่คุณภาพต่ำอย่าง นิเกิล-แคดเมี่ยม ในโตโยต้า และ, นิเกิล-เมทัลไฮดราย ในฮอนด้า

    แต่น่าสนใจที่สุดในขณะนี้ รถยนต์ไฟฟ้า เทสล่า ใช้แบตเตอรี่ ลิเทียม-ไอออน ซึ่งมีประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานสูง โดยรับประกันแบตเตอรี่ 8 ปี ไม่จำกัดระยะทาง !!

    แล้วเทคโนโลยี่ใหม่ๆละ มีการแข่งขันเรื่อง ระยะเวลาการประจุไฟฟ้าใหม่ให้กับแบตเตอรี่ เช่น
-แบตเตอรี่ ไททาเนียม ไดออกไซด์ เจล ของ มหาวิทยาลัย นานยางสิงคไปร์ ชาร์ตไฟฟ้าได้ 70 % ใน 2 นาที ;
-แบตเตอรี่ อลูมิเนียม-ไอออน ของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ท แคลิฟอเนีย สามารถประจุไฟได้ถึง 80 % ของความจุ ใน 1 นาที !! : ยังมี เทคโนโลยี่ โพแตสเซียม ไอออน ที่สามารถชาร์ตประจุไฟใหม่ได้นับล้านครั้ง !!?? (ใช้กัน 10 ชั่วโคตร)

   แต่ทั้งนี้ -ต้นทุนการผลิต –ความจุต่อน้ำหนัก –ความปลอดภัย –ความทนทาน ก็เป็นปัจจัยสำคัญ หากพิจารณาจาก เวปไซท์ ของเทสล่าแล้ว
แบตเตอรี่ที่ เทสล่า จะใช้ในอนาคต เป็นเทคโนโลยี่ของ ม.นานยาง สิงคโปร์ ชาร์ทไฟให้รถวิ่งได้ 400 กิโล ใน 5 นาที และมีต้นทุนต่ำ ความปลอดภัยสูง อายุการใช้งาน ไม่ต่ำกว่า 20 ปี

   อนาคต เชื้อเพลิงฟอสซิล จะหมดความสำคัญ เมื่อพลังงานไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ ผลิตขึ้นมาได้ ในราคาถูก และสามารถเก็บไว้ได้ เทคโนโลยี่ปัจจุบัน เป็นไปได้แม้กระทั่ง การทำ โซล่าฟาร์ม ในอวกาศ แล้วส่งพลังงาน กลับโลกผ่านเลเซอร์

ขอบคุณข้อมูลจาก เพื่อนร่วมรุ่น อิเล็คฯตีนดอยเชียงใหม่
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #31 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 01:25:11 pm »

solar farm  แถว สามโคก ปทุม

ควบคุม อุณภูมิ อากาศ และ ฝุ่นละออง







ถามพรรคพวกแล้ว อุปกรณ์การผลิต ราคายังสูง ไม่คุ้มทุนในการสร้าง

ส่วนมากกิจการที่ทำได้ องค์กรใหญ่ๆที่มีต้นทุนในการทำไม่จำกัดขอบเขต

อย่างรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!