L coil X-Over แบบใหนที่ดีที่สุดครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 03:14:58 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: L coil X-Over แบบใหนที่ดีที่สุดครับ  (อ่าน 7095 ครั้ง)
dB_WB
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2010, 01:33:52 am »

ผมสงสัยอยู่หลายอย่าง ว่า L แบบต่างๆ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และแบบไหนดีที่สุดครับ หลายคนบอกแกนอากาศดีที่สุด แล้วทำไมลำโพงแพงๆ หลักแสนกลับใช้แต่แกนเหล็กอยู่ครับ หรือลำโพงพวกนั้นมันแค่แหกตาเรา


บันทึกการเข้า

krisadadh
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99


โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2010, 03:50:08 pm »

ไม่ทราบเหมือนกันครับ..แต่เคยเห็นในลำโพงราคาแพงๆใช้แบบ Copper รองลงมาก็แกนอากาศ
บันทึกการเข้า

7. ม.1 ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร.089 -3122650
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2010, 05:53:04 pm »

Copper foil coil นิยมมากที่สุด   น่าจะถือว่าดีที่สุดในขณะนี้   รองลงมา air coil ตํ่าสุด  เป็นเเกนเหล็กครับ
บันทึกการเข้า
dB_WB
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2010, 01:46:20 am »

ใครทราบบ้างครับว่า ลวดทองแดงเส้นแบนๆ มีขายที่ใหนบ้าง จะลองเอามาพัน X-over ดูบ้าง  ดูดีจังเลย
บันทึกการเข้า
dB_WB
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2010, 01:49:06 am »

แบบ Toriod นี่เพิ่งเคยเห็นว่าเอามาใช้เป็น x-over แต่ผ่านตาเหมือนกันครับ รู้สึกว่าทอรอยด์จะให้ค่า DRC ต่ำสุดๆ เลย ต่ำแบบทิ้งคู่แข่งไม่เห็ฝุ่นเลย คิดเห็นกันยังงัยครับ
 Cool
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 01:38:32 am »

แบบ Toriod นี่เพิ่งเคยเห็นว่าเอามาใช้เป็น x-over แต่ผ่านตาเหมือนกันครับ รู้สึกว่าทอรอยด์จะให้ค่า DRC ต่ำสุดๆ เลย ต่ำแบบทิ้งคู่แข่งไม่เห็ฝุ่นเลย คิดเห็นกันยังงัยครับ
 Cool

DRC ตํ่ามันก็ดีครับ   เเต่เเบบทอรอยด์มันมีเเกน   โอกาสที่อํานาจเเม่เหล็กมันจะอิ่มตัวมันก็สูงกว่าเเกนอากาศ   ถึงอย่างไรลําโพงเเพงๆก็ยังใช้เเกนอากาศอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
dB_WB
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 02:50:32 am »

ถึงว่าเขาจะใช้เฉพาะกับความถี่ต่ำๆ เท่านั้น คือซับวูฟเฟอร์เท่านั้น  เกือบไปแล้วมั๊ยเรา

ถ้าความถี่สูงๆ อิ่มแน่ๆ
บันทึกการเข้า
cascode
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2010, 03:37:17 pm »

ขอตอบแบบงู ๆ ปลา ๆ นะครับ อิอิ
ดีที่สุดนี่ดีแบบไหน? .. ถ้าดีที่สุดในแง่ค่า L คงที่ในทุก ๆ ค่ากระแสที่ไหลผ่านน่าจะเป็นแกนอากาศ ถ้าเป็นแกนอากาศทรงทอรอยด์(แกนไม้หรือพลาสติกก็ได้)คลื่น EMI ที่ส่งออกมาจะน้อย มันจะหักล้างกันกันเอง แต่จะต้องใช้ลวดพันมากกว่าแกนอากาศทรงกระบอกอยู่บ้างเล็กน้อย(แกนอากาศทรงกระบอกจะส่งคลื่น EMI ออกมา แต่เนื่องจากเป็นความถี่ไม่สูงมากเลยไม่ค่อยมีปัญหามากนัก) coil แกนอากาศจะให้ความเป็นเชิงเส้นที่ดี ไม่ saturated เหมือนแกนเหล็ก ข้อเสียของ coil แกนอากาศคือค่าความต้านทานสูง เพราะต้องพันลวดหลายรอบ
 ส่วนแกนเหล็กมีข้อดีคือมันมีสนามแม่เหล็กมาช่วยทำให้ไม่ต้องพันมากรอบเพื่อให้ได้ค่า L ที่ต้องการ โดยมาก coil  ที่ใช้ในความถี่ต่ำ ๆ มีค่า L มาก ขืนใช้แกนอากาศมีหวังต้องพันกันเป็นพัน ๆ รอบ ค่าความต้านทานก็สูงมากตามไปด้วย ถ้าจะทำให้ความต้านทานต่ำ ๆ ก็ต้องใช้ลวดเส้นโต ๆ ต้นทุนก็สูง แต่ถึงแม้ไม่กล้วต้นทุนสูงก็ต้องมาเจอปัญหาปัญหาค่าความต้านทานที่ไม่เท่ากันในแต่ความถี่ในลวดอีก(ปัญหาของสายลำโพงทั่ว ๆ ไป) สายยิ่งยาวปัญหาก็ยิ่งมากตาม ลองคิดดูว่าถ้าใช้ลวดยาวซัก 30 เมตรมาพัน coil เสียที่ได้มันจะดีหรือ? เลยเป็นเหตุให้ต้องกัดฟันเอาแกนเหล็กมาช่วยใน coil ค่ามาก ๆ แม้ว่ามันจะมีข้อเสียเรื่องความเป็นเชิงเส้นที่ไม่ดี และค่า L จะเพี้ยนไปเลยถ้ากระแสไหลผ่านมากถึงจุดจนมัน saturated หรืออิ่มตัว
ส่วน coil แบบแกนอากาศทรงกระบอกที่ใช้ลวดทองแดงแบบแบน (copper foil) ก็เหมือน coil แกนอากาศแบบที่ใช้ลวดพันทั่ว ๆ ไป เพียงแต่โครงสร้างของลวดที่แบนทำให้พื้นที่ผิวของลวดตัวนำมากขึ้น ค่าความต้านทานของความถี่สูง(ที่พยายามวิ่งที่ผิวตัวนำ)ก็ต่ำ ทำให้มีแนวโน้มว่าความถี่สูงจะวิ่งได้ดีขึ้น อีกทั้งคุณภาพของตัวนำอาจจะดีกว่าลวดทองแดงทั่ว ๆ ไป
ผมตอบผิดพลาดตรงไหนรบกวนท่านผู้รู้ช่วยแก้ให้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!