จอ LCD มีความจำเป็นไหม แล้วถ้าจะใช้ควรเลือกแบบไหนดี : ตอน 3(จบ)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 26, 2024, 09:40:17 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จอ LCD มีความจำเป็นไหม แล้วถ้าจะใช้ควรเลือกแบบไหนดี : ตอน 3(จบ)  (อ่าน 2229 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2007, 11:19:41 pm »

เราจะมาดูรายละเอียดที่เหลือของจอ LCD กันว่า จะต้องพิจารณาดูที่อะไรต่อไป ส่วนท่านที่พลาดอ่านตอนแรก ๆ ของบทความ ก็สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่เว็บ www. ezcommag.com ได้แล้วนะครับ ในส่วนเมนู Dailynews ช่วงนี้จะพยายามอัพเดตให้ได้เร็วขึ้น หาเวลาทำยากมากเลย ต้องขอโทษจริง ๆ ถ้าอัพเดตไม่ทันใจ

ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลง มาต่อกันที่สเปกที่เหลือเลยดีกว่า

Dot pitch : จุดนี้ถ้าใครจำได้ จะเห็นว่าเป็นสเปกเดียวกันกับจอมอนิเตอร์แบบ CRT ครับ มันคือระยะห่างระหว่างพิกเซลที่ใช้ในการแสดงผลของมอนิเตอร์ ซึ่งถ้าใครนึกภาพไม่ออก ให้ลองนึกถึงเรื่องของ Resolution หรือค่าความละเอียดก่อนครับ ซึ่งการแสดงผลของมอนิเตอร์ก็เหมือนการแปรอักษรบนสแตนเชียร์ โดยให้นึกภาพว่ามีคนมานั่งถือป้ายสีต่าง ๆ แล้วมาต่อกันเช่น จอขนาด 1,024×768 พิกเซล ก็เหมือนกับสแตนเชียร์ที่มีคนที่นั่งในแนวนอน 1,024 คนและต่อกันในแนวตั้งอีก 768 คน นั่งเรียงต่อกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลาที่ต้องการให้เป็นภาพอะไร ก็ให้รหัสแต่ละคนในการเปิดสีที่แตกต่างกัน ทีนี้ในส่วนของ Dot pitch ก็คือ ช่วงรอยต่อระยะห่างระหว่างพิกเซล หรือถ้าเปรียบเป็นสแตนเชียร์ก็คือ ระยะห่างระหว่างคนแปรอักษรที่นั่งอยู่ในแต่ละตำแหน่งนั่นเอง ถ้านั่งห่างกันมาก มันก็จะมีช่องว่างทำให้ภาพที่ออกมาดูไม่ต่อเนื่อง เหมือนระยะห่างน้อย ยิ่งนั่งชิดกันมาก ภาพที่ออกมาก็จะสวยเนียนกว่า นึกภาพออกแล้วนะครับ ณ วันนี้ ค่ามาตรฐานของ Dot pitch ที่ดีจะอยู่ที่ระดับ 0.26-0.29 มม.

DVI : ในอดีตที่ผ่านมา เรามีมาตรฐานในการต่อสายมอนิเตอร์แบบ D-sub ที่เห็นเป็นพอร์ตแบบ 15 พิน (สีฟ้า ๆ ที่ออกมาจากการ์ดจอ หลังเครื่องคอมพ์นั่นแหละครับ) อันนั้นเป็นพอร์ตอนาล็อกที่ใช้กันมาเป็นสิบปีแล้ว ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ในอดีตนั้น สัญญาณภาพที่ออกมาจากคอมพิวเตอร์นั้น จะเป็นดิจิทัล แล้วแปลงผ่านการ์ดจอให้ออกมาเป็นอนาล็อก เพราะมอนิเตอร์ในอดีตนั้นแสดงผลในรูปแบบอนาล็อก ซึ่งแน่นอนว่าการแปลงสัญญาณไปมา ทำให้เสียเวลาและลดทอนคุณภาพในการแสดงผลลงไปมากทีเดียว

ปัจจุบันมอนิเตอร์และการ์ดจอที่มีเกรดดีหน่อย จึงมักจะให้ตัวเลือกในการแสดงสัญญาณภาพในรูปแบบดิจิทัล หรือแบบ DVI มาให้ด้วย ซึ่งสังเกตง่าย ๆ ว่าถ้ามอนิเตอร์ตัวไหนที่สนับสนุนทั้ง D-Sub แบบเก่าและ DVI แบบใหม่ก็จะมีพอร์ต ด้านหลังให้เลือกใช้สองพอร์ต แต่ต้องดูก่อนนะครับว่า การ์ดจอที่คุณใช้นั้นเป็นรุ่นที่สนับสนุน DVI หรือไม่โดยดูจากพอร์ตด้านหลังหรือดูจากคู่มือ (พอร์ตจะสีขาว ๆ มีรูรูปเครื่องหมายบวก) ข้อดีที่ชัดเจนที่สุดของการใช้ DVI ก็คือ ความคมชัด ความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของสัญญาณ รวมทั้งการตอบสนองที่รวดเร็วกว่า ซึ่งเกิดจากการใช้สัญญาณตรงที่ไม่ได้ผ่านการแปลงใด ๆ นั่นเอง (แนะนำว่าถ้าซื้อเครื่อง ใหม่และมอนิเตอร์ใหม่ การใช้ DVI เป็นทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว)

Multimedia & Special Feature : ปัจจุบันในส่วนของมอนิเตอร์ LCD นั้นก็ราคาถูกลง ดังนั้นหลายรุ่นจึงใช้วิธีเพิ่มค่าลงในมอนิเตอร์ LCD เพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่ง เช่น การใส่ระบบมัลติมีเดีย ไมค์+ลำโพง การปรับแนวตั้งแนวนอนได้ ในกรณีที่ต้องการดูเว็บเพจด้านยาว ๆ หรือการเพิ่มความสามารถในด้านการดูโทรทัศน์โดยไม่ต้องพึ่งคอมพิวเตอร์ เปิดดูได้จากมอนิเตอร์โดยตรง ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นฟีเจอร์พิเศษทั้งนั้นครับ ที่จะช่วยในการอัพราคาให้สูงขึ้นไปได้อีกเยอะ เช่น LCD มอนิเตอร์ 17 นิ้วปกติราคา 13,000 บาท แต่พอทำเป็น Wide Screen ก็จะอัพราคาเป็น 22,000 บาท และถ้ามีทีวีจูนเนอร์ก็จะขยับไปที่ 30,000 บาท ทั้งที่ถ้าเราซื้อมอนิเตอร์+ซื้อทีวี 29 นิ้ว ยังราคาถูกกว่า เป็นต้น ซึ่งเรื่องแบบนี้อยู่ที่ความพอใจล้วน ๆ ครับ ถ้าเงินเหลือก็ซื้อใช้ได้เลยสะดวกดี แต่ถ้าคิดเรื่องความคุ้มค่า แนะนำให้มองฟีเจอร์หลักของมัน ก็คือ การแสดงผลนั่นเอง มองความต้องการแท้ ๆ ของเราเป็นหลักไว้ก่อนเป็นดี ส่วนอื่น ต้องชั่ง ตวง วัดให้ดี ว่าพอใจ และคุ้มค่าแค่ไหนถึงจะซื้อ เดี๋ยวนี้บางคนซื้อของเพราะอิมเมจ พอได้ไปก็ไม่ได้ใช้อะไรก็มี ผมว่าเปลืองครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!