คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 05:49:00 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง  (อ่าน 1797 ครั้ง)
SC CAR
member
*

คะแนน8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 175



« เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 04:46:44 pm »

คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อ ถูกโกง ตามปกติแล้วข้อหา ฉ้อโกงมีดังนี้
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่ง
ควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่ สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ

(1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ

(2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอก ลวง

ผู้ กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อ
ประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน
ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรค แรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่ง
อนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่
พันบาท ......

...... มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
ข้อหาฉ้อโกง จำนวนเงินไม่ใช่สาระสำคัญ (ตัวบท...โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้
ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม)
500 - 1000 บาท ก็แจ้งความได้ถ้ายังอยู่ในอายุความ 3 เดือนนับแต่รู้ว่าถูก หลอกและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ขอให้เข้าองค์ประกอบความผิด...มี

1.คนร้าย ( ตัวบทบอกว่า .. ผู้ใด )

2.มีการหลอกลวง ( ตัวบทบอกว่า .. โดยทุจริต หลอกลวง ) ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

3.ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จะเป็นเงินหรือสิ่งของ อะไรก็ได้ หรืออื่นๆ ตามตัวบท

4.มีผู้เสียหาย หรือผู้ถูกหลอก

นำหลักฐานการถูกหลอกเท่าที่ มีได้แจ้งความที่ท้องที่ที่เกิดเหตุ เช่น เราดูอินเตอร์เน็ตที่บ้าน โอนเงิน   เข้าธนาคารใกล้ที่บ้าน ก็ไปแจ้งความที่โรงพักใกล้ๆบ้าน นั้นแหละครับ  ยิ่งถ้าผู้ใด (คนร้าย) ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความ จริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ( ประกาศโฆษณาชวนเชื่อ ) ยิ่งเป็นความผิดยอมความไม่ได้ หลังจากแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายเรียกผู้ต้องสงสัยดังกล่าวมาพบที่สถานีตำรวจ ถ้า ผู้ต้องสงสัยไม่มาพบเจ้าหน้าที่ ก็จะมีเหตุให้ต้องสงสัย ทำให้ขออนุมัติออกหมายจับได้ หมายจับจะมีอายุความ 5 ปี สำหรับติดตามตัวคนร้าย เมื่อใดผู้เสียหายพบตัวก็สามารถชี้และยืนยันให้จับกุมคนร้ายได้ทันที   ...ข้อมูลจาก...เว็บ ...pramool


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!