อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่นิกส์กับ GT200
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่นิกส์กับ GT200  (อ่าน 4170 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 12:13:53 am »



หลักการเครื่องตรวจระเบิด จับไต๋ GT200

      
ตราบที่เรายังไม่ได้ผ่าพิสูจน์เครื่องตรวจ วัตถุระเบิด GT200 ตราบนั้นเราก็ตอบไม่ได้ว่า เครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่เป็นปริศนาของสังคมนี้ ทำงานได้จริงหรือไม่ หากแต่หลักการทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องตรวจวัตถุระเบิดเท่าที่มีอยู่ในโลก ตอนนี้ อาจจะพอเป็นเกณฑ์ให้เราได้คำตอบของสิ่งที่เราสงสัย
       
       ในจังหวะที่สังคมเต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถามต่อเครื่องตรวจวัตถุ ระเบิด GT200 ทางคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดเวทีให้ข้อมูล "หลักการทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด" เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 2 ก.พ.53 ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน นิสิตนักศึกษาและประชาชนจำนวนมาก และทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้เข้ารับฟังข้อเท็จจริงจากเวทีดังกล่าวด้วย
       
       เทคโนโลยีตรวจระเบิดดูสัดส่วนสารประกอบ
       
       ศ.เกียรติคุณ ถิรพัฒน์ วิลัยทอง จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เทคโนโลยีการตรวจวัตถุระเบิดนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์โดยตรง และเกี่ยวข้องกับเคมีพอสมควร โดยมีหลักการวิศวกรรมเป็นเครื่องมือช่วย และโดยส่วนตัวได้วิจัยเรื่องการตรวจสอบวัตถุระเบิดโดยใช้อนุภาคนิวตรอน แต่ได้ยุติบทบาทเรื่องดังกล่าวมาหลายปีแล้ว
       
       ทั้งนี้การตรวจหาวัตถุระเบิด จำเป็นต้องทราบว่าองค์ประกอบของระเบิดนั้นประกอบไปด้วย 4 ธาตุหลักๆ คือ ออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอนและไฮโดรเจน แต่ไม่ได้หมายความว่า หากตรวจพบสารธาตุเหล่านี้แล้ว จะเป็นระเบิดเสมอไป เพราะวัตถุธรรมดาทั่วไปก็มีธาตุเหล่านี้ หากแต่ระเบิดจะมีสัดส่วนของธาตุเหล่านี้แตกต่างกันไป และเป็นสัดส่วนที่ระบุได้ว่าคือระเบิด ส่วนสารเสพติดจะพิจารณาคลอรีนกับสารอื่นๆ
       
      หลักการตรวจระเบิด ส่งสัญญาณให้วัตถุตอบสนองกลับแล้ววัด
       
       สำหรับหลักการตรวจวัตถุระเบิดมี 2 หลักการใหญ่ๆ คือ 1. ใช้หัววัดในการตรวจ โดยจะส่งสัญญาณไปยังวัตถุต้องสงสัยให้ปล่อยรังสีออกมา ซึ่งมีใช้อยู่ 4 ชนิดคือ นิวตรอน โฟตอนหรืออนุภาคแสง อิเล็กตรอนและไอออนบวก แต่เนื่องจากอนุภาคที่มีประจุจะเคลื่อนที่ไปไม่ได้ไกล เนื่องจากจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารที่อยู่ข้างหน้าก่อน เช่นอิเล็กตรอนไปได้ไม่กี่เซนติเมตร ดังนั้นจึงเหลือนิวตรอนและโฟตอนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้เป็นหัววัด
       
       2. วัดสิ่งที่วัตถุต้องสงสัยปลดปล่อยออกมา ส่วนมากจะอยู่ในรูปกลิ่นหรือไอระเหย ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด สามารถวัดไอที่มีความเข้มข้นเพียง 1 ppm หรือ 1 ในล้านส่วนได้ หรืออาจวัดการแผ่รังสีความร้อน ซึ่งในยุคสงครามเย็นรัสเซียได้ส่งเรือดำน้ำไปทั่วโลก และสหรัฐฯ ระบุว่า บริเวณที่มีเรือดำน้ำอยู่ อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเปลี่ยนไป 1-2 องศาเซลเซียส จึงได้พัฒนาหัววัดของดาวเทียม ที่วัดความแตกต่างอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลได้
       
       พร้อมกันนี้ ดร.ถิรพัฒน์ ได้ยกตัวอย่างการตรวจวัดด้วยนิวตรอนว่า เมื่อยิงนิวตรอนไปยังธาตุที่สนใจ นิวตรอนอาจกระเจิงแบบลูกบิลเลียด หรือที่เรียกว่ากระเจิงแบบยืดหยุ่น (elastic) หรือธาตุชนิดนั้นๆ แสดงลักษณะเฉพาะตัวออกมา (inelastic) หรือนิวตรอนอาจจะถูกดูดกลืนแล้วปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา (Capture)
       
       ใช้นิวตรอนหาสารระเบิดได้ แต่ต้องมีแหล่งกำเนิด
       
       ส่วนการเลือกแหล่งกำเนิดนิวตรอนนั้น ขึ้นอยู่กำลังทรัพย์และเทคโนโลยีที่มี และสำหรับเทคโนโลยีตรวจวัดระเบิดด้วยหัววัดนิวตรอนนี้ สามารถพัฒนาเป็นอุปกรณ์แบบพกพาได้ แต่ไทยได้หยุดพัฒนามากว่า 10 ปีแล้ว
       
       สำหรับแหล่งกำเนิดนิวตรอนราคาถูกคือ แคลิฟอร์เนียม-252 (Cf-252) ซึ่งเมื่อยิงนิวตรอนไปยังเป้าหมาย จะถูกดูดกลืนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา
       
       นอกจากนั้นมี เครื่องเร่งอนุภาคที่ให้นิวตรอนพลังงานสูง 14 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งทะลุคอนกรีตหนาเป็นเมตรได้ ราคาของแหล่งกำเนิดชนิดนี้ประมาณล้านกว่าบาท หรือการส่งอนุภาคนิวตรอนเป็นพัลส์เหมือนยิงปืนกล เพื่อให้รู้ว่าเป้าหมายเป็นวัตถุระเบิดหรือไม่ และวัตถุต้องสงสัยนั้นอยู่ตรงไหน ซึ่งแหล่งกำเนิดนี้มีราคาแพงประมาณ 20 ล้านบาท
       
       ทั้ง 3 เทคโนโลยีข้างต้น ไทยมีศักยภาพที่จะผลิตได้ แต่สุดท้ายเป็นเทคโนโลยีที่ไทยผลิตไม่ได้ คือเทคโนโลยีที่ใช้ความต่างศักย์สูงกว่า 3 ล้านโวลต์เร่งอิเล็กตรอน มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งสหรัฐฯ ใช้ในการตรวจวัดรังสีสารเสพติดที่คลังสินค้า
       
       " ตอนนี้มีเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเป็นจริงในอีก 30-50 ปี นั่นคือเทคโนโลยีโทรจิต (Noetic Science) ซึ่งใช้ไอออนและโฟตอนเป็นหัววัด และใช้หลักการควอนตัมเอนแทงเกิลเมนท์ (Quantum Entanglement) แต่ยังไม่สามารถทำได้จริงในตอนนี้ ถ้าผู้พัฒนา จีที200 ทำได้จริง ก็ควรได้รับรางวัลโนเบล" ดร.ถิรพัฒน์กล่าว
       
       เผยเทคนิคตรวจสนามแม่เหล็กภายในธาตุ แต่ยังพกพาไม่ได้
       
       ทางด้าน ดร.วเรศ วีระสัย จากหน่วยวิจัยเคมีฟิสิกส์และเคมีไฟฟ้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล เสริมเทคโนโลยีที่เรียกว่า "นิวเคลียร์ควอดรูโพลเรโซแนนซ์" หรือ เอ็นคิวอาร์ (Nuclear Quadrupole Resonance: NQR) ที่มีใช้ในการตรวจหาวัตถุระเบิดในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักการคล้ายกับเทคโนโลยีการสั่นพ้องแม่เหล็กนิวเคลียร์ หรือ เอ็นเอ็มอาร์ (Nuclear Magnetic Resonance: NMR) แต่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กน้อยกว่า
       
       หลักการคือ ธาตุแต่ละตัวมีจำนวนนิวตรอนและโปรตรอนไม่เท่ากัน ดังนั้นการกระจายตัวของอิเล็กตรอนก็จะไม่เหมือนกัน และเราจะทราบว่าเป็นธาตุชนิดใดได้จากการส่งคลื่นวิทยุเข้าไปรบกวน แล้ววัดสัญญาณคลื่นวิทยุที่ตอบสนองกลับมา หรืออาจจะเป็นคลื่นอย่างอื่นก็ได้ แต่เทคโนโลยีนี้ไม่สามารถพกพาได้ ต้องมีพาหนะในการขนส่งอุปกรณ์เพื่อไปตรวจสอบ
       
       ไม่มีหัววัดเดียวครอบจักรวาล ตรวจอย่างหนึ่งใช้หัววัดอย่างหนึ่ง
       
       ส่วน ดร.พงษ์ ทรงพงษ์ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรับผิดชอบหลักสูตรมาตรวิทยาของคณะกล่าวว่า ในหลักการตรวจวัดนั้น หลักๆ คือต้องมีสิ่งที่จะตรวจวัด อุปกรณ์ตรวจวัดหรือเซนเซอร์ ซึ่งจะให้สัญญาณในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งออกมา
       
       เมื่อได้สัญญาณแล้วต้องคัดแยกสัญญาณให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ ซึ่งอาจจะมีการปรับแต่งหรือซ่อมแซมสัญญาณก่อนนำไปใช้ และหัววัดแต่ละชนิดมีการทำงานที่ไม่เหมือนกัน หัววัดที่ตรวจหาวัตถุอย่างหนึ่ง ไม่อาจนำไปตรวจวัดวัตถุอีกอย่างหนึ่งได้
       
       "คงไม่มีอะไรที่ทำขึ้นมา 1 เครื่องแล้ววัดได้ครอบจักรวาล" ดร.พงษ์กล่าว พร้อมทั้งบอกว่าความไว (Sensitivity) ในการวัด เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณา โดยความไวนั้นพิจารณาทั้งจากปริมาณน้อยที่สุดที่ตรวจวัดได้ หรือปริมาณที่วัดต่อสัญญาณที่ได้ 1 หน่วย
       
       หากความไวในการวัดน้อยไป ก็จะไม่สามารถตรวจวัดได้ แต่หากความไวในการตรวจวัดมากเกินไปก็จะให้สัญญาณหลอกหรือตรวจผิดได้ เช่น หากใช้หัววัดที่มีความไวมากตรวจหาโคเคนในธนบัตรดอลลาร์ย่อมพบทุกฉบับ เพราะต่างผ่านมือพ่อค้าโคเคน เป็นต้น ดังนั้นความไวของหัววัดที่มากก็ไม่เป็นผลดี
       
       ระวังเครื่องมือ อ่านคุณสมบัติดูยาก แค่ต้องการให้ "ขลัง"
       
       พร้อมกันนี้ ดร.พงษ์ได้ให้ข้อสังเกตว่า เมื่ออ่านคุณสมบัติของอุปกรณ์ในการตรวจวัดแล้วเจอคำศัพท์แปลกๆ ไม่ต้องตกใจ เพราะคำเหล่านี้เขียนด้วยศัพท์ยากๆ เพื่อให้ดู "ขลัง"
       
       พร้อมทั้งยกตัวอย่างเครื่องตรวจวัดที่ระบุว่า ใช้หลักการ Electrochemical (Thermo-redox) detector ในการตรวจวัด หากค่อยพิจารณาทีละคำจะพบว่า Electrochemical นั้นเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเชิงเคมี ส่วน Thermo นั้นเกี่ยวกับความร้อน และ redox นั้นเกี่ยวกับปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า เมื่อสรุปง่ายๆ คือใช้หลักในการเผาสาร แล้วตรวจวัดสารที่ได้ ซึ่งหลักการนี้ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจหาวัตถุระเบิดที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ หลัก
       
       สำหรับ "เครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดปริศนา" ที่ระบุว่าใช้หลักการ DIA/PARA magnenetism นั้น ดร.พงษ์กล่าวว่า อาจฟังดูเข้าใจยาก แต่เมื่อค่อยๆ พิจารณาจะทราบว่า DIA magnenetism คือการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งทำให้สนามแม่เหล็กภายในอะตอมลดลง
       
       ส่วน PARA magnenetism คือการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในทิศทางเดียวกัน ซึ่งทำให้สนามแม่เหล็กภายในอะตอมเพิ่มขึ้น ทั้งสองเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อมีสนามแม่เหล็กจากภายนอกเข้าไปรบกวน แต่หลักการนี้ไม่ใช่กระบวนการของการตรวจวัด
       
       ส่วนความไวในการตรวจวัดวัตถุต้องสงสัยไกลถึง 700 เมตรนั้น เป็น "ความไวทะลุโลก" ส่วนคุณสมบัติในการตรวจวัดระดับ pico gram หรือ 1 ในล้านล้านส่วน ก็เป็นคุณสมบัติที่เกินจริง เพราะทำได้แค่ 1 ในพันล้านส่วนหรือหมื่นล้านส่วนก็นับว่าสุดยอดแล้ว
       
       ดร.พงษ์ยังได้ยกตัวอย่างเซนเซอร์ชีวภาพที่ราคาถูกแต่ประสิทธิภาพสูง สำหรับตรวจหาวัตถุระเบิดและสารเสพติด นั่นคือใช้สุนัขดมกลิ่น นอกจากนั้นยังดูและรักษาเพียงให้ "ความรัก" และ "ความห่วงใย" เท่านั้น
       
       ควอนตัมใช้อธิบายวัตถุเล็กๆ ที่เป็นทั้งคลื่นและอนุภาค แต่ไม่ใช่หลักการทำหัววัด
       
       ขณะเดียวกัน มีผู้ เข้าร่วมฟังการเสวนาที่ให้ความเห็นว่า ผู้ผลิตอาจจะไม่ได้เปิดเผยเทคโนโลยีที่แท้จริง แต่เครื่องมือดังกล่าวน่าจะทำงานได้ด้วยหลักการควอนตัม ซึ่งจุดนี้ ดร.ถิรพัฒน์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องควอนตัมคนหนึ่งของไทยอธิบายว่า ควอน ตัมเป็นหลักการทางฟิสิกส์ ที่ใช้อธิบายการเคลื่อนที่หรืออันตรกริยาของวัตถุที่เล็กมาก มีพื้นฐานทางธรรมชาติที่เป็นได้ทั้งคลื่นหรืออนุภาค และเป็นหลักการที่ใช้อธิบายอันตรกริยาระหว่างอนุภาคต่ออนุภาคหรืออนุภาคต่อ สนามพลังงาน ซึ่งใช้เพื่ออธิบายการทำงานของอันตริยาที่เกิดขึ้นกับอนุภาคภายในเครื่อง ตรวจวัดได้ แต่ไม่ใช่หลักการทำหัวตรวจวัดวัตถุระเบิด
       
       "ในหลักการของการตรวจวัด ต้องถามว่าใช้หัววัดอะไร นิวตรอน แกมมาหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วเหนี่ยวนำให้เกิดอะไรออกมา การ ตรวจวัดเป็นหลักการที่ชัดเจน ส่วนเทคโนโลยีที่จะนำพลังงานจากตัวเราออกไปใช้เพื่อบอกว่าใครพกระเบิดใน กระเป๋า เทคโนโลยีนี้ทำได้ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ต้องรอไปอีก 50 ปี เราต้องแยกให้ออกระหว่างความฝันกับความจริง สำหรับฟิสิกส์แล้วเป็นความจริง" ดร.ถิรพัฒน์กล่าว
       
       นอกจากนี้ ดร.ถิรพัฒน์ยังได้ให้ความเห็นว่า การตรวจหาวัตถุระเบิดนั้น แต่ละประเทศให้ความสนใจไม่เหมือนกัน ทางด้านยุโรปจะให้ความสำคัญกับการตรวจหาสารเสพติดที่ท่าเรือ ส่วนสหรัฐฯ สนใจระเบิดตามสนามบินและสารเสพติดที่ท่าเรือ บางประเทศให้ความสนใจกับระเบิดที่ฝังอยู่ใต้ดิน และของ เมืองไทยนั้น เป็นระเบิดที่พกพามาพร้อมกับรถจักรยานยนต์ หรือลอบฝังไว้ตามที่ต่างๆ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่เหมือนที่อื่น ดังนั้นเราจึงต้องชาวยกันหาทางออก
       
      ย้ำเครื่องตรวจวัดเซนเซอร์ต้องมีแหล่งพลังงาน
       
       ทางด้าน ดร.กว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า ตอนนี้เนคเทคยังไม่ได้จับต้องเครื่องดังกล่าว และไม่เคยมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยจากสื่อเท่านั้น
       
       อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญสำหรับเครื่องตรวจวัดหรือเซนเซอร์นั้น ต้องมีแหล่งพลังงานที่จะส่งออกมา แต่สิ่งที่เนคเทคบอกได้อย่างแน่นอนคือการส่งไฟฟ้าสถิตจากร่างกายคนไปยังเป้าหมายนั้น "เป็นไปได้ยาก" โดยเราจะเห็นปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในร่างกายคนได้ในช่วงหน้าหนาวหรือในประเทศหนาว แต่ไฟฟ้าสถิตก็คายประจุได้เร็วมาก
       
       "ทั้งนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบเครื่องมือ จีที200 ให้ตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งทางเนคเทคต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้เตรียมเสนอวิธีการสอบในอีก 2-3 วันนี้ คาดจะรู้ผลสัปดาห์หน้า และถ้าผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่าที่ระบุไว้ เราก็จะได้ตรวจสอบไปในทางนั้น แต่ข้อมูลที่มีอยู่นั้นบอกได้ว่าเป็นไปได้ยาก" ดร.กว้านกล่าว
       
       สำหรับปรากฏการ์ณทางสังคมที่เกิดขึ้นนี้ ผู้ร่วมเสวนาต่างให้แนวคิดไปในทางเดียวกันว่า อยาก ให้สังคมคิดเป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นโอกาสดีที่จะจุดประกายให้เยาวชนคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล และไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็คิดเป็นวิทยาศาสร์ได้ ถ้ารู้จักคิดและค้นคว้า ซึ่งอินเตอร์เน็ตมีข้อมูลให้ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงได้มากมาย.



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000015138


บันทึกการเข้า

e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 01:05:47 am »

ต้องเปลี่ยนจากชุดทหาร เป็นพวกชุดเดนโอไรเนอร์ + ซองการ์ดพลังด้วย  จะเข้าท่ากว่า


ดูไว้นะครับ  นี่คือทหารไทย   ที่ปกป้องชาติ บ้านเมือง  ประเทศชาติ  ที่คุณฝา่กชีวิตไว้กับพวกเขา  กรรมประเทศไทยจริง ๆ



  cry2!! cry2!!
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2010, 10:47:47 am »

หลักการเดียวกับที่ใช้หาน้ำหน้าแร้งและครับ ลงทุนทำเป็น G200 ไม่เกินห้าร้อยบาท
-เสาวิทยุ 40บาท เสื้อพลาสติก มีกลไกใส่บุชหมุนได้ 150บาท ขดลวดหเนี่ยวนำสร้าง
กระแสอ่อนๆเป็นมูฟวิ่งคอยล์ ไม่เกิน200บาท ค่าตกแต่ง+ค่าความคิด+การตลาด +ค่าคอม
เก้าแสน
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=58388.msg298916#msg298916
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
Anan7107
วีไอพี
member
***

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2010, 01:17:38 pm »

http://www.youtube.com/watch?v=S5FMKvPKIgg
ลองดูให้ครบทั้ง 8part นะครับแล้วจะรู้สึกเมือนผม.........
บันทึกการเข้า
nismo
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 175


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2010, 02:08:21 pm »

น่าจะจรวจจับการเล่นพนันโดยการเอาไพ่ใส่เข้าไป  อิอิ   Tongue    Tongue
บันทึกการเข้า
JUB
Full Member
member
**

คะแนน81
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1157



« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2010, 08:37:41 pm »

เป็นเรื่องขำๆ... Tongue แต่ผมเห็นใจทหารที่ใช้เครื่องนี้นะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: