เมื่อผู้ลงทุนสนใจที่จะลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คุณจำเป็นต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ก่อน โดยโบรกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับส่งคำสั่งซื้อขายแทนคุณ โดยโบรกเกอร์จะได้รับค่าตอบแทนคือ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่า c) จากการสั่งซื้อสั่งขายในแต่ละครั้งนั่นเอง
ภาพ The Seller pays their Broker a commission. The Seller's Broker pays Advoco a
ที่มา
www.advocorealestat e.com เจ้าหน้าที่การตลาด (Marketing)
โบรกเกอร์ (Broker) สื่อกลางในการซื้อขาย โบรกเกอร์ไม่ใช่เป็นเพียงคนกลางในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับผู้งทุนเท่านั้น โบรกเกอร์ยังมีบทบาทต่อหน้าที่ความรับผิดชอบและบริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนของคุณด้วย ดังนั้นเจ้าหน้าที่การตลาด จึงต้องคอยให้บริการแก่ลูกค้าทุกขั้นตอนอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มเปิดบัญชี จนกระทั่งถึงขั้นตอนสิ้นสุดของการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ รวมทั้งช่วยดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ หรือแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า เจ้าหน้าที่การตลาดที่เก่ง ดูได้จากความสามารถในให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด
นอกจากโบรกเกอร์ จะต้องได้รับใบอนุญาติและลงทะเบียนกับ ก.ล.ต.แล้วเจ้าหน้าที่การตลาดก็ต้องมีความรู้ความสามารถได้รับใบอนุญาติและลงทะเบียนกับ ก.ล.ต.เช่นกัน (ข้อมูลของเจ้าหน้าที่การตลาด และเจ้าหน้าที่การตลาด สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต.
http://www.sec.or.th) เพื่อความก้าวหน้าและเป็นที่ต้องการของลูกค้าเจ้าหน้าที่การตลาดจึงควรมีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในเรื่องธุรกิจหลักทรัพย์เป็นอย่างดี พร้อมช่วยเหลือและตอบคำถามเมื่อลูกค้าติดต่อมา ไม่ลืมที่จะคอยดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างอย่างต่อเนื่อง มีจรรยาบรรณในการทำงาน ต้องปฏิบัติตาม เกณฑ์และกฎระเบียบที่ ก.ล.ต. ออกอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจถูกพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ กฎระเบียบต่าง ๆ ก็มีไว้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน และคุ้มครอง ผู้ลงทุนว่าจะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ
หนทางสู่การเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด
ต้องไปสอบวัดความรู้ที่ตลาดหลักทรัพย์ครับ จัดโดย TSI หรือที่เรียกว่า สถาบันพัฒนาตลาดทุน เมื่อสอบผ่าน ก็นำเอาผลสอบไปยื่นกับ กลต. เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน
หนทางสู่การเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด
ต้องไปสอบวัดความรู้ที่ตลาดหลักทรัพย์ครับ จัดโดย TSI หรือที่เรียกว่า สถาบันพัฒนาตลาดทุน เมื่อสอบผ่าน ก็นำเอาผลสอบไปยื่นกับ กลต. เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน
คุณสมบัติที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนด้านหลักทรัพย์
ผู้ติดต่อประเภท ข (ผู้ขายหลักทรัพย์)
เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รับอนุญาตในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ (Trader)
การขอ Trader ID บริษัทสมาชิกจะต้องเป็นผู้ยื่นขอ Trader ID ให้กับพนักงาน
ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่รับอนุญาต จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือ
2. จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.),
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และมีประสบการณ์ทำงานในหลักทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
3. ผ่านการอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่รับอนุญาตในระบบการซื้อขาย จากสถาบันฯ
เกณฑ์สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่จะมีสิทธิได้รับ Trader ID
1. เข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตร และ
2. เข้ารับการทดสอบความรู้ เจ้าหน้าที่รับอนุญาตในระบบการซื้อขาย ตามเกณฑ์ที่
สถาบันฯ กำหนด (60% ของคะแนนรวม) และสำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่าน TSI จะให้คำแนะนำเนื้อหาในส่วนที่ผู้อบรมต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาของหลักสูตรนี้ประกอบด้วย
กฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
* พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหุ้นส่วนและบริษัท ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
* การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โครงสร้างอำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองผู้ลงทุนซึ่งได้แก่ การออกหนังสือชี้ชวน
* การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทระดมเงินทุนจากประชาชน
* การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ การกระทำอันไม่เป็นธรรมในการ ซื้อขายหลักทรัพย์
มาตรฐานการปฏิบัติงานของสมาชิก
* การศึกษาระบบงานหลักเกณฑ์ขั้นตอนในการปฏิบัติงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติงานในส่วนของสมาชิก หรืองานด้านสำนักงานของสมาชิกในการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์และระบบงานต่อเนื่อง จากการซื้อขายหลักทรัพย์
* คุณสมบัติเบื้องต้นและหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์
* หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการให้บริการมาตรฐานในการปฏิบัติด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่
- มาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การชำระราคาและ
- ส่งมอบหลักทรัพย์การโอนหุ้นในแต่ละขั้นตอนการให้ข้อมูลข่าวสารและ
ข้อแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้ลงทุน รวมถึงมาตรฐานเกี่ยวกับการให้บริการด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์ และกล่าวถึงจริยธรรมหรือจรรยาบรรณที่จะช่วยเสริมสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่ความรับผิดชอบต่อผู้ให้บริการ ทัศนคติ และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
* ระบบการซื้อขายที่ใช้เจ้าหน้าที่รับอนุญาตในระบบการซื้อขาย การเสนอซื้อหรือการเสนอขายหน่วยช่วงคำสั่งต่างๆ
* การแก้ไขและการยกเลิกการเสนอซื้อหรือการเสนอขาย การแก้ไข และ
การยกเลิกการซื้อขาย ราคาซื้อหรือราคาขายสูงสุดและต่ำสุดประจำวัน ตลอดจนกระดานต่างๆ ที่ใช้ในระบบการซื้อขาย
กระบวนการภายหลังการซื้อขายหลักทรัพย์
* ศึกษาระบบการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้แก่ พัฒนาการของการชำระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์
* กระบวนการและขั้นตอนในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ระหว่างสมาชิกกับสมาชิก
* ขอบเขตการให้บริการของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และขั้นตอนในการฝากและถอนหลักทรัพย์ การโอนบัญชีระหว่างกัน การคืนหลักทรัพย์ เป็นต้น
* ระบบการจองซื้อหุ้นที่ไม่ออกใบหุ้น (Scripless)
* การ ให้บริการของงานทะเบียนหุ้น ได้แก่ ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนโอนหุ้น เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการโอนหุ้นในกรณีปกติและในกรณีต่างๆ ดังนี้
- การโอนหุ้นของผู้เยาว์ การถอนหุ้นมรดก การบังคับจำนำขายทอดตลาด
- ตลอดจนการขอให้ออกใบหุ้นใหม่ ในกรณี สูญหายชำรุด การเปลี่ยนแปลง ชื่อ-สกุล การขออายัดหุ้น เป็นต้น
โดยบัวอื่น