ตารางธาตุอาการของปุ๋ยคอก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 05:34:56 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตารางธาตุอาการของปุ๋ยคอก  (อ่าน 8184 ครั้ง)
green power
Full Member
member
**

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 10:30:44 am »

คงมีประโยชน์


บันทึกการเข้า

green power
Full Member
member
**

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 10:33:11 am »

5  ธาตุ กับการเกษตรด้านพืช
บทนำ
       ธาตุ ทั้ง 5 คืออะไร แล้วไปเกี่ยวข้องกับการเกษตรได้อย่างไร  สรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่ว่าพืชหรือสัตว์ จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ต้องมีความสัมพันธ์กับธาตุทั้ง 5 นี้  สิ่งมีชีวิตในโลกนี้เกิดมาแล้วก็ต้องตายตามอายุไข แต่ธาตุทั้ง 5 จะดำรงอยู่คู่กับโลกนี้ตลอดไป เพียงแต่อาจเปลี่ยนสถานะได้ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ธาตุน้ำ เป็นได้ทั้งของเหลว, ของแข็ง และไอน้ำ  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในขณะนั้นว่าสูงหรือต่ำ  ฉะนั้นถ้าเราคิดจะปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จก็ควรทำความเข้าใจกับธาตุทั้ง    5 ให้ได้ก่อน
       หลักวิชานี้ เป็นมรดกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจากคนจีน  เนื่องจากบิดาของผมได้อพยพมาจากประเทศจีน  ซึ่งก็ได้รับการสืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษเช่นกัน  หลักวิชานี้จะแตกต่างกับทางฝั่งตะวันตก  เพราะไม่มีงานวิจัยรองรับเหมือนของฝั่งตะวันตก  ซึ่งของทางตะวันตกจะมีการบันทึกเป็นตัวอักษรผลของการวิจัยในผลงานนั้นๆ  แต่ของคนจีนจะใช้วิธีถ่ายทอดแบบปากต่อปากให้เฉพาะลูกหลานในตระกูลเท่านั้น  ส่วนใหญ่จะไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันคนนอกตระกูลขโมยวิชาของตระกูลออกไปใช้ประโยชน์  ขอยกตัวอย่างเรื่องหน้ากากเปลี่ยนหน้าของจีนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจะถ่าย ทอดให้คนในตระกูลเท่านั้น
       สำหรับตัวผมก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณ พ่อตั้งแต่อายุ  13  ปี  ซึ่งในความเป็นจริงหลักวิชานี้จะเกี่ยวข้องกับคนและสัตว์ด้วย และในขณะนี้ผมก็กำลังศึกษาเรื่องธาตุทั้ง 5 ที่เกี่ยวกับมนุษย์อยู่ด้วย ถ้าได้ผลประการใดคงจะได้มีโอกาสเขียนเป็นหนังสือให้คนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้า ต่อไป แต่ในชั้นนี้ผมจะเขียนเฉพาะด้านพืชเท่านั้น  เมื่อตอนคุณพ่อถ่ายทอดวิชานี้ให้ก็ใช้วิธีบอกปากเปล่าเป็นภาษาจีน ผมต้องใช้เวลานานเกือบสี่สิบปีทำการทดสอบกับเรื่องต่างๆที่คุณพ่อถ่ายทอดให้ จนพอเข้าใจว่าพืชไปเกี่ยวข้องอะไรกับธาตุทั้ง 5  เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจง่าย ผมขอแบ่งหลักการปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จขอแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ดังนี้
 ส่วนที่ 1 ธาตุทั้ง 5 คือ ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ และธาตุโลหะ แบ่งเป็น 5 ข้อ ดังนี้
    1. ธาตุดิน คือ ธาตุที่เกิดจากหิน, สินแร่ และซากพืช ซากสัตว์ต่างๆที่ทับถมกันเป็นเวลานานแล้วย่อยสลายเป็นดิน  เป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย เช่น ไส้เดือน หรือ จุลินทรีย์ เป็นต้น มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช 13 ธาตุในการดำรงชีวิต และเป็นธาตุที่รองรับสสารกับวัตถุต่างๆบนโลก  เช่น       ต้นยางพาราที่ยืนต้นได้ไม่ล้มก็เพราะอาศัยดินเป็นตัวยึดรากเอาไว้ เป็นต้น
2. ธาตุน้ำ คือ ธาตุไฮโดรเจน (H) กับธาตุออกซิเจน (O) ดั่งคำที่มีการกล่าวกันไว้ น้ำคือชีวิต เพราะไม่ว่าพืชหรือสัตว์ถ้าไม่มีน้ำก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
    3. ธาตุลม คือ ธาตุคาร์บอน (C) ธาตุออกซิเจน (O)  พืชหรือสัตว์ก็ต้องหายใจ ถ้าขาดธาตุลมก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน ต้นไม้ที่เราเห็นตั้งแต่ราก, ลำต้น, กิ่ง, ใบ ก็คือองค์ประกอบของธาตุคาร์บอน แม้แต่แผ่นยางพาราก็มีธาตุคาร์บอนปะปนอยู่เช่นกัน
    4. ธาตุไฟ คือ อุณหภูมิและแสงแดด  โดยเฉพาะพืชที่มีสีเขียว (คลอโรฟิลล์) จำเป็นต้องอาศัยแสงแดดในการปรุงอาหาร หรือสังเคราะห์แสง  ฉะนั้นถ้าพืชขาดแสงแดดและอุณหภูมิที่เหมาะสมก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
    5. ธาตุโลหะ คือ ปัจจัยการผลิตทั้งหมด ได้แก่ พันธุ์พืช, ธาตุอาหาร, สินแร่ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้  ยกตัวอย่างธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช เช่น ธาตุไนโตรเจน, โพแทสเซียม, แคลเซียม เป็นต้น ถ้าเป็นพันธุ์พืช เช่น ต้นยางพารา, ต้นมะม่วง, ผักบุ้ง เป็นต้น
ส่วนที่ 2 การฝึกอวัยวะทั้ง 5 คือ ตา  หู  จมูก  ปากและมือ ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้
    1. ตาดู ต้องหมั่นใช้ตาสังเกต หรือ อ่านหนังสือวิชาความรู้ต่างๆให้มาก  เกษตรกรโดยทั่วไปมักขาดการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเอง ขอยกตัวอย่างสัก 3 เรื่อง
    ตัวอย่างที่ 1 พืชที่เราปลูกอยู่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามฤดูกาลและอายุของมัน เช่นเมื่อเราปลูกทุเรียน ส่วนมากจะรู้สึกได้เมื่อตอนที่ต้นทุเรียนติดดอกและออกผลแล้ว  ซึ่งก่อนหน้านั้นเกษตรกรส่วนใหญ่มักไม่ได้สังเกตขบวนการเปลี่ยนแปลงของต้น ทุเรียน จะมาดูอีกครั้งก็เมื่อติดดอกออกผลแล้ว
ตัวอย่างที่ 2 เรื่องการเพาะเห็ดก้อนในโรงเรือน  โดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุทำก้อน  เราต้องฝึกใช้ตาสังเกตสีของขี้เลื่อยว่าลักษณะสีแบบไหนเหมาะสมที่จะนำมาเพาะ เห็ดได้
    ตัวอย่างที่ 3 เรื่องการประมาณการปริมาณน้ำฝน ในพื้นที่การเกษตรของเราว่าตกปีละประมาณกี่มิลลิเมตร ก็ให้สังเกตดูต้นไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นเราว่ามีลักษณะเปลือกบริเวณลำต้นแบบ ไหน เช่น เปลือกหนาหรือบาง, เปลือกหยาบหรือเรียบ, เปลือกแข็งหรืออ่อน, มีราหรือตะไคร้เกาะอยู่มากหรือน้อย, ลักษณะทรงพุ่มใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น  ซึ่งลักษณะโครงสร้างภายนอกเหล่านี้ก็สามารถประมาณการได้ว่า ในพื้นที่นั้นปีหนึ่งมีฝนตกประมาณกี่มิลลิเมตร
บันทึกการเข้า
green power
Full Member
member
**

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 10:34:35 am »

2. หู  ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี  เมื่อมีผู้รู้หรือครู อาจารย์ หรือปราชญ์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ต้องตั้งใจฟัง  จากนั้นนำมาแยกแยะวิเคราะห์หาเหตุและผล  ดังคำสอนในทางพุทธศาสนาที่ว่า เมื่อเราเกิดผลในปัจจุบัน มันต้องมีเหตุมาจากอดีต ขอยกตัวอย่างง่ายๆเรื่องหนึ่ง  การที่เราได้กินผลมะม่วงในวันนี้ ก็เพราะเราต้องปลูกต้นมะม่วงก่อน  ซึ่งก็มาจากต้นเหตุที่เราปลูกมะม่วงในอดีตก่อน  จึงมีผลให้เราได้กินในวันนี้  เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราปลูกต้นยางพาราแล้วจะออกลูกมาเป็นผลมะม่วง
    3. จมูก  โดยทั่วไปคนที่ร่างการปกติ จมูกสามารถที่จะแยกแยะกลิ่นต่างๆได้ เช่น นี่คือกลิ่นทุเรียน หรือกลิ่นหอมดอกมะลิ เป็นต้น ฉะนั้นตัวเกษตรกรก็ควรฝึกการใช้จมูกแยกแยะกลิ่นให้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการทำเกษตรได้มาก ขอยกตัวอย่าง 3 เรื่อง
ตัวอย่างที่ 1  ฝึกใช้จมูกแยกกลิ่นปุ๋ยชนิดต่างๆ เช่น ปุ๋ยยูเรียมีกลิ่นแบบไหน หรือปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีต้องมีกลิ่นแบบไหน เป็นต้น
    ตัวอย่าง ที่ 2  เรื่องการเพาะเห็ดก้อนโดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ก็ดมกลิ่นขี้เลื่อยให้เป็นว่ากลิ่นแบบไหนคุณภาพดีหรือไม่ดี เช่น กลิ่นขี้เลื่อยคุณภาพดีจะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และสีต้องไม่ดำคล้ำ สภาพเนื้อขี้เลื่อยไม่ยุ่ยเมื่อใช้มือบี้
ตัวอย่างที่ 3  การใช้จมูกดมกลิ่นดินในพื้นที่จะทำการปลูกพืช วิธีนี้สามารถบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง เช่น ดินนี้มีอินทรียวัตถุอยู่มากหรือน้อย หรือมีสารเคมีฆ่าหญ้ามามากหรือน้อย หรือขณะที่ขุดดินมาดมในดินมีความชื้นอยู่มากหรือน้อยแค่ไหน เป็นต้น
    4. ลิ้น  โดยปกติลิ้นของคนเราสามารถแยกแยะรสชาด ฉะนั้นควรรู้จักใช้ลิ้นให้เกิดประโยชน์  สมมุติเราปลูกไม้ผลอะไรสักอย่าง เราต้องใช้ลิ้นชิมดู ผลไม้ที่เราปลูกมีคุณภาพรสชาดตามที่ต้องการหรือไม่  ถ้าชิมแล้วคุณภาพไม่ได้ตามที่ต้องการ แสดงว่า อาจเกิดจากการได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เช่น อุณหภูมิสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้คุณภาพของผลไม้ด้อยลงได้
    5. มือ  ถ้าร่างกายเรามือไม่พิการ  ก็สามารถช่วยเราทำในสิ่งต่างๆได้มากมาย  นอกจากจับถือสิ่งของแล้ว เขียนหนังสือแล้ว ยังสามารถช่วยเราในด้านการทำเกษตรด้วย ขอยกตัวอย่างสัก  2 เรื่อง
    ตัวอย่าง ที่ 1  การทำเห็ดก้อน เมื่อเราผสมวัสดุต่างๆตามอัตราส่วนแล้ว  เราต้องใช้มือกำขี้เลื่อยแล้วแบ เพื่อให้รู้ว่าขี้เลื่อยมีความชื้นพอที่จะนำบรรจุในถุงได้แล้วหรือไม่  หรือการหาความชื้นในโรงเปิดดอกเห็ด ว่ามีความชื้นพอหรือไม่ ให้ใช้มือโบกสะบัดไปมาในโรงเห็ด หลังมือเราก็จะสัมผัสได้ว่ามีความชื้นในขณะนี้มากหรือน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ตัวอย่าง ที่ 2  การฝึกใช้มือคลึงดินหรือบี้ดิน  เพื่อให้รู้ลักษณะโครงสร้างดินเบื้องต้นว่า เป็นดินประเภทไหน เช่น ดินเหนียว, ดินร่วน หรือดินทราย เป็นต้น  เพื่อที่จะได้กำหนดพืชที่เหมาะสมกับประเภทของดินนั้นๆลงปลูก เพราะพืชแต่ละชนิดชอบดินแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน เช่น ข้าวชอบดินเหนียว หรือผักส่วนใหญ่ชอบดินร่วน เป็นต้น
    เรื่องเกี่ยวกับอวัยวะทั้ง 5 นี้ ผมเพียงยกเป็นตัวอย่างขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรที่สนใจนำไปฝึกฝน เพราะในโลกเรามีพืชมากมายหลากหลายชนิด ที่มีการดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน หรือชอบสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือชอบประเภทดินไม่เหมือนกันเป็นต้น ฉะนั้นจึงทำให้การฝึกใช้อวัยวะทั้ง 5 ในแต่ละสภาพพื้นที่ก็ต้องแตกต่างกันออกไป
ส่วนที่ 3  การเข้าใจองค์ความรู้ 4 เรื่อง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือ จากการศึกษาจากตำรา หรือ จากครู อาจารย์ของเรา เป็นต้น องค์ความรู้ 4 ที่ต้องเข้าใจ ได้แก่
    1. เรื่องดิน  เราต้องมีความรู้พื้นฐานลักษณะโครงสร้างดินในพื้นที่การเกษตรของเราก่อนว่า เป็นดินแบบใด เช่น ดินเหนียว, ดินร่วน, ดินลูกรัง เป็นต้น มีสภาพภูมิประเทศ เช่น ที่ลุ่ม, ที่ราบ หรือที่สูง มีหน้าดินลึกหรือตื้นระดับใด ขอยกตัวอย่างสัก 3 เรื่อง
    ตัวอย่างที่ 1  ถ้าเราจะปลูกทุเรียน ควรมีหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เพราะรากที่จะดูดหาอาหารของทุเรียนจะอยู่ระดับประมาณ 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
    ตัวอย่าง ที่ 2  ถ้าจะปลูกพืชประเภทผัก มีหน้าดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตรจากผิวดิน ก็สามารถปลูกได้แล้ว เพราะระบบรากผักหากินอาหารไม่ลึกเหมือนไม้ผล
    ตัวอย่างที่ 3  ถ้าเราคิดจะปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ดินทราย เหมือนที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา       เขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้สามารถปลูกยางให้สำเร็จได้  เพราะดินทรายลักษณะแบบนี้มีคุณสมบัติไม่จับน้ำ จับธาตุอาหาร อินทรียวัตถุ และเป็นตัวสะท้อนความร้อน สังเกตได้เวลาเราเดินเท้าเปล่าบนทรายในเวลาช่วงเที่ยงจะรู้สึกร้อนฝ่าเท้า มาก  ฉะนั้นถ้าเราจะปลูกยางพาราในเขตพื้นที่มีดินทราย ก็ควรปลูกพืชตระกุลถั่ว เช่น   ปอเทือง หรือถั่วพร้าให้เต็มพื้นที่ก่อน  เมื่อถั่วออกดอกก็ไถกลบ  จากนั้นขุดหลุมให้กว้างและลึกประมาณ 70-80 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 7-8 กิโลกรัมผสมแกลบสด 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินบนแล้วกลบก่อนปลูกประมาณ 1 เดือน จากนั้นก็ปลูกพืชคลุมทิ้งแล้วค่อยปลูกยางตามหลัง ในช่วงปีแรกที่ปลูกยาง ควรมีการให้น้ำกับต้นยางในหน้าแล้งด้วย ก็จะช่วยให้ต้นยางรอดตายสูง ส่วนการปฏิบัติดูแลรักษาก็ให้เป็นไปตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง
บันทึกการเข้า
green power
Full Member
member
**

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 10:35:35 am »

สรุป   เราต้องเข้าใจสภาพพื้นที่โครงสร้างดินของเราก่อนว่าเป็นดินประเภทไหน จึงสามารถกำหนดพืชที่เหมาะกับดินของเราและจะได้มีการเตรียมดินที่ถูกต้อง
    2. เรื่องสภาพแวดล้อม ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต, การให้ผลผลิตของพืชเช่นกัน เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้
    2.1 สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่ม, ที่ราบ, ที่ดอน, พื้นที่เป็นลอนลูกคลื่น หรือพื้นที่สูง เป็นต้น ฉะนั้นสภาพพื้นที่ลักษณะต่างๆก็เป็นตัวกำหนดว่าจะปลูกพืชชนิดไหนได้ในแต่ละ สภาพภูมิประเทศ เพราะพืชแต่ละชนิดมีความชอบในภูมิประเทศไม่เหมือนกัน
ขอ ยกตัวอย่าง  ถ้าจะปลูกยางพารา ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง มีระดับน้ำใต้ดินตื้น หรือมีสภาพภูมิประเทศสูงกว่าระดับน้ำทะเล 600 เมตรขึ้นไป เป็นต้น
    2.2 ปริมาณน้ำฝน  มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน  ฉะนั้นเราต้องรู้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในพื้นที่การเกษตรของเราด้วย  เพื่อจะกำหนดพืชที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝนที่เราได้รับในแต่ละปี
    ขอยก ตัวอย่าง  ถ้าพื้นที่เรามีปริมาณน้ำฝน 1,250 มิลลิเมตรต่อปีขึ้นไป หรือมีการกระจายของฝน 120-150 วันต่อปี ก็สามารถที่จะปลูกยางพาราได้ แต่ต้องดูเงื่อนไขอื่นประกอบด้วย เช่น ลักษณะภูมิประเทศ, ลักษณะดิน เป็นต้น
    2.3 อุณหภูมิ (แสงแดด)   พืชแต่ละชนิดมีความต้องการแสงแดดแตกต่างกันไป เช่น ยางพารามีความต้องการแสงแดดจัด  แต่ต้นดาหลามีความต้องการแสงแดดน้อย เป็นต้น ฉะนั้นเราต้องเข้าใจพืชที่จะปลูกว่า มีความต้องการแสงแดดและอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณเท่าไหร่
    ขอยกตัวอย่าง  เห็ดนางรมภูฐานก้อนจะออกดอกได้ดีที่อุณหภูมิในโรงเรือนควรอยู่ที่                29  องศาเซลเซียส
    2.4 ความชื้นสัมพัทธ์  มีส่วนสัมพัทธ์กับการเจริญเติบโต, การผสมเกสร, การติดดอกออกผล, คุณภาพของผลผลิต  เพราะพืชแต่ละชนิดมีความต้องการระดับความชื้นสัมพัทธ์แตกต่างกัน เช่น ทุเรียนที่กำลังติดผล ถ้าได้รับความชื้นสัมพัทธ์สูงเกินไปจะทำให้เป็นไส้ซึมได้ง่าย
ขอยก ตัวอย่าง  เรื่องลองกองเปลือกแตกก่อนเก็บเกี่ยว  ผมได้ทำการทดลองหาสาเหตุเรื่องนี้อยู่   5 ปี ในแปลงทดลอง 12 ไร่ โดยทำการแบ่งครั้งละ 6 ไร่ แปลงหนึ่งทำความสะอาดบริเวณรอบโคนต้นสะอาด  กับอีกแปลงไม่มีการกำจัดวัชพืช โดยจะใช้เครื่องตัดหญ้าตัดปีละครั้งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต  เมื่อลองกองติดผลก็จะปล่อยให้วัชพืชขึ้นจนรก การให้น้ำและปุ๋ยก็ไม่ตัดวัชพืชออก และมีการจดบันทึกอุณหภูมิ ทุกวัน 2 เวลา ช่วงเช้า 08.00 นาฬิกา และช่วงบ่าย 15.00 นาฬิกา ผลปรากฏว่าแปลงที่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกลองกองเปลือกไม่แตก แสดงให้เห็นว่า ต้นลองกองที่บริเวณรอบทรงพุ่ม มีความชื้นสูง เมื่อเกิดฝนตกเปลือกจะไม่แตก  ส่วนต้นที่มีความชื้นต่ำเปลือกจะแตกหมด สาเหตุเกิดจากเปลือกลองกองปรับตัวไม่ทัน  เพราะเมื่อฝนตกลงมาทำให้อุณหภูมิลดอย่างรวดเร็ว ปะทะกับอุณหภูมิสูงในทรงพุ่ม จึงมีผลทำให้ลองกองเปลือกแตก
    2.5 ลม  มีผลต่อการปรุงอาหารของพืชเช่นกัน ถ้ามีลมแรงทำให้ใบพลิกไปมา ก็จะทำให้การปรุงอาหารของใบไม่ต่อเนื่อง ขอยกตัวอย่าง 2 เรื่อง
    ตัวอย่าง ที่ 1  การปลูกยางพารา เราควรรู้ทิศทางลมในพื้นที่ด้วย  เช่น ถ้ากระแสลมมาทางทิศใต้ เราต้องปลูกไม้กันลมดักไว้ หรือปลูกยางพันธุ์ต้านทานลมดักไว้ทิศใต้ 4-5 แถว จากนั้นก็ใช้พันธุ์ปกติปลูกต่อไป
ตัวอย่างที่ 2  โรงเรือนเพาะเห็ด ควรมีฉากกั้นหน้าประตูอีกชั้น เพื่อป้องกันลมพัดเข้าโรงเพาะเห็ด  เพราะถ้าปล่อยให้ลมเข้าโรงเรือนจะทำให้การเดินทางของเส้นใยเห็ดชะงักการ เจริญเติบโต
    2.6 ฤดูกาล  เราต้องรู้ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน, ฤดูร้อน และฤดูหนาว ในพื้นที่การเกษตรของเราอยู่ในช่วงเดือนไหน  เพื่อสามารถกำหนดการปลูกพืชได้ถูกต้อง โอกาสรอดตายสูง
    3. ธาตุอาหาร ก็คืออาหารของพืช  โดยทั่วไปพืชที่มีใบสีเขียวต้องการธาตุอาหารทั้งหมด  16  ธาตุ แต่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป  3  ธาตุ ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน (H), ธาตุอ๊อกซิเจน (O)และธาตุคาร์บอน (C) ส่วนอีก 13 ธาตุจะอยู่ในดิน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ตามความจำเป็นของพืชได้แก่
    3.1 ธาตุที่พืชต้องการมาก ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน (N), ธาตุฟอสฟอรัส (P) และธาตุโพแทสเซียม (K)
    3.2 ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุแคลเซียม (Ca) ธาตุแมกนีเซียม (Mg) และธาตุกำมะถัน (S)
    3.3 ธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก (Fe) ธาตุสังกะสี (Zn) ธาตุโบรอน (B) ธาตุทองแดง (Cee) ธาตุแมงกานีส (Mn) ธาตุโมลิดินั่ม (Mo) และธาตุคลอลีน (Cl)
       ถ้าพืชขาดธาตุหนึ่งธาตุใดก็มีผลต่อการเจริญ เติบโตและผลผลิตของพืช ฉะนั้นเราต้องเข้าใจในธาตุแต่ละตัวด้วยว่ามีคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกัน  ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ก็จะแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เราเห็นได้ ขอยกตัวอย่างให้เห็น 2 ธาตุ ถึงลักษณะอาการขาดธาตุอาหาร
    ตัวอย่างที่ 1  ถ้าพืชขาดธาตุไนโตรเจน (N) ตัวใบจะเหลืองซีดสม่ำเสมอทั้งใบ ธาตุนี้มีหน้าที่ สร้างการเจริญเติบโตให้กับพืช เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ (ส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช) แต่ถ้าพืชได้รับธาตุนี้มากเกินไป จะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง และโครงสร้างลำต้นอ่อนแอ เช่น ต้นยางพาราถ้าได้รับธาตุนี้มากเกินไป ลำต้นจะโค้งโน้มลง ธาตุนี้มีคุณสมบัติพืชดูดไปใช้ได้เร็ว ถ้าอยู่ในรูปสารเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย จะละลายน้ำได้ดี  เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะระเหยไปในอากาศได้ มีสถานะเป็นกรด และเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในโลก 78 เปอร์เซ็นต์ของธาตุทั้งหมด
บันทึกการเข้า
green power
Full Member
member
**

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 10:36:23 am »

ตัวอย่าง ที่ 2  ถ้าพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส (P) จะเกิดอาการไหม้ที่ปลายใบแห้งกรอบ ธาตุนี้มีหน้าที่สร้างเซลล์ตาดอก ระบบราก เป็นส่วนองค์ประกอบของเนื้อไม้ให้แข็งแรง มีคุณสมบัติ เป็นธาตุมีค่าโมเลกุลสูง ละลายช้า ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยธาตุนี้ต้องใส่ให้กระจาย อย่าให้เป็นกลุ่มเพราะทำให้ต้นไม้ตายได้ เนื่องจากธาตุตัวนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากรากออกมามาก เพื่อปรับสภาพบริเวณนั้นให้ค่าสมดุล รากจึงจะดูดซึมกลับเข้าไปได้ แต่ถ้าบริเวณนั้นมีธาตุนี้มากเกินไปจะทำพืชสูญเสียน้ำเลี้ยงมาก ต้นก็จะแห้งตายในที่สุด ความที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ปุ๋ยเค็ม จึงทำให้ต้นไม้ตาย
       สรุป  เราต้องมีความเข้าใจคุณสมบัติและหน้าที่ของธาตุแต่ละธาตุ และสังเกตลักษณะอาการของพืชที่ขาดธาตุอาหารได้ ก็จะทำให้เราสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องในแต่ละพืช และช่วยลดต้นทุนของเราลงด้วย
    4. การจัดการ ก็คือ การเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกและการดูแลรักษา ขอยกตัวอย่าง         1 เรื่อง ถ้าเราจะปลูกยางพาราในเขตพื้นที่มีปัญหาโรคใบร่วง หรือโรคเส้นดำ  ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟท๊อปทอร่า โบทริโอซ่าระบาด เราต้องปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรคนี้แทนพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งไม่ต้านทานโรคนี้ อาจใช้พันธุ์ B P M 24 ปลูกแทน เพราะมีความต้านทานโรคนี้ได้ดี ส่วนการดูแลรักษาพืชที่ปลูก เราสามารถหาอ่านได้จากตำราตามคำแนะนำของพืชแต่ละชนิดได้จากหน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้อง หรือจากห้องสมุดทั่วไป เป็นต้น
       สรุป  ต้องเลือกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพแวดล้อมของพืชแต่ละชนิด การดูแลรักษาและให้ปุ๋ยก็ปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการของพืชแต่ละชนิด
       บท ความที่ผมเขียนขึ้นมานี้ ผมได้สรุปนำส่วนที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วน ดังที่ได้เขียนมาข้างต้น  โดยอาศัยจากการที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากภาษาจีน และผนวกกับประสบการณ์ของตนเอง เพราะถ้าให้ผมเขียนโดยละเอียดในแต่ละส่วน ต้องใช้เวลานานและต้นทุนสูง เพื่อที่จะต้องเดินทางไปทั่วภูมิภาคของประเทศ โดยการถ่ายรูปลักษณะต่างๆในแต่ละท้องที่ เช่น ถ่ายภาพสภาพภูมิประเทศ, ลักษณะโครงสร้างดิน, ต้นไม้ประจำถิ่น และต้องเก็บข้อมูลภูมิสังคมในแต่ละพื้นที่ด้วย ซึ่งทำให้ต้องรวบรวมเรื่องเหล่านี้เป็นหมวดหมู่แล้วเขียนอธิบายตามภาพประกอบ ในแต่ละส่วนของเรื่อง แต่ ณ เวลานี้ผมไม่สามารถทำได้ดังที่คิด จึงจำเป็นต้องเรียบเรียงเอาแต่ส่วนที่เป็นหัวใจของการทำเกษตรด้านพืชที่ ประสบความสำเร็จ เขียนลงบนบทความนี้ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจในการทำเกษตรด้านพืช บทความนี้เปรียบเสมือนตัวจิ๊กซอลร์ 14 ชิ้นที่ผมใส่ลงไปในกรอบรูป ส่วนที่เหลือท่านทั้งหลายต้องนำไปต่อยอดเอาเอง เพื่อให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ โดยการหมั่นฝึกการใช้อวัยวะทั้ง 5 หาประสบการณ์ด้วยตนเอง และศึกษาจากตำราวิชาการต่างๆประกอบเข้าด้วยกัน ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการทำเกษตรแบบยั่งยืน รักษาสภาพแวดล้อมและลดต้นทุนลงด้วย  โดยปกติเกษตรกรในแต่ละภูมิภาคจะมีภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง แต่ขอถามว่าทุกวันนี้เรานำออกมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน จริงอยู่ภูมิปัญญาเหล่านี้ส่วนมากไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่ก็ใช้ได้ผลในทางปฏิบัติ เหมือน 5 ธาตุนี้ที่ผมได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ  ซึ่งไม่มีงานวิจัยรองรับเช่นกัน แต่ก็ได้ผลในทางปฏิบัติเหมือนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยเรา
       ผมหวังว่าบทความชิ้นนี้ สามารถจุดประกายความคิด และเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านที่สนใจในการทำเกษตรได้บ้างไม่มากก็น้อย
   


                         (สันติพงศ์    แซ่ว่อง)
                                   13  เมษายน  2552
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!