น้ำแร่เพื่อบริโภค
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 12:26:46 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำแร่เพื่อบริโภค  (อ่าน 3146 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2009, 06:51:01 pm »

น้ำแร่เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วสำหรับคนไทยในแง่ของน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในพิธีกรรมตลอดจนการนำมาอาบแช่รักษาโรคต่างๆ

         

กระแสของการนำน้ำแร่มาบริโภคเพิ่งเป็นที่นิยมในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีนี้เอง โดยการนำเข้าน้ำแร่จากต่างประเทศซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ต่อมามีการผลิตได้ภายในประเทศ ทำให้น้ำแร่เพื่อบริโภคมีราคาที่ถูกลงใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไป

           น้ำแร่ธรรมชาติ (natural mineral water) หมายถึง น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินในธรรมชาติซึ่งมีแร่ธาตุละลายอยู่ โดยมีต้นกำเนิดจากน้ำบนพื้นดินไหลซึมผ่านชั้นดินและชั้นหินพร้อมทั้งดูดซับ แร่ธาตุต่างๆลงไปขังเป็นแอ่งน้ำใต้ดิน และถูกแรงกดดันภายในโลกทำให้ผุดหรือพ่นขึ้นมาเป็นแหล่งน้ำบนผิวดินในรูปของ น้ำพุร้อน บ่อน้ำร้อน และไอน้ำร้อน


ในประเทศไทยพบแหล่งน้ำพุร้อน ๑๑๒ แหล่ง กระจายอยู่มากที่สุดในภาคเหนือ รองลงมาคือภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคกลาง มีช่วงอุณหภูมิ ๔๐-๑๐๐ องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง ๖.๔-๙.๕

           แหล่งน้ำพุร้อนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกส่วนใหญ่มีค่าฟลูออไรด์สูงมากกว่า ๕ มิลลิกรัมต่อลิตร และมีกลิ่นกำมะถันค่อนข้างแรง   ส่วนแหล่งน้ำพุร้อนในภาคใต้บางแห่งมีลักษณะเป็นน้ำเค็ม ส่วนในต่างประเทศแหล่งน้ำแร่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรีย ตุรกี ญี่ปุ่น และจีน

องค์ประกอบที่สำคัญของน้ำแร่
           น้ำแร่จะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชั้นหินที่น้ำไหลผ่าน ดังนั้น น้ำแร่ธรรมชาติแต่ละแหล่งจะมีแร่ธาตุที่แตกต่างกัน ซึ่งแร่ธาตุที่พบเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ และซัลเฟต ส่วนแร่ธาตุอื่นๆ ที่พบในปริมาณน้อยได้แก่ ฟลูออไรด์ ลิเทียม ซีเลเนียม แมงกานีส เป็นต้น

มาตรฐานน้ำแร่ธรรมชาติเพื่อบริโภค
           น้ำแร่ธรรมชาติที่เป็นเครื่องดื่มเพื่อบริโภคนั้น ต้องมีคุณภาพเหมาะสมที่จะบริโภคได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม น้ำแร่ธรรมชาติ มาตรฐานเลขที่ มอก.2208-2547 โดยน้ำแร่ที่ดีต้องมีคุณลักษณะใส ไม่มีตะกอน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแร่ธาตุในปริมาณที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และมีปริมาณสารปนเปื้อนอันได้แก่ กัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟา-บีตา และไซยาไนด์ ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยน้ำแร่ธรรมชาติที่นำมาบริโภคนั้นมีอยู่ ๕ ประเภท ดังนี้

           ๑. น้ำแร่ประเภทมีคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับหรือใกล้ เคียงกับปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น
           ๒. น้ำแร่ประเภทไม่มีคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่จะทำให้ เกิดการละลายของเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่มีอยู่ในน้ำ
           ๓. น้ำแร่ประเภทขจัดคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ
           ๔. น้ำแร่ประเภทเติมคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิด หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าปริมาณที่มีอยู่ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ
           ๕. น้ำแร่ประเภทเติมคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่มีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการบรรจุ

ตารางแสดงปริมาณสารในน้ำแร่ธรรมชาติตาม มอก.2208-2547 
หน่วย/มก./ต่อ ดม.๓

ลำดับที่   รายการ   เกณฑ์ที่กำหนดสูงสุด
๑    ทองแดง   ๑
๒   แมงกานีส   ๒
๓    สังกะสี   ๕
๔    สารหนู    ๐.๐๕
๕     แบเรียม   ๑.๐
๖     แคดเมียม   ๐.๐๐๓
๗    โครเมียม    ๐.๐๕
๘    ตะกั่ว    ๐.๐๑
๙    ปรอท    ๐.๐๐๑
๑๐    ซีลีเนียม    ๐.๐๕
๑๑   ไนเทรต(คำนวณเป็น NO3)   ๕๐
๑๒    ซัลไฟต์(คำนวณเป็น H2S)    ๐.๐๕
๑๓    ไบคาร์บอเนต   ๖๐๐
๑๔    คาร์บอนไดออกไซด์อิสระ    ๒๕๐
๑๕    โซเดียมคลอไรด์    ๑,๐๐๐
๑๖    ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด   ๑,๐๐๐
๑๗     ซัลเฟต   ๖๐๐
๑๘    ฟลูออไรด์   ๒.๐

           สำหรับผู้ที่สนใจบริโภคน้ำแร่ธรรมชาติเพื่อสุขภาพนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพของน้ำแร่ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำแร่ธรรมชาติ มาตรฐานเลขที่ มอก.2208-2547 แล้ว ยังควรคำนึงถึงด้วยว่าน้ำแร่นั้นมีคุณสมบัติใดเป็นพิเศษ อย่างเช่น มีแร่ธาตุใดเพิ่มขึ้นที่ทำให้สภาพแตกต่างจากน้ำแร่ชนิดอื่นๆ ซึ่งคุณสมบัติพิเศษเหล่านั้นอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคบางราย เช่น

           - สภาพเป็นกรดหรือด่างสูง การดื่มน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างบ่อยครั้งจะทำให้เสียสมดุลความเป็นกรดเป็นด่างของร่างกาย
           - รสกร่อย เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมคลอไรด์สูงมากกว่า ๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จะไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต และความดันเลือดสูง
           - มีฟลูออไรด์สูงมากกว่า ๑ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับผลข้างเคียง เช่น ทำให้ฟันลายไม่เรียบ ฟันเป็นจุดขาวและกร่อนง่าย
           - มีธาตุเหล็กสูงมากกว่า ๕ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจเป็นอันตรายในเด็กเล็ก
           - มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้สูงมากกว่า ๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจทำให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ
           - มีซัลเฟตสูงมากกว่า ๖๐๐ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจมีฤทธิ์ถ่ายท้อง
           - สำหรับเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภค เนื่องจากสภาพร่างกายที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อมเหมือนผู้ใหญ่ปกติ

           ในส่วนของผู้บริโภคที่ทำงานหนักหรือเป็นนักกีฬาที่สูญเสียเกลือแร่ต่อวันใน ปริมาณที่สูง การดื่มน้ำแร่ธรรมชาติที่มีปริมาณแร่ธาตุที่สมดุลและมีสภาพเป็นกลางในบาง ครั้งคราว จะช่วยชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปได้

           นอกจากนี้การพิจารณาเครื่องหมายรับรองคุณภาพและฉลากที่ระบุรายละเอียดอันได้แก่ สถานที่แหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ ส่วนประกอบของแร่ธาตุที่สำคัญ วันหมดอายุ โดยเฉพาะประเภทน้ำแร่เติมคาร์บอเนต จะทำให้ผู้บริโภคได้ดื่มน้ำแร่ธรรมชาติแท้ๆ อย่างปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสารหมอชาวบ้าน กับ วิชาการดอทคอม
URL : www.doctor.or.th/



บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!