ปี่เซียะ
ความเชื่อแต่ละบุคคล โปรดใช้วิจารณาในการอ่าน ผู้เขียนเพียงแต่นำเสนอแนวคิดเท่านั้น
ปี่เซียะ คือ เทพลก กวางสวรรค์มี 1 เขา มีปากไม่มีทวาร เชื่อกันว่าทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก รูปลักษณะของปี่เซี๊ยะตามตำราเดิมเป็นสัตว์สี่เท้า ตัวเป็นกวาง แต่หางเป็นแมว มีเขา และปีก แต่บางแบบก็ไม่มีปีก เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคำว่า ปี่เซียะ เป็นสำเนียงจีนกลาง ถ้าจีนแต้จิ๋วเรียกว่า "ผี่ชิว" กวางตุ้งเรียก เพเย้า หรืออาจเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น เถาปก หรือ ฝูปอ นี้เป็นคำเรียกรวมๆ ของ สิ่งซิ้ว สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตระกูลหนึ่ง
ปี่เซียะ ปี่คือตัวผู้ ส่วนเซียะคือตัวเมีย สองเขาจะเรียกว่าปี่เซียะ ส่วนเขาเดียวจะเรียกว่าเทียนลก ทางเหนือของจีนจะเรียกว่าปี่เซียะ ส่วนทางใต้จะเรียกว่าเทียนลก ถ้าเป็นตัวเดียวจะเป็นตัวเสี่ยงโชค แต่ถ้าเป็นคู่สำหรับวัตุถุมงคล สำหรับขจัดสิ่งชั่วร้าย
ในจดหมายเหตุฮั่นชุในภาคที่ว่าด้วยดินแดนทางประจิมทิศ มีข้อความระบุไว้ว่าในแคว้นหลีแถบเขาอูเกอซาน นั้นมีสัตว์ตระกูลนี้ปรากฏอยู่ลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย นั้นคือ เทียจนลก เทียนหลู่ ตัวคล้ายกวาง หางยาว มีเขาเดียว คำว่าเทียนลู่นั้นแปลตรงตัวว่า กวางสวรรค์ ครั้นต่อมาคำว่า ปี่เซียะ หรือ ผี่ชิว กลายเป็นคำที่คนทั่วไปคุ้นเคยกว่า เทียนลู่แล้วจึงให้เรียกรวมกันไปในทางมายาศาสตร์จีน
แต่เดิมปี่เซียะเป็นสัตว์มงคลที่มีอนุภาพในทางกำจัดปีศาจ และสิ่งชั่วร้ายรวมทั้งปกป้องจากคุณไสย และมนต์ดำต่างๆ กล่าวคือคำว่าปี่ หรือ ผี่ นั้น แปลว่า ปิด เร้นลับหลบซ่อน คำว่า ปี่เซี๊ยะ หรือ ชิว คือ อาถรรพณ์ สิ่งไม่ดี คุณไสย ภูติปีศาจ คำว่าปี่เซียะ หรือ ผี่ชิว จึงแปลได้ว่า ขจัดอาถรรพณ์
คนจีนสมัยก่อนจึงมักเขียนภาพ หรือตั้งปติมากรรม รูปปี่เซียะไว้ตามประตูบ้าน และสุสานทั่วไป บางทีก็ประดับไว้บนหลังคาพระราชวังต่างๆ เพื่อให้มันช่วยขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายนั้นเอง ว่ากันว่ามีพลังในการกำราบสิ่งชั่วร้าย
ลักษณะ 8 ประการของปี่เซียะ
1. อ้าปากรับทรัพย์
2. หางยาวกวักโชคลาภ
3. ยกหัวข่มศัตรูคู่แข่ง
4. เท้าตะปบเงิน (หาเงินเก่ง รักษาทรัพย์ให้งอกงาม)
5. ก้าวขา-ก้าวหน้า
6. ลิ้นยาว ตวัดโชคลาภเงินทอง
7. องอาจน่าเกรงขาม
8. ไม่มีรูทวาร (รูตูด) เงินทองเข้าอย่างเดียวไม่ไหลออก
เบญจธาตุของปี่เซียะ
ปี่เซียะเป็นสัตว์มงคลลูกผสม 5 ชนิด คือ มังกร (หลง) - ธาตุไม้, พญาราชสีห์หรือสิงโต (ชีจื่อ) - ธาตุทอง, อินทรี (อิง) - ธาตุไฟ, กวาง (ลู่) - ธาตุน้ำ, แมว (มาว) - ธาตุดิน
อานุภาพพิเศษ
สัมผัสกลิ่นของโชคลาภได้รวดเร็ว ชัดเจนและแม่นยำ
คุณสมบัติของปี่เซียะคู่กับปี่เซียะเดี่ยว
* เทพปี่เซียะแบบเดี่ยว (ขุนพล) ใช้เรียกทรัพย์ สำหรับคนที่ทำอาชีพค้าขาย ธุรกิจ หรือต้องการให้เงินเข้า ไม่เป็นหนี้
* เทพปี่เซียะแบบคู่ (เทพพิทักษ์) ใช้เฝ้าทรัพย์ สำหรับคนที่หาเงินมาได้แต่ไม่ต้องการให้เงินไหลออก (เก็บเงินไม่อยู่
* การที่จะใช้ปี่เซียะคู่หรือปี่เซียะเดี่ยว ให้ดูหลัก ธรรมชาติ หลักความสมดุล หรือความสวยงามเป็นหลัก
ข้อควรปฏิบัติ
จุดธูปเทียนบอกกล่าวพระ เทพเจ้า เจ้าที่เจ้าทางในบ้านว่า ขอนำปี่เซียะเข้ามาในบ้านเพื่อนำโชคลาภ เงินทองมาให้กับเรา แสดงความรักเหมือนเป็นสัตว์คู่กาย เช่น อาบน้ำเกลือ ลูบตามลำตัว อก หลังจรดหาง บอกประมาณว่า เราเป็นเจ้าของให้ช่วยหาทรัพย์สินเงินทองมาให้ด้วย และควรจัดภาชนะใส่น้ำ (ถ้วยแก้ว) ใส่น้ำสะอาดเปลี่ยนทุกวัน (หรือทุกอาทิตย์) วางไว้ไกล้ๆ ข้อสำคัญ ปี่เซียะที่ผ่านการประสิทธิมงคลแล้ว ไม่ควรวางไว้ที่ต่ำ ที่ใกล้ห้องน้ำ ใต้บันใด หรือเดินข้าม ทั้งนี้ ห้ามยุ่งเกี่ยวใดๆ กับปากและลิ้นของปี่เซียะเป็นอันขาด และห้ามนำไปงานอวมงคลด้วย
การจัดวางปี่เซียะ
วางปี่เซียะไว้คู่กัน โดยให้เพศเมียที่ก้าวเท้าขวาอยู่ด้านขวา เพศผู้ที่ก้าวเท้าซ้ายอยู่ด้านซ้าย หันหน้าไปทางประตู หรือหน้าต่าง วางไว้ในที่สูงพอสมควร (ไม่ควรวางไว้บนหิ้งพระหรือปะปนกับเครื่องรางสัตว์มงคลอื่นๆ)
ของบูชาปี่เซียะ
ขนมจันอับ ชาวจีนเรียก โหงวเส็กทึ้งแต่เหลียง แปลว่าขนม 5 สี (แทนเบญจธาตุ)
ผลไม้มงคล อาทิ
- ส้ม ชาวจีนเรียกว่า กา หรือไต้กิก หมายถึง เป็นมงคลยิ่ง โชคดี - องุ่น ชาวจีนเรียกว่า ผู่ท้อ หมายถึง งอกงาม เจริญ - สัปปะรด ชาวจีนเรียกว่า อั่งไล้ หมายถึง มีโชคมาหา - กล้วย ชาวจีนเรียกว่า เฮียงเจีย หมายถึง มีลูกหลานสีบสกุล - ลูกท้อ ชาวจีนเรียกว่า ท้อ หมายถึง ผลไม้สวรรค์ อายุยืน - ทับทิม ชาวจีนเรียกว่า เสียะลิ้ว หมายถึง ผลไม้สวรรค์ มีความอุดมสมบูรณ์
คาถาบูชา
อุ อา กะ สะ หรือ อุ อา กะ สะ ปี่เซี๊ยะ อานุภาโว เมตตาจิต ประสิทธิเม
คุณสมบัติเศรษฐี
* อุ อา กะ สะ คือ คาถาหัวใจมหาเศรษฐี
* อุ หมายถึง อุฎฐานสัมปทา หมายถึง ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาอาชีพ
* อา หมายถึง อารักขสัมปทา หมายถึง การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ได้มา โดยชอบธรรม
* กะ หมายถึง กัลยาณมิตตา หมายถึง การคบหาสมาคมกับคนดีมีคุณธรรมและน้ำใจ
* สะ หมายถึง สมชีวิตา หมายถึง การใช้จ่ายอย่างประหยัดพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย
ขอขอบคุณข้อมูล ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คลังปัญญาไทย และวิชาการดอทคอม
http://www.panyathai.or.th/