ปริศนาพุทธชินราช "พระเกศล่องหน"
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปริศนาพุทธชินราช "พระเกศล่องหน"  (อ่าน 1859 ครั้ง)
srithaimax ♥1,510
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน262
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 585

ลูกอีสาน หลานย่าโม


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2009, 05:47:03 am »

เป็นข่าวลือหนาหูว่าองค์ “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จ.พิษณุโลก พระพุทธรูปสำคัญของชาวพุทธ-ของประเทศไทย มีพุทธลักษณะ “เปลี่ยนไป” หลังการบูรณะ บ้างก็ลือว่า “พระเกศเปลวเพลิง” เปลี่ยนไป และบ้างก็ลือถึงขั้นพระเกศ “หายไป” ซึ่งถ้าเป็นจริง...มิใช่เรื่องเล็กแน่ ?!?

“พระพุทธชินราช” มีความเป็นมากว่าหกร้อยปี...

อยู่ ๆ ใครจะเปลี่ยนพุทธลักษณะย่อมไม่บังควร !?!



ตามหลักฐานชั้นทุติยภูมิพงศาวดารเหนือระบุว่า...เมื่อปี พ.ศ. 1900 สมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พญาลิไท ทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดใหญ่ หรือ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” วัดชั้นเอกวรมหา วิหารในปัจจุบัน และทรงโปรดฯ ให้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปสำคัญเพื่อนำไปประดิษฐาน โดยดำริให้มีการสร้าง 3 องค์คือ พระพุทธชินศรี, พระศาสดา และ “พระพุทธชินราช”

“พระพุทธชินราช” หล่อขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ขัดเงาเกลี้ยง มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 5 ศอก 1 คืบกับอีก 5 นิ้ว หรือประมาณ 2.875 เมตร มีความสูง 7 ศอก หรือราว 3.5 เมตร ซึ่งตามตำนานระบุว่าพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปองค์สุดท้ายที่สร้างเสร็จ โดยต้องหล่อถึง 5 ครั้ง เนื่องจากทองไม่แล่นทั่วองค์พระ จนต้องมีการประกอบพระราชพิธีตั้งสัจจาธิษฐานแล้วทำพิธีเททองหล่อ การหล่อถึงสำเร็จ

และนอกจาก “พระพุทธชินราช” จะเป็นพระพุทธรูปที่มีการรวมบรรดาช่างหล่อ-ช่างปั้นฝีมือดีทั้งจากชะเลียง (สวรรคโลก) เชียงแสน และหริภุญ ไชย (ลำพูน) มาร่วมกันแล้ว ยังมีตำนานร่ำลือว่า...ในการหล่อองค์พระมี “เทวดา” จำแลงเป็น “ปะขาว” ลงมาร่วมในพิธีหล่อด้วย โดยขณะที่ทำการหล่อในครั้ง  สุดท้ายนั้นมีปะขาวผู้หนึ่งซึ่งไม่มีใครทราบว่ามาจากที่ไหนมาช่วยในการปั้นและเททองหล่อ พอเสร็จก็หายไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย

เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้าสักการะ

แต่ “พระพุทธชินราช” ยังมีความน่าสนใจมากกว่านี้ !!

นอกจากตำนานความเป็นมาแล้ว “ความงดงาม” จากพุทธลักษณะก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้คนกล่าวขวัญถึง พระพุทธชินราชมีพุทธศิลป์แตกต่างไปจากพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยสมัยคลาสสิกอื่น ๆ

กล่าวคือ...มี “พระเกศรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง” ซึ่งเป็นจุดที่เกิด “ข่าว ลือ” ล่าสุด และวงพระพักตร์ก็ค่อนข้างกลม ไม่ยาวรีเหมือนพระพุทธรูปยุคศิลปะสุโขทัยองค์อื่น ๆ ยิ่งเมื่อเสริมกับ “ซุ้มเรือนแก้ว” ที่สลักและลงรักปิดทองประดับเบื้องพระปฤษฎางค์ ซึ่งเสมือนเป็นรัศมีรอบ ๆ ยิ่งช่วยขับองค์พระให้โดดเด่นแปลกตา

พุทธลักษณะเด่นต่าง ๆ ทำให้พระพุทธชินราชถูกจัดเป็น “พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดพิเศษ” โดยตั้งชื่อหมวดตามชื่อขององค์พระ ก็คือ “หมวด พระพุทธชินราช” นั่นเอง...

“เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีลักษณะงดงามที่สุดในโลก”

...นี่เป็นคำกล่าวขานกันในแวดวงศิลปะและโบราณคดีไทย ซึ่งนอกจากพระพุทธชินราชองค์จริงที่ จ.พิษณุโลกแล้ว ยังมีการจำลององค์พระพุทธชินราชไปประดิษฐานในบางจังหวัด หลายวัด–หลายแห่ง แต่ที่สำคัญคือองค์จำลองที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรฯ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จำลองมาประดิษฐานไว้

สำหรับการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธชินราช ก็มีอาทิ...สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงลงรักปิดทององค์พระเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2134, สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ทรงบูรณะโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินบริจาคของประชาชนที่ศรัทธาเมื่อปี พ.ศ. 2444

กับการบูรณะครั้งล่าสุดที่ดำเนินการเมื่อปี 2547 เริ่มเป็นข่าวมาตั้งแต่เดือน มี.ค.ปีที่แล้ว โดยทางวัดและสำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช กรมศิลปากร แถลงร่วมกันว่า...เกิดการชำรุดเสียหายที่องค์พระ ทองที่ปิดไว้ถลอก มีรอยขูดขีด บริเวณที่ลงรักมีร่องรอยการแตก จึงน่าจะมีการซ่อมเแซม

เดือน พ.ค. 2547 มีข่าวว่าองค์พระเกิดความเสียหายขณะซ่อม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญขนาดที่ทางรัฐบาลต้องเข้าจัดการ และแถลงว่า...เนื่องจากมีการไปอุดช่องระบายความร้อนในองค์พระที่อยู่ด้านหลังฐานพระ ทำให้ “ทองคำละลาย” ซึ่งหากองค์พระภายในเกิดความร้อนมากเกินไปอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้ “องค์พระระเบิด” และทางรัฐบาลได้เข้ารับดำเนินการเป็นเจ้าภาพในการบูรณะต่อ ร่วมกับกรมศิลปากร แล้วข่าวก็เงียบไป

“หากมองมุมตรง ๆ ก็จะรู้สึกตกใจที่พระเกศไม่เหมือนเดิม แต่หากมองจากทางมุมข้าง ๆ แล้วก็จะเห็นชัดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง”...เป็นคำชี้แจงของ วินัย ชาญวิชัย ไวยาวัจกรวัดใหญ่ ต่อกรณีข่าวลือเกี่ยวกับ “พระพุทธชินราช” ที่ว่า “พระเกศเปลี่ยนไป-พระเกศหายไป” พร้อมทั้งบอกอีกว่า...คงเป็นเพราะมีการเปลี่ยนใช้ไฟสปอตไลต์ที่ฉายจับแบบที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนต่อองค์พระ ทำให้ “แสง-เงา” เปลี่ยน

สรุปคือพุทธลักษณะ “พระพุทธชินราช” ยังงดงามดังเดิม

“พระเกศเปลี่ยน-พระเกศหาย” เป็น “ปาฏิหาริย์ไฮเทค”

เป็นปาฏิหาริย์จาก...“ปรากฏการณ์แสงและเงา !?!”.



บันทึกการเข้า

คิดดี  ทำดี   ย่อมได้รับสิ่งดีๆ
Suchat  sriwicha  โทร D tac  0869486776  6หมู่3 บ้านน้ำบ่า(สระวัด)  ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120
....ผมไม่รู้ทุกเรื่อง.....

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: