เสน่ห์ที่หลากหลายของชายฝั่งทะเลไทย เที่ยวไทยดีกว่า
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 05:48:06 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสน่ห์ที่หลากหลายของชายฝั่งทะเลไทย เที่ยวไทยดีกว่า  (อ่าน 7461 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 10:55:46 am »

เมื่อไทยโชคดี เรามีชายทะเลสวยๆ ยาวเรื่อยไปทางตอนใต้ของประเทศ ชอบตรงไหน ก็เลือกพักผ่อนหย่อนใจตรงนั้น ลงไปเล่นน้ำทะเลสีฟ้าครามสดใส รึนั่งรับลมเย็นๆ อยู่ริมชายฝั่ง มองดูคลื่นที่ซัดกระทบเข้าหาฝั่งระลอกแล้วระลอกเล่า อย่างนี้เองที่เขาเรียกว่า "ทะเลไม่เคยหลับ" 

           ยามที่กล่าวถึงทะเล เราคงนึกภาพคล้ายๆกันว่าจะต้องมี ผืนน้ำ หาดทราย และสายลม แต่หากจะมองให้ลึกถึงเสน่ห์ของแตะละที่ ก็จะเห็นได้ว่ามันมีความต่างไปตามภูมิประเทศ นั้นก็เพราะลักษณะทางธรณีวิทยาของหินเปลือกโลก รวมทั้งอิทธิพลของคลื่นลมและกระแสน้ำ ที่ธรรมชาติสร้างมาให้ไม่เหมือนกัน

           ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีความยาวราวๆ 2,600 กิโลเมตรกว่าๆ ครอบคลุมพื้นที่ 24 จังหวัด ประกอบไปด้วยชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน และชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่ยาวกว่าราวเท่าตัว ครอบคลุมพื้นที่ 24 จังหวัด คำว่า ชายฝั่งทะเล ตามภาษาอังกฤษเรียกว่า COAST นั้น จะหมายถึงพื้นที่ตั้งแต่แนวชายทะเล (Shoreline) ซึ่งก็คือ แนวระดับใดระดับหนึ่งของน้ำทะเล ณ เวลาหนึ่ง อยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด และลงต่ำสุด ขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด จึงทำให้ไม่สามารถที่จะกำหนดความกว้างได้แน่นอน



มื่อพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์หรือลักษณะการกำเนิดของชายฝั่งทะเล สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ใหญ่ๆ ดังนี้

           1. ชายฝั่งทะเลยุบจม (Submerged Shoreline )  เป็นชายฝั่งทะเลที่เกิดจากเปลือกโลกบริเวณริมฝั่งทะเลมีการยุบจมลง หรือไม่ก็น้ำทะเลยกระดับขึ้น ส่งผลให้ทำให้น้ำทะเลไหลท่วมเข้ามาบริเวณที่เคยโผล่พ้นระดับน้ำทะเลกลับลงไปจมอยู่ใต้ผิวน้ำ เกิดเป็นแนวชายฝั่งขึ้นใหม่ ชายฝั่งทะเลประเภทนี้จึงมักปรากฏเป็นหน้าผาชันไม่ค่อยมีที่ราบชายฝั่ง อีกทั้งแนวชายฝั่งก็เว้าแหว่ง และหากภูมิประเทศเดิมเป็นภูเขาด้วยแล้วและเมื่อเกิดการยุบจม น้ำทะเลก็จะไหลท่วมเข้ามา ทำให้เกิดเกาะต่างๆ ขึ้นที่บริเวณชายฝั่ง เช่น ชายฝั่งทะเลแถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล

2. ชายฝั่งทะเลยกตัว ( Emerged Shoreline ) จะตรงข้ามกับแบบแรก คือจะเกิดจากการที่เปลือกโลกยกตัวขึ้นหรือการที่น้ำทะเลลดระดับลง ดังนั้นที่ที่เคยจมอยู่ใต้ระดับน้ำก็จะโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา หากที่ที่เคยจมอยู่ใต้น้ำนั้นเป็นบริเวณที่มีตะกอน กรวด ทราย ตกทับถมกันมาเป็นเวลานาน เมื่อโผล่พ้นน้ำขึ้นมาก็จะกลายเป็นแนวชายฝั่งที่มีบริเวณกว้าง และมีแนวชายฝั่งเรียบตรงไม่ค่อยเว้าแหว่งมาก ตัวอย่างที่ชายฝั่งแบบนี้พบได้ทางซึ่งพบได้บริเวณภาคใต้ ฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส  นอกจากนี้ชายฝั่งทะเลยกตัวบางแห่งอาจมีฝั่งชันเป็นภูเขา เนื่องจากภูมิประเทศเดิมที่อยู่ใต้ทะเลมีความลาดชันมาก ภาคตะวันออก บริเวณอ่าวพัทยา ในอำเภอสัตหีบ และอำเภอศรีราชา ในจังหวัดชลบุรี



3. ชายฝั่งทะเลคงระดับ ( Neutral Shoreline ) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคงระดับ ชายฝั่งที่นี่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาเป็นเวลานานไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ระหว่างระดับน้ำทะเลและบริเวณชายฝั่งของทวีป ทำให้แนวชายฝั่งอยู่คง จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของฝั่งก็เป็นไปตามสภาพปกติ มีการทับถมของตะกอนต่างๆ รวมทั้งคลื่น ลม และกระแสน้ำที่กระทบชายฝั่งอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้ลักษณะของชายฝั่งแตกต่างกันไป เช่น ตะกอนรูปพัด (Alluvial Fan Shoreline), ชายฝั่งดินดอนสามเหลี่ยม  (Delta Shoreline), ดินดอนสามาเหลี่ยมรูปตีนกา (Bird's Foot Type of Delta), ดินดอนสามเหลี่ยมรูปโค้ง (Arcute Type of Delta), ชายฝั่งภูเขาไฟ (Volcano Shoreline),ชายฝั่งแนวหินปะการัง (Coral Reef Shoreline) เป็นต้น

           4. ชายฝั่งทะเลรอยเลื่อน ( Fault Shoreline ) เป็นชายฝั่งทะเลที่เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลก ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแรกรอยเลื่อนจะมีแนวเลื่อนลงไปทางทะเลซึ่งจะทำให้ระดับของทะเลลึกลงไป และแบบที่รอยเลื่อนมีแนวเลื่อนลึกลงไปทางพื้นดินอันส่งผลให้น้ำทะเลไหลเข้ามาในบริเวณพื้นดิน

           5. ชายฝั่งทะเลแบบผสม ( Compounded Shoreline ) ชายฝั่งทะเลกรณีนี้ จะเกิดจากหลายๆ ลักษณะที่กล่าวมาตามข้างตนผสมผสานกันแต่สองชนิดขึ้นไป ชายฝั่งทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งจากคลื่น ลม และกระแสน้ำในรูปแบบของการกัดเซาะ และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศชายฝั่งที่แตกต่างกันออก ดังนี้

           5.1 ภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม ตามแนวชายฝั่งทะเลมักจะเกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีน้ำตื้น อีกทั้งมีลักษณะของชายฝั่งราบเรียบและลาดเทลงไปสู่ก้นทะเล ความเร็วของคลื่นและกระแสน้ำก็จะลดความเร็วและความแรงลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่ง สารแขวนลอยในน้ำจึงตกตะกอนทับถมกันก่อนหลังตามน้ำหนักของสารนั้นๆ เช่น

           สันทรายหรือสันหาด (Berm) มีลักษณะคล้ายเป็นเนินทรายขนาดเล็กคล้ายที่ราบ อยู่สูงกว่าระดับน้ำท่วมถึงในยามปกติ เป็นแนวสันทรายทอดยาวขนานชายฝั่ง เกิดจากดินหรือทรายที่พังลงจากของฝั่งหรือทรายที่ถูกคลื่นพัดพามาตกทับถมบริเวณชายฝั่งทะเล

           สันนดอน (Bar) เป็นบริเวณที่น้ำทะเลพัดพาเอาทรายหรือตะกอนอื่น ๆ มาสู่ฝั่ง แต่มีสิ่งขวางกั้นก่อนถึงชายฝั่งทำให้น้ำทะเลลดความเร็วลง จึงเกิดเป็นตะกอนทับถมกันมากจนกลายเป็นสันดอนยื่นขวางหรือปิดปากแม่น้ำหรือชายหาด ปิดปากน้ำทางเข้าท่าเรือและปากอ่าว ทำให้เกิดสันดอนรูปแบบต่างๆ คือ สันดอนก้นอ่าว (Bay-Head Bar)  สันดอนปากอ่าว (Bay-Mouth Spit) สันดอนจะงอยปากอ่าว (Barrier Split) สันดอนเชื่อมเกาะ (Tombolo)

           ทะเลสาบน้ำเค็มที่มีน้ำไหลเข้าออกได้ (Lagoon) เกิดขึ้นทั้งในทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล ส่วนที่เกิดในทะเลเรียกว่า “ทะเลสาบน้ำเค็มในทะเล” เกิดจากการปิดกั้นของปะการัง มีทางน้ำแคบๆ ไหลผ่านเข้าออกได้ ส่วนที่เกิดบริเวณชายฝั่งทะเลเรียกว่า “ทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่งทะเล”


 ที่ราบลุ่มชายเลนและพรุน้ำเค็ม (Salt Marsh) เกิดจากกระแสน้ำขึ้นและกระแสน้ำลง พัดพาเอาตะกอนแขวนลอยในน้ำและน้ำจืดเข้ามาผสมรวมตัวกันเป็นตะกอนซึ่งมีอินทรีย์วัตถุปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้อ่าวหรือปากแม่น้ำตื้นเขินลง กลายเป็น “ที่ราบลุ่มชายเลน”

           5.2 ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ มักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก มีลักษณะชายฝั่งลดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้เกิดการกัดเซาะของคลื่นลม และกระแสน้ำเป็นไปอย่างรุนแรง เกิดเป็นภูมิประเทศต่างๆ เช่น

           หน้าผาชันริมทะเล (Sea Cliff) มักเกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทะเลยุบจมที่มีภูมิประเทศเป็นมีภูเขาหรือเทือกเขาอยู่ติดทะเล หรือชายฝั่งที่ชั้นหินวางตัวในแนวเอียงเท หรือในแนวตั้ง ทำให้คลื่นจะกัดเซาะฝั่งเกิดเป็นหน้าผาริมทะเลและหันออกไปทางทะเล พบได้ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

           เว้าทะเล (Sea Notch) เป็นรอยเว้ามีลักษณะเป็นแนวยาวขนานไปกับระดับน้ำทะเล ตามบริเวณฐานของหน้าผาชันริมทะเล จากการกัดเซาะของคลื่นและการกร่อนละลายของหินปูน ใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงระดับน้ำทะเลในอดีตได้

           โพรงหินชายฝั่ง (Grotto) หรือถ้ำทะเล (Sea Cave, Marine Cave) ถ้ำชนิดนี้เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นที่หน้าผาชายฝั่ง ทำให้เป็นช่องหรือโพรงเข้าไป กลายเป็นโพรงขนาดเล็ก เมื่อเวลานานด้วยปัจจัยจากน้ำฝนและน้ำใต้ดิน ก็กลายเป็นถ้ำ (cave) ในที่สุด

           สะพานหินธรรมชาติ (Sea Arch) เกิดจากการที่คลื่นและลมได้กัดเซาะแนวหินบริเวณหัวแหลมทั้งสองด้านพร้อมๆกัน  เกิดโพรงหินชายฝั่งทะลุถึงกัน ทำให้หินส่วนที่เหลืออยู่เหนือโพรงมีลักษณะคล้ายสะพาน



ชวากทะเล (Estuary) เกิดจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลง ที่บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำจะมีความกว้างมากกว่าปกติ มีลักษณะคล้ายอ่าวที่บริเวณนี้จะมีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำทะเล

           ถ้ำลอด (Sea Arch) เป็นโพรงหรือถ้ำที่เปิดทะลุอกทะเลทั้งสองด้าน

           ถ้ำลอดที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา

           แหลมและอ่าว (Cape and Bay) เป็นลักษณะของชายฝั่งจะเว้าแหว่งไม่สม่ำเสมอกัน ส่วนยื่นออกไปในทะเล เรียกว่า แหลม (Cape) และเว้าลึกเข้ามาในแผ่นดิเรียกว่าอ่าว (Bay) ซึ่งเกิดจาก

           เกาะหินโด่ง (Stack) เกิดจากแหลมหินที่ยื่นออกไปในทะเล และถูกคลื่นและลมเซาะทั้ง 2 ข้าง จนปลายแหลมถูกตัดออกเป็นเกาะ

           ทุกวันนี้เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามากมายของชายฝั่งทะเลอย่างขาดความรับผิดชอบ จนยากที่จะเยียวยาอยู่หรือเปล่า

ข้อมูลอ้างอิง
           ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ที่มา http://www.md.go.th
           ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากกษัยการของคลื่น ที่มา www.earthsci.org
           ชายฝั่งทะเลของไทย ที่มา www.phangngacity.co m
           ธรณีวิทยากับแหล่งท่องเที่ยวของไทย โดย สิน สินสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ที่มา สสวท.
           ความรู้ทางทะเล ที่มา ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ
[url]http://www.southernthailand-all.com/]
ชวากทะเล (Estuary) เกิดจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลง ที่บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำจะมีความกว้างมากกว่าปกติ มีลักษณะคล้ายอ่าวที่บริเวณนี้จะมีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำทะเล

           ถ้ำลอด (Sea Arch) เป็นโพรงหรือถ้ำที่เปิดทะลุอกทะเลทั้งสองด้าน

           ถ้ำลอดที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา

           แหลมและอ่าว (Cape and Bay) เป็นลักษณะของชายฝั่งจะเว้าแหว่งไม่สม่ำเสมอกัน ส่วนยื่นออกไปในทะเล เรียกว่า แหลม (Cape) และเว้าลึกเข้ามาในแผ่นดิเรียกว่าอ่าว (Bay) ซึ่งเกิดจาก

           เกาะหินโด่ง (Stack) เกิดจากแหลมหินที่ยื่นออกไปในทะเล และถูกคลื่นและลมเซาะทั้ง 2 ข้าง จนปลายแหลมถูกตัดออกเป็นเกาะ

           ทุกวันนี้เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามากมายของชายฝั่งทะเลอย่างขาดความรับผิดชอบ จนยากที่จะเยียวยาอยู่หรือเปล่า

ข้อมูลอ้างอิง
           ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ที่มา http://www.md.go.th
           ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากกษัยการของคลื่น ที่มา www.earthsci.org
           ชายฝั่งทะเลของไทย ที่มา www.phangngacity.co m
           ธรณีวิทยากับแหล่งท่องเที่ยวของไทย โดย สิน สินสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ที่มา สสวท.
           ความรู้ทางทะเล ที่มา ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ
http://www.southernthailand-all.com/
ที่มา วชก.คอม





บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!