ย่านท่าหลวง ชุมชนเก่าริมน้ำ แห่งเมืองจันทบุรี
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 11:55:58 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ย่านท่าหลวง ชุมชนเก่าริมน้ำ แห่งเมืองจันทบุรี  (อ่าน 7628 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2009, 12:55:54 pm »

หากพูด ถึงชุมชนเก่า ย่านเก่า หรือแม้ตลาดเก่า  พิพิธภัณฑ์เก่า แน่นอนค่ะ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนตัวแทนที่คอยบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของ วิถีชีวิต และวัฒนนธรรม ในอดีตของคนเมืองนั้นๆ เช่น เดียวกับ ย่านท่าหลวง ชุมเก่าริมน้ำ แห่งเมืองจันทบุรี  ซึ่งชุมชนเก่าที่มีอายุกว่า 100 ปี เป็นสถานที่อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีไว้ให้พวกเรากลุ่มชนรุ่นหลัง ได้ซึมซับถึงความงดงามของความเจริญรุ่งเรืองของเมืองจันในอดีต เคยได้ยินเรื่องเล่าต่างๆ มากมายจากตลาดเก่า และย่านเก่ามีชื่อมาก่อนหลายครั้ง และพอได้สืบค้นข้อมูลก็ปรากฎว่า ย่านท่าหลวง ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ยังหาข้อมูลได้ยากยิ่งนักเนื่องจากยังเป็นสถานที่ที่เพิ่งจะได้รับการ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ไม่นาน ครั้งนี้เลยอยากให้เพื่อนๆมาฟัง เรื่องเล่าจากชุมชนเก่าในอดีตย่านท่าหลวง กันบ้าง พร้อมแล้วก็มาฟังเรื่องราวกันดีกว่าค่ะ

การเดิน ทางเพื่อไปเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนเก่าแห่งนี้จุดเริ่มต้นในการ เดิน คือ จากเชิงสะพานวัดจันทร์ ผ่านบ้านท่าหลวงยาวเป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่างประมาณ 1 ก.ม. และร้านแรกที่เราเจอ คือ ร้านตัดผมแบบเก่า ซึ่งยังคงเป็นที่เป็นที่นิยมของคนในชุมชนไม่เสื่อมคลาย



เดินมา เพียงไม่กี่ก้าวก็มาถึงร้านต่อไปซึ่งอยู่ไม่ไกลจากปากทางเชิงวัดจันทร์นัก  คือ ร้าน ขายของที่ระลึก �ริมน้ำจันทบูร� ขายทั้งเสื้อ โปสการ์ด  ร้านนี้เป็นเพียงร้านขายของที่ระลึกเพียงแห่งเดียวในย่านนี้ ร้านตกแต่งได้น่ารักมากค่ะ


มีโปสการ์ดบอกเล่าเรื่องราวของเมืองจันทบุรีมากมาย



เสื้อ ของที่ระลึกอีกสิ่งหนึ่งเป็นที่นิยมของทุกสถานที่ท่องเที่ยวที่เรามักจะได้ พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่เว้นแม้แต่ที่นี่ ของที่ระลึกนี้เป็นเพียงสื่อน้อยๆ ที่เพื่อบอกว่า "ไปจันท์ มาฮิ"


รถคู่ใจของเจ้าของร้าน


ย่านท่า หลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรีด้านตะวันตก แต่เดิมรู้จักกันในชื่อที่เรียกกันติดปากว่า"บ้านลุ่ม" ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนและญวนอพยพตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาได้พัฒนามาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าของจันทบุรีที่สำคัญแห่ง หนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีจุดเริ่มต้นจากเชิงสะพานวัดจันทร์ ผ่านบ้านท่าหลวงยาวเป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง บริเวณที่เรียกว่าท่าเรือจ้าง อาคารส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัยและร้านค้าของชุมชนที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

ย่านท่า หลวง มีลักษณะเป็นตึกแถวโบราณมีลวดลายไม้จำหลักอ่อนช้อยงดงาม อยู่ตามบานประตูหน้าต่างและมุมอาคารซึ่งจะพบรูปแบบเรือนขนมปังขิงปะปนอยู่ ด้วย เพราะชาวจันทบุรีได้รับอิทธิพลจากการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเมื่อสมัย ร. 5 ย่านท่าหลวงจึงถือว่าเป็นย่านประวัติศาสตร์ของ จ.จันทบุรี

ย่านท่าหลวงจึงถือว่าเป็นย่านประวัติศาสตร์ของ จ.จันทบุรี

หากเราเดินไปแล้วมองไปทุกๆบ้าน จะเห็นว่าที่นี่ จะมีผู้สูงอายุอยู่แทบทุกบ้าน


















บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2009, 01:13:24 pm »

เดินมา ได้เกือบจะครึ่งซอย ก็มองไปเห็นร้านกาแฟน่านั่งร้านหนึ่ง ชื่อ "ยินดีอาภรณ์ " ตั้งชื่อได้น่ารักเก๋ไก๋ ว่าแล้วก็เข้าไปนั่งพักผ่อน จิบโกโก้ของโปรดให้สบายอารมณ์ กันซักหน่อย



บรรยากาศ อีกมุมนึงของร้าน ติดริมน้ำเย็นสบาย ได้นั่งจิ๊บโกโก้ + บาร์บีคิวที่ขายอยู่หน้าร้าน แทบไม่อยากจะลุกไปที่ไหนเลยค่ะ อยากนั่งอยู่ตรงนี้นานๆ

เดินมา เรื่อยๆ ก็มาเจอร้านขายยาจีนโบราณ หันไปมองเห็นภาษาจีนๆ เขียนเยอะมากตามแต่ละลิ้นชัก เลยถามคุณป้าเจ้าของร้านว่า คือ อะไรค่ะ คุณป้าบอกว่า ชื่อยาจ๊ะหนู โห เยอะแยะมากมาย



ยาเต็มลิ้นชักเลยค่ะ


ชุมเก่า ย่านท่าหลวง ยังถือเป็นชุมชนที่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมไว้อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง  วิถีชีวิตของผู้คน เฉกเช่นอาคารหลังนี้ ร้านขนมไข่ป้าไต๊ เป็นบ้านเก่าแก่  ซึ่งแต่เดิมเป้นโรงพิมพ์เก่า ต่อมา ขุนบุรพาพิผล ได้ซื้อบ้านหลังนี้ไว้ เป็นที่อยู่อาศัยจนรุนลุกรุ่นหลาน  ปัจจุบันลุกหลานได้ประกอบอาชีพขายขขนมไข่ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกว่า"ขนมไข่ป้าไต๊ " ปัจจุบันสิ่งที่มีคุณค่าและสร้างความภูมิใจให้แก่ลูกหลาน คือ รูปทรงตึกทรงยุดรป ลวดลายกระเบื้องดินเผาสีสันสวยงาม รวมทั้งสิ่งของสำคัญในอดีต ต่างๆ เช่นหนังสือโบราณสมัย ร.ศ 120 ตำรายาโบราณ และเอกสารต่างๆ ที่หายาก   



[imghttp://www.fwdder.com/data/mail/2009/08/04/1249378348702/image/__fwdDer.com__-163229685-Attachment29.jpg[/img]http://เดินเข้าซอยเล็กๆมาเพื่อชมบรรยากาศริมน้ำในยามบ่ายแก่ๆ ฝั่งตรงข้ามกันคือโบสต์คริสต์ เมืองจันทร์ ที่ตอนนี้กำลังบูรณะซ่อมแซมอยู่



นอกจาก นี้ย่านเก่าท่าหลวง ยังเป็นที่นิยมของกองถ่ายละคร และกองถ่ายภาพยนตร์ รวมทั้งภาพยนตร์โฆษณา มาใช้โลเกชั่นบริเวณนี้กันบ่อยๆ อาทิ ละคร อยู่กับก๋ง และบริเวณนี่ก็เป็นที่ยทำ โฆษณารังนกสก๊อต ดู ดู๊ ดู ดูเธอทำ



เดินไป เกือบจะสุดซอย และก็ย้อนกลับมาทางเดิน เก็บภาพของบ้านหลังนี้ ที่มีพี่คนนึงเดินมาบอกว่า บ้านหลังนี้หนังสือก็นิยามมาถ่ายบ่อยชื่อบ้าน ดำริพานิช แถมเล่าประวัติให้เราฟังเรียบร้อย ว่าบ้านหลังนี้แต่ก่อนเคยเป็นร้านขายน้ำมะเน็ต น้ำอัดลมโบราณ นั่นเอง



บ้านเรือนโบราณรูปแบบต่างๆ





สำหรับบ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าแก่ ที่เคยเป็นเรสเตอร์รองมาก่อน



จบแล้ว ค่ะกับ เรื่องเล่าจากชุมเก่า ย่านท่าหลวง ชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และได้มีอนุรักษ์เอาไว้เพื่อการท่อง เที่ยว หสกใครได้มีโอกาสแวะมาเมืองจันทบุรี หลังจากได้ไปชื่นชมกับสถานที่ท่องเที่ยวที่แสนจะฮิตของที่นี่แล้ว ก็อย่าลืมแวะมาเรียนรู้มาสัมสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่  ผ่านเรื่องราวของชุมขนริมน้ำย่านท่าหลวงแห่งนี้น่ะค่ะ

ขอบคุณน้อง มะปราง ที่เอื้อเฟื้อ


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2009, 06:02:21 pm »

ขอบคุณพี่ chaiyasith ครับ สำหรับข้อมูลดีๆ   
พูดถึงสมัยก่อนๆ...บรรยากาศเก่าๆ นั้นผมว่าน่ามีความสุขนะ รถก็ยังไม่มี...
ไปไหนมาไหน ก็ต้องเดิน (ไม่มีมลพิษทางอากาศ) หรือว่าใช้รถราก การแต่งตัวของผู้หญิงก็เรียบร้อย
ไม่เหมือนกับสมัยนี้เลย...นุ่งสั่นกระจี้ดเดียว....อนาคตต่อไปยังไงก็ไม่รู้
เป็นไปได้ผมอยากอยู่สมัยก่อนๆ ดีกว่า เอ๋!!!!!!! แต่ก็ไม่มีคอมพิวเตอร์ให้เล่นนี่นา
ก็อย่างว่าแหละครับ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ประเทศพัฒนาไปเรื่อยๆ............  HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2009, 10:26:40 am »

ครับคุณ D2058  ในยี่ปุ่นและอังกฤษยังมีเมืองที่ท่านว่าอยู่ ไม่มีไฟฟ้า ใช้จักรยาน
ใช้ตะเกียงน้ำมัน ใครจะอยู่เมืองที่ว่าต้องทิ้งความทันสมัยไว้ในเมืองอื่นๆแล้วไปใช้ชี
วิตแบบย้อนยุกต์ ใช้หม้อดินหุงข้าวด้วยฟืน กินข้าวด้วยช้อนไม้ ชามไม้ จานไม้ นั่งบน
เสื่อทอจากกก ทุกอย่างห้ามเปลี่ยนแปลง Smiley
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!