ความสำคัญ วันออกพรรษา ได้แก่ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งนี้เพราะในระหว่างพรรษานั้น พระสงฆ์บางองค์อาจมีข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ เป็นวิธีที่จะรู้ถึงข้อบกพร่องของตน ทั้งนี้กระทำโดยเปิดเผย ไม่ถือเป็นเรื่องที่จะมาโกรธเคืองกันภายหลัง หรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน
การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ ๑๕ วันในช่วงเข้าพรรษา
การปฏิบัติตนแม้การปวารณาจะเป็นเรื่องระหว่างพระสงฆ์ด้วยกัน แต่การออกพรรษาก็เป็นวาระสำคัญ
อีกวาระหนึ่งที่ชาวบ้านจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน โดยในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีประเพณีทำบุญ
ตักบาตร ที่เรียกกันว่า ทำบุญตักบาตรเทโว หรือเรียกเต็มๆ ว่า ตักบาตรเมโวโรหนะ
สืบเนื่องจากความเชื่อตามตำนานที่ว่าวันนี้เป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่ได้เสด็จกลับจากการไปโปรด พระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์บางวัดอาจจัดพิธีทำบุญตักบาตรธรรมดา แต่บางวัดก็จัดเป็น
งานใหญ่โต เสร็จจากการทำบุญตักบาตร พุทธศาสนิกชนจะไปฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา๑. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
๔. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ
๑. ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจากออกพรรษาแล้ว ๑ วัน)
๒. พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ กำหนด ๑ เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)
๓. พิธีทอดผ้าป่า (ไม่จำกัดกาล)
๔. ประเพณีเทศน์มหาชาติ (นิยมทำกันในวันขึ้น ๘ ค่ำ หรือ วันแรม ๘ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ หรือในเดือน ๑๐)
ที่มา
วันออกพรรษา