'เทรนด์โลก' เตือนภัย 'อาหารมั่นคง'
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 05:37:20 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'เทรนด์โลก' เตือนภัย 'อาหารมั่นคง'  (อ่าน 2215 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2009, 06:13:04 am »



ไทย 'อย่าประมาท!'

เรื่อง “ความมั่นคงทางอาหาร-ทางโภชนาการ” นับวันจะยิ่ง “เป็นกระแสสำคัญของโลก” ซึ่งทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ มีการศึกษาจัดทำเป็นรายงาน มีการจัดประชุมสัมมนาบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็มักจะเกี่ยวโยงถึงประเทศในเอเชีย รวมถึง “ประเทศไทย” ที่ก็เป็น “แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก”
   
ทางองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ  เอฟเอโอ (FAO) ก็มีรายงานฉบับล่าสุดชี้ว่า...แหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลกอย่างทวีปเอเชียจำ เป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ เพื่อให้พื้นที่เกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอสำหรับประชากรใน อนาคตที่จะเพิ่มขึ้นอีกราว 1,500 ล้านคน ในอีก 40 ปีข้างหน้า ซึ่งปัญหาคือ...ไม่มีพื้นที่เพิ่มสำหรับการทำเกษตรกรรม ทำให้เป็นปัญหา-เป็นวาระสำคัญของโลก
   
สำหรับในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 4-9 ต.ค. 2552 ก็จะมีการจัดประชุมโภชนาการนานาชาติ (International Congress of Nutrition : ICN 2009) ครั้งที่ 19 ที่ไบเทค บางนา โดยจะมี  นักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก มาแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องความมั่นคงทางโภชนาการถ้วนหน้า
   
“ความมั่นคงทางอาหาร-โภชนาการ” ลึก ๆ แล้วคืออะไร ?
   
กับเรื่องนี้ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ อดีตผู้อำนวยการฝ่าย  อาหารและโภชนาการ เอฟเอโอ ระบุว่า... คำว่าความมั่นคงทางด้าน อาหาร (Nutrition Security) นั้นหมายถึงภาวะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหาร ที่มีทั้งปริมาณ คุณภาพ ความปลอดภัย ด้วย วิธีการซื้อหา การปลูก หรือการเสาะแสวงหา เพื่อให้พอเพียงกับการดำรงชีพที่เหมาะสมกับความชอบ ซึ่งสถานการณ์ด้านนี้มีความซับซ้อนขึ้นจากในอดีตมาก จากเดิมที่มักจะเกิดปัญหาภาวะโภชนาการขาด จนมีปัญหาอาทิ... โลหิตจาง, ขาดสารไอโอดีน ก็เปลี่ยนเป็นภาวะโภชนาการเกิน ที่ส่งผล อาทิ... โรคอ้วน, โรคหัวใจ, โรค ความดันโลหิต, โรคเบาหวาน และปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะ  เชิงซ้อน คือมีทั้งภาวะโภชนาการเกินและขาดพร้อมกัน อันเป็นผลจากพฤติกรรมมนุษย์
   
นอกจากด้านโภชนาการแล้ว ความมั่นคงด้านอาหารยัง หมายรวมถึงเรื่องการจัดสรรทรัพยากร การใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลสูงสุดด้วย เพราะถือเป็นความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะเกิดปัญหาหากปริมาณแหล่งผลิต แหล่งน้ำ มีไม่พอเพียงกับปริมาณความต้องการ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และถือเป็นวาระสำคัญของโลก ที่ทางองค์การสหประชาชาติก็ให้ความสำคัญ
   
การเข้าถึงแหล่งอาหารและแหล่งน้ำกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศตื่นตัว เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากรน้ำใน อนาคตเพิ่มขึ้น แต่ในประเทศไทยนั้นความตื่นตัวยังน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะยังเป็นแหล่งผลิตอาหารได้จำนวนมาก จนส่งออกได้ แต่ก็ใช่ว่าความมั่นคงด้านนี้ของไทยจะยั่งยืน เพราะ  มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนใช้ พื้นที่ซึ่งปัจจุบันมีปัญหามากขึ้น
   
นพ.ไกรสิทธิ์ชี้ว่า... งานวิชาการ งานวิจัย จะช่วยตอบโจทย์ ได้ ซึ่งไทยคงต้องเอาจริงทางวิชาการมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาไทยยังอ่อนด้านนี้มาก ซึ่งความมั่นคงทางอาหารจะบอกเพียงว่าอาหารปลอดภัยคงไม่พอ แต่ต้องลงไปที่การสร้างมาตรฐานอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการเกษตรที่ดี โรงงานผลิตที่ดี
   
“ปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่าทุกประเทศตระหนักในเรื่องความมั่นคงทางอาหารมาก แต่ของประเทศไทยกลับสวนทาง เพราะวันนี้เราแทบไม่รู้ว่าพื้นที่ผลิตอาหารนั้นใครต่อใครไปยึดไว้บ้าง ซึ่งถ้าไม่มีแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ในเรื่องการจัดการที่ดี อนาคตฐานการผลิตที่เราเคยมีอยู่จะยังมั่นคงเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ ?” ...อดีต ผอ.ฝ่ายอาหารและโภชนาการ เอฟเอโอ ตั้งคำถามทิ้งท้ายไว้ให้ขบคิด
   
ด้านผู้ผลิตเอกชนอย่าง นภดล ศิวะบุตร ผู้บริหารเนสท์เล่ ที่ชูยุทธศาสตร์ ซีเอสวี (Creating Shared Value : CSV) หรือ การสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันกับสังคม ระบุว่า... วันนี้นอกจากคำว่า “คาร์บอนเครดิต” แล้ว ก็ยังมีคำว่า “วอเตอร์เคร ดิต” เพราะพืชอาหารทุกอย่างต้องใช้ “น้ำ” เพาะปลูก น้ำจึงเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิต ทำให้หลาย ๆ ประเทศที่ขาดแหล่งน้ำ ต่างพยายามเข้าถึงแหล่งน้ำให้ได้มากที่สุด ซึ่งสำหรับประเทศไทย คนอาจมองว่าน้ำมีเยอะแยะ แต่ความจริงแล้วกำลังลดลง กำลังมีปัญหา
   
“ส่วนหัวใจของซีเอสวีคือ บริษัท ธุรกิจต้องทำให้ถูกต้องก่อน ต้องยืนอยู่บนความถูกต้องก่อน ทั้งกฎหมาย จริยธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องทำงานแบบทุกคนทุกฝ่ายอยู่ด้วยกันได้ เดินด้วยกัน ได้ ไม่ใช่เพียงแค่ซื้อมา-ขายไปเท่านั้น บริษัทที่ดีจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ที่จะเข้ามาช่วยลดปัญหาทางด้านความมั่นคงของอาหาร ซึ่งในฐานะผู้ผลิต คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยสร้างหรือบั่นทอนความมั่น คงทางด้านนี้” ...เป็นแนวคิด-มุมมองที่น่าสนใจ ของผู้บริหารธุรกิจอาหาร
   
ขึ้นชื่อว่า “ความมั่นคง” ไม่ว่าจะเป็นด้านไหนก็สำคัญ
   
และนับวันด้าน “อาหาร-สุขภาพ” ก็ยิ่งมองข้ามไม่ได้
   
หากเมืองไทย-คนไทยประมาท...โอกาสเดี้ยงก็มีแน่ !!.



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!