หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 01:31:38 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ  (อ่าน 69701 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 10:02:32 am »

เกล็ดเล็กน้อยเอามาฝาก
หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

 

หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ - เครื่องทำความเย็น

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ

1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE

EVAPPORATOR คือเครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็นตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)

COMPRESSOR คือเครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป

CONDENSER คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัดจนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน

CAPILLARY TUBE คือท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง

หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง

คำว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT ส่วนที่เรียกว่า แอร์ 1 ตัน, 2 ตัน คำว่าตันนั้น หมายถึงตันความเย็น เป็นประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่เรียกตันความเย็น มีที่มาดังนี้

น้ำ ทำให้เป็นนำแข็ง 1 ตัน (2000 Ib) ใน1วัน (24 ช.ม)
ค่าความร้อนแฝงการทำละลายของน้ำแข็ง 144 BTU / น้ำแข็ง 1 ปอนด์
2000 Ib x 144 BTU/Ib 1ตัน = 12000 BTU/h
24h

ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น

ต่อไปจะเปรียบเทียบ ระหว่างแอร์ธรรมดา กับแอร์ เบอร์ 5
กรณีเป็นแอร์ เบอร์5 หรือค่า EER=10.6 ขึ้นไป (EER= ENERGY EFFICIENCY RATIO)
หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำความเย็น หรือ BTU
กำลังไฟฟ้า watt
สมมุติว่าแอร์ 12000 BTU. ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1000 watt จะได้ค่า EER= 12000 =12 นั่นคือได้เบอร์5 เพราะ EER เกิน 10.6
1000
แต่ถ้าแอร์ 12000 BTU.ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1200 watt จะได้ค่า EER= 12000 =10 นั่นคือไม่ได้เบอร์5เพราะ EER ไม่ถึง 10.6
1200

ถ้าเปรียบเทียบกับแอร์ มาเป็นคนละ จะเห็นว่า 2 คน ทำงานเท่ากันแต่คนหนึ่งกินข้าวมากกว่า ส่วนอีกคนกินข้าวน้อย เราควรจะเลือกใช้คนแบบไหนดี

มาดูต่อเรื่อง Compressor เราจะพูดถึงแต่Com. ที่ใช้กับแอร์บ้าน เรียงลำดับตามประสิทธิภาพ

1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU

การทำงานของแอร์บ้าน จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง
 


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 10:08:39 am »

ทำไมต้องล้างแอร์

 

ปัจจุบัน มลภาวะทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น เมืองหลวงของเราเป็นต้น แน่นอนมลภาวะเหล่านี้ไม่เป็นผลดีทั้งต่อมนุษย์และเครื่องใช้ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ที่ทุกบ้านใช้กันอยู่ หลายๆ สาเหตุของแอร์
เกิดจากเพียงแค่แอร์สกปรกหรือแอร์ตันจากการสะสมของฝุ่นละอองเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงแค่ปัญหาเล็กๆ
 

แต่ถ้าปล่อยไว้นาน ปัญหาเล็กๆ
ก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ หรือเป็นจุดเริ่มต้นของแอร์เสีย


ยิ่งทิ้งไว้นานก็ยิ่งลุกลามจนอาจจะต้องเปลี่ยนแอร์ เนื่องจากไม่สามารถเยียวยาได้

นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องล้างแอร์ นั่นก็คือเราจะเสียเงินค่าบำรุงรักษาแอร์น้อยกว่าการเสียเงินเพื่อซ่อมแซมแอร์นั่นเอง
บ้านเรือนทั่วไปที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรจะบำรุงรักษาโดยการล้างแอร์เต็มระบบเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง หรือ ปีละ 3-4 ครั้ง สำหรับบ้านเรือนที่อยู่ติดถนน หรืออาคารสำนักงานที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศเต็มที่เป็นเวลานานๆ
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 10:11:05 am »

การแก้ไขข้อขัดข้องโดยทั่วไปของเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
1.เครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ฟิวส์ขาดหรือไม่มีฟิวส์
สายไฟขาดหรือหลวม
 แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
สวิทซ์ควบคุม ขัดข้องหรือชำรุด
 

เปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่
ตรวจหาตำแหน่งที่ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร
ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่สายไฟก่อนเข้าตัวสวิทซ์ ถ้าวัดแล้วมีแรงเคลื่อนถูกต้องแต่แรงเคลื่อนที่ผ่านออกจากตัวสวิทซ์มีค่าน้อยกว่า หรือไม่ถูกต้องให้เปลี่ยนสวิทซ์ใหม่
2. พัดลมเครื่องเป่าลมเย็นทำงาน แต่คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
สวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ไม่ทำงาน
สายไฟขาดหรือหลวม
แคปสตาร์ท (Starting Capacitor) ชำรุด
แคปรัน (Running Capacitor) ชำรุด
รีเลย์ (ถ้ามี) ผิดปกติ
โอเวอร์โหลดตัดการทำงานหรือชำรุด
แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
 

 

ถ้าปรับสวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในตำแหน่งที่เย็นกว่าอุณหภูมิห้อง แต่เครื่องยังไม่ทำงานให้เปลี่ยนเทอร์โมสตัทใหม่
ตรวจสอบสายไฟและขั้วต่อสายไฟต่างๆ เช่น ที่สวิทซ์และที่ขั้วสายไฟของคอมเพรสเซอร์
ตรวจเช็คแคปสตาร์ทถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
ตรวจเช็คแคปรัน ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
ตรวจซ่อมแก้ไข หรือเปลี่ยนรีเลย์ใหม่
ตรวจดูว่าความร้อนที่คอมเพรสเซอร์สูงเกินไป หรือโอเวอร์โหลดผิดปกติหรือไม่
ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าและทำการแก้ไข
3. พัดลมทำงานมีเสียงดัง
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
พัดลมมีสิ่งแปลกปลอมหรือกระทบกับสิ่งอื่น
พัดลมหรือมอเตอร์พัดลดหลวมหรือชำรุด
ใบพัดบิดเบี้ยวไม่สมดุลย์
 

ตรวจสอบตำแหน่ง และช่องว่างของพัดลมและหาสิ่งแปลกปลอม
ตรวจและขันพัดลมให้แน่นกับเพลา
ตรวจสอบการบิดเบี้ยวของใบพัด ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
4. ห้องปรับอากาศมีอุณหภูมิสูง
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ตั้งอุณหภูมิที่เทอร์โมสตัทไว้สูง
การกระจายลมเย็นไม่เพียงพอ
ปรับตั้งเทอร์โมสตัทให้อุณหภูมิต่ำลง
ปรับปรุงการจ่ายลมเย็น
5. น้ำหยดจากเครื่องเป่าลมเย็น
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ติดตั้งเครื่องเป่าลมเย็นไม่ได้ระดับ
ปลายท่อที่ต่อกับถาดน้ำทิ้ง มีสิ่งสกปรกอุดตัน
ถาดน้ำทิ้งมีรอยรั่ว หรือมีน้ำรั่วจากแหล่งอื่นที่ไม่ได้มาจากเครื่องปรับอากาศ
ติดตั้งเครื่องให้ได้ระดับและทำให้ถาดน้ำลาดลงไปตามทิศทางการไหล
ทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
ใช้วัสดุอุดรอยรั่ว
6. ตัวเครื่องสั่นและมีเสียงลมดังผิดปกติ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ท่อน้ำยาด้านดูดและด้านส่งสัมผัสกัน
นัต หรือสกรูยึดคอมเพรสเซอร์ ฝาครอบเครื่องหรือแคปรับหลวม
ใบพัดลมบิดงอ หรือหลวม
พัดลมมอเตอร์ เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ตั้ง เนื่องจากจุดที่จับยึดหลวม
ดัดท่อให้เกิดช่องว่างระหว่างท่อทางด้านดูด และท่อทางด้านส่ง
ขันนัตหรือสกรูให้แน่น
เปลี่ยนพัดลม
ตรวจตำแหน่งให้ถูกต้อง  และขันนัตที่ล็อคให้แน่น
 
7. คอมเพรสเซอร์สตาร์ทไม่ออก (ถ้าปล่อยไว้นานคอมเพรสเซอร์จะไหม้)
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนต่ำ (หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก)
แคปรัน (Run Capacitor) เสียหายขัดข้อง
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้
กลไกภายในคอมเพรสเซอร์ขัดข้อง
ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่
ค้นหาสาเหตุและแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง
ค้นหาสาเหตุและแก้ไขแล้วเปลี่ยนแคปรันใหม่
เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
 
8. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน (คอมเพรสเซอร์ไม่มีเสียงฮัม)
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
สวิทซ์ของเครื่องปรับอากาศยังไม่ได้เปิดหรือเปิดไม่ครบถ้วน (บางตัวอยู่ในตำแหน่ง OFF)
ไม่มีฟิวส์ หรือฟิวส์ขาด
โอเวอร์โหลดตัดวงจร (Trips)
ระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่น รีโมทคอนโทรลมีปัญหาขัดข้อง
ปรับตั้งเทอร์โมสตัทที่อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้เทอร์โมสตัทตัด
ติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิในตำแหน่งที่โดนลมเย็นจากเครื่องเป่าลมเย็นโดยตรง
วงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้องหรือเกิดการลัดวงจร
ปิดสวิทซ์ที่จ่ายไฟให้เครื่องปรับอากาศให้ครบทุกตัว (สับสวิทซ์ให้อยู่ในตำแหน่ง ON)
ใส่หรือเปลี่ยนฟิวส์
ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการตัดวงจรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย
เปลี่ยนหรือซ่อมแก้ไขระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง
ปรับตั้งเทอร์โมสตัทให้อุณหภูมิทำความเย็นต่ำลง
เปลี่ยนตำแหน่งติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิใหม่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนลมเย็น
ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่
 
9. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานและโอเวอร์โหลดตัดวงจร
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ (หรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก)
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้
ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้าใหม่และแก้ไขให้ถูกต้อง
ค้นหาสาเหตุและหาแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง
เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
 
10. โอเวอร์โหลดตัดวงจรและคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานหลังจากที่เริ่มสตาร์ทใหม่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโอเวอร์โหลดมากเกินไป
มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
โอเวอร์โหลดขัดข้อง
แคปรัน (Run Capacitor) เสียหาย ขัดข้อง
คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด
คอมเพรสเซอร์ไหม้
 
ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้า มอเตอร์พัดลม การต่อสายไฟและขนาดของโอเวอร์โหลดให้ถูกต้อง
ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ไข
ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าและเปลี่ยนโอเวอร์โหลด
ค้นหาสาเหตุและเปลี่ยนแคปรันใหม่
ตรวจวัดสารทำความเย็น (มีการรั่วหรือไม่) ถ้าจำเป็นให้เพิ่มเติมแล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท
เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
11. แคปรัน (Run Capacitor) ขาด ลัดวงจร
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
ใช้ขนาดความจุไม่ถูกต้อง
แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงผิดปกติ (มากกว่า 110% ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุด)
เปลี่ยนแคปรันให้มีขนาดความจุที่ถูกต้อง
หาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกต้อง
 
12. ท่อน้ำยาด้านดูดมีน้ำหรือเกล็ดน้ำแข็งเกาะ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
พัดลมของแฟนคอยล์ยูนิตไม่ทำงาน
มีสารทำความเย็นระบบมากเกินไป
 
หาสาเหตุและซ่อมแก้ไข
ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบแล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท
13. ท่อน้ำยาด้านส่งมีน้ำหรือน้ำแข็งเกาะ (เฉพาะเครื่องรุ่นที่ฉีดน้ำยาที่แฟนคอยล์ ยูนิต)
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
อุปกรณ์กำจัดความชื้นและไส้กรองตัน
เซอร์วิสวาล์วด้านส่งเปิดไม่สุด
เปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
เปิดวาล์วให้สุด
14. ความดันท่อน้ำยาทางด้านดูดและทางด้านส่งต่ำกว่าปกติ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้   วิธีการแก้ไข
สารทำความเย็นในระบบมีน้อย
วาล์วคอมเพรสเซอร์รั่วหรือชำรุด
ตรวจรอยรั่วของระบบ ทำการแก้ไขและเติมสารทำความเย็นเข้าไปใหม่ให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องแล้วทำการตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท
เปลี่ยนวาล์วคอมเพรสเซอร์
 
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 10:14:23 am »

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน(Split Type) ที่ใช้ตามบ้านทั่วๆไปก่อนดังนี้

การเลือกตำแหน่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

ตำแหน่งคอนเด็นซิ่งยูนิต ( CDU ) ที่เหมาะสม

1. บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้

2.ในกรณีที่คอนเด็นซิ่งตั้งวางบนพื้นดินต้องทำฐานรองรับเครื่องด้วยคอนกรีต

3. ติดตั้งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกและห่างจากมุมอับ

4. บริเวณที่ติดตั้งต้องมีการระบายน้ำได้ดีหรือที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง

5. การวางคอนด็นซิ่งยูนิตควรมีลูกยางรองเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของตัวเครื่อง

6. ควรวาง CDU ให้ห่างจากพื้นที่ใช้สอยทั่วไปเพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหาเรื่องเสียงรบกวน

7. อย่าตั้งเครื่องชิดกับคอนเด็นซิ่งยูนิตอื่นหรือผนังเพราะทำให้ระบายความร้อนยาก

8. หลีกเลี่ยงการติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น มีความเป็นกรดสูง,แสงแดดแรงหรือมีน้ำหยด

9. ควรวาง CDU ในบริเวณที่สามารถเข้าไปตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก

ตำแหน่งแฟนคอยล์ยูนิต ( FCU) ที่เหมาะสม

1. ตั้งในบริเวณที่สามารถกระจายลมได้ทั่วทั้งห้องอย่าติดตั้งเครื่องในมุมอับ

2. อย่าให้สิ่งของกีดขวางทางไหลของอากาศเพราะจะทำให้อากาศหมุนเวียนไม่สะดวก

3. บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้

4. หลีกเลี่ยงการวาง FCU ใกล้กับประตู, หน้าต่างหรือพัดลมดูดอากาศ

5. ควรวาง FCU ในบริเวณที่สามารถตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก

6. อย่าตั้งชิดผนังที่โดนแดดจัดเพราะจะทำให้ได้รับความร้อนจากภายนอกได้ง่าย

7. พยายามติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิตให้อยู่ใกล้กับคอนเด็นซิ่งยูนิตจะทำให้ประสิทธิภาพสูงสุด

 


การติดตั้งท่อน้ำยา

ระบบท่อน้ำยานับว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยก ส่วนการเลือกใช้ขนาดท่อที่มีขนาดเล็กเกินไปจะมีผลทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่น ทำให้ประสิทธิ ภาพของเครื่องต่ำลงหรือความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ระหว่างท่อมากเกินไป เป็นต้น ดังนั้นในการเลือก ใช้ขนาดท่อน้ำยาต้องคำนึงถึง

1. PIPE DIAMETER ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำยา

2. PIPE LENGTH ความยาวท่อน้ำยา

3. NUMBER OF FITTINGS จำนวนของข้อต่อต่างๆ เช่น ข้องอ

4. FLUID VELOCITY ความเร็วในการเคลื่อนที่ของสารทำความเย็น

การเลือกใช้ท่อน้ำยาควรเลือกตามคู่มือติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้นๆ แต่ถ้าไม่ทราบก็สามารถหา ขนาดคร่าวๆได้จากแผนผังคำนวณขนาดท่อน้ำยาซึ่งโดยทั่วไปกำหนดความดันตกคร่อมด้านดูด (Suction Line Pressure Drop) 2 PSI/100 FT และความดันตกคร่อมด้านส่ง (Discharge Line PressureDrop) 4 PSI/100 FT.

นอกจากการเลือกใช้ขนาดท่อน้ำยาที่ถูกต้องแล้ว การเดินท่อน้ำยายังต้องทำอย่างถูกหลักการอีก ด้วยจึงจะทำให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบท่อน้ำยาต้องทำความสะอาดให้ดีและ แห้งและในการเดินท่อน้ำยาต้องคำนึงถึงความเร็วของไอน้ำยาให้มากพอที่จะพาน้ำมันหล่อลื่น กลับคอมเพรสเซอร์ด้วย ดังนั้นในการติดตั้งคอนเด็นซิ่งและอีวาพอเรเตอร์ในระดับที่ต่างกันจะ ต้องคำนึงถึง

1. การติดตั้งอีวาพอเรเตอร์ต่ำกว่าคอนเด็นซิ่ง จะมีผลให้น้ำมันกลับเข้าคอมเพรสเซอร์น้อยเพราะ คอมเพรสเซอร์อยู่สูงกว่า ดังนั้นการเดินท่อด้านดูดต้องคำนึงถึงความดันตกคร่อมและเรื่องน้ำมัน กลับด้วย

2. การติดตั้งคอนเด็นซิ่งต่ำกว่าอีวาพอเรเตอร์ จะมีผลให้ความดันตกลงเพราะคอมเพรสเซอร์ต้อง อัดน้ำยาขึ้นที่สูง ดังนั้นการเดินท่อด้านส่งต้องคำนึงถึงความดันตกคร่อมจากความเสียดทานและ การเดินท่อในแนวดิ่ง

การเดินท่อน้ำยาด้านดูดเมื่อตำแหน่งการวางอีวาพอเรเตอร์และคอนเด็นซิ่งอยู่ในลักษณะต่างๆ เป็นดังนี้

1. เมื่อคอนเด็นซิ่งอยู่เหนืออีวาพอเรเตอร์

ให้ทำที่กักน้ำมัน(Oil Trap) เพื่อให้แน่ใจว่า น้ำมันที่อยู่ในระบบจะไหลกับขึ้นไปยังคอม เพรสเซอร์ การทำที่กักน้ำมันควรทำให้ใกล้ อีวาพอเรเตอร์ที่สุดเท่าที่จะทำได้

2. เมื่อคอนเด็นซิ่งอยู่เหนืออีวาพอเรเตอร์ให้ทำที่กักน้ำมันทุกๆช่วงความสูง 4.5 ม. ทั้งนี้เพื่อให้เก็บกักน้ำมันเอาไว้ในขณะ ที่คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานอีกครั้ง น้ำมัน จากที่กักน้ำมันนี้จะถูกดูดไปหล่อลื่นคอม เพรสเซอร์ได้ทันที (ไม่ควรเดินท่อในแนวดิ่งสูงเกินกว่า 15 ม.)

การเดินท่อน้ำยาต่อระบบทำความเย็นยาวเกิน 10 เมตร จะต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มเติมเพื่อ ชดเชยผลของฟิล์มน้ำมันที่ตกค้างผิวด้านในของท่อดูด ตามอัตราตารางต่อไปนี้ต่อทุกๆความยาว 1 เมตรที่เดิน การเติมน้ำมันให้ดูจาก OIL SIGHT GLASS (ถ้ามี) โดยให้อยู่ในช่วง 1/2 ถึง 3/4 ของ OIL SIGHT GLASS

ขนาดท่อ อัตราเติมน้ำมันต่อทุกความยาว 1 เมตร
3/8 7.5 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
1/2 10 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
5/8 20 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
3/4 30 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
7/8 40 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
1-1/8 50 มิลลิเมตร (ซี.ซี)

เมื่อเดินท่อน้ำยาผ่านผนัง,กำแพง ควรบุหรือห่อด้วยฉนวน ซึ่งสามารถลดการสั่นสะเทือนได้ ส่วน ท่อด้านดูดต้องหุ้มฉนวนตลอดความยาวของท่อ ฉนวนที่ใช้หุ้มท่อนี้ต้องมีความหนาอย่างน้อย 1/2 นิ้ว โดยปกติแล้วท่อด้านส่งไม่จำเป็นต้องหุ้มฉนวน ยกเว้นในกรณีที่เดินท่อผ่านบริเวณที่มี อุณหภูมิสูง เช่น ห้องหม้อน้ำหรือกลางแดดร้อนจัด ควรจะใช้ฉนวนยางที่มีความหนาอย่างน้อย 3/8 นิ้ว หุ้มห่อด้านส่งด้วย และต้องเพิ่มความหนาของฉนวนด้านดูดขึ้นเป็นพิเศษด้วยอย่างน้อย หนา 3/4 นิ้ว

 


การติดตั้งท่อน้ำทิ้ง

ท่อน้ำทิ้งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ถ้าติดตั้งไม่ดีอาจมีผลให้น้ำไม่สามารถระบายออกและขัง อยู่ในตัวเครื่องจนล้นออกมาภายนอกสร้างความเสียหายให้บริเวณรอบๆเครื่องได้ ท่อน้ำทิ้งโดย มากจะใช้ท่อ S-LON หรือท่อ PVC โดยต่อออกจากตัวเครื่องอีวาพอเรเตอร์ ท่อน้ำทิ้งควรจะหุ้ม ฉนวนตรงบริเวณที่อาจจะเกิดมีการ condensate โดยเฉพาะถ้าเดินท่ออยู่ในฝ้าเพดาน นอกจาก นี้ท่อน้ำทิ้งควรทำ TRAP ด้วย

 


การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานจึงควรหมั่น ดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการบำรุงรักษาดังนี้

1. หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแฟนคอยล์ยูนิตทุกสองสัปดาห์

2. แผงอีวาพอเรเตอร์คอยล์และคอนเด็นเซอร์คอยล์ควรทำความสะอาด 3-6 เดือนต่อครั้ง

3. มอเตอร์พัดลมทั้งแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเด็นซิ่งยูนิตต้องมีการตรวจเช็คทุก 6 เดือน และทำการหล่อลื่น โดยการอัดจาระบีหรือหยอดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

4. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์

5. ตรวจดูทิศทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต ต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม

6. ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอนเด็นซิ่งยูนิตและแฟนคอยล์ยูนิต

7. ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่

8. ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 


วิธีใช้เครื่องปรับอากาศอย่างประหยัด

การใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนหรืออาคารสำนักงานประมาณ 60% จะใช้กับระบบปรับอากาศ ฉะนั้น ถ้าใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือปล่อยให้มีความร้อนเกิดขึ้นภายในห้องโดยไม่ จำเป็นย่อมก่อให้ผู้ใช้เสียค่าไฟฟ้ามากกว่าความจำเป็น

การประหยัดไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการต่างๆทั้งวิธี การที่ไม่ต้องลงทุน และลงทุนเล็กน้อยซึ่งผลจากการดำเนินงานนั้นจะไม่ทำให้ความสะดวก สบายที่ได้รับจากการใช้เครื่องปรับอากาศต้องลดน้อยลงแต่จะลดค่าไฟฟ้าลงจากปกติ วิธีการ ประหยัดมีดังต่อไปนี้

การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม

1. เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ให้ความเย็นมากแต่กินไฟน้อย โดยดูที่การ กินไฟฟ้าเป็นวัตต์ หรือแอมปโดยควรเลือกที่มีค่าน้อย หรือดูจากค่า COP หรือ EER (Energy Efficiency Ratio) ซึ่งค่ายิ่งสูงยิ่งดี

2. เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับห้อง

3. ควรเลือกอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิหรือเทอร์โมสตัทที่มีความเที่ยงตรงสูง เช่น เทอร์โมสตัท ชนิดอิเล็กทรอนิกส์

4. เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ทดแทนเครื่องปรับอากาศเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจาก ใช้งานมานาน การเปลี่ยนเครื่องใหม่ควรพิจารณาเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง

การลดความร้อนจากภายนอก

การลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ายังบริเวณที่ปรับอากาศโดยผ่านผนัง, หลังคาและพื้น โดยพิจารณาเป็นส่วนๆดังนี้

1. การลดความร้อนผ่านผนัง

1.1 ผนังกระจก เป็นสิ่งหนึ่งที่ความร้อนจากภายนอกสามารถแผ่เข้ามาได้มาก มีวิธีแก้ไขหลาย วิธีคือ

1.1.1 ใช้เครื่องบังแดดภายในอาคาร

- ใช้กันสาดในแนวตั้งและแนวนอน หรือการหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายใน

- สำหรับกระจกที่หันไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ควรติดกันสาดในแนวนอน

- ส่วนกระจกที่หันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ควรใช้กันสาดในแนวตั้ง

- ปลูกต้นไม้บังแดดสำหรับกระจก ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

1.1.2 ใช้ผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนบังแดดภายในด้านหลังกระจกโดยเลือกใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู่ในแนว นอนสำหรับกระจกทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ส่วนกระจกทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกควร ใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู๋ในแนวดิ่ง

1.1.3 เลือกกระจกที่มีคุณสมบัติยอมให้แสงผ่านได้น้อย โดยกระจกที่หันไปทางทิศตะวันตก หรือตะวันออกควรใช้กระจกกรองแสงหรือแสงสะท้อน

1.1.4 พยายามใช้กระจกเท่าที่จำเป็นโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอาคาร

1.2 ผนังอาคารที่เป็นปูน

1.2.1 ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อนหรือใช้วัสดุผิวมัน เช่นกระเบื้องเคลือบเพื่อช่วยสะท้อน แสง

1.2.2 ควรปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดดเพื่อให้ร่มเงาแก่ผนัง

1.2.3 ผนังห้องปรับอากาศโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ซึ่งไม่มีเงากำบังหรือ ห้องข้างเคียงเป็นห้องครัว หรือเป็นห้องที่มีความร้อนมากควรบุฉนวนกันความร้อน

1.3 ผนังอาคารที่เป็นไม้หากมีช่องห่างของไม้มากควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัดเพื่อกันการผ่าน ของ ความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร

2. การลดความร้อนผ่านหน้าต่าง

2.1 หน้าต่างควรมีเฉพาะทิศเหนือหรือทิศใต้ของอาคาร เพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรง

2.2 ต้องพยายามไม่ให้มีรอยรั่วตามขอบประตูหน้าต่างหรือบริเวณฝ้าเพดาน

2.3 หน้าต่างส่วนที่เป็นกระจกให้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผนังกระจก

3. การลดความร้อนผ่านหลังคาและฝ้าเพดาน

3.1 หลังคาที่เป็นสังกะสีหรือกระเบื้อง ควรตีฝ้าหรือติดตั้งวัสดุสะท้อนความร้อน หรือบุฉนวน กันความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนที่จะแผ่เข้ามาในอาคาร

3.2 ถ้ามีช่องว่างระหว่างหลังคากับฝ้ามากควรเจาะช่องลมเพื่อระบายอากาศจะทำให้ประหยัด การปรับอากาศได้

4. การลดความร้อนผ่านพื้น หากเป็นพื้นไม้ควรอุดช่องระหว่างไม้ให้สนิท แอร์จะได้ไม่รั่ว ออกไป

5. การปรับปรุงในส่วนของรูปแบบอาคาร

5.1 ออกแบบและกำหนดทิศทางของอาคารให้อยู่ในลักษณะที่ความร้อนจากภายนอกเข้ามา ในอาคารน้อยที่สุด

5.2 การเลือกสีผนัง,เพดาน และเครื่องตกแต่งอาคารควรเป็นสีอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อน แสงทำให้ห้องสว่างและใช้ดวงไฟน้อยลง

5.3 อาคารที่มีพื้นที่หรือห้องซึ่งไม่ได้ใช้งานประจำอยู่ทางทิศตะวันตกจะช่วยกันความร้อน ไม่ให้เข้ามาถึงห้องที่ใช้สอยประจำ ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอุณหภูมิห้องที่ ใช้สอยประจำลงได้

การลดความร้อนจากดวงไฟและอุปกรณ์ภายใน

1. พยายามใช้แสงธรรมชาติช่วยส่องสว่างภายในอาคารและควรจะปิดไฟที่ไม่จำเป็น

2. ภายในอาคารควรใช้สีอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อนแสงทำให้ใช้ดวงไฟน้อยลง

3. เลือกใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพการส่องสว่างสูง เช่น ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทน หลอดไฟแบบมีไส้

4. อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนมากควรใช้นอกห้อง เช่น เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง หรือกาต้มน้ำ

5. ติดตั้งฝาครอบระบายอากาศ สำหรับเครื่องหุงต้มทุกชนิดถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้องปรับอากาศ

วิธีใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง

1. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมไม่เย็นจัดจนเกินไป โดยปกติขณะนอนหลับควรตั้งที่ 78 F (26 C) แต่ถ้าทำงานตั้งไว้ประมาณ 75 F (24 C)

2.ควรติดตั้งเทอร์โมสตัทให้ใกล้กับคอยล์ของอีวาพอเรเตอร์ในตำแหน่งลมกลับเข้าเครื่อง เพื่อทำให้การตัดต่อเป็นไปอย่างถูกต้อง

3. เริ่มต้นเปิดเครื่องควรปรับระดับความเร็วพัดลมที่ความเร็วสูง (Hi) ก่อนเพราะจะทำให้เย็น เร็วพอเย็นได้ที่แล้วควรปรับลดไปเป็นลมต่ำ (Low)

4. ควรปิดประตู หน้าต่าง ให้มิดชิดอย่าเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ เพราะความร้อนจะเข้ามา

5. เปิดใช้เครื่องปรับอากาศเฉพาะส่วนและในเวลาที่จำเป็น ช่วงที่อากาศไม่ค่อยร้อนให้ปิดเครื่องปรับอากาศ แล้วเปิดหน้าต่างเพื่อให้ลมพัดถ่ายเท

6. หมั่นล้างทำความสะอาดคอยล์ รวมทั้งแผงกรองอากาศให้สะอาดอยู่เสมอ

7. อย่าให้มีสิ่งกีดขวางทางลมทั้งที่แฟนคอยล์ยูนิต(ชุดที่อยู่ในห้อง)
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 10:23:47 am »

วิธีประหยัดค่าแอร์โดยไม่ต้องลงทุน
 
11 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยเราประหยัดพลังงานและพลังเงินของเราโดยไม่ต้องลงทุน หลายวิธีที่จะกล่าวถึงนี้ อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราคิดไม่ถึงหรือเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟได้อย่างไม่น่าเชื่อ

1. ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น

ในห้องปรับอากาศมักติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้องปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่ เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะมีอากาศในปริมาณเท่ากันไหลเข้ามาในห้อง เพื่อทดแทนอากาศส่วนที่ถูกระบายทิ้งออกไป อากาศจากภายนอกที่ไหลเข้ามาแทนที่นี้ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงจนเท่ากับอากาศภายในห้อง

พัดลมระบายอากาศนี้มีความจำเป็น หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานมาก หรือมีกลิ่นจากเอกสาร, อาหาร หรือควันบุหรี่ แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มาก และไม่มีกลิ่นรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ทั้งนี้เนื่องจาก โดยธรรมชาติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ

นอกจากนี้ หากเป็นห้องประชุม ในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อากาศเย็นก่อนจะมีคนเข้าใช้ห้อง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ให้รอจนมีคนเข้าใช้ห้องประชุมเป็นจำนวนมากก่อน จึงเปิดพัดลมระบายอากาศก็ได้


2. ตั้งปิดจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่ใช้งาน

ในสำนักงานสมัยใหม่ มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหนึ่งเครื่อง จะปล่อยความร้อนออกมาโดยประมาณ 250 วัตต์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180-200 วัตต์

โดยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ถูกใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นผู้ผลิตโปรแกรม จึงมีส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้จอมอนิเตอร์ปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้สัมผัสคีย์บอร์ด หรือเมาส์ในระยะเวลาหนึ่ง

สำหรับผู้ใช้ Window 98 การตั้งเวลาสามารถทำได้ ดังนี้
1. เลือก My computer
2. เลือก Control Panel
3. เลือก Power Management
4. ตั้งค่า Power schemes เป็น Home/Office Desk


3.ตั้งอุณหภูมิ 28C แล้วเปิดพัดลมเสริม

ความเย็นสบาย หรือความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) เกิดขึ้นได้จากการมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่สมดุลกัน คือ
1. อุณหภูมิ
2. ความชื้นสัมพัทธ์
3. ความเร็วลม

หากต้องการระดับความสบายเท่าเดิม เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนปัจจัยอื่นเป็นการทดแทนได้

การตั้งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้น จะประหยัดพลังงานได้ โดยปกติแล้วก็จะตั้งได้สูงสุดประมาณ 25-26 C มิฉะนั้นจะร้อนเกินไป

แต่ถ้าเราเปิดพัดลมช่วยเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะสามารถตั้งอุณหภูมิได้สูงถึง 28-30 C โดยยังเย็นสบายเหมือนเดิม (มีระดับความสบายเชิงความร้อนเท่ากัน) โดยจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก


4. นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก

ผนังด้านที่มีความร้อนเข้ามามากทีสุดคือ ด้านตะวันออก และตะวันตก นอกจากความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาแล้ว เวลาที่แสงอาทิตย์ส่องถูกผนัง จะทำให้ผนังมีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาก และจะแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคน ซึ่งจะทำให้คนรู้สึกร้อนขึ้น แม้อุณหภูมิในห้องจะเท่าเดิม ในห้องที่มีสภาพนี้จะต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ประมาณ 21-22 C จึงจะรู้สึกเย็นสบาย แต่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น

การนำตู้ไปตั้งชิดผนัง จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ในห้องที่ผนังห้องไม่ร้อน การตั้งอุณหภูมิที่ 25 C ก็จะเย็นสบายเพียงพอ

นอกจากป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังแล้ว การมีตู้ตั้งชิดผนัง ยังเสมือนว่ามีผนังหนาขึ้น จึงเป็นการช่วยลดความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การนำตู้ไปตั้งติดผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผนังด้านนั้นมีกระจกด้วย จะทำให้อุณหภูมิภายในตู้สูงกว่าอุณหภูมิห้อง ดังนั้น จึงควรระมัดระวังกรณีที่สิ่งของภายในตู้ไม่สามารถทนความร้อนได้


5. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้ และอย่าเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ในขณะปิดแอร์

ระบบปรับอากาศ (แบบน้ำเย็น) ใช้พลังงานประมาณ 1 หน่วยต่อตันต่อชั่วโมง ตัวอย่างเช่นเครื่องปรับอากาศขนาด 5 ตัน เปิดใช้งาน 4 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1 x 5 x 4 = 20 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 20 x 3 = 60 บาท (ค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 3 บาทต่อหน่วย) ในอาคารทั่วไปๆ ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟของระบบปรับอากาศ

การปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้ห้องปรับอากาศจะสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

แต่ในขณะที่ปิดเครื่องปรับอากาศนั้น จะต้องไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ มิฉะนั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกจะเข้าไปในห้องปรับอากาศและจะสะสมอยู่ที่ พื้น, ผนัง, เฟอร์นิเจอร์, พรม, กระดาษ, ผ้าม่าน ฯลฯ เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศครั้งต่อไปเครื่องปรับอากาศก็จะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อดึงเอาความร้อนและความชื้นนี้ออกไป ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่องเสียอีก


6. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกนอกห้องปรับอากาศ

อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะปล่อยความร้อนออกมา เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์นั้นใช้ ดังนั้น ภาระส่วนหนึ่งที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศจึงเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องปรับอากาศ

หากเราสามารถลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศโดยการย้ายออกไปตั้งไว้นอกห้องปรับอากาศได้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มักมีอยู่ในห้องปรับอากาศแต่สามารถย้ายออกไปได้ เช่น
1. ตู้เย็น
2. ตู้ทำน้ำเย็น
3. เครื่องถ่ายเอกสาร
4. หม้อต้มน้ำร้อน หรือเครื่องชงกาแฟ
5. ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
6. หม้อหุ้งข้าวไฟฟ้า
7. ฯลฯ

 


7. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็น

เครื่องใช้ไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง จะปล่อยความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ เท่ากับพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟใช้ และความร้อนนั้นก็จะกลายเป็นภาระของเครื่องปรับอากาศ และต้องเสียพลังงานในการนำความร้อนนี้ทิ้งออกไปข้างนอกอีก

จะเห็นได้ว่า การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไฟฟ้าแสงสว่าง ในห้องปรับอากาศจะเป็นการเสียค่าไฟสองต่อ คือ
- เสียค่าไฟที่อุปกรณ์หรือหลอดไฟใช้
- เสียค่าไฟที่เครื่องปรับอากาศเพื่อนำความร้อนออกไปทิ้งนอกห้อง

ดังนั้น การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศจึงเป็นการประหยัดสองต่อ คือ ประหยัดที่ตัวอุปกรณ์และประหยัดที่เครื่องปรับอากาศ


8. งดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ

เมื่อมีการสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็จะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อระบายควันและกลิ่นออกจากห้อง การระบายอากาศส่วนหนึ่งออกจากห้อง ก็จะทำให้มีอากาศจากภายนอกใหลเข้ามาในห้องทดแทนซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น

หากงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศหรือเปิดเพียงช่วงสั้นๆ ก็เพียงพอซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้

นอกจากนี้ การงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ ยังลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ จึงทำให้มีฝุ่นละอองไปจับที่คอยล์น้อยเครื่องปรับอากาศ จึงมีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมอ และช่วยยืดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศไปได้


9. สวมเสื้อผ้าบางๆ

การสวมเสื้อผ้าบางๆ จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น จึงสามารถตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น

ดั้งนั้น จึงควรรณรงค์ให้ผู้ที่ทำงานในห้องปรับอากาศหันมาใส่เสื่อผ้าบางๆ ไม่ควรใส่สูท เพื่อที่จะตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้


10. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท

หากปิดประตูหรือหน้าต่างไม่สนิท จะทำให้มีอากาศร้อนชื้นจากภายนอกรั่วใหลเข้าไปในห้องได้ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น และสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น

มาตรการนี้ดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าจะต้องกล่าวถึงอีกแต่กลับเป็นปัญหาที่พบบ่อย และละเลยกันมากที่สุด

นอกจากการปิดประตูหน้าต่างไม่สนิทรอยรั่วรอบๆ กรอบประตูและหน้าต่างก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยๆ หากพบว่ามีรอยแยกและมีลมรั่วจากภายนอกเข้ามา ก็ควรดำเนินการแก้ไข เพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน


11. ปิดผ้าม่าน

การปิดผ้าม่าน จะช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ตัวคนโดยตรงได้ และยังช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากผิวกระจกมาสู่ตัวคนด้วย ซึ่งทำให้ไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเพื่อชดเชยการแผ่รังสีความร้อนจึงช่วยประหยัดพลังงานได้

นอกจากลดการแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคนแล้ว ผ้าม่านยังช่วยสะท้อนความร้อนกลับออกไปภายนอกได้ด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนัก) จึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง

 

การที่ทราบว่าการออกกำลังการเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพแต่ไม่ปฏิบัตินั้นย่อมไม่ทำให้เกิดสุขภาพดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การที่ทราบวิธีการประหยัดพลังงานแต่ไม่ปฏิบัติก็ย่อมไม่สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานได้ 11 วิธีประหยัดค่าแอร์โดยไม่ต้องลงทุนนี้ มีประโยชน์อย่างแน่นอน สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานได้ ช่วยให้คนรุ่นต่อไปมีพลังงานเหลือใช้นานขึ้น ช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ให้ลูกหลานของเรา

เมื่อท่านทราบแล้ว ช่วยกันปฏิบัติด้วยนะครับ
ที่มาแอร์โฮมเนท
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 04:28:32 pm »

ขอบคุณพี่ที่ใจดี ได้นำสิ่งดีๆมาฝากครับ Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Smiley
บันทึกการเข้า
tigerchit
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 168


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2009, 09:42:41 am »

สุดยอดเลยครับ  รายละเอียดแน่นมีประโยชน์ตั้งแต่ช่างจนถึงผู้บริโภค  Cheesy 
บันทึกการเข้า

จำหน่ายกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์ในราคาถูกกว่า...
www.digitalland1.co m
sptong
Full Member
member
**

คะแนน33
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 429

วันนี้ "ทำดีหรือยัง"


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2009, 07:27:33 pm »

ขอบพระคุณครับได้ความรู้(ได้ตังค์)ขอบคุณครับ Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า

@_pct53
sal
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 56



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2009, 07:30:41 pm »

ขอบคุณด้วยคนครับสุดยอดจริงๆ 
บันทึกการเข้า
kob07
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 28


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2009, 01:50:45 pm »

ขออนุญาตทำสำเนาไว้แจกลูกค้านะครับ  มีประโยช์มากครับ  ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
sepia
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2009, 12:58:06 am »

ขอบคุณมากๆเลยคับพี่ได้ความรู้เยอะเลย
บันทึกการเข้า
bancha.2518
member
*

คะแนน42
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1066


ลูกสาว ครับ


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2009, 02:11:47 am »

ขอบตุณครับพี่ แต่ขอถามเพิ่มครับ กรณีที่เราเปิดอุณหภูมิแอร์ 25 C กับ 28-30C แต่เปิดพัดลมตั้งพื้นช่วยเป่า อันไหนจะประหยัดไฟได้มากกว่ากันครับ โดนแฟนบนตลอดเลย น่ารำคาร เท่าที่ลองใช้แบบเปิดพัดลมตั้งโต๊ะช่วยเป่า การนอนจะนอนสบายที่ 30 C และ 28 C จะเริ่มหนาวๆแล้วครับ ถ้านอนกลางวันก็จะตั้งไว้ 28-30C เพื่อเลี้ยงอุณหภูมิห้อง นอนอุณหภูมิเย็นมากไม่ดีเดี๋ยวไม่สบาย (บนอุบอิบ 55) ลูกป่วยจนหนาวสั่นเพราะแฟนเปิดอุณหภูมิ25 แล้วหมผ้าหมนอน สมองคงจะฟั้นเฟือนไปแล้ว ผมเปิด28-30 บนอยู่นั้นแหละ กรรม พวกวิชาแก่กล้าเยอะ คงจะสบายใจขึ้นเยอะ (บนอุบอิบ) 
บันทึกการเข้า
dekwat♥
member
*

คะแนน458
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 303



« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2009, 11:38:08 pm »



เหมือนผมเลยครับพี่ ต่ำกว่า 29 หนาวนอนไม่หลับ เป็นพวกขี้หนาว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!