1. การเดินสายภายในนี้ใช้เฉพาะอาคารที่อยู่อาศัย และร้านค้าธรรมดาไม่รวมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานที่ที่อาจจะเกิดอันตราย เนื่องจากวัตถุที่ติดไฟง่าย ซึ่งจะมีกฎเป็นพิเศษ
2. สายเมนภายในและสายที่เดินไปเต้าเสียบจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มม. 2 ถ้าใช้กระแสเกินกว่า 10 แอมแปร์
3. อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ติดตั้งในที่ชื้นหรือถูกฝน จะต้องเป็นชนิดกันน้ำได้
4. เต้าเสียบและกระจุบเสียบหลายทางห้ามใช้ ถ้าหากใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายย่อยของเต้าเสียบและกระจุบเสียบนั้นๆ เต้าเสียบและสวิทซ์ที่ใช้จะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่ากระแสสูงสุดที่ใช้
5. สายไหมหรือสายคู่ตีเกลียวชนิดที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่โยกย้ายได้ชนิดต่างๆ ห้ามใช้ เดินติดกับฝาเพดานผนังหรือพื้น นอกจากใช้เป็นสายสำหรับห้อยดวงโคม
6. การเดินภายในอาคารอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
6.1 การเดินสายในไม้ราง
- การเดินสายในไม้รางนี้ให้ใช้เฉพาะในที่แห้ง
6.2 การเดินสายบนพุกประกับ บนคุ้มหรือบนลูกถ้วย
- การเดินสายบนพุกประกับ ขนาดสายต้องไม่เกิน 6 มม. 2 และการเดินสายให้ปฏิบัติดังนี้
ระยะระหว่างช่วงพุกประกับไม่เกิน 150 ซม.
ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 2.50 ซม.
ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 0.50 ซม.
- การเดินสายบนตุ้ม ขนาดสายต้องไม่เกิน 70 มม. 2 และการเดินสายให้ปฏิบัติดังนี้
ระยะระหว่างช่วงตุ้มไม่เกิน 250 ซม.
ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 10 ซม.
ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 2.50 ซม.
- การเดินสายบนลูกถ้วย การเดินสายให้ปฏิบัติดังนี้
ระยะระหว่างช่วงลูกถ้วยไม่เกิน 500 ซม.
ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 15 ซม.
ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 5 ซม.
ในข้อ 6.1 และ 6.2 ดังได้กล่าวมาแล้ว สายที่ต้องทะลุผ่านสิ่งก่อสร้าง เช่น ผนัง และพื้นห้อง จะต้องมีการป้องกันมิให้สัมผัสกับสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ได้ โดยใช้ปลอกฉนวนชนิดทนไฟและไม่ดูดความชื้นร้อยสาย โดยมีความยาวของปลอกอย่างน้อยเท่ากับความหนาของสิ่งก่อสร้างไว้ป้องกันสายด้วย
6.3 การเดินสายเกาะไปกับผนัง
สายที่เดินเกาะไปกับผนังจะต้องเป็นสายหุ้มฉนวน ซึ่งมีปลอกตะกั่วปลอกเทอโมพลาสติก (Thermoplastic) หรือปลอกอย่างอื่นที่มีคุณภาพคล้ายคลึงกันหุ้มภายนอก การเข้าสายและการต่อสายปลอกตะกั่วจะต้องระมัดระวังไม่ให้ปลอกตะกั่วตอนที่ตัดออกบาดฉนวนหุ้มสาย การยึดสายติดกับผนังจะต้องใช้ที่จับสาย(clips or straps) ที่ทำไว้โดยเฉพาะซึ่งได้รับการเห็นขอบให้ใช้ได้แล้ว
สายที่ทะลุผ่านสิ่งก่อสร้างจะต้องมีปลอกที่เป็นฉนวนไฟฟ้าสวมหรือมิฉะนั้นก็ต้องทำรูให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฉนวนหุ้มสายฉีกขาดหรือเป็นอันตราย
6.4 การเดินสายฝังในผนังตึก
สายที่เดินฝังในผนังตึกจะต้องเป็นสายหุ้มฉนวนที่มีปลอกหุ้มภายนอกชนิดที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้สำหรับฝังในผนังซึ่งได้รับการเห็นชอบให้ใช้ได้แล้ว 6.5 การเดินสายโดยวิธีอื่นได้รับการเห็นชอบให้ใช้ได้ เช่น การเดินสายภายในท่อโลหะในรางหรือการเดินสายโดยใช้สายเคเบิลอาจจะทำได้แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเดินโดยวิธีนั้นๆ
1. ให้ใช้สายชนิดทนแดดทนฝนที่มีฉนวนหุ้มแบบเทอโมพลาสติค(Thermoplastic) เช่น โพลีวินนิลคลอไรด์(Polyvinylchloride) หรือโพลีทีน(Polythene) หรือนีโอพรีน(Neoprene) เดินบนลูกถ้วยหรือตุ้มห้ามใช้สายหุ้มด้าย(Cotton Braided)
1.1 การเดินสายบนตุ้ม
ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับ การเดินสายภายในอาคาร ข้อ 6.2 เว้นไว้แต่ถ้าเดินผ่านที่โล่งให้ใช้ช่วงระหว่างตุ้มไม่เกิน 500 ซม. และขนาดสายต้องไม่เล็กกว่า 2 มม. 2
1.2 การเดินสายบนลูกถ้วย
ถ้าเดินเกาะไปตามสิ่งก่อสร้างต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการเดินสายภายใน ข้อ 6.2 แต่ถ้าเดินผ่านที่โล่งต้องปฏิบัติดังนี้
ช่วงสาย
ระยะระหว่าง
สายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า
ระยะระหว่างสาย ไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้าง
เนื้อที่หน้าตัด
ของสายไม่ต่ำกว่า
ไม่เกิน 20 ม.
10 25 ม.
25 40 ม.
15 ซม.
20 ซม.
30 ซม.
5 ซม.
5 ซม.
5 ซม.
2 มม.
4 มม.
6 มม.
1.3 ระยะสูงจากพื้นดิน
สายไฟฟ้าต้องขึงให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อยที่สุด 2.50 เมตร และในบริเวณที่มียานพาหนะลอด ถ้าเป็นทางที่รถยนต์ผ่านได้ สายไฟฟ้าต้องสูงจากพื้นถนนไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร
1.4 ระยะสูงจากหลังคา
สายไฟฟ้าขึงข้ามหลังคาจะต้องมีระยะสูงจากส่วนที่สูงที่สุดของหลังคาอย่างน้อย 1 เมตร ถ้าหลังคานั้นขึ้นไม่เดินได้ จะต้องมีระยะสูงไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
2. สายที่เดินในระยะต่ำกว่า 2.50 เมตรจากพื้น จะต้องเดินในท่อโลหะ ท่อพลาสติกอย่างหนาท่อไฟเบอร์(Fiber) หรือครอบด้วยรางโลหะ ห้ามเดินในไม้ราง การเดินด้วยท่อโลหะจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม
3. การเดินสายใต้ดิน จะต้องฝังสายให้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และตอนที่สายโผล่จากพื้นดินจะต้องป้องกันโดยใช้ท่อโลหะร้อยหรือใช้ฝาครอบสายที่ใช้เดินใต้ดินจะต้องมีปลอกตะกั่วหรือปลอกเทอโมพลาสติก ชนิดที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้สำหรับฝังใต้ดินห้ามใช้สายปลอกตะกั่วที่มีขนาดเล็กกว่า 6 มม. 2 ฝังดิน การเดินสายใต้ดิน ได้โดยใช้ท่อโลหะ แต่จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะกับการใช้ในที่ชื้นแฉะสายหุ้มด้วย(Cotton braided) ไม่ให้ใช้ในการเดินสายใต้ดิน
การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและการใช้กระแสเกินกำลัง
การต่อสายภายในเข้ากับสายของการไฟฟ้านครหลวง จะต้องมีเครื่องตัดไฟฟ้าเมื่อมีการลัดวงจรหรือการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง เช่น สวิทช์ฟิวส์ ตัดตอน อัตโนมัติที่เหมาะสม และสวิทซ์เมน วงจรย่อยทุกวงจรจะต้องมีเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้นด้วย ถ้ามีวงจรย่อยเกินกว่า 2 วงจร จะต้องมีสวิทช์เมนอีก 1 อัน สวิทช์ตัด ตอนอัตโนมัติที่เหมาะสม และสวิทช์เมนจะต้องติดตั้งในที่ซึ่งเข้าไปปฏิบัติงานได้ง่าย ขนาดของฟิวส์หรือตัดตอนอัตโนมัติที่ใช้ป้องกันวงจรใดวงจรหนึ่งจะต้องมีขนาดไม่เกินกระแสสูงสุดที่ยอมให้ใช้สำหรับสายเมนขนาดเล็กที่สุดในวงจรนั้นเว้น เสียแต่ในวงจรสำหรับเครื่องยนต์ไฟฟ้า อาจใช้ฟิวส์ขนาดที่โตขึ้นไปได้อีกขนาดหนึ่ง
การต่อสาย
การต่อสายจะต้องทำโดยการบัดกรีรอยต่อหรือต่อโดยเครื่องมือกล เช่น ใช้เกลียวกวดหรือใช้บีบหรือพันด้วยฉนวน การต่อสายทุกแห่งจะต้องทำในที่ซึ่งตรวจได้ง่าย
การเข้าสาย (Connection to Terminals)
สายไฟฟ้าที่มีขนาดเนื้อที่หน้าตัดเกินกว่า 6 มม. 2 การเข้าสายต้องทำโดยการใช้หูสาย ซึ่งอาจจะเป็นแบบบัดกรี หรือ แบบบีบ นอกจากอุปกรณ์นั้นมีที่สำหรับเข้าสายเหมาะสำหรับสายไฟขนาดที่จะใช้ไว้แล้ว
การต่อลงดิน
1. เปลือกนอกที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าติดตั้งอยู่กับที่จะต้องต่อลงดิน ส่วนเครื่องใช้ที่ใช้ไฟฟ้าที่โยกย้ายได้ ก็ควรต่อลงดินด้วยถ้าสามารถทำได้
2. สายดินต้องเป็นสายทองแดง จะเป็นสายเปลือยหรือมีฉนวนหุ้มก็ได้เนื้อที่หน้าตัดของสายจะต้องไม่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของสายไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องใช้นั้น และต้องมีเนื้อที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 2.5 มม. 3 สายดินไม่จำเป็นต้องโตกว่า 70 มม. 2 ปลายลงดินจะต้องต่อกับอิเลคโตรด โดยใช้ประกับโลหะหรือโดยการเชื่อมบัคกรีห้ามต่อกับท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้ง
3. อิเล็คโตรดที่ใช้ในการต่อลงดินต้องทำด้วยท่อเหล็กอาบสังกะสีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว ตอกลงไปในดินลึกไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร หรือเป็นอิเล็คโตรดแบบอื่นๆ ที่การไฟฟ้านครหลวงเห็นชอบด้วยแล้วก็ใช้ได้
http://www.mwtech.ac.th/~phugun/basicelec/ex8.htm