การพันหม้อแปลงเพาเวอร์แอมรถยนตร์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 03:11:39 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การพันหม้อแปลงเพาเวอร์แอมรถยนตร์  (อ่าน 18832 ครั้ง)
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2009, 05:37:39 pm »

รบกวนสอบถามท่านผู้รู้หน่อยนะครับ
พอดีผมต้องการเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับวงจรนะคับแต่มีข้อสงสัยอยู่ว่าทำไมไฟมันออกมาไม่ได้ตามที่ต้องการ
ของเดิมที่แกะออก ขาเข้าพัน 6 รอบ  ขาออกพันที่ 22 รอบ ผมวัดดูได้ไฟ ประมาณ 55 vdc
ผมแกะพันขาออกใหม่ 30 รอบ ได้ไฟประมาณ 65 VDC
ผมว่าไฟน่าจะออกที่ 75vdc ใช่ใหมครับ น่าจะอยู่ที่รอบละ 2.5vdc  ขอคำชี้แนะหน่อยครับ
ลายละเอียดวจร
TL494 OSC
FET irfz44n ข้างละ 8 ตัว


บันทึกการเข้า

vceaudio
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 32


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 12:18:40 am »

โทรถามได้ครับจะตอบให้อย่างละเอียดเลย
บันทึกการเข้า
vceaudio
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 32


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 12:20:18 am »

โทรตามนี้เลย 0894111395
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 03:17:41 pm »

ขอบคุณครับแล้วจะติดต่อไป
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 04:56:45 pm »

ก่อนพัน
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 04:57:46 pm »

หลังพันเสร็จ
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 04:58:56 pm »

ด้านส่าง
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 05:05:13 pm »

แอมเป็นโมโนนะครับ 1 แชนแนล c5200+a1943 ทั้งหมดหกคู่  (ใส่แปดคู่ได้)
ดูภาคไดรแล้วน่าจะรับไฟที่ 80vdc ได้

ผมว่าจะพันรอบขาเข้าเพิ่มจากหกรอบ  แต่ไม่กล้าเสี่ยงเพราะไม่มีข้อมูล
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 05:14:46 pm »

อีดตัวครับ  ใช้ขับกลางแหลม 4 แชนแนล
เป็นรูปที่ทำเสร็จแล้ว
ของเดิมขาเข้า 6 รอบ  ออก  13 รอบ  ไฟประมาณ 30 vdc
พันขาออกใหม่ 20  รอบ  ได้ไฟออกประมาณ 38vdc  ตั้งเป้าไว้ที่ 45vdc ผิดจากที่คาดหวังครับ

ข้อเสียของแอมตัวนี้คือร้อนเร็วมากถ้าเปิดอัดแรงๆ แต่ชอบเสียงของมันมากๆสะใจดี  อยากจะแก้เรื่องความร้อนแต่ทำไม่เป็นอ่ะ.......ขอปรึกษาที
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2009, 10:38:02 am »

รบกวนสอบถามท่านผู้รู้หน่อยนะครับ
พอดีผมต้องการเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับวงจรนะคับแต่มีข้อสงสัยอยู่ว่าทำไมไฟมันออกมาไม่ได้ตามที่ต้องการ
ของเดิมที่แกะออก ขาเข้าพัน 6 รอบ  ขาออกพันที่ 22 รอบ ผมวัดดูได้ไฟ ประมาณ 55 vdc
ผมแกะพันขาออกใหม่ 30 รอบ ได้ไฟประมาณ 65 VDC
ผมว่าไฟน่าจะออกที่ 75vdc ใช่ใหมครับ น่าจะอยู่ที่รอบละ 2.5vdc  ขอคำชี้แนะหน่อยครับ
ลายละเอียดวจร
TL494 OSC
FET irfz44n ข้างละ 8 ตัว

อีดตัวครับ  ใช้ขับกลางแหลม 4 แชนแนล
เป็นรูปที่ทำเสร็จแล้ว
ของเดิมขาเข้า 6 รอบ  ออก  13 รอบ  ไฟประมาณ 30 vdc
พันขาออกใหม่ 20  รอบ  ได้ไฟออกประมาณ 38vdc  ตั้งเป้าไว้ที่ 45vdc ผิดจากที่คาดหวังครับ

ท่านพันเพิ่มเฉพาะ ขาออกหรือเปล่าครับ
ขาเข้าท่านทำอะไรกับมันไปบ้างครับ  เช่นขนานลวดพันเพิ่มเข้าไปจากเดิม 
เช่น  ไพรมารี่เดิมใช้ลวด๖เส้นพัน ๖รอบ  ก็เพิ่มไปอีก ๔เส้น พันหกรอบด้วย
หากท่านพันเฉพาะขาออก เพื่อหวังโวลท์สูงขึ้น กระแสเท่าเดิมหรือสูงกว่า
แต่ทว่า  เส้นทางการผ่านพลังงานขาเข้าคงเดิม .........แล้วมันจะเอาแรงที่ไหนไปโผล่ที่ขาออกหละครับ
มันถูกจำกัดด้วยพลังงานขาเข้า

ทีนี้ถึงท่านจะพันขาเข้าเพิ่ม  กำลังสูงสุดที่ท่านจะได้ (โวลท์ไม่ตก) ก็คือข้อจำกัดของแกนนั้นๆ  ไม่มีทางได้เกินกว่าความสามารถของแกนเดิมจะมีให้

ลองพิจารณาดูครับ
บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2009, 08:51:12 pm »

ตัวที่เป็นโมโนฯ ผมพันเฉพาะฝั่งขาออกเท่านั้น เพิ่มจำนวนลวดมาอีก 1 เส้นจากเดิม 4 เส้น
ลวดเบอร์ 18 เป็น 5 เส้น ลวดเบอร์ 19.5
ส่วนตัวล่าง 4 แชนแนลฯ  ผมเพิ่มฝั่งขาเข้าอีก 1 เส้น จากเดิม 4 เส้น เป็น 5 เส้น
ลวดเบอร์ 19.5 จำนวนรอบเท่าเดิม
ส่วนขาออกของเดิมเส้นเดียวน่าจะลวดเบอร์ 16 
ผมพันใหม่เป็นลวดเบอร์ 18 จำนวน 3 เส้น   

ถ้าผมพันจำนวนรอบขาเข้าเพิ่ม โวลท์ขาออกจะสูงขึ้นตามใช่ใหมครับ.........
ถ้าผมพันจำนวนรอบขาออกลดลง โวลท์ขาออกจะตกลงตามใช่ใหมครับ........
ถ้าผมเพิ่มแกนให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม  ในการพันลวดจำนวนรอบเท่าเดิมโวลท์ที่ได้จะสูงกว่าเดิมใช่หรือเปล่าครับ......

 ช่วยไขข้อข้องใจหน่อยครับ 


บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 11:59:48 am »

ขาเข้า
...เพิ่มจำนวนรอบ  โวลท์ขาออกจะลดลง
...ลดจำนวนรอบ  วงจรขับหม้อแปลงอาจผิดปกติ เพราะต่างจากที่ออกแบบไว้ (ไม่ใช่จุดทำงานเหมาะสมกับแกนและวงจร)
...เพิ่มจำนวนขด แต่จำนวนรอบเท่าเดิม  การไหลของกระแสสูงขึ้น ส่งผ่านกำลังเต็มที่กว่า  ขาออกก็พลอยได้อานิสงส์กระแสได้เต็มที่เช่นกัน

""""ทั้งนี้ หมายถึง แกนยังมีคุณสมบัติเหลือพอด้วยนะครับ

ขาออก
...พันจำนวนรอบ ลดลง  โวลท์ขาออกลดลง
...พันจำนวนรอบมากขึ้น โวลท์ขาออกก็เพิ่มขึ้น
...ใช้ลวดโตขึ้น ก็(มีโอกาส)ได้กระแส เพิ่มขึ้น

""""ทั้งนี้ หมายถึง แกนยังมีคุณสมบัติเหลือพอด้วยนะครับ

แกน (พันให้ใหญ่ขึ้น ไม่เข้าใจครับ  แต่ถ้าซื้อแกนคุณภาพทัดเทียมกัน แต่ขนาดโตขึ้น อันนี้เป็นไปได้ครับ)
...แกนใหญ่ขึ้น  พันจำรวนรอบเท่าเดิม  ได้ผลแบบเดิมๆครับ
...แต่แกนจะรองรับการอิ่มตัวได้ดีกว่า  ส่งผ่านพลังงานได้เต็มที่กว่า  โดยไม่อิ่มตัวไปซะก่อน (ถ้าเป็นคนก็ไม่หมดแรงไปซะก่อน)
...แกนคุณภาพเท่ากัน แต่ตัวใหญ่กว่า  ย่อมรองรับการทำงานที่วัตต์สูงกว่า

ผมถึงถามท่านก่อนหน้านี้ไงครับ
ถึงที่สุดแล้ว การส่งผ่านกำลังก็จะถูกจำกัดด้วยขนาดของแกนอยู่ดี

ผมใช้สูตรแบบลูกทุ่งๆครับ  เช่น
คิดเรื่องโวลท์ก่อน
...ไพรมารี่ 5+5 รอบ  (สมมุติว่าผมโมฯรถแล้วได้ไฟมา 14.4-14.5V คิดง่ายๆว่า 15V  ดังนั้นลวดที่พัน 1รอบ=รองรับไฟ3V)
...เซ้คคั่นดารี่ 20+20 รอบ  คิดคร่าวๆที่รอบละ 3V เท่ากัน ก็(น่าจะ) ได้โวลท์ขาออกที่ +-60V
ถึงตรงนี้ เคลียร์ไหมครับ

ที่นี้การที่จะได้มาซึ่ง เสถียรภาพ ของโวลท์และกระแส ก็ต้องมองถึงคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่จะใช้  ว่า
มีกระแส ขนาด กำลัง จำนวนที่รองรับ กับกำลังที่ต้องการเพียงพอไหม กับผลที่เราต้องการ

ถ้าคำนวณก็ต้องว่ากันละเอียดยิบ ยุ่งยากน่าดู แต่ถูกต้อง ครบถ้วนและประหยัดด้วยครับ(เหมาะสำหรับการผลิตจำนวนมาก)
แต่ผมไม่ใช่แนวนั้น ทำเองใช้เองไม่กี่ตัว (หากไม่ถูกยืมแล้วยึดกลายเป็นตัวเลขในบัญชีกลับมาแทน ก็ไม่ทำเพิ่มครับ)
ผมถึงชอบแนวลูกทุ่งครับ  ใช้สูตรง่ายๆ สมการ บัญญัติไตรยางค์ก็ทำได้ เฮ่ๆๆ

เช่นถ้าเอาแบบง่ายๆ  มีแอ็มป์เหมือนกัน  สองตัว  ถอดเอาหม้อแปลงของอีกตัว +ทำภาคขับเสริม แล้วเอามารุมจ่ายให้แอ็มป์ตัวเดียว  เท่านี้ภาคจ่ายไฟก็โตกว่าเดิมเท่าตัว  การรองรับโหลดต่ำๆก็(น่าจะ)ดีกว่าเดิม  ส่วนได้เท่าไหร่ก็ "เท่าที่ภาคขยายเดิมมันจะทำได้"

ตัวที่ถูกถอด  ก็ทำภาคจ่ายไฟของใหม่ ใหญ่กว่าเดิมใส่เข้าไป

กลับมาหาเรื่องของกระแสต่อครับ
สมมติว่าขาออก ผมใช้ลวด #20 ขนานกัน 6เส้น  สำหรับการคาดหวังกระแสที่ 20A Z(ทำจริงจะได้ถึงหรือเปล่าหว่า?)
อัตราส่วนจำนวนรอบของการพัน สูงเป็น๔เท่าของขาเข้า
ผมก็จะกะเอาเลยว่า ต้องใช้ลวดไพรมารี่ เป็นจำนวน ๔เท่าของขาออก (คิดที่ พท.หน้าตัด กับจำนวนเท่าของรอบที่พัน)
เท่ากับว่า ใช้ลวด#20 ขนานกัน 24 เส้น  อะไรอย่างนี้เป็นต้น

ส่วนแกน ก็โอเวอร์ไซส์ไว้ก่อน ใหญ่กว่า (หรือซ้อนกันให้พท.หน้าตัดแกนรวมแล้ว ใหญ่กว่า) ย่อมได้เปรียบ
ทั้งนี้ คุณภาพแกนเฟอไรท์ต้องมาตรฐานนะครับ

พอเท่านี้ก่อนครับ สำหรับแบบลูกทุ่งๆ

บันทึกการเข้า
weeray
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 07:56:21 pm »

ถึงตรงนี้พอจะกระจ่างแล้วครับ
ต้องขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกๆท่านครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!