ก 15 ปีต่อมา มีงานวิจัยชิ้นเล็ก ๆ แต่มีคุณภาพและยิ่งใหญ่ ทั้งในแง่สิ่งที่ค้นพบ และในฐานะที่มันสะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งผลประโยชน์ด้านธุรกิจมากกว่าการใส่ใจหรือรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ในวงการอุตสาหกรรมเตาไมโครเวฟ
ดร. ฮานส์ อุลริช เฮอร์เทล (Hans Ulrich Hertel) นักวิทยาศาสตร์ที่เคยทำงานของมหาวิทยาลัยโลวาน ศึกษาผลกระทบด้านโภชนาการของอาหารไมโครเวฟที่มีต่อเลือดและร่างกายของมนุษย์ โดยให้อาสาสมัคร 8 คนกินนมและผักที่เตรียมวิธีต่างกัน คือ นมสด , นมชนิดเดียวกันแต่ต้มด้วยวิธีดังเดิม,นมพาสเจอไรซ์,นมสดที่ผ่านการต้มด้วยไมโครเวฟ,ผักสดจากฟาร์มอินทรีย์,ผักชนิดเดียวกันแต่ต้มด้วยวิธีดังเดิม,ผักชนิดเดียวกันแต่แช่แข็งและละลายในไมโครเวฟ และผักชนิดเดียวกันแต่หุงต้มในไมโครเวฟ มีการเก็บตัวอย่างเลือดก่อนกินขณะท้องว่าง และหลังกิน
ผลการทดลองปรากฏว่า พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเลือดของผู้กินอาหารที่ผ่านการหุงต้มด้วยไมโครเวฟ เช่น เฮโมโกลบินลดลง โคเลสเทอเลลเทอรอลชนิดดีลดลง เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ซึ่งการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ในเชิงโลหิตวิทยาถือเป็นสัญญาณอันตราย กล่าวคือมีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย ร่างกายจึงต้องผลิตเม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพื่อจัดการกับความผิดปกติเหล่านั้น
ราวกับทิ้งระเบิดลูกใหญ่ลงกลางวงอุตสาหกรรมเตาไมโครเวฟ ภายหลังตีพิมพ์ผลงานไม่นาน สมาคมผู้ค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและอุตสาหกรรมแห่งสวิตเซอร์แลนด์ที่รู้จักในชื่อ FEA ก็อาศัยอำนาจศาลสั่งให้ ดร. เฮอร์เทล ยุติการเผยแพร่ข้อมูล ต่อมาในปี 2536 ศาลสวิตเซอร์แลนด์ได้พิพากษาว่า ดร. เฮอร์เทลทำลายการค้า พร้อมสั่งปรับและห้ามไม่ให้ตีพิมพ์ผลการวิจัยอีกต่อไป ทว่าในอีก 5 ปีต่อมา ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปที่ออสเตรเรียได้พิพากษาว่า การสั่งห้ามไม่ให้ ดร. เฮอร์เทลพูดถึงอันตรายของเตาไมโครเวฟที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ เป็นการระเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งนี้ได้สั่งศาลสวิตเซอร์แลนด์จ่ายค่าชดเชยให้ ดร.เฮอร์เทลด้วย
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมเจ้าไมโครเวฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นย่อมๆ จึงทำให้น้ำเดือดได้ และยิ่งไปกว่านั้นหากคุณเคยประสบอุบัติเหตุจากการต้มกาแฟด้วยไมโครเวฟ ทำไมแค่เติมผงกาแฟลงไปเพียงเล็กน้อย กลับทำให้เกิดการระเบิดของน้ำกาแฟเต็มเจ้าเตาไมโครเวฟของคุณ การกระจายของน้ำตามรูปเกิดขึ้นได้อย่างไร และเจ้าไมโครเวฟทำอาหารอร่อยๆ ให้คุณได้อย่างไร?
?รูปที่ 2 เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ขั้วลบของแมกนีตรอน ก็จะปล่อยอนุภาคไฟฟ้าหรืออิเล็กตรอนออกมา อิเล็กตรอนจะวิ่งเข้าหาทรงกระบอกกลวงซึ่งภายในเซาะเป็นร่องยาวไว้ ทรงกระบอกนี้ล้อมอยู่รอบขั้วลบ และทำหน้าที่เป็นขั้วบวก ขณะเดียวกันสนามแม่เหล็กจากขั้วแม่เหล็ก ประกอบกับลักษณะช่องว่างเป็นร่องยาวจะส่งผลให้เกิดแรงผลักดันอิเล็กตรอนให้วิ่งเป็นวงกลมรอบขั้วลบ เกิดสภาพเหมือนกับมีกระแสไฟฟ้าไหลกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งผลที่ได้ก็คือจะเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เส้นที่มีลักษณะเป็นคลื่น) ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาเท่ากันจากนั้นก้านส่งคลื่นก็จะส่งคลื่นเข้าสู่ท่อนำคลื่นต่อไป (ทิศทางตามลูกศร) คลิกอ่านต่อครับ
ไมโครเวฟ
มีข่าวลือเป็นระยะ ๆ ว่า คนใจเหี้ยมเอาลูกหมาบ้าง ลูกคนบ้าง ใส่เตาไมโครเวฟ
ไมโครเวฟเป็นวิวัฒนาการในการปรุงอาหารลำดับที่สองรองมาจากการใช้ไฟ
แต่น่าแปลกที่ไม่มีใครสมอ้างเป็นผู้ประดิษฐ์เตาไมโครเวฟ
เตาอบไมโครเวฟสมัยใหม่
คลิกอ่านต่อครับ
ผลกระทบของสนามแม่เหล็ก
หอกระจายพลังงานของเทสลา
ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่สามารถหลีกหนีการรับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้เราได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลาจากแหล่งกำเนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า
เมื่อ 122 ปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการีชื่อ นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) ค้นพบระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าโดยการใช้กระแสไฟฟ้าสลับ (Alternating Current :AC) ระบบไฟฟ้าดังกล่าวแทนระบบจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) ของ โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ในเวลาต่อมา โดยระบบไฟฟ้า AC มีข้อที่ดีกว่าระบบ DC ตรงใช้สายส่งกำลังไฟฟ้าเส้นเล็กกว่าระบบ DC มากในขณะที่ใช้แรงดันและกระแสเท่ากัน
ผลกระทบของสนามแม่เหล็ก
หอกระจายพลังงานของเทสลา
ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่สามารถหลีกหนีการรับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้เราได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลาจากแหล่งกำเนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า
เมื่อ 122 ปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการีชื่อ นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) ค้นพบระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าโดยการใช้กระแสไฟฟ้าสลับ (Alternating Current :AC) ระบบไฟฟ้าดังกล่าวแทนระบบจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) ของ โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ในเวลาต่อมา โดยระบบไฟฟ้า AC มีข้อที่ดีกว่าระบบ DC ตรงใช้สายส่งกำลังไฟฟ้าเส้นเล็กกว่าระบบ DC มากในขณะที่ใช้แรงดันและกระแสเท่ากัน
นอกจากนี้ระบบ AC ยังสามารถปรับระดับของแรงดันให้มีขนาดต่ำลงหรือเพิ่มขึ้นได้โดยการใช้อุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า หม้อแปลง (transformer) เป็นผลให้ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบ AC สามารถส่งกำลังไปได้ไกลกว่าระบบ DC มาก เทสลายังได้มีความคิดในการส่งพลังงานไฟฟ้าออกไปสู่บริเวณสถานที่ห่างไกลโดยใช้อากาศเป็นตัวส่งผ่านพลังงานแทนที่จะเป็นสายส่งไฟฟ้า เขาได้ออกแบบการทดลองโดยส่งกำลังไฟฟ้าโดยใช้ขดลวดรีโซแนนซ์ (resonant coil) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เทสลา คอยล์ (tesla coil) เป็นตัวกำเนิดพลังงานและ จุดหลอดไฟฟ้าแบบเรืองแสง (fuleoresent lamp) ที่อยู่ห่างออกไปหลายเมตร ปรากฏว่าหลอดไฟดังกล่าวสามารถติดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องใช้สายไฟเลย
การทดลองแสดงดังกล่าวแสดงดังรูป จากความคิดดังกล่าวเขายังได้เสนอแนวความคิดว่าหากมีตัวส่งพลังงานที่มีกำลังส่งมาก ๆ ก็สามารถส่งพลังงานไปจุดหลอดไฟฟ้าในบ้านเรือนได้ทั้งเมือง เขาได้ออกแบบเครื่องกำเนิดพลังงานขนาดใหญ่ขึ้นและให้ชื่อว่าหอกระจายพลังงาน ดังรูป แสดงหอกระจายพลังงานตามแนวความคิดของเทสลา
ต่อมานักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเริ่มสงสัยว่ากำลังไฟฟ้าความเข้มสูง ๆ ที่แพร่ออกอากาศมีผลร้ายต่อมนุษย์หรือไม่ คำถามนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่เป็นเวลานาน แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีวิธีพิสูจน์ เทสลาพยายามชี้แจงว่าสนามไฟฟ้าที่แพร่ออกมาจากสถานีส่งของเขาปลอดภัย โดยการใช้ตนเองถือหลอดเรืองแสงและนั่งอยู่บริเวณใกล้ ๆ หอส่งพลังงานเป็นเวลานาน การพิสูจน์ดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับโดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ และมีข้อโต้แย้งว่าการทดลองเพียงระยะเวลาสั้น ๆ (short term experiment) ไม่สามารถพิสูจน์ผลกระทบของสนามไฟฟ้ากำการทดลองของเทสลาเทียบกับการค้นพบเรเดียมของ มารี คูรี (Marie Curie) ว่า เริ่มแรกมาดามคูรีก็ไม่ทราบว่าสารกัมมันตรังสีที่เธอพบ (เรเดียม) เป็นอันตรายต่อร่างกาย จนเวลาผ่านไปหลายปีจึงได้พบว่าเธอเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวและเสียชีวิตจากมะเร็งดังกล่าวในที่สุด เทสลาพยายามทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายครั้ง ในที่สุดเทสลาเองก็เสียชีวิตโดยเป็นมะเร็งเช่นกัน
ลังสูงต่อชีวิตของมนุษย์ได้
http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/microwave/index.htm