ชวนกันมาเลือกนอน ให้ถูกท่าทาง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 05:36:39 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนกันมาเลือกนอน ให้ถูกท่าทาง  (อ่าน 1356 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2009, 07:27:42 am »

ชวนกันมาเลือกนอน ให้ถูกท่าทาง 

    หากเอ่ยถึงการนอนหลับลึกด้วยวิธีการคลายเกร็ง (Relaxation) ตามแบบฉบับชาวชีวจิตแล้ว หลายๆ คนอาจพยักหน้ารู้จักและปฏิบัติกันเป็นอย่างดี แต่หากพูดถึงท่านอนที่คุณนอนในยามค่ำคืนแล้ว อาจมีหลายคนที่ส่ายหน้าเพราะไม่เคยสังเกตหรืออาจเปลี่ยนท่านอนกันบ่อยในแต่ละคืน

      แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ท่านอนแต่ละท่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร แล้วหากท่านั้นเป็นท่านอนประจำตัวคุณเสียแล้วจะต้องปรับเปลี่ยนท่านอนกันอย่างไรนั้น ..

   นอนหงาย 

     โดยปกติแล้วคนทั่วไปนิยมนอนหงาย ถือได้ว่าเป็นท่านอนมาตรฐาน เวลานอนหงายโดยไม่หนุนหมอนหรือใช้หมอนต่ำ ต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว ไม่ปวดคอ แต่ถ้าหนุนหมอนสักสองสามใบ คอจะก้มโน้มมาข้างหน้า ทำให้เกิดอาการปวดคอได้

      ผู้มีอาการดังต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงการนอนในท่านอนหงายหรือแก้ไขตามคำแนะนำ ดังนี้
    ผู้ป่วยโรคปอด ไม่เหมาะที่จะนอนท่านอนหงาย เพราะทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องกดทับเนื้อปอดเป็นเหตุให้หายใจลำบาก แต่สามารถแก้ไขได้ โดยการยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง อาจจะใช้หมอน 2 - 3 ใบวางหนุนรองหลังไว้หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้นพอประมาณ
    ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายจะมีอาการนอนราบไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกจากห้องหัวใจได้ก่อให้เกิดอาการหอบและหายใจติดขัด ผู้ป่วยโรคหัวใจจึงมักต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืนตอนกลางคืนเพื่อที่จะหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
    ผู้ที่มีอาการปวดหลัง การนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น เวลานอนควรใช้หมอนหนุนรองใต้โคนขาหรือวางพาดขาทั้งสองไว้บนเตียงนอน รวมทั้งควรออกกำลังกายเป็นประจำวันละ 10 - 15 นาที เพื่อช่วยบริหารกล้ามเนื้อหลังลดการเกร็งตัวและบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี

  นอนตะแคง 

    ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้พอสมควร แต่ควรกอดหมอนข้างและพาดขาไว้ ข้อเสียคือทำให้หัวใจซึ่งอยู่ด้านซ้ายทำงานลำบากขึ้น และอาหารในกระเพาะที่ยังย่อยไม่หมดตั้งแต่ก่อนเข้านอนจะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดลมจุกเสียดที่บริเวณลิ้นปี่ และอาจรู้สึกชาที่ขาซ้ายหากนอนทับเป็นเวลานาน หรือถ้าหนุนหมอนต่ำเกินไปจะทำให้ปวดต้นคอได้ แก้ไขโดยใช้หมอนสี่เหลี่ยมที่มีความสูงเท่าความกว้างของบ่าซ้ายหนุนนอน

    ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่นๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ท่านอนตะแคงทั้งตะแคงซ้ายและขวาช่วยลดเสียงกรนได้ ในผู้ที่กรนจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ลิ้นไก่ยาว โคนลิ้นหนา ต่อมทอนซิลโตมาก หรือโพรงจมูกอุดตัน

   นอนคว่ำ   

     ท่านอนคว่ำทำให้หายใจติดขัดไม่สะดวก โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่หรือสำหรับผู้ชาย การนอนคว่ำก็อาจทำให้อวัยวะเพศถูกทับอยู่ตลอดเวลา จนเกิดอาการชาของอวัยวะเพศได้

    การนอนคว่ำยังทำให้ปวดต้นคอ เนื่องจากต้องเงยมาข้างหลัง หรือบิดหมุนไปข้างซ้ายหรือขวานานเกินไป ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำ ควรหาหมอนรองใต้ทรวงอก โดยเฉพาะถ้าต้องการอ่านหนังสือในท่านอนคว่ำ ทั้งนี้เพื่อช่วยไม่ให้เมื่อยกล้ามเนื้อคอ และไม่มีอาการปวดคอ

     นอกจากนี้ ความเชื่อแต่โบราณที่เคยเข้าใจว่า ทารกควรให้นอนคว่ำรูปหัวจะทุยสวย ไม่แบน แต่ปัจจุบันพบว่าจริงๆ แล้วอาจเกิดผลเสียได้ ทารกมีโอกาสเสียชีวิตเนื่องจากหายใจไม่ออกจากการที่จมูกหรือปากถูกทับไว้

     นอกจากคุณจะเลือกนอนให้ถูกท่าเพื่อสุขภาพแล้ว ต้องรู้จักการนอนหลับลึกหลับสนิท ซึ่งช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และถือเป็นวิธีส่งเสริม "ภูมิชีวิต" อีกทางหนึ่ง 




บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!