ศัพท์และความหมายในทางพุทธศาสนาที่ควรรู้
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศัพท์และความหมายในทางพุทธศาสนาที่ควรรู้  (อ่าน 71158 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2009, 12:38:12 am »


ศัพท์และความหมายในทางพุทธศาสนาที่ควรรู้
อวิชชา = ความไม่รู้ หรือ ความรู้ผิด.

อธิกรณ์ = คดี เรื่องความที่ฟ้องกัน, เรื่องที่ต้องจัด ต้องทำ

อธิกรณ์สมถะ = ข้อสำหรับระงับอธิกรณ์

อธิจิตตสิกขา = ศึกษาเรื่องจิตยิ่งคือทำใจให้เป็นสมาธิ

อธิปัญญาสิกขา = ศึกษาเรื่องปัญญายิ่ง คือพิจารณาสังขารให้เห็นความเป็นจริง

อธิศีลสิกขา = ศึกษาเรื่องศีลยิ่ง คือสำรวมในพระปาติโมกข์

อติเรกจีวร = จีวรที่เหลือจากไตรจีวรที่อธิษฐาน

อนาคามีมรรค = มรรคเป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5

อนุปสัมบัน = ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท, คนอื่นนอกจากภิกษุและภิกษุณี แม้แต่ภิกษุณี ก็จัดเป็นอนุปสัมบันของภิกษุ

อลัชชี = ผู้ไม่ละอาย ผู้ไม่กลัวอาบัติ

อังคาส = การถวายอาหารพระ, การเลี้ยงอาหารพระ

อัตตกิลมถานุโยคะ = การประกอบความเพียร การทรมานตัวให้ลำบาก

อาณัตติ = ข้อบังคับ, กฎ

อาบัติ = ความล่วงละเมิด, โทษ, โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม

อามิส = เหยื่อ, เครื่องล่อ, ปัจจัย 4

อาสนะ = ที่นั่ง

อุกฤษฎ์ = สูงสุด, อย่างสูง

อุตตริมนุสธรรม = การอวดฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ ที่ได้จากปฏิบัติสมาธิ ซึ่งเป็นข้อห้ามของพระพุทธเจ้า

อุบาสก = ผู้นั่งใกล้ ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ผู้ชายเป็นฆราวาส มีศรัทธาเลื่อมใส ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

อุปจาระ = ที่ใกล้, บริเวณรอบๆ

อุปสัมปทา = การบวชเป็นภิกษุ

อุโบสถ์ = การเข้าอยู่ การเข้าทำอุโบสถ์กรรมที่สงฆ์ทำทุกกึ่งเดือน

เอกัคคตา = ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว

กฐิน = สังฆกรรมอย่างหนึ่ง ทรงอนุญาตให้ทำในเดือนท้ายฤดูฝน เกี่ยวกับการรับผ้ามาทำจีวร เปลี่ยนชุดเก่า (กฐิน เป็นชื่อของไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าทำจีวร)

ก่นสิกขาบท = การติเตียนสิกขาบถ

กรรมวาจาสมบัติ = คำสวดประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์ สมบูรณ์ ถูกต้อง ใช้ได้

กราน กฐิน = สงฆ์พร้อมใจกันยกผ้ากฐินที่เกิดแก่สงฆ์ ในเดือนท้ายฤดูฝน ให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นไปทำจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งให้เสร็จในวันนั้น แล้วมาบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้านั้นให้เผื่ออนุโมทนา ภิกษุสงฆ์เหล่านั้นอนุโมทนา

กหาปนะ = เป็นหลักมาตราเงินในอินเดียสมัยพุทธกาล มีราคา 4 บาท (ครั้งนั้น)

กัปปิยะ = สมควร

กามฉันท์ = ความพอใจในกามคุณ 5 มีรูป เป็นต้น

กามสุขัลลิกานุโยค = การประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขทางกามคุณ

กายสังสัคคะ = ความเกี่ยวข้องทางกาย การเคล้าคลึงจับลูบคลำด้วยกาย

กำหนัด = ยินดี กระวนกระวายในกาม คิดถึงด้วยความรักอิงกาม อยากทางกาม

กิเลส กาม = เครื่องเศร้าหมองใจที่ให้ใคร่ = ราคะ โลภะ อิจฉา ความอยากได้ อิจฉา ริษยา หึงหวง อะติ ความไม่ยินดีด้วยอสันตุฏฐิ ความไม่สันโดษ เป็นต้น

แกงได = รอยกากบาท หรือขีดเขียน ซึ่งคนไม่รู้หนังสือขีดลงไว้เป็นสำคัญ

ขนเจียม = ขนแกะ ขนสัตว์ชนิดหนึ่งจำพวกกวาง

ของทำวินัยกรรม = ของที่ทำให้ถูกตามวินัยนิยม

ของเป็นกัปปิยะ = ของที่สมควรแก่สมณะ

เข้ารีดเดียรถีย์ = เข้าศาสนาอื่น เข้าถือลัทธิอื่น

ครุอาบัติ = โทษทางพระวินัยอย่างหนัก

คัมภีร์วิสุทธิมรรค = ท่านแต่งอธิบายธรรม อันเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ = ศีล สมาธิ ปัญญา โดยละเอียด และเหมาะแก่การปฏิบัติ

จักรราศี = อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ ที่ดาวนพเคราะห์เดิน

จีวร กาล = คราวถวายจีวร งวดที่หนึ่ง ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 งวดที่สอง ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงกลางเดือนสี่

เขตอนิสงส์กฐิน =ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงกลางเดือน 4

จีวรทานสมัย = ฤดูถวายจีวร (เหมือนจีวรกาล)

ฌาน = การเพ่งอารมณ์ จนจิตแน่วแน่เป็นอัปนาสมาธิ

ญานวิปปยุต = ปราศจากความรู้ ปราศจากปัญญา ปราศจากปรีชา

ดอกกุมุชา = ดอกบัวสีขาว

ดับขันธ์ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับไป

ไถยจิต = จิตคิดจะลัก จิตคิดถือเอาของที่เจ้าของไม่อนุญาต ให้ด้วยการแห่งโจร

ธรรมพิเศษ = ธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา ได้ มรรค ผล นิพพาน

นิตยภัต = อาหารที่เขาถวายประจำเนืองนิตย์

นิทเทส = คำจำแนก คำอธิบาย คำขยาย

นุ่งอติเรกจีวร = ใช้สอยสบง หรือจีวร หรือ อังสะซึ่งเป็นผ้าที่เหลือจากไตรครอง

บังสกุล = ของที่เขาทิ้งไว้ที่กองฝุ่น ของที่ทิ้งแล้วไม่มีเจ้าของหวงแหน

บัณ เฑาะถ์ = ได้แก่บุคคล 3 จำพวก = 1. ชายประพฤตินอกรีดในทางเสพกาม (ผู้มีราคะกล้า) 2. ชายผู้ถูกตอน (จีนเรียกว่า ขันที) 3. กะเทยโดยกำเนิด

ปกิณณกะ = เบ็ดเตล็ด

ปกรณ์ = คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ

ปฏิสสวะ = การรับคำแล้วไม่ทำตามรับ

ปริวาส = การอยู่ค้างคืน การอยู่แรมคืน

ปาติโมกข์ = คัมภีร์เป็นที่รวมวินัยของสงฆ์ มี 227 สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

ผ้ากาสายะ = ผ้าย้อมฝาด ผ้าเหลืองพระ (เหลืองหม่น)

ผ้าวัสสิกสาฎกะ = ผ้าอาบน้ำฝน

เผดียงสงฆ์ = ประกาศให้สงฆ์ทราบ การบอกให้สงฆ์รู้ล่วงหน้า

พรหมจรรย์ = ประพฤติด้วยพรหม ประพฤติบริสุทธิ์

มาติกา = แม่บท หัวข้อเรื่องราวต่างๆ

มาตุคาม = ผู้หญิง เพศหญิง

รูปิยะ = เงินตรา ของที่ใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร

โลกวัชชะ = โทษทางโลก (มีโทษทางโลก)

วันบุรณมี = ดิถี (วันตามจันทรคติ) มีพระจันทร์เต็มดวง

สิกขาบท = บทที่ต้องศึกษา ข้อ มาตรา

สุกกะ = น้ำอสุจิ น้ำกาม

เสขิยวัตร = ธรรมเนียมที่ภิกษุและสามเณรพึงศึกษา พึงปฏิบัติ

โสดาปัตติมรรคุ = มรรคเป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ได้แก่ สักกายทิฎฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส

สัป ปายะ = คำว่าสัปปายะในภาษาไทย หมายถึงสบาย เป็นสุข แต่คำเดิมในภาษามคธ หมายถึง สะดวก ถูกกับอัธยาศัย เช่น เสนาสนสัปปาย ที่อยู่อาศัยที่สะดวกแก่การเข้าอยู่ เงียบสงบ ไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน ถูกกับอัธยาศัย

บุคคลสัปปายะ = บุคคลที่ถูกอัธยาศัยเป็นที่อาศัยได้ เป็นกัลยามิตร ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในเรื่องการเข้าสมาธิ เช่นในเรื่องนิมิต เหล่านี้เป็นต้น

ปลิโพธิ = เครื่องกังวล

ธรรมมีอุปการะมาก มี 2 อย่าง คือ สติ หมายถึง ความระลึก ได้ , สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว

ธรรมที่เป็นเครื่องอุปการะไม่ให้พลั้งเผลอ และไม่ให้พลั้งพลาด เรียกว่า ธรรมมีอุปการะมาก

ความระลึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เช่น นึกถึงการทำ การพูด หรือนึกถึงรูป แม้นานแล้วก็ตาม
ระลึกถึงสิ่งอันจักมีมาภายหน้า เช่นนึกถึงความตาย อันจักมีแก่ตน
ความระลึกถึงสิ่งอันเป็นปัจจุบัน เช่น นึกทั่วไปในกาย หรือนึกกำหนดลมหายใจเข้าออก
ทั้ง 3 อย่างนี้ เรียกว่า จัดว่าเป็น สติ

ส่วนสัมปชัญญะ = การรู้ตัวว่า กำลังพูดอยู่ กำลังคิดอยู่ หรือการกระทำต่างๆ

ส่วน ปัญญา = ความรอบรู้ เป็นหลักในการทำ ในการพูด และในการคิด, ปัญญาอธิฐาน หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ดำเนินชีวิตในทางที่ผิด ถ้าใช้ปัญญาไปในทางที่ถูกก็จัดเป็น สัมมัปปัญญา เป็นเหตุให้รู้เห็นตามความเป็นจริง.

จริต = ธาตุแท้ของใจ หรือปกติของใจที่โน้มเอียง เ ช่น โกรธง่าย ฯลฯ

จริตในพระพุทธศาสนา แสดงไว้ 6 ประเภทได้แก่

ราคะจริต คนประเภทนี้มีราคะเป็นปกติของใจ ชอบของสวย ของงาม หน้าตายิ้มแย้ม เรียบร้อย โลภ ถือตัว ลบหลู่คุณคน ชอบหวาน กินช้า
โทสจริต คนประเภทนี้โกรธง่าย มักหงุดหงิด ทำอะไรรวดเร็ว ใจร้อน ริษยา ไม่เรียบร้อย ชอบเปรี้ยว กินเร็ว
โมหจริต คนประเภทนี้ มีโมหะเป็นปกติของใจ มักเป็นคนเขลา งมงาย เชื่องช้า รู้ช้า ดื้อรั้น ไม่แน่ใจ ชอบรสไม่แน่ กินจุ
วิ ตกกจริต คนประเภทนี้ มีความดำริตริตรอง เป็นปกติของใจ มักเป็นคนคิดฟุ้งซ่าน ใจนิ่งอยู่ยาก คิดมากเกิดไป พูดมาก ชอบมั่วสุม เกียจคร้าน
สัทธาจริต คนประเภทนี้ มีความเชื่อเป็นปกติของใจ เป็นคนซื่อ ไม่มีแง่งอน เชื่อง่าย ไม่เป็นตัวของตัวเอง สอนง่าย
พุทธิจริต คนประเภทนี้ เป็นคนเฉลียวฉลาด เชื่อยาก เจ้าความคิด กินน้อย ขยัน พูดเข้าใจง่าย
สติปัฎฐาน 4 แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ 4

พระอริยเจ้า = ผู้ประเสริฐ มี 4 ระดับ หมายถึง พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ (เมื่อสำเร็จแล้วก็ไม่เสื่อม)

พระ โสดาบัน = ยังสามารถมีครอบครัวได้ มีโกรธ แต่ไม่ผูกใจเจ็บ โกรธแล้วก็แล้วกัน มีศีลประจำใจ แม้ตายก็ไม่ยอมล่วงละเมิด ละความเห็นว่ากายเป็นของตน ละความสงสัยในพระรัตนตรัย ละการถือเอาการรักษาศีลและการประพฤติวัตรพิเศษ เช่นไหว้พระทุกวัน เป็นเครื่องมืออธิษฐานขอให้ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น (ตราบใดที่ยังอธิษฐานว่า เจ้าประคู้ณ ด้วยคุณศีล หรืออนิสงส์….. ขอให้ได้เช่นนั้นเช่นนี้เถิด ดังนี้ ตราบนั้นอย่าเพ้อฝันเป็นพระโสดาบัน)

พระสกิทาคามี = เหมือนอย่างพระโสดาบัน แต่มีกิเลสอื่นเบาบางกว่า และเกิดใหม่อีกชาติเดียวเท่านั้น ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระโสดาบันอาจเกิดใหม่อีกหลายชาติ แต่ไม่เกิน 7 ชาติ จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์

พระอนาคามี =บุคคลที่ละราคะ โทสะได้เด็ดขาด

พระอรหันต์ =บุคคลที่ละราคะ โทสะ โมหะได้หมดสิ้น

กรรม= การกระทำ (เป็นคำกลาง)

การคิด เรียกว่า มโนกรรม

การพูด เรียกว่า วจีกรรม

การเดินนั่ง เรียกว่า กายกรรม

ทำดีเรียกว่า กุศลกรรม

ทำชั่วเรียกว่า อกุศลกรรม

ทำไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า อัพยากตกรรม

วิบาก = ผลของการกระทำ (วิบากกรรม)

ปัจจัย =เหตุ เช่นเหตุปัจจัย (ปัจจัยคือ เหตุ), หมายถึง เครื่องอาศัย เช่น ปัจจัย 4 มีอาหาร เครื่องนุ่งหม ที่อยู่อาศัย และยา

สันดาน =สืบต่อ

ชาติ = การเกิด

พยาธิ = ความเจ็บไข้

จิต = ใจ

เจตสิก = ความรู้สึกที่เกิดกับใจ หรืออาการของใจ เช่นความรู้สึก สุขทุกข์ (เวทนา) ความจำได้ (สัญญา) ความนึกคิดต่างๆ (สังขาร)

ศูนย์ (สุญญ) = ว่าง

สมานสังวาส = การทำสังฆกรรมร่วมกันได้กันกับภิกษุอื่น

นานาสังวาส = การทำสังฆกรรมไม่ได้ร่วมกับภิกษุอื่น

อสังวาส = อยู่ร่วมกับภิกษุอื่นไม่ได้ เพราะผู้ที่เป็นอย่างนั้นไม่ใช่ภิกษุ

วิตก = การตรึก (นึกในสิ่งนั้นสิ่งเดียว)

วิจาร = การตรอง (ประคองจิตไปอยู่ที่ตรึกหรือที่นึกถึงสิ่งนั้นๆ สิ่งเดียว)

บัญญัติ = การแต่งตั้ง

ปาฏิหาริย์ ได้แก่การกระทำที่แปลกประหลาดน่าทึ่ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องปาฏิหาริย์ไว้ 3 ประเภทได้แก่

อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องแสดงฤทธิ์โดยใช้อำนาจจิต อีกสองประเภทนั้นพระพุทธเจ้าทรงใช้ประกอบในการสั่งสอนประชาชน
อาเทสนาปาฏิหาริย์
อนุสสาสนีปาฏิหาริย์
ทรง แสดงว่า อิทธิปาฏิหาริย์นั้นสู้ 2 ประเภทหลังไม่ได้ เพราะมักทำให้คนส่วนมากติดหลง ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส พระองค์ทรงห้ามพระสาวกแสดงอิทธิปาฏิหาริย์กันเอง (นอกจากทรงอนุญาต) ส่วนอีก 2 ประเภทนั้น ทำให้หลุดพ้นจากความติดหลง งมงาย ละกิเลสได้

เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์เป็นผลพลอยได้จากสมาธิจิต ในพระพุทธศาสนาถือแต่เพียงเป็นเรื่องประกอบ แม้ไม่มีเรื่องนี้พระพุทธศาสนาก็อยู่ได้

สังโยชน์ = เครื่องผูกสัตว์ไว้ในโลก

ปฏิสนธิวิญญาณ = วิญญาณที่ปฏิสนธิได้

ความ เชื่อ (ศรัทธา) บางศาสนาสอนให้เชื่อก่อน แล้วจะรู้เอง จึงต้องบังคับให้เชื่อก่อน แต่ในพระพุทธศาสนา สอนให้พิจารณาเหตุผลก่อนแล้วจึงเชื่อ และจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่บังคับ ทั้งยังสอนไม่ให้เชื่อ 10 ประการ (กาลามะสูตร) ดังนี้=

อย่าเชื่อโดยการฟังตามๆ กันมา
อย่าเชื่อโดยการเชื่อสืบๆ กันมา
อย่าเชื่อโดยเขาเล่าว่า
อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
อย่าเชื่อโดยนึกเอาเอง
อย่าเชื่อโดยคาดคะเนเอา
อย่าเชื่อโดยนึกตามเอาอาการของเรื่องนั้นๆ
อย่าเชื่อโดยเห็นว่าตรงกับความเห็นของตน
อย่าเชื่อโดยเห็นว่าควรเชื่อได้
อย่าเชื่อโดยเห็นว่าผู้พูดเป็นสมณะ หรือเป็นครูของตน
ธรรม เหล่าใด เป็นไปเพื่อราคะ เพื่อประกอบทุกข์ เพื่อสะสมกิเลส เพื่อความมักใหญ่ เพื่อความไม่รู้จักพอ เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ เพื่อความเกียจคร้าน เพื่อความเลี้ยงยาก ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์

ไสยา =การนอน พระพุทธองค์ได้ทรงสอนว่าการนอน มี 4 ประเภท=

เปตไสยา นอนอย่างเปรต หรือคนตาย คือ นอนหงาย
กามโภคีไสยา นอนอย่างชาวบ้านทั่วไป คือ นอนตะแคงซ้ายและนอนคว่ำ
สีหไสยา นอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา
ตถาคตไสยา นอนอย่างพระตถาคต คือ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้ามือขวาหนุนศีรษะ
วิธีแก้ง่วง อาจเกิดจากเหตุหลายประการ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย กินมากเกินไป แก้ดังนี้

เมื่อคิดสิ่งใดในขณะง่วง ให้สนใจในสิ่งนั้นให้มากยิ่งขึ้น
ถ้ายังง่วงอยู่ ให้พิจารณาตรึกตรอง สิ่งที่ตนเคยฟัง เคยเรียนมาให้มากๆ
ถ้ายังง่วงอยู่ ก็ให้ท่องเรื่องที่ตนได้ยิน หรือเรียนมา
ถ้ายังง่วงอยู่ พึงยอนหูทั้งสองข้าง ตาก็จะสว่าง
ถ้ายังง่วงอยู่ให้ลุกขึ้นยืน ใช้น้ำลูบหน้า มองดูทิศ ดูดาว
ถ้ายังง่วงอยู่ พึงทำใจให้สว่าง ไสว
ถ้ายังง่วงอยู่ จงอธิษฐานเดินจรงกรม กลับไปกลับมา
ปฏิปทา =ข้อปฏิบัติ

วิสุทธิ = ความบริสุทธิ์ , ความหมดจดผ่องแผ้ว

อุปาทินนกสังขาร =สังขารที่มีใจครอง คือ จำพวกสัตว์ต่างๆ

อนุปาทินนกสังขาร = สังขารที่ไม่มีใจครอง คือ จำพวกต้นไม้ และสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น

นิพพิทา = ความหน่ายในทุกข์ (โทษในการติดผูกพันธ์ในขันธ์ 5 อันเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์)

นิพพิทาญาณ = ความหน่ายนั้นเกิดขึ้นด้วยปัญญา

โยนิโสมนสิการ = การพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย

มารและบ่วงแห่งมาร มี 2 อย่างคือ

กิเลส กาม = เจตสิกอันเศร้าหมองชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ราคะ คือ ความกำหนัด อรติ คือ ความไม่ยินดี ทั้งหมดจัดว่าเป็นมารเพราะว่าเป็นโทษล้างผลาญคุณความดี ทำให้เสียคน
วัตถุกาม = รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (อันเป็นของน่าชอบใจ จัดว่าเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะว่าเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจ ให้ติดแห่ง “มาร”
วิราคะ = ความสิ้นกำหนัด เป็นได้ทั้งอริยมรรคและอริยผล ถ้ามีราคะมาในลำดับแห่งนิพพิทา หรือมาคู่กับวิมุตติ เป็นอริยมรรค ถ้าวิราคะมาตามลำพัง เป็น เป็นอริยผล

สามีภรรยาเกิดความเบื่อหน่าย กัน คลายความรัก เลิกร้างหย่าขาดจากกัน ภาษามคธใช้ศัพท์ว่า “วิภาคินัง” แปลว่า “มักหน่าย” ไม่จัดว่าเป็นนิพพิทา หรือวิราคะ ควรจัดเป็นอัฎฏิยา = ความระอา หรือ ชิคุจฉา = ความเกลียดชัง

ถีนัง = ความท้อแท้ (นักศึกษาที่สอบไล่ตก เสียอกเสียใจ ระอาใจไม่ศึกษาต่ออีก เรียกว่า ถีนัง ไม่ใช่นิพพิทา)

อุพยัพพยญาณ = ความเห็นเกิดดับ

ภังคญาณ = เห็นย่อยยับ

อาทีนวญาณ = เห็นโทษ

ใน ธรรมวิจารณ์ ส่วนปรมัตถปฏิปทา แสดงธรรม มี 6 คือ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ และนิพพาน หมายความว่า ถ้าหน่ายในสังขารจัดเป็นนิพพิทา เมื่อหน่ายแล้วย่อมคลายกำหนัด จัดเป็นวิราคะ เมื่อสิ้นกำหนัดย่อมหลุดพ้น จัดเป็นวิมุตติ เมื่อหลุดพ้นแล้วก็หมดจดผ่องใส จัดเป็นวิสุทธิ แล้วย่อมสงบ คือ สันติ แล้วดับสนิทในอวสาน จัดว่าเป็นนิพพาน

คติ แปลว่าภูมิเป็นที่ไป หรือภูมิที่เป็นเบื้องหน้า สู่มรณะคือ การตาย การไปดีหรือชั่วเป็นเรื่องของจิต ขณะดับจิตเศร้าหมองมีกิเลส อาสวะ ก็ต้องไปสู่ทุคติ จิตบริสุทธิ์ผ่องใสขณะดับก็ไปสู่สุคติ (ทุคติ ภูมิเป็นไปข้างชั่ว สุคติภูมิเป็นไปที่ไปข้างดี)

เทวทูต 5 ได้แก่

เด็กแรกคลอด (ทารก)
คนแก่ (ชรา)
คนเจ็บ
คนถูกลงราชทัณฑ์
คนตาย
อุปาทิ =แปลว่าผู้ครอง, เข้าไปถือ

นิพพานโดยประเภทมี 2 คือ

สอุ ปาทิเสสนิพพานธาตุ (มีอุปาทิเหลืออยู่ 1 , สิ้นอาสวะแต่จริมกจิตยังทรงอยู่) ชำระใจให้หมดจากกิเลสอาสวะโดยสิ้นเชิง บรรลุพระอรหันต์ แต่ยังดำรงเบญจขันธ์อยู่
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ไม่มีอุปาทิเหลือ อยู่ 1, จริมกจิตดับแล้ว เป็นพระอรหันต์-ขีณาสพ รู้ชอบแล้ว พ้นจากการเสวยอารมณ์ทั้งปวง แล้วจักเย็น จักดับในโลกนี้เทียว (ไม่ใช้อดีตว่าดับแล้ว ถ้าเป็นอดีตก็หมายว่าดับตลอดไป)
การดับชั่วครั้ง ชั่วคราว ได้แก่การที่พระขีณาสพเจ้าทั้งหลาย เข้านิโรธสมาบัติ การเสวยอารมณ์ของท่านยอมดับด้วย เวทนาใดๆ ในระหว่างนั้นไม่มีเลย (แต่เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติแล้วก็คงมีเวทนาอีกตามเดิม)

นิพพานแปลได้สองนัย คือ

แปลว่าดับหรือเย็น
แปลว่าหาเครื่องเสียบแทงมิได้ (ไม่มีกิเลสเครื่องเสียบแทง ได้แก่การถ่ายถอนหรือสำรอกกิเลสอาสวะได้เด็ดขาด)
ใน พระสูตร เรียกนิพพาน ว่า อายตนะ (อรูปฌานหรืออรูปภพ เป็นมนุษอาตนะกับธัมมายตนะ ) กล่าวว่า ดิน น้ำ ลมไฟ ไม่มีในนิพพาน แสดงว่า นิพพานไม่มีรูปขันธ์

กล่าวว่ามิใช่อากาสานัญจายตนะ แสดงว่านิพพาน มิใช่นามขันธ์

แสดงว่า นิพพาน ไม่มีความสัมพันธ์ด้วยโลกอื่น ด้วยการไปมาถึงกันโดยปกติ ด้วยการเวียนเกิดในสงสารก็ดี

อสังคตธรรม = ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ (อสังขตธรรม)

ความแตกต่างกันแห่งวิราคะกับนิพพาน ในอธิการนี้

นิพพานในอธิการนี้ กล่าวถึงการสิ้น การละกิเลสอาสวะอย่างอื่น จากฝักใฝ่แห่งกาม
ในอธิการแห่งวิราคะนี้ กล่าวการสิ้นการละเฉพาะกิเลสหรืออาสวะอันเป็นฝักใฝ่แห่งกาม
ธรรมทัศนศึกษาหรือธรรมทัศนาจร แปลว่าท่องเที่ยวไปเพื่อหาความรู้ธรรม

โยนิโส -มนสิการ = การพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย (เห็นโทษแห่งการติด การผูกพันในรูป เวทนา ฯลฯ (ขันธ์5) และเห็นคุณแห่งการหน่าย คลายจากการติดในรูป เวทนา ต่อจากนั้นเป็นปัจจัยก้าวไปสู่ความคลายกำหนัด

กามาทีนพ = โทษของกาม

เนกขัมมะ = ออกจากกาม

กามวจร = หมู่สัตว์ที่เสพกาม (นรก+มนุษย์+สวรรค์)

ลี ลัพพตปรามาส = การยึดติดในสิ่งที่ผิด เชื่อมาแต่กาลนาน โดยไม่มีเหตุผล เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง เคล็ดลาง ผีสาง เป็นต้น

ปฏิฆะ = ความอาฆาต พยาบาท ปองร้าย ดุร้าย ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ความพลุ่งพล่าน

มานะ = สำคัญว่าเป็นนั่น เป็นนี่ การถือตัวว่าดีกว่าเขา การยกตนว่าเสมอกับเขา เลวกว่าเขา

ภยตูปัฏฐานญาณ หมายุถึง ญาณพิจารณาเห็นซึ่งความตาย

ทุกเขญานัง = ญาณกำหนดดูทุกข์

อวิชชา = ความไม่รู้อริยสัจ 4 ไม่รู้อดีต อนาคต ไม่รู้ปปฏิจจสมุปบาท ความไม่แทงตลอด อนุสัย คือ อวิชชา

ฐีติญาณ = ญาณความรู้ตัดสินขึ้นว่า ภพเบื้องหน้าของเราไม่มีอีก

อาสวักขยญาณ = ญาณความรู้ตัดสินขึ้นในขณะนั้นว่า ภพเบื้องหน้าของเราไม่มีอีกแล้ว

ชาติ = ความเกิด

ชรา = ความแก่

มรณะ = ความตาย

โทสะ = ความเศร้าโศก

ปริเทวะ =ความคร่ำครวญ เผ้อรำพัน

ทุกขะ = ความไม่สบายกาย

โทมสนัส = ความเสียใจ

อุปาสายะ =ความรับแค้นใจ ตรมตรอมใจ

บัญญัติ =ความจริงที่สมมุติกัน

กรรมชรูป =รูปกรรมที่จริตสร้างขึ้นมาดี (เช่นระบบประสาท กายอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ไม่เป็นอัมพาต)

อุปาทะ = ความเกิดขึ้น

ฐิติ = การตั้งอยู่

ภังคะ =การดับไป

อภิชฌา = ความโลภ

อติตังสญาณ =ญาณที่หยั่งรู้ในอดีต

 


บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 11, 2009, 03:21:04 pm »

   THANK!!  THANK!! 
บันทึกการเข้า
manopktn
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 12, 2009, 08:59:46 pm »

ขอโทษครับ ขอขยายเพิ่มเติม  คำว่า อวิชา   ,ในศาสนาพุทธ  วิชา โดยความหมาย คือความรู้ในการดับทุกข์ ไม่ใช่วิชาทั่วไป หรือเอาไปใช้กับ สิ่งไม่ดี ถิอว่าผิดครับ เช่น การขโมย การทำลาย การสร้างอาวุธ . วิชา ทางพุทธ ก็เช่น อริยสัจ 4  ขันธ์ 5 ปฎิจจสมุปบาท  เป็นต้น อวิชา ก็คือ ไม่รู้วิธีดับทุกข์  นั่นเอง .  ถูกผิดประการใด ติ ติงไดครับ ..
บันทึกการเข้า
manopktn
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 12, 2009, 09:06:59 pm »

เทวทูต 5 รู้สึกว่า คนถูกลงราชทัณฑ์ ไม่มีนะครับ เป็นนักบวช ครับ ท่าจำไม่ผิด  ที่เหลือถูกแล้ว  ผิด  ถูกต้องขออภัย Cheesy Cheesy

บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 12, 2009, 09:56:21 pm »

ดีครับช่วยกันทำมาหากิน แนะแนว ติติง ขยายความและต่อยอด

 
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 12, 2009, 09:59:19 pm »

  
บันทึกการเข้า
noopinky
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 24, 2009, 03:00:03 am »

บางอันเรายังไม่เคยรู้เลยค่ะว่าหมายถึงอะไร
ขอบคุณมากนะคะที่นำมาบอกเป็นวิทยาทานแก่กัน ^_^
ชอบวิธีแก้ง่วงด้วยละ ง่วงบ่อยเหลือเกิน อิอิ
บันทึกการเข้า

วันเกิดอย่าลืมทำบุญวันเกิดกันบ้างนะ ทำบุญกับพ่อแม่นี่ละได้บุญเยอะสุดละ
dekwat♥
member
*

คะแนน458
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 303



« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 24, 2009, 06:17:33 am »

เทวทูต 5 ถูกแล้วครับ ได้แก่
       1. ทหระ หรือ มันทกุมาร (เด็กอ่อน)
       2. ชิณณะ (คนแก่)
       3. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ (คนเจ็บ )
       4. กรรมการณัปปัตตะ (คนถูกลงโทษ, คนถูกจองจำลงอาญา )
       5. มตะ (คนตาย)

ส่วนที่เข้าใจว่ามีสมณะด้วยนั้นเป็นเทวทูต 4 ครับได้แก่
     1.คนแก่
     2.คนเจ็บ
     3. คนตาย
     4. สมณะหรือนักบวช
ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะเห็นเทวทูต 4 นี้แล้วจึงมีจิตน้อมเข้าไปในการบวชครับ ผิดถูกขออภัย
บันทึกการเข้า
drdr61♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน292
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2663


ดูสิ่งที่มากระทบใจ อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 24, 2009, 08:53:26 am »

 Cheesy Cheesy Cheesy Cool
บันทึกการเข้า

คนเราต่างที่มา ต่างที่ไป ย่อมคิดและทำอะไรที่ต่างกัน ยอมรับและเข้าใจ  จะสงบสุข
ขายอุปกรณ์ไวเลส และสายอาศไวเลส wifi
saksit
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 02:37:59 pm »

สาธุ
บันทึกการเข้า
SC CAR
member
*

คะแนน8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 175



« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2010, 12:56:49 am »

สาธุ = ดีแล้ว , ถูกต้องแล้ว..
บันทึกการเข้า
chasavan_sound
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 11:05:05 pm »

ขอบพระคุณครับ..??
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: