อยากฟังเสียงแต่ค้นหาไฟล์เสียงยังไม่เจอ เลยเอากติกาการแข่งขันมาฝากครับ
กติกาการแข่งขันตีกลองหลวงกติกาการแข่งขันตีกลองหลวงได้มีการปรับใหม่เพื่อให้เกิดความยุติธรรม และมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นโดยมีพระครูเวฬุวันพิทักษ์ เป็นประธานการประชุมเพื่อหาข้อตกลงในกติกาการแข่งขัน ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1. กรรมการสั่งให้นำกลองแต่ละใบมารายงานตัว และจับสลากแบ่งสายโดยจะจัดคู่ประกบแข่งครั้งละ 3 - 4 ลูก
2. การตั้งกลอง ให้กลองที่เข้าแข่งขันหันก้นกลองมาทางคณะกรรมการ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 15 เมตร
3. กรรมการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทดลองตีกลอง เพื่อฟังเสียงทีละใบ จากนั้นให้ตีทุกใบพร้อมกัน เพื่อจะหาว่ากลองใบใดเสียงดังที่สุด ในตอนนี้อาจมีการสับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งกลอง เพราะบางตำแหน่ง กรรมการบางท่านอาจได้ยินเสียงกลองแต่ละใบแตกต่างกัน และตำแหน่งที่โล่งมาก จะทำให้เสียงดังกว่าปกติได้ หรือการมีคนมุงดูอยู่มาก อาจทำให้เสียงกลองทึบ
4. กรรมการจะคัดเลือกกลองที่เสียงดังที่สุดในแต่ละสายเข้ารอบมาเพียง 1 ใบ แล้วประชันกันอีก เช่น มีกลองเข้าแข่งขัน 30 ใบ แบ่งสายแข่งขันสายละ 3 ใบ ก็จะได้กลองเข้ารอบ 10 ใบ จากกลอง 10 ใบ ก็จะนำมาแข่งกันทีละ 3 ใบ โดยวิธีจับสลาก ให้ได้สัดส่วนจำนวน 3-3-4
5. หลังจากนั้นจะได้กลองที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 3 ใบ และท้ายสุดกลองที่เสียงดังที่สุดจะถูกตัดสินให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ
คณะกรรมการตัดสินจะประกอบด้วยกรรมการผู้ให้คะแนน 3 - 5 คน มีผู้ประกาศและให้สัญญาณ 1 คน และกรรมการจับเวลาอีก 1 คน รวมทั้งหมดประมาณ 7 คน (ปัจจุบันกติกาดังกล่าว อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเหมาะสม)
การแข่งขันกลองหลวงนี้ มีทั้งความสนุกสนานและความตื่นเต้น ถือว่ากลองแต่ละใบนั้นเป็นตัวแทนของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมแรงร่วมใจจัดทำหรือมีส่วนร่วมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าหากชนะย่อมหมายถึงชื่อเสียงของหมู่บ้านด้วย ดังนั้นจึงมักจะเห็นภาพของชาวบ้านที่ช่วยกันแห่ลากกลองหลวงไปแข่งขันในที่ต่างๆ และมีคนในหมู่บ้านเดียวกันไปให้กำลังใจมากมาย เพื่อประกาศศักดิ์ศรีของหมู่บ้าน
ชาวบ้านที่เป็นศรัทธาของแต่ละวัดนิยมช่วยกันฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขัน เพียงเพื่อชัยชนะและนำชื่อเสียงกลับวัด โดยไม่ให้ความสำคัญต่อจำนวนเงินรางวัลเท่าใดนัก วัดใดได้รับถ้วยรางวัลมากก็จะมีชื่อเสียง หากวัดใดแพ้ก็จะนำกลองไปแก้ไขกันอย่างจริงจังเพื่อการแข่งขันในคราวต่อไป บางวัดถึงกับสั่งทำขึ้นมาใหม่เพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ
รวมเรื่องราวเกี่ยวกับกลลองหลวง
1.
กลองหลวง2.
กลองหลวง (2)3.
กลองหลวง (3)4.
กลองหลวง (4)5.
กลองหลวง (5)6.
กลองหลวง (6)นอกจากนี้ยังมี บทความเผยแพร่ "
นาฏดุริยการล้านนา" ไว้มากมาย
ที่มา :
สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เว็ปนี้ภาพแจ่มดี..
http://lannaphotoclub.com]