หลังจากที่พยายามที่จะนำรูปขึ้นมาได้ ต้องย่อส่วน ลดขนาด กันอยู่หลายยก
และแล้วก็ต้องอาสัย ลูกชายแนะนำ(พอดีเขาเพิ่งกลับจากทำงาน)และต่อไปนี้
ก็คงจะง่ายขึ้นเพราะมีเขาเป็นที่ปึกษา เรื่องคอมฯ
เอา!ต่อไปนี้มาว่าเรื่องเรากัน(Manifold Gauge)แมนิโฟล์ดเกจ์จ ผิดถูกอย่างไรไม่ว่ากันนะครับ ถ้าตรงไหนผิด
รบกวนท่านผู้ที่เชี่ยวชาญกรุณาเสริมให้ด้วยนะครับ
ตัวแรก(เกจ์จสีน้ำเงิน)เป็นเกจ์จที่ใช้วัดแรงดันทางด้านLOW(แรงดันต่ำหรือท่อSuction
หรือพูดอีกอย่างก็คือท่อServiceที่เติมสารทำความเย็น สำหรับตัวนี้ เขาระบุว่า
(ดูด้านในตรงกลางใต้เข็ม)R-134aหมายถึงเขาให้ใช้กับสารทำความเย็นที่
เป็นR-134aเท่านั้น
ดูตัวเลขที่เกจ์จ เราก็จะเห็นตัวเลขอยู่สี่วง
จะเริ่มจากวงนอกสุดก่อนนะครับ ก็จะมีตั้งแต่เลข 0 ถึง 2400 มีหน่วยเป็น KPA
วงที่สองจากนอก มีตั้งแต่เลข 0 ถึง 350 มีหน่วยเป็น PSI
วงที่สามจากนอก มีตั้งแต่เลข -30 ถึง 35 มีหน่วยเป็นองศา C
วงที่สี่จากนอก มี่ตั้งแต่เลข -30 ถึง 95 มีหน่วยเป็นองศา F
ให้สังเกตุดูครับว่า ที่ขีดของตัวเลข องศา C และองศา F ที่ต่ำสุด ไม่เท่ากัน
สมมุติว่า เราเติมสารทำความเย็นเข้าไป 8 PSI ในขณะนั้น อุณหภูมิของสารทำความเย็น
อยู่ที่ประมาณ -18 องศา C และเมื่อเข็มลดลง อุณหภูมิต่ำลง แรงดันก็ต่ำลงไปด้วย
ที่ 0 PSI อุณหภูมิ ประมาณ -28 องศา C
ส่วนตัวเลขสีเขียว ที่อยู่ใต้เลข 0 มีตัวเลข -100 และ -30 ตามลำดับ เป็นช่วงของการ
ทำสูญญากาศ การทำสูญญากาศ ก็คือการใช้เครื่องดูดอากาศ หรือที่เขาเรียกกันว่า Vacuum Pump
ดูดจนเข็มชี้มาอยู่ที่ประมาณตัวเลข -30 หรือมีค่ากำหนดว่า จะต้องทำสูญญากาศประมาณ 200-300ไมครอน
หรือ 29.91 นิ้ว-ปรอท แต่ไม่ได้หมายถึงว่า พอเดินเครื่อง Vacuum Pump แล้วพอเข็มชี้ที่ตัวเลข
ใกล้ๆ เลข-30 แล้วหยุดเดินเครื่องนะครับ จะต้องเดิมเครื่องต่อไปจนประมาณ 1 ชั่วโมง ความชื้นที่อยู่
ในระบบท่อ จะได้ประมาณ 200-300 ไมครอน ค่าตัวเลขที่เป็นไมครอนนี้ เขาจะมีเครื่องวัดต่อเขากับ
เกจ์จเป็นแบบตัวเลขก็มี แต่ราคาค่าตัวมันจะสูงมาก ส่วนใหญ่ไม่ใช่โรงงานผลิต เขาจะไม่ลงทุนซื้อมา
แค่ใช่เวลาการดูดให้นานๆก็เพียงพอ (แต่ระบบท่อต้องไม่รั่วนะ) จบครับ