ทำไม คอมเพรสเซอร์พัง?
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 26, 2024, 06:32:54 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม คอมเพรสเซอร์พัง?  (อ่าน 6964 ครั้ง)
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2009, 08:51:52 pm »

ทำไมคอมฯพัง?(เสีย) เป็นคำถามที่สั้น แต่ตอบยาว
สาเหตุของคอมฯเสีย จะมาจากหลายองค์ประกอบ อาทิเช่น ไฟตก มีความชื้นในระบบ มอเตอร์(ในคอมฯ)ไม่มีคุณภาพ
การซ่อมระบบที่ไม่ถูกวิธี(เชื่อมท่อโดยไม่ใช้ไนโตรไหลผ่าน) หรือแม้แต่การเติมสารทำความเย็นที่ไม่ถูกต้อง และอื่นๆ
สาเหตุที่กล่าวมา ล้วนแต่เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอมฯพัง แต่มันไม่ได้พังเลยทันที อย่างเช่น ถ้าในระบบมีความชื้น
เจ้าความชื้นก็จะไปทำให้น้ำมันหล่อลื่นหมดสภาพ เมื่อใช้งานไปนานๆ มอเตอร์ในคอมฯก็จะไหม้ พอมอเตอร์ไหม้ น้ำมันที่
อยู่ในคอมฯมันก็จะกระจาย ขึ้นไปตามท่อ น้ำมันขี้โล้วหรือน้ำมันคอมที่หมดสภาพ มันจะเหนียวติดตามผนังท่อ เวลาเปลี่ยนคอมฯตัวใหม่
ช่างหลายๆคนก็จะใช้น้ำยาที่เรียกกันว่า F11 (ที่ถูกคือ R11)มาล้างท่อ ถ้าน้ำมันไม่ดำ R11 ล้างได้ แต่ถ้าน้ำมันที่เรียกว่าน้ำมันขี้โล้วติดผนังท่อแล้ว
น้ำยา R11 ก็ล้างไม่ออก ช่างหลายคนก็จะมีวิธีที่ไม่เหมืนกัน แต่การคิดจะเปลี่ยนท่อ อย่างเช่นท่อคอยล์ร้อน หรือที่เรียกกันว่าคอนเดนเซอร์
ก็จะทำให้ต้นทุนสูง ตกหนักที่ลูกค้า ต้องจ่ายแพง จะทำอย่างไรดี?
ผมใช้วิธีนี้ครับ ผมใช้กรดกัดปริ๊นที่เป็นชนิดน้ำ ใส่เข้าไปในท่อทำให้มันหมุนเวียน แล้วจะทำอย่างไรมันถึงหมุนเวียนได้
มันมีวิธี คือไปหาปั๊ม AC ที่ใช้ในรถยนต์ มาดัดแปลงให้เป็นปั๊มหมุนเวียน แต่อย่าให้หมุนนานมาก เดี๋ยวท่อจะทะลุ เสร็จแล้วก็เอาน้ำล้างออกให้หมด
ต้องให้หมดจริง สุดท้ายก็อาสัย R11 มาล้างเป็นน้ำสุดท้าย ใช้ไนโตรไล่ให้แห้ง ตากแดด หรือจะอบให้แห้งอีกครั้งก็จะดีมาก
ต่อมา ตัวนี้คือพระเอกครับ ต้องเปลี่ยนสแตนเนอร์พร้อมแคพิลลารีทิ้ว เพราะถ้าไม่เปลี่ยน พระเอกตัวนี้ ก็จะเป็นผู้ร้าย
ทำลายคอมฯไปเลย เมื่อถึงขั้นตอนการประกอบ ตอนเชื่อมท่ออย่าลืม ต้องใช้ไนโตรไหลผ่านท่อเบาๆ ภายในก็จะสะอาด และตอนทำสูญญากาศ
ควรทำทั้งสองทาง คือทาง Low และทาง High ทาง High เราก็ต้องต่อท่อตรงก่อนเข้า แคพิลลารีทิ้ว แล้วเติมไนโตรเพื่อเช็ครั่ว เมื่อระบบดีแล้ว
ต่อไปก็ทำสูญญากาศ 10-15 นาที จากนั้นเติมน้ำยา R22 เข้าไปไล่ความชื้นในระบบ พักทิ้งไว้ 10-15 นาที ทำอย่างนี้สองครั้ง
จากนั้นก็ทำสูญญากาศไป 1 ช.ม สุดท้ายต้องปิดท่อตรงที่ต่อไว้สำหรับทำสูญญากาศด้วยการเชื่อมปิด เป็นอันว่าจบวิธีการ
ท่านใด มีข้อเสนอแนะที่ดี ก็เพิ่มเติมได้เลยนะครับ Smiley ขออ้างอิงเอาภาพคุณ jume มาโชว์หน่อยนะครับ


บันทึกการเข้า

nongsonook
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 80


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 07:49:41 am »

  เกินคำบรรยาย  ขอบคุณสำหรับความรู้ มากมายครับ
บันทึกการเข้า
henrytum
member
*

คะแนน20
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115

คนเรามีชีวิตอยู่ได้แค่ 3,300 สัปดาห์จะทำอะไรก็ทำซะ


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 09:45:09 am »

 Cool THANK!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 10:59:18 am »

เยี่ยมมากครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม  Cheesy Smiley
บันทึกการเข้า
MAN888
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 12:46:18 pm »

 
บันทึกการเข้า
jintana
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 29


« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 01, 2009, 06:46:53 am »

 อยางนี้นี่เอง
บันทึกการเข้า
book
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 01, 2009, 07:50:27 am »

ได้ความรู้ดีมากครับ แต่ก็ยังสงสัยเกี่ยวกับการใช้ไนโตรเจนผ่านตอนที่เราเชื่อมท่อ ต้องทำยังไงหรอครับ ตามที่ผมเข้าใจก็คือต่อสายไนโตรเจนเข้าด้านหนึ่งของคอยล์ที่เราจะเชื่อมอีกด้านหนึ่งก็เปิดไว้ให้ไนโตรเจนไหลออกใช่หรือเปล่าครับ คือผมไม่เคยทำครับ ก็เลยรู้สึกกลัวๆๆ
บันทึกการเข้า

ทำดี ย่อมได้ดีตอบ
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 02, 2009, 10:02:33 pm »

ก็เป็นอย่างที่ท่านเข้าใจนั่นแหละครับ แต่ถ้าเชื่อมคอยล์ ที่ปลายท่ออีกด้านก็ต้องเปิด และให้ไนโตรไหลผ่านเบ่าๆเท่านั้นครับ ทดลองทำดูสิครับ
แล้วผ่าท่ออกดู ก็จะรู้ได้ว่าเป็นอย่างไร กับที่เคยเชื่อมแบบไม่มีไนโตร ถ้าท่านปล่อยไนโตรแรงเกินไป จะเกิดผลอะไร ทุกอย่างอยู่ที่ประสบการณ์
และการฝึกฝน ไม่มีใครทำถูกทีเดียวตั้งแต่แรก ต้องเรียนรู้ฝึกฝนด้วยตนเอง แต่หลักการก็แบ่งปันชี้แนะกันได้ครับ และการใช้ไฟ ก็อย่าให้แรงจนชิ้นงานเรา
ร้อนจนถึงจุดเดือดครับ การที่ชิ้นงานถึงจุดเดือด เงินที่ประสานข้อต่อ ก็จะเกิดรูพรุ่นเป็นตามด รั่วได้ครับ Smiley
บันทึกการเข้า
book
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 03:01:44 pm »

ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้ จะลองไปทำดูครับ 
บันทึกการเข้า

ทำดี ย่อมได้ดีตอบ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!