ศีล 5 สามารถทำให้บรรลุธรรมได้
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศีล 5 สามารถทำให้บรรลุธรรมได้  (อ่าน 1416 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2009, 07:04:36 am »

ศีล 5 สามารถทำให้บรรลุธรรมได้

--------------------------------------------------------------------------------
โดย....หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
การปฏิบัติธรรมในทางด้านจิตนั้น-เราจะต้องเริ่มต้นด้วยทำตนเป็นผู้มี"ศีล"....

"ศีล-นี้เป็นสิ่งสำคัญ เป็นคุณธรรมอันเป็นภาคพื้น เป็นการปรับกาย-วาจา-และใจ ให้อยู่ในสภาพปกติ"

โดยเฉพาะ"ศีล 5" อันเป็นศีลที่ฆราวาสทั่วๆไป พึงสมาทานปฏิบัติ เป็นศีลหลักใหญ่ และเป็นศีลที่สำคัญ .....

"ศีล 8-ศีล10-ศีล 227 ก็รวมลงอยู่ในศีล 5 ข้อนี้".....

"จะเป็นผู้ใดก็ตาม ในเมื่อมาตั้งใจสมาทานรักษาศีล 5 ข้อ เมื่อทำศีล 5ให้บริสุทธิแล้ว และตั้งใจทำสมาธิภาวนา ก็สามารถจะทำจิตให้สงบ รู้ซึ้งเห็นจริงในสภาวธรรมตามความเป็นจริง ไม่เฉพาะแต่เท่านั้น -ยังสามารถให้บรรลุ มรรค-ผล-นิพพานได้"....

ยกตัวอย่าง เช่น อุบาสก อุบาสิกา ในอดีตสมัยพระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็มีหลายท่าน เช่น พระนางวิสาขามหาอุบาสิกา ท่านอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐี ท่านก็เป็นผู้ครองเหย้าครองเรือน แล้วก็"มีศีลเพียง 5 ข้อเท่านั้น แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุโสดาบัน"

คนเราในปัจจุบันนี้ มีเพียงแค่ศีล 5 ก็ยังถือว่า ยังน้อยหน้าต่ำตา ศีลของเราไม่มาก บางคนก็สงสัยว่า มี"ศีลห้า" ไม่สามารถที่จะปฏิบัติให้บรรลุมรรค-ผล-นิพพานได้ อันนี้เป็นการเข้าใจผิด ......

ความจริง"ศีลห้าข้อนี้ เป็นศีลที่กำจัดบาปกรรม หรือเป็นการตัดผลเพิ่มของบาปกรรม ที่เราจะพึงทำ ด้วยกาย-วาจา-ใจ เช่น ปาณาติบาต - การเว้นจากการฆ่าสัตว์ อทินนาทาน- เว้นจากการหยิบสิ่งของที่เขาไม่อนุญาต กาเมสุมิฉาจาร-เว้นจากการประพฤติผิดในกาม มุสาวาท-พูดเท็จ สุรา-ดื่มของมึนเมา ถ้าใครสมาทานรักษาศีลห้านี้ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ได้ชื่อว่า เป็นการตัดผลเพิ่มของบาป บาปกรรมที่เราทำ ที่จะต้องไปเสวยผลคือ ไปตกนรก หรือไปทรมานในสถานที่หาความเจริญมิได้นั้น มีแต่การละเมิดศีลห้าข้อเท่านั้น ส่วนอื่นซึ่งเราทำลงไป แม้จะเป็นบาปอยู่บ้าง ก็เป็นแต่เพียงความมัวหมองภายในจิตใจเท่านั้น

แต่ถ้าใคร มี"ศีล 5 บริสุทธิ์บริบูรณ์ มีหวังที่จะทำสมาธิ-ปฏิบัติธรรม-รู้ธรรม-เห็นธรรม-รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมได้....

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่สามารถจะมีศีลมากๆขึ้นไปกว่านั้น ก็อย่างพึงทำความน้อยอกน้อยใจว่า ศีลเราน้อยเหลือเกิน กลัวว่าจะไม่ถึงนิพพาน อันนั้นเป็นการเข้าใจผิด ก่อนที่เราจะเพิ่มศีลศีลของตัวเอง ให้มากขึ้นไปนั้น เราจะต้องพิจารณาถึงสมรรถภาพของตัวเองว่า เราสามารถจะปฏิบัติและรักษาศีลให้มากๆได้หรือไม่? ถ้าเรายังไม่มีสมรรถภาพพอที่จะรักษาศีลมากๆได้ ก็ให้มั่นคงแต่เพียงในศีล 5 เท่านั้น......

ฆราวาสโดยทั่วไป มีแต่เพียงศีล5 เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท เว้นการเสพสุรา เรายังประดับตกแต่งด้วยเครื่องหอม เครื่องย้อม เครื่องทาได้ ดูหนัง ดูละคร หรือ ประโคมขับดนตรีก็ได้ นอนบนที่นอน ที่สูง ที่ใหญ่ก็ได้ ไม่ผิดศีล แต่ถ้าเราไปเพิ่มข้อ"วิกาลโภช"เข้าไป แต่ว่าอดข้าวเย็นไม่ได้ เพิ่ม"มาลา"เข้าไป แต่ว่าเว้นจากจากการประดับตกแต่งไม่ได้ เพิ่มข้อ"นัจจคีตะ"เข้าไป แต่ว่าเว้นดูละคร ดนตรีไม่ได้ เพิ่มข้อ"อุจจาสยนะ"เข้าไป แต่ก้พอใจในที่นอนที่สูงที่ใหญ่ เราก็รักษาไม่ได้ เป็นการหาเรื่อง เพิ่มบาปให้ตนเอง โดยไม่มีเหตุผล การที่ตั้งใจรักษาศีลให้มากๆนั้น เราต้องดูสมรรถภาพตนเอง เมื่อเรามีศีล5บริสุทธิ์สมบูรณ์แล้ว ตั้งใจทำสมาธิ บำเพ็ญเพียรภาวนาไป เมื่อเราภาวนาเป็นแล้ว ศีลก็เพิ่มขึ้นเอง ไม่เฉพาะศีล 8 ศีล 10 เท่านั้น เมื่อมีศีล 5 มีสมาธิ มีปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรม ความเป็นของตัวเอง ซึ่งมันเกิดขึ้นในจิตนั่นแหละ ความที่จิตสงบเป็นสมาธิ ความที่มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรม สามารถทำจิตให้อยู่ในสภาพปกติได้นั่นแหละ จะเป็นอุบายเพิ่มศีลเข้าไป.......

.....อย่าว่าแต่ศีล 227 ข้อเลย ต่อให้เป็นหมื่นๆข้อ แสนข้อก็เพิ่มได้ ถ้าพื้นฐานของจิตใจดีแล้ว เพราะฉะนั้น ใครจะปฏิบัติธรรม จะเขยิบฐานะการปฏิบัติของตนให้สูงยิ่งเพียงใด แค่ไหน ก็ขอให้พิจารณาดูสมรรถภาพของตัวเองเป็นสำคัญ อย่าไปทำอย่างงมงาย ทำอย่างมีเหตุมีผล เช่น เขาว่ารักษาอุโบสถได้บุญมาก แต่ในเมื่อเราไปรักษาอุโบสถ อดข้าวเย็น ได้รับทุกขเวทนา อย่างในสมัยที่อาตมาเป็นพระเล็ก เณรน้อย อยู่กับพระอาจารย์เสาร์ แล้วก็ไปพอใจในคำว่าการอดข้าว บางทีเขาชวนอดข้าว 3 วัน 5วัน 7 วัน บางทีก็อดจนถึง 9 วันก็มี แต่เมื่ออดกันไปแล้ว ผลที่ได้รับ ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร การอดทำให้เราเกิดความเพลีย ความหิว ในเมื่อร่างกายเกิดความหิว ไม่ได้อาหารมาบำรุงร่างกาย ก็อ่อนเพลีย ในเมื่อความอ่อนเพลียเกิดขึ้น เราก็ไม่สามารถจะปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ แทนที่จะได้ผลดี กลับขาดทุน ดีไม่ดี ทำให้เกิดโรคทางกาย โรคกระเพาะ โรคลำไส้ ต้องทนทุกข์ทรมาน พยาบาลรักษาเป็นเวลานาน กว่าจะหาย เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เราจะทำลงไป ที่เราเห็นว่า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หรือปฏิบัติจริง เราอย่าปฏิบัติอย่างงมงาย ทำให้มีเหตุมีผล พิจารณาสมรรถภาพของร่างกายและจิตใจตนเองว่า มีความสามารถเพียงใด หรือไม่ อาตมาขอให้คติเอาไว้.......



ที่มาของข้อมูล....

www.bloggang.com/viewblog.php?id=amatanippan...


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: