สวนปาล์มใต้ เพาะนกแสก ใช้ปราบหนู
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 02:10:53 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวนปาล์มใต้ เพาะนกแสก ใช้ปราบหนู  (อ่าน 6442 ครั้ง)
ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์)
Administrator
member
*

คะแนน603
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 642


..สนับสนุนสิ่งที่ถูกต้อง..


« เมื่อ: มกราคม 21, 2009, 12:40:04 pm »

สวนปาล์มใต้ เพาะนกแสก ใช้ปราบหนู ทุ่นเงินนับล้าน

นักวิจัยไทยประสบความสำเร็จใช้ "นกแสก" กำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน พบนกแสก 1 ตัวกำจัดหนูได้ปีละ 700 ตัว ขณะที่นกแสก 1 คู่ สามารถควบคุมพื้นที่ได้ถึง 60 ไร่ ระบุผลการทดลองในสวนปาล์มที่สุราษฎร์ธานี 1.5 หมื่นไร่ ช่วยลดต้นทุนได้ปีละกว่า 1 ล้าน ล่าสุดเตรียมทำโปรเจคท์ใหม่คือนำไข่นกแสกเข้าโรงฟัก หวังเพิ่มศักยภาพในการผลิตลูกนกแจกเกษตรกรทั่วประเทศ

เดิมที "นกแสก" เป็นสัตว์ที่ชาวบ้านเชื่อเรื่องโชคลาง ถือเป็นนกนำโชคร้ายมาสู่ผู้พบเห็น กระทั่งได้รับสมญาว่า "นกผี" แต่ล่าสุดนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรรายหนึ่ง ได้คิดหาวิธีใช้ประโยชน์จากเจ้านกชนิดนี้ โดยสร้างรังให้มันอยู่ในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อกำจัดหนู ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของปาล์มน้ำมัน และพบว่าได้ผล 2 ต่อคือ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและรักษาระบบนิเวศด้วย

นายเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ นักสัตววิทยา 5 กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร สำนักงานวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นักวิจัยเจ้าของโครงการดังกล่าว สะท้อนปัญหาก่อนดำเนินโครงการศึกษาเพิ่มประชากรนกแสก โดยการสร้างรังเทียมเพื่อควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันว่า ศัตรูตัวฉกาจที่ทำลายปาล์มน้ำมันของเกษตรกรคือ "หนู" ซึ่งวงจรการทำลายปาล์มน้ำมันของหนูจะเริ่มตั้งแต่เกษตรกรลงมือปลูกต้นปาล์ม คือจะถูกหนูพุกใหญ่กัดกินเหง้าปาล์ม เนื่องจากเนื้ออ่อนและมีรสหวาน ทำให้ต้นปาล์มตายในที่สุด

"กรณีล่าสุดมีนักวิชาการท่านหนึ่ง ตัดสินใจลงมือปลูกปาล์มน้ำมันใน จ.จันทบุรี เมื่อคิดต้นทุนทั้งค่าปุ๋ย ค่าต้นกล้า และค่าแรงแล้ว ตกต้นละ 100 บาท ท่านบอกว่าขณะนี้โดนหนูพุกใหญ่ทำลายทุกวัน เสียหายคืนละประมาณ 30 ต้น เมื่อคำนวณแล้วเป็นเงินสูงถึง 3,000 บาท" นายเกรียงศักดิ์ กล่าว

นักสัตววิทยาคนเดิม กล่าวอีกว่า พอย่างเข้าสู่ปีที่ 3 หนูพุกใหญ่ไม่สามารถทำลายได้ เพราะเหง้าปาล์มโตและแข็งแรง แต่ก็เป็นคิวออกอาละวาดของหนูท้องขาว หรือหนูป่ามาเลย์ ซึ่งหนูกลุ่มนี้มันปีนป่ายเก่ง จึงมาทำรังอยู่บนต้นปาล์ม หรือทะลายปาล์ม แล้วจะเริ่มกัดกินตั้งแต่ระยะที่ปาล์มเริ่มแทงช่อดอกไปจนถึงช่วงผลปาล์มสุก ซึ่งผลปาล์มที่ถูกหนูทำลายนั้นน้ำหนักจะลดลงกว่า 50% รวมทั้งเปอร์เซ็นต์การให้น้ำมันก็หายไปด้วย จากเดิมเคยได้ถึง 19-22% อาจจะเหลือนิดเดียว หรือไม่มีเลย ทำให้เมื่อนำส่งโรงงานสกัดน้ำมันจึงขายได้ราคาต่ำ

สำหรับการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรนั้น พบว่า หากเป็นปาล์มปลูกใหม่ เกษตรกรจะใช้วิธีคลุมตาข่ายหุ้มโคนไว้ เพื่อถ่วงเวลาให้หนูเข้าทำลายช้าลง ขณะที่การจำกัดหนูท้องขาว ส่วนใหญ่ชาวสวนใช้สารเคมีประเภทออกฤทธิ์ช้าชนิดก้อน ซึ่งมีสารที่ทำให้มันเลือดไม่แข็งตัว เมื่อหนูกินเข้าไปจะส่งผลให้ไหลออกทางจมูกและตายในที่สุด

ทั้งนี้อัตราการใช้สารเคมีกำจัดหนูนั้น 1 ไร่ มี 22 ต้น ใช้สารเคมีกำจัดหนูชนิดก้อนต้นละ 1 ก้อน รวม 22 ก้อน ซึ่งจากสารเคมีดังกล่าวราคาก้อนละ 0.5 บาท ทำให้ผู้ปลูกรายใหญ่อย่างบริษัท สวนแสงสวรรค์ปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรม จำกัด ที่ ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีพื้นที่สวน 1.5 หมื่นไร่ มีต้นปาล์มประมาณ 3 แสนต้น ต้องใช้เงินค่ายากำจัดหนูครั้งละ 1.5 แสนบาท ปีหนึ่งเฉลี่ยใช้ยาประมาณ 3-9 ครั้ง คิดเป็นเงินกว่า 1 ล้านบาท

"แต่วิธีนี้ไม่จบ เมื่อหนูตายไปอีกประมาณ 3 เดือน มันก็จะกลับมาระบาดใหม่และมีผลกระทบหลายด้านคือ 1.ราคาสูง 2.ไม่มีแหล่งซื้อ 3.ผลกระทบต่อกลุ่มสัตว์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนู พอดีมีนักวิชาการจากมาเลเซียที่กำลังหาวิธีการกำจัดหนูโดยใช้นกแสก ผมก็สนใจและขอใช้สถานที่ภายในสวนแสงสวรรค์ฯ เมื่อปี 2539 เริ่มสร้างรังทิ้งไว้ เพื่อให้นกธรรมชาติบินมาอาศัย ผ่านไป 3 ปีปรากฏว่า ไม่มีนกมาอาศัยแม้แต่ตัวเดียว เพราะเกษตรกรใช้ยาเบื่อหนูมานาน ทำให้นกที่กินหนู ซึ่งมีสารเคมีตายตามไปด้วย" นายเกรียงศักดิ์ อธิบาย

นักวิชาการคนเดิม กล่าวด้วยว่า เมื่อไม่มีนกเข้ารัง จึงไปจับนกแสกที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช มา 2 ตัวแล้วขังไว้ประมาณ 1 เดือน จึงนำไปปล่อยไว้ในกรง กระทั่งปัจจุบันประชากรนกแสกที่สวนแห่งนี้เพิ่มเป็น 700 ตัว ทำให้เจ้าของสวนแสงสวรรค์ฯ ไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดหนูแล้ว จึงสามารถลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ถึงปีละกว่า 1 ล้านบาท

ทั้งนี้นกแสกมี 2 ชนิดคือ นกแสกแดง อาศัยอยู่ในป่าและนกแสกที่พบในพืชที่โล่งทั่วไป เป็นนกมีชนิดเดียวทั่วโลก จะออกหากินตอนกลางคืนและชอบเกาะอยู่เงียบๆ มีเสียงร้องหวีดหวิว ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า นกแสกเป็นสัตว์ที่นำโชคร้ายมาสู่มนุษย์ เมื่อมันบินผ่านบ้านไหนเชื่อว่าจะมีคนตาย จึงมีคนโบราณเรียกว่า "นกผี"

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า แต่เมื่อประเมินศักยภาพในการกำจัดหนูท้องขาวแล้ว นกแสก 1 ตัว คืนหนึ่งกินหนูได้ 2 ตัว วิธีกินของมันจะกลืนเข้าไปทั้งตัวแล้วสำรอกส่วนที่ย่อยไม่ได้ออกมา เช่น ขน หนัง และกระดูก เฉลี่ยประมาณ 700 ตัวต่อปี ขณะที่งู 1 ตัว กินหนูได้เพียง 2 ตัวต่อเดือนเท่านั้น จึงถือว่านกแสกมีศักยภาพดีที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน

สำหรับการสร้างกรงนกแสกในสวนปาล์มนั้น รังขนาด 60x80x60 เซนติเมตร ใช้วัสดุได้หลายประเภท อาทิ ไม้พลาสติก หรือถังน้ำมัน 200 ลิตร เจาะด้านหน้าแล้ววางตะแคง ส่วนสีต้องทาสีทึบๆ แล้วนำไปตั้งให้สูงจากพื้นราว 2.8-3 เมตร ใช้เสาเหล็ก หรือปูนจะดีที่สุด ด้านทำเลการตั้งรังต้องอยู่ในที่ร่มครึ้ม

"กรณีปาล์มปลูกใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง ให้ทำรังบนต้นไม้ที่อยู่รอบๆ แปลง ส่วนการปล่อยนกแสกนั้น คำนวณจากประชากรหนูที่พอให้นกกินตลอดปี อยู่ที่ประมาณ 50-60 ไร่ ต่อนก 1 คู่ ส่วนเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกเพียง 15-20 ไร่ ต้องรวมกลุ่มกันปล่อยนก ใช้ทุนค่ารังค่าวัสดุเพียง 500-1,000 บาท ส่วนพันธุ์นกผมแจกให้ฟรี นอกจากนี้ยังสามารถนำนกแสกปล่อยในนาข้าว สวนผลไม้ เพียงแค่สร้างรังให้มันเป็นหลักแหล่งเท่านั้น เพราะนกชนิดนี้เมื่อมันคุ้ยเคยกับที่ไหนแล้วมันจะอยู่ถาวร" นายเกรียงศักดิ์ กล่าว

นอกจากนั้น นักวิชาการคนนี้ยังได้นำนกแสก 15 ตัว ไปปล่อยในสวนปาล์มขนาด 1.1 หมื่นไร่ ใน จ.ชุมพร พร้อมสร้างรังเผื่อไว้ 150 รัง และมีเกษตรกรชาวสวนผลไม้ใน จ.สระแก้ว นำนกชนิดนี้จำนวนหนึ่งไปปล่อยแล้ว ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ในการประชุมที่สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน ที่อ่าวลึก จ.กระบี่ มีสมาชิกผู้ปลูกปาล์มกว่า 1 แสนไร่ สนใจการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีนี้ เพราะลงทุนต่ำและเป็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งสารเคมีจากต่างประเทศ และเป็นหนทางสู่การทำเกษตรแบบยั่งยืน

ขณะเดียวกัน ในปี 2549 นายเกรียงศักดิ์ได้รับทุนจาก สกว. สำหรับทดลองใช้วิทยุติดตามการเคลื่อนไหว ติดไว้บนหลังของนกแบบ "เรดิโอ แทร็คกิ้ง" น้ำหนัก 15 กรัม นำเข้าในราคาเครื่องละ 5,000 บาท โดยมีเป้าหมายจะติดประมาณ 10 ตัว เพื่อศึกษาพฤติกรรมการล่าเหยื่อ การปฏิสัมพันธ์ การแยกคู่ การฟักไข่ การย้ายลูกนก การเลือกรังที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเตรียมแผนการขยายพันธุ์นกชนิดนี้ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ทั่วประเทศ

http://www.komchadluek.net/news/2005/08-29/p1--11301.html


บันทึกการเข้า

..ช่างไม่ช่วยกัน แล้วใครจะมาช่วยเรา ...

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!