นนท์ อิงคุทานนท์ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสายงานบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)(ทรู) ระบุสินค้าหลักของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมี 3 ตัว คือ ADSL,เคเบิล โมเด็ม ไวไฟ หวังปลายปี กทช. ออกใบอนุญาตได้ จะปูพรมไวแมกซ์ทั่วประเทศทันที อาศัยเสาทรูมูฟติดอุปกรณ์กระจายสัญญาณ มั่นใจฟันลูกค้าล้านรายสบายๆ เพราะบันเดิลบริการอย่างอื่นในเครือเพื่อดึงลูกค้าได้ด้วย สะกิด กทช.ออกใบอนุญาตได้ไม่ต้องรอ กสทช. เพราะใช้ความถี่คนละย่านกับบรอดคาสต์ พร้อมทำนัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้
ADSLยังเป็นเป็นตัวชูโรง
“ตอนนี้ทรู บรอดแบนด์ มีสินค้าหลัก 3 ตัว คือ เอดีเอสแอล(ADSL) เคเบิล โมเด็ม และ ไวไฟ (Wi-fi) ซึ่งปีนี้เราตั้งเป้าหมายว่าต้องการลูกค้ารวม 8 แสนครัวเรือน หรือมีรายได้โตขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% แต่ถ้าหากได้ใบอนุญาตตัวจริงของไวแมกซ์ ลูกค้าบรอดแบนด์จะทะลุ 1 ล้านรายได้เลย ไตรมาสแรกที่ผ่านมามีลูกค้ารวมกันแล้ว 5.8 แสนราย”
เพราะบริษัทฯ เพิ่งออกแพ็คเก็จใหม่ ไฮ สปีด อินเทอร์เน็ต 2 เมกะบิต/วินาที (Mbps) เมื่อ 12 พ.ค. ซึ่งทรูมั่นใจว่าจะทำให้ฐานลูกค้าขยายตัวเร็วขึ้น เพราะระยะเวลาเดือนครึ่งมีรายงานยอดขายแล้ว 4 หมื่นราย
ปีที่แล้ว เราให้ลูกค้าทดลองใช้ความเร็ว 2 เมกะบิตนี่ โดยแถมให้ลูกค้าของทรู วิชั่น กับ ทรูมูฟ 5 ชั่วโมง พอเห็นว่าผลตอบรับดี ปีนี้ก็เลยใช้บันเดิลไวไฟเข้าไปกับบริการบรอดแบนด์เลย เพราะมีลูกค้าบอกว่าถ้าใช้แบบมีสายก็ใช้ได้คนเดียว แต่ถ้าไร้สายใช้พร้อมกันหลายๆ คนได้ แล้วเดี๋ยวนี้โน๊ตบุ๊คที่รับไวไฟได้ออกมาเยอะ ซื้อเราท์เตอร์ไปติดก็ใช้พร้อมกันได้หมดทั้งบ้าน
สินค้าที่เป็นตัว สร้างรายได้หลักให้กับเรา คือ ADSL ซึ่งให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ส่วนเคเบิล โมเด็ม ให้บริการตามหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ หาดใหญ่ โคราช เชียงใหม่ ขอนแก่น ตัวนี้นิยมในอเมริกา เพราะว่ามีเคเบิลทีวีเยอะ สามารถส่งสัญญาณบรอดแบนด์เข้าไปในสายเคเบิลได้ แต่แถวบ้านเราเคเบิลทีวีไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายเท่าไร ส่วนใหญ่เป็นดาวเทียม เคเบิล โมเด็ม จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมตามไปด้วย
ปัจจุบัน ทรูมีส่วนแบ่งตลาดของบรอดแบนด์เป็นอันดับ 1 หรือเกิน 50% สำหรับบรอดแบนด์ ส่วนแนร์โรว์ แบนด์ มีชุดคิทซึ่งทำผ่านเคเอสซี อินเทอร์เน็ต ที่ทรูเข้าไปซื้อหุ้นไว้ มีลูกค้า 2-3 หมื่นรายทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด ลูกค้าไดอัล อัพ (Dial Up) ตอนนี้มีจำนวนสูสีกับลูกค้าบรอดแบนด์ ถ้านับแบบไม่ซำไอดี ตอนนี้เราให้บริการลูกค้าทั้งหมดเป็นล้านราย
ในกรุงเทพ แนร์โรว์ แบนด์ หรือ ไดอัล อัพ มีให้บริการแบบเหมาจ่ายเป็นรายเดือนด้วย เรียกว่า คลิ๊ก อินเทอร์เน็ต มีคนใช้อยูประมาณ 3 หมื่นครัวเรือน
ส้มหล่นกทม.ให้พื้นที่ขยายเครือข่ายไวแมกซ์ฟรี
ไว ไฟจะเด่นขึ้นมามากในปีนี้ สิ้นปีที่แล้วมีลูกค้า 3 หมื่นราย ตอนนี้มีเกือบ 5 หมื่นรายแล้ว ในช่วงปลายปีนี้ไวไฟจะบูมมาก เพราะนอกจากผู้ให้บริการจะช่วยกันผลักดันตลาดแล้ว ผู้ผลิตไมโครชิพอย่าง Dongry ซึ่งอยู่ในเครืออินเทล ได้ร่วมมือกับสปรินท์ผลิตชิพที่เป็นดูอัล โหมด ไวแมกซ์-ไวไฟ สามารถเสียบเข้าโน๊ตบุ๊คได้ จะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายทั้งในและนอกสถานที่ง่ายขึ้นอีก
เรา ได้โอกาสดีในการขยายพื้นที่ให้บริการไวไฟ โดยได้เข้าร่วมโครงการกรีน แบงคอก ไวไฟ โปรเจ็คท์ : Green Bangkok Wifi Project หรือ โครงการพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ทำให้สามารถติดอุปกรณ์กระจายสัญญาณได้ถึง 15,000 จุด โดย กทม. เป็นผู้จัดหาพื้นที่ในการติดตั้งให้ เพิ่มพื้นที่การให้บริการในกรุงเทพฯขึ้นมา 3 เท่าตัว ซึ่งตอนนี้ดำเนินการติดตั้งเสร็จหมดแล้ว
เนื่องจาก กทม.มีนโยบายที่จะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่ จึงมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยลดการใช้พลังงาน ซึ่งการติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตจะช่วยลดการเดินทางลงก็จะทำให้มีการใช้น้ำมัน น้อยลงด้วย โครงการนี้จะเน้นกลุ่มคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ลูกค้าจะได้ใช้ฟรีจากบัตรที่แจกไป ให้ เมื่อบัตรหมดสามารถเข้าไปลงทะเบียนใช้ต่อได้เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งโครงการนี้ทรูร่วมมือกับกทม. 3 ปี หลังจากนั้นก็ค่อยว่ากันอีกที ความเร็วของบริการอยู่ที่ 64 กิโลบิต/วินาที เป็นความเร็วเบื้องต้น สามารถโหลดเพลงได้ เล่นเกมได้ เราตั้งเป้าว่าจะมีคนเข้ามาใช้สัก 5 แสนคน
ที่ เรียกว่าไวไฟมีลักษณะการใช้ 2 อย่าง คือ ใช้ที่บ้านซึ่งต้องมีเสาอากาศเล็กๆ ติดอยู่ในบ้าน เพื่อกระจายสัญญาณ แต่จะมีรัศมีไม่ไกลนัก ก็จะใช้ได้แต่ในบ้านของตัวเองเท่านั้น
ส่วน ไวไฟที่ใช้นอกบ้านได้ เรียกว่า ไวแมกซ์จะเอาไว้ใช้นอกบ้าน สำหรับคนที่มีโน๊ตบุ๊ค ทรูจะติดฮ้อต สปอต (Hot Spot) หรือเสาอากาศ ซึ่งจะมีรัศมีกว้างกว่า ปีที่แล้วติดตั้งไป 4,500 จุด ครอบคลุมประมาณ 200 อาคาร ทั้งที่เป็นสำนักงานและห้างสรรพสินค้า คนก็ใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ เลยยังไม่พอ ต้องขยายขึ้นอีก รวมทั้งอุปกรณ์ปลายทางสมัยนี้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ ซึ่งเน้นความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เป็นหลัก
ไวแมกซ์ มีทั้งฟรีและไม่ฟรี ถ้าฟรีหมายถึงเจ้าของสถานที่เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย คือ ซื้อชั่วโมงไปจากทรู แล้วก็ไปกระจายสัญญาณโดยไม่ใส่รหัส แต่บางที่ไม่ฟรี ลูกค้าของเขาที่ต้องการใช้ต้องมาจ่ายเงินเพื่อรับรหัสไป ก็จะเป็นแบบเหมาหรือแบบชั่วโมงก็ได้ เช่น ตามร้านกาแฟ
ลุ้นกทช.ออกใบอนุญาตไวแมกซ์
กรณีใบอนุญาตไวแมกซ์ทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) น่าจะออกให้ได้ภายในปลายปีนี้ เพราะตามกฎหมายบอกว่าหากคลื่นไม่ทับกับคลื่นที่ใช้ในการแพร่ภาพและกระจาย เสียงหรือกิจการบรอดคาสต์ กทช.สามารถดำเนินการให้ใบอนุญาตได้เลยไม่ต้องรอคณะกรรมการกิจการสื่อสารและ โทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) โดยนำคลื่นความถี่ในส่วนที่ใช้กับกิจการโทรคมนาคมมาจัดสรร
ตอนนี้ ไวแมกซ์ ยังเป็นแค่การทดลองใช้บริการ ตามใบอนุญาตการทดสอบเชิงพาณิชย์ของ กทช. ซึ่งทรูใช้เทคโนโลยีพรีไวแม็กซ์ (Pre Wi-max) ยังไม่ใช่มาตรฐานไวแมกซ์ เพราะใช้ย่านความถี่ของไวไฟ แต่ก็สามารถส่งสัญญาณได้ไกลหลายกิโลเมตร
ใบอนุญาตนี้เราได้ต่อ เนื่องมา 2 ครั้งแล้ว ผลการทดสอบก็ดี สำหรับชุมชนแนวราบ หรือว่าชนบท มีการตอบรับที่ดี ความเร็วในการรับ-ส่งถึง 9 Mbps(เมกะบิต/วินาที) ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นับว่าสูงมากสำหรับเทคโนโลยีไร้สาย
ใน กรุงเทพฯ เราก็ทำการทดสอบ ด้วยเสาอากาศแบบ”ไมโม”(MIMO:Multiple Input-Multiple Output) ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่สามารถปรับกำลังส่งให้ไปถึงตัวรับสัญญาณหลายๆตัวได้ดี ให้ความเร็วสูง ปัจจุบันทดสอบเป็นมาตรฐาน ieee802.16e ซึ่งค่อนข้างจะใช้กันแพร่หลายตอนนี้ ตัวนี้จะรองรับการใช้บรอดแบนด์ทั้งแบบอยู่กับที่ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่สูงมากนัก ประมาณ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ตอน นี้มีมาตรฐานใหม่ก็คือ ไวแมกซ์ ieee802.16m ตัวนี้จะรองรับการเคลื่อนที่ที่ความเร็วสูงได้ โดยสามารถรับ-ส่ง ได้ถึง 100 Mbps ด้วยความเร็วในการเคลื่อนที่ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง สามารถใช้บนรถไฟความเร็วสูงได้ นี่กำลังพัฒนาเป็นมาตรฐานแต่ว่ายังไม่เรียบร้อยดีนัก
จุดสำคัญของ การให้บริการไวแมกซ์คือต้องมีเสา เหมือนเสามือถือ ถ้าความเร็วไม่สูงนักก็จะมีพื้นที่ส่งสัญญาณรัศมี 5-10 กิโลเมตร ที่ต้องเป็นแบบไร้สายเพราะว่าบ้านเรามีผู้ที่เข้าถึงการสื่อสารตามสายน้อย มาก ตัวเลขตอนนี้มีเพียง 24% เท่านั้น ก็ต้องใช้คลื่นนี่แหละมาช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ถาม ว่าไวแมกซ์ดีกว่ามือถือยังไง ก็คือ ต้นทุนของไวแมกซ์ต่ำกว่ามาก ทำให้ค่าบริการถูกกว่า ถ้าหากมีนัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้ขึ้นมาก็ยิ่งทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก สามารถเคลื่อนย้ายเบอร์ได้อย่างสะดวก เพราะจะเลือกใช้ของผู้ให้บริการรายใดก็ได้ด้วยเบอร์เดิม เช่น สมมติว่าย้ายบ้านเข้าไปโครงการบ้านจัดสรรที่ชานเมืองซึ่งสายของทรูไปไม่ถึง แต่มีเบอร์เดิมของทรูอยู่ก็สามารถใช้เป็นแบบไร้สายได้ และสามารถใช้ได้ทั้งเป็นโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ได้เหมือนเดิมตามปกติ
พอ มีคนใช้เยอะก็ขยายการให้บริการด้วยการเพิ่มความถี่เข้าไป ซึ่งง่ายและเร็วกว่าการเดินสาย ก็เลยทำให้การบริการด้วยไวแมกซ์มีค่าบริการแค่ 3 บาท/ครั้ง ผู้ให้บริการรายใหม่ก็ไม่ต้องลากโครงข่ายหลักเอง ใช้ของผู้ให้บริการเดิมได้
ตอนนี้ทั่วโลกใช้ความถี่ 2.5 กิ๊กกะเฮิร์ตซ์ ที่กทช.ให้ทดสอบก็มี 2 แบนด์ คือ 2.3 กิ๊ก กับ 2.5 กิ๊ก ในต่างประเทศก็มีมากขึ้น เป็น 3.5 กิ๊ก แต่ในบ้านเรา ย่าน 3 กิ๊ก เป็นของดาวเทียม
เราประเมินว่าถ้า กสทช.เข้ามาจัดสรรความถี่ก็น่าจะขยับขยาย 2.5 กิ๊ก ทำให้มีมากขึ้นได้ ก็จะสามารถนำมาให้บริการไวแมกซ์ได้มากขึ้น เพราะว่าตอนนี้ 2.5 กิ๊กส่วนหนึ่งถูกใช้ในกิจการบรอดคาสต์ซึ่งจริงๆ ก็มีไม่เยอะแล้ว ไม่ถึงพันกว่าคนที่รับสัญญาณด้วยคลื่นย่านนี้ เพราะส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปรับสัญญาณโทรทัศน์ทางดาวเทียมและสายเคเบิล
ตอน นี้บ้านเรามีคนที่ใช้บรอดแบนด์เพียง 6% หรือประมาณ 1 ล้านครัวเรือนเท่านั้น ใน 16-17 ล้านครัวเรือน ถ้าหากรัฐบาลเข้ามาวิเคราะห์ว่าตรงไหนต้องมีบรอดแบนด์บ้าง แล้วขยายโครงข่ายหลักออกไป ก็จะช่วยเรื่องการพัฒนาการศึกษาได้ เพราะบรอดแบนด์ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น
ในช่วงครึ่งปี หลัง มีการพูดถึงเรื่องการขยายบรอดแบนด์อย่างจริงจังมากขึ้น ไอซีทีเริ่มหันมาสนใจมากขึ้น นับว่าเป็นทิศทางบวกสำหรับไวแมกซ์ และแสดงให้เห็นว่าปลายปีน่าจะมีใบอนุญาตออกมา
อุปสรรคสำคัญสำหรับ การให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ หรือข่ายสายที่จะเชื่อมจากโครงข่ายหลักเข้าสู่บ้านหรือผู้ใช้บริการ (Last Mile) ซึ่งในชนบทไกลๆ ยังไม่มี เพราะฉะนั้นก็ต้องหาเทคโนโลยีที่จะตอบสนองได้ทั้งคนให้บริการและผู้ใช้ บริการ คือ ต้องมีความคุ้มค่าในการลงทุน และ สามารถใช้งานได้ดี รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ ไวแมกซ์
“ตอนนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลงเยอะแล้วในบ้านเรา แต่ว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อเลยต่ำ และยังเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ไม่คล่องตัวในการเคลื่อนที่นัก ซึ่งปัจจุบันต่างประเทศมองไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบกะทัดรัดแล้ว (Ultra Mobile PC:UMPC)”
นอกจากปัญหาเรื่องฮาร์ดแวร์แล้ว ก็ยังมีปัญหาด้านซอฟต์แวร์ หรือ ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ของประชาชนในที่ต่างๆ ด้วย
เผยแผนบุก
กลยุทธ์ที่ทรูใช้มานานแล้ว คือ ไม่ตัดราคา แต่ใส่ของแถมเพิ่ม เช่น แถม ไวไฟ ให้ ซูเปอร์ไฮสปีด ตอนนี้บริษัทเน้นการให้บริการแบบคอนเวอร์เจนซ์ ซึ่งก็จะมีสินค้าอื่นในเครือมาบันเดิลด้วย เช่น ทรู วิชั่นส์ ทรูมูฟ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดครอส เบเนฟิต หรือรายได้กับสินค้าอื่นๆ ด้วย
“ผมว่าเราก็ไม่ขี้เหร่นัก เข้าตลาดเมื่อ 7 ปีก่อน เข้าเป็นรายที่ 3 ที่ 4 ตอนนั้นราคาแพงมาก ความเร็วแค่ 128 กิโลบิต/วินาที ทรูเป็นคนทำราคาลงมาที่ 590 บาท/เดือน เป็นคนแรก ซึ่งเป็นราคาที่ตลาดรับได้ อีก 6 เดือนถึงจะมีรายอื่นตาม นั่นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่เรื่องราคานี่จริงๆ ขึ้นอยู่กับค่าเช่าเกตเวย์ด้วย ถ้าหากมีการแข่งขันกันมากก็จะยิ่งทำให้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ถูกลง ซึ่งตอนนี้มีผู้ให้บริการเกตเวย์ 5 ราย”
นอกจากใช้เงินเพื่อทำโป รโมชั่นแล้ว เรายังต้องใช้เงินพอสมควรเพื่อทำให้ตลาดเข้าใจ ต้องสาธิตกันบนออนไลน์เพื่อให้คนไทยเข้าใจว่าต่างประเทศเขาใช้กันอย่างไร ทำให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างไร
การลงทุนจะไม่ต่ำ กว่า 1 พันล้านบาท/ปี เพราะลูกค้าเพิ่มขึ้น โตไม่ต่ำกว่า 1 แสนรายในแต่ละปี ถึงแม้ว่าราคาอุปกรณ์จะลดลงเยอะก็ตาม อย่าง 15,000 จุดของไวไฟในโครงการ กทม.ใช้ไป 600 ล้านบาท เฉพาะค่าอุปกรณ์อย่างเดียว ในครึ่งปีหลังต้องมีการลงทุนทั้งการขยายเครือข่ายและการซื้อโมเด็มเข้ามาแจก ให้ลูกค้า
“เรื่องเงินลงทุนสำหรับทรู อินเทอร์เน็ตไม่มีปัญหาเพราะแม่หาให้อยู่แล้ว สนับสนุนอยู่แล้ว”
เป้า หมายอีกอันหนึ่ง คือ การพัฒนาออนไลน์แคร์ หรือ การดูแลลูกค้าแบบออนไลน์ ปัจจุบันจะมีชุดคู่มือ หรือ Navigator ให้ลูกค้านำไปติดตั้งในเครื่องเอง เมื่อเจอปัญหาก็กดคลิ๊กไปตามคำแนะนำ ก็จะพบวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเอง นอกจากนี้ก็มีศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center)
สำหรับ การขยายคลื่นความถี่เพื่อให้บริการนั้น ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยมีบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต เกทเวย์ จำกัด ในเครือทรูเหมือนกันคอยดูแลอยู่ ล่าสุดได้ทำการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในทวีปยุโรป ซึ่งเมื่อมีการเปิดท่อใหม่ ก็ทำให้ภาพรวมดีขึ้น หรือทำให้การใช้งานเร็วขึ้นนั่นเอง“ตอนนี้เราใช้ท่อของ กสท ด้วย ของตัวเองด้วย เพราะต้องมีระบบสำรองไว้ เผื่อไว้ของใครคนใด คนหนึ่งมีการล่มหรือขัดข้องไป ลูกค้าจะได้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนที่อินเทอร์เน็ตทรู มักมีปัญหาเวลาเจอฝน ก็เพราะมีความชื้น ซึ่งทำให้ค่าทางเทคนิคต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะลูกค้าที่อยู่ไกลสายเครือข่ายหลักมาก หรืออยู่ปลายๆ สาย จะมีผลกระทบมาก ซึ่งสายของทรูที่ลากเข้าตามบ้านจากเครือข่ายหลักจะไม่เกิน 3 กิโลเมตร แต่ก็ยอมรับว่ายังมีปัญหานี้อยู่ บ้านเราความชื้นมากด้วย แล้วสายหนึ่งต้องเจอมาตลอดทาง ไม่ใช่มาเจอที่หน้าบ้านเรา ก็เลยมีการทำงานที่ผิดพลาดบ้าง”สำหรับการรุกตลาดต่างจังหวัด ก็ยังคงเน้นการใช้สื่อหลักคือทีวี เพราะไปได้เร็วและทั่วประเทศ จากการที่ได้ลงไปสัมผัสตลาดเอง พบว่าคนในต่างจังหวัดรู้จักทรูและอยากให้เข้าไปบริการเขามาก มีการถามอยู่ตลอดเวลา แต่ตอนนี้ที่ไปได้คือแนร์โรว์ แบนด์ ซึ่งเกาะไปกับเครือข่าย ส่วนบรอดแบนด์ส่วนใหญ่จะเกาะไปกับห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์ตสโตร์ ซึ่งจะขายบัตรเติมเงินได้ ลูกค้าหลักก็จะเป็นร้านค้าในห้าง
อย่างที่บอกว่าการขยายบริการไวไฟ ไวแมกซ์ในต่างจังหวัดต้องรอใบอนุญาตก่อน ไม่อย่างนั้นก็นำอุปกรณ์เข้ามาเยอะไม่ได้ แล้วก็ไม่มีคลื่นรองรับเพียงพอด้วย
ไวไฟนี่ใช้ในสถานที่ไม่ต้องรอใบอนุญาตก็จริง นำอุปกรณ์เข้ามาได้ไม่จำกัด ใช้ความถี่ย่านที่เป็นความถี่สาธารณะ แต่กำลังส่งมีแค่ 50 มิลลิวัตต์ หรือรัศมีประมาณ 25 เมตรเท่านั้น
เรื่องคู่แข่งในกทม.มีทีโอที ทีทีแอนด์ทียังไม่ได้มากนัก จะได้ตรงส่วนที่ทรูเข้าไปไม่ถึง เช่นหมู่บ้านใหม่ๆ เพราะ 2.6 ล้านเลขหมายที่ฟิกซ์พื้นที่มาตั้งแต่ต้น แต่ก็ไม่มีผลกระทบกับทรู เพราะเขาก็ได้ไปไม่กี่พันราย แต่ในทางกลับกัน ในต่างจังหวัดเราก็ยังได้ไม่มากนัก
แต่เราได้เปรียบที่มีเสาทรูมูฟไปถึงทุกจังหวัดแล้ว เวลาจะขยายก็ง่ายนิดเดียว แค่นำอุปกรณ์ไปติดตั้งบนเสาของทรูมูฟ
นอก จากนี้ยังมีใบอนุญาตที่ให้บริการด้วยสายเคเบิลได้ด้วย แต่ที่ขาดคือ Last Mile ซึ่งจะทำได้เมื่อได้ใบอนุญาต และต้องคุยเรื่องเงินลงทุนใหม่ด้วย ต้องดูความได้ความถี่ย่านไหนมา
ตอนนี้ทางเทคนิคความเร็วในการรับ -ส่งข้อมูลมีถึง 5 เมกะบิต/วินาที แต่ไม่แพร่หลายนักเพราะแอพพลิเคชั่นยังไม่ถึง และเมื่อมีความสามารถสูงท่อในการส่งผ่านก็ต้องใหญ่ตามไปด้วย และปลายทางก็ต้องสามารถรับได้ ซึ่งก็ยังไม่มีใครเพิ่มขนาดท่อมารองรับเพราะไม่คุ้ม และอุปกรณ์ปลายทางก็ยังไม่ได้พัฒนาให้ถึงขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ความเร็วที่ 2 เมกะบิต/วินาที คงอยู่ในตลาดต่อไปอีกสักพัก เมื่ออุปกรณ์ปลายทางพัฒนาก็จะก้าวไปเอง ขึ้นอยู่กับตลาดเองว่าจะต้องการใช้เมื่อไรถ้าจะถามว่าบรอดแบนด์ของทรูได้ เปรียบทีทีแอนด์ทีตรงไหน ก็คือ ทรูมีไวไฟ และมีสินค้าในเครือมากมาย สามารถนำไปขายร่วมกันได้ และยังมีคลื่นความถี่ในมือมากกว่าด้วย
ข่าว : Telecom Journal
Creadit :
www.adslthailand.co m