กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 12:04:42 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค  (อ่าน 101950 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 06:55:35 pm »



พระราชบัญญัติ  พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง

ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง

    คำสั่ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องต้มน้ำไฟฟ้าที่ทำให้น้ำร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าฯ
       คำสั่ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นฉีดน้ำที่มีลักษณะเป็นกระบอกสูบฯ
       คำสั่ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า "ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ำ" หรือ "ตัวดูดน้ำ"
       คำสั่ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า "ลูกโป่งวิทยาศาสตร์" หรือ "ลูกโป่งพลาสติก"
       คำสั่ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นเป็นการชั่วคราว
       ประกาศ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 10 เรื่อง ให้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าและเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 11 เรื่อง ให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 และ ฉบับที่ 15 เรื่อง ให้สุราเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 เรื่อง ให้ปุ๋ยชีวภาพเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 16 เรื่อง ให้เครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 17 เรื่อง ให้น้ำมันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 18 เรื่อง ให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสำหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้ที่นอนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2549) เรื่อง ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2549) เรื่อง ให้เครื่องทำน้ำเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 22 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ช่วยในการพยุงตัวเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 3 เรื่อง ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 4 และ ฉบับที่ 5 เรื่อง ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 และ ฉบับที่ 13 เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 7 เรื่อง ให้อัญมณีเจียระไนและเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 8 เรื่อง ให้บอแรกซ์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 9 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
       ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเงินประกันเป็นธุรกิจควบคุมรายการ ในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2549
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เรื่อง การเสนอชื่อผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิเป็นกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับเพิ่มเติม)
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการซ่อมรถยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่เรียกเงินประกันถังก๊าซหุงต้มเป็นธุรกิจที่ควบคุม รายการในหลักฐานการรับเงิน
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
       ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
       ประกาศเรื่อง การยกเลิกการประกอบธุรกิจขายตรงของบริษัท เน็กซัส วัน จำกัด(บริษัท โนเบิล ไลฟ์ จำกัด)
       ระเบียบ คณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง
       ระเบียบ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา
       ระเบียบ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
       ระเบียบ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา


กดเลยครับ



สิทธิของผู้บริโภคตามกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค ภาค 1

หลายคนไม่อยากร้องทุกข์เพราะร้องทุกข์ไปแล้วไม่เห็นได้อะไร  ยุ่งยาก
เสียเวลา  กลายเป็นความฝังใจของผู้บริโภคส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน  การหนีหรือ
หลบหลีกปัญหาไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น  การร้องทุกข์เมื่อประสบปัญหาจาก
การบริโภคไม่เพียงช่วยแต่ตัวเองเท่านั้น  แต่อาจเป็นหนทางป้องกันปัญหาที่จะไป
เกิดแก่ผู้อื่นได้ด้วย  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522 (  แก้ไข
เพิ่มเติมถึงฉบับที่  2  พ.ศ.2541  )  ให้อำนาจและหน้าที่แก่สำนักงานคณะกรรม
การคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อปฎิบัติการช่วยเหลือผู้บริโภคไว้  7  ประการ  ดังนี้

          1.  รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระ
ทำของผู้ประกอบธุรกิจโดยโทรศัพท์สายด่วนร้องทุกข์  โทร.1166
          2.  ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกระทำการเป็น
การละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
          3.  สนับสนุนหรือทำการศึกษาและวิจัยปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้
บริโภค
          4.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน
ของสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค
          5.  ดำเนินการเผยแพร่วิชาการและให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
          6.  ประสานงานกับส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมหรือ
กำหนดมาตรฐานสินค้าและบริการ
          7.  ปฎิบัติการอื่นๆ  ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย  เช่น  การแจ้งหรือ
โฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิ
ของผู้บริโภค ในเรื่องนี้ยังมีต่อในคราวหน้า


สิทธิของผู้บริโภคตามกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค ภาค 2

การรักษาสิทธิของผู้บริโภคถือได้ว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของประชาชนผู้บริโภค
ที่พึงปฏิบัติ  เพื่อคุ้มครอง  ตนเองให้ได้รับความคุ้มครอง  ความปลอดภัยและเป็น
ธรรม
          พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522  ( แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่
 2  พ.ศ.2541 )  ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎ
หมายไว้  5  ประการ  ดังนี้

          1.  สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียง
พอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ  ได้แก่  สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดง
ฉลากตามความจริงและปราศจากพิษภัย  รวมถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยว
กับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือ
บริการ
          2.  สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ  ได้แก่  สิทธิที่จะ
เลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค  และปราศจากการ
ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
          3.  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่
สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย  มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน
เหมาะสมแก่การใช้  ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต  ร่างกาย  หรือทรัพย์สิน
          4.  สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา  ได้แก่  สิทธิที่จะได้รับ
ข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
          5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะ
ได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย  เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค


สิทธิของผู้บริโภคตามกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค ภาค 3

หลักเกณฑ์การพิจารณาในการเข้าดำเนินคดีแทนผู้บริโภค  ตามมาตรา
 39  แห่งพระราชบัญญัติ    คุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522  ( แก้ไขเพิ่มเติมถึง
ฉบับที่  2  พ.ศ.2541 )  เมื่อมีผู้ร้องขอให้ดำเนินคดีแทนได้ ดังนี้

          1.  ผู้ที่ร้องขอให้ดำเนินคดีแทนต้องเป็นผู้บริโภค ตามความหมายที่บัญญัติ
ไว้ในมาตรา 3  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522   ( แก้ไขเพิ่ม
เติมถึงฉบับที่  2  พ.ศ.2541 )      กล่าวคือ     ผู้บริโภคหมายความว่า  ผู้ซื้อหรือ
ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ  หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้
ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า
หรือผู้ได้รับบริการจาก            ผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ   แม้มิได้เป็นผู้เสียค่า
ตอบแทนก็ตาม
          2.  มีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค  หมายถึง  กรณีผู้
ประกอบธุรกิจเป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่ากับกระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค  และ
รวมถึงกรณีผู้ประกอบธุรกิจกระทำการละเมิดสิทธิของ ผู้บริโภค  อย่างหนึ่งอย่าง
ใด  หรือหลายสิทธิก็ได้  ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่นและกฎหมายว่าด้วย
การคุ้มครองผู้บริโภค
          3.  การดำเนินคดีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นส่วนรวม  โดย
พิจารณาจาก

          3.1  ลักษณะของการประกอบธุรกิจ การประกอบธุรกิจใดที่แม้ว่าจะก่อ
ให้เกิดความเสียหายแก่      ผู้บริโภคเพียงรายเดียว  แต่มีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่า
หากผู้ประกอบธุรกิจยังคงประกอบธุรกิจลักษณะนั้นต่อไป  อาจทำให้ผู้บริโภคราย
อื่นๆ  ได้รับความเสียหายด้วย
          3.2  ผลของการดำเนินคดี  แทนผู้บริโภครายใดนั้นจะเป็นประโยชน์แก่
ผู้บริโภครายอื่นๆ  ที่ยังมิได้มาร้องขอตามมาตรา  39  แห่งพระราชบัญญัติคุ้ม
ครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522  ( แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่  2  พ.ศ.2541 )  ซึ่ง
สามารถมายื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีในภายหลังได้



ที่มากดเลยครับ


บันทึกการเข้า

แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 06:58:39 pm »

กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค

สิทธิของผู้บริโภค เรื่องที่ต้องดูแลรักษาสิทธิ เรื่องที่คนจำนวนมากไม่รู้  หลายคนไม่คิดถึง  ทั้งที่สิทธิเป็นเรื่องอันชอบ ธรรมของผู้บริโภคที่ควรจะได้รับ  และที่สำคัญควรต้องรู้

ล่าสุด !  พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ ปลอดภัย พ.ศ.2551  ประกาศแล้ว  และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

จากเดิมที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  ซึ่งมีสาระสำคัญได้แก่  มีสิทธิที่จะรับรู้ข่าวสาร  สรรพคุณที่ ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ  มีสิทธิได้รับความปลอดภัยจาก การใช้สินค้าและบริการ  มีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และมีสิทธิได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ปัจจุบันการคุ้มครองเหล่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว!หลายๆกรณี  หลายๆ เหตุการณ์ ที่สะท้อนว่าผู้บริโภคกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบ  ดังนั้น พ.ร.บ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย  จะได้เข้า มาช่วยให้ประชาชนได้รับการพิทักษ์มากขึ้นประการแรก  พ.ร.บ.ฯ ระบุความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย  หมายความรวมถึงความเสียหาย ทั้งต่อชีวิต  ร่างกาย  สุขภาพ  อนามัย  จิตใจ  และทรัพย์สิน  นั่นหมายความ ว่า  ความเจ็บปวด  ความทุกข์ทรมาน  ความหวาดกลัว  วิตกกังวล  ความเศร้าโศก เสียใจ  ความอับอาย  หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่ผู้บริโภคได้รับ จากสินค้าใดๆ  จะได้รับการชดเชย  ความวิตกกังวลเมื่อพบว่า  สินค้าที่ผู้ บริโภคใช้อยู่  อาจปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่มีฤทธิ์ร้ายแรงตลอดเวลาของความ เสียหายต่อจิตใจนี้  “ผู้ประกอบการ”  ไม่สามารถผลักภาระความรับผิดชอบ ได้  ถึงแม้ว่าในที่สุดจะเป็นเพียงความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากขั้นตอน การผลิตเท่านั้นก็ตามที่สำคัญ  การพิสูจน์ต่อศาลว่าได้รับความเสียหายจากการ ใช้สินค้านั้นๆตาม พ.ร.บ.ใหม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ “ผู้ประกอบการ” ซึ่งมีข้อดีที่จะทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงินหรือค้นคว้าความ รู้ที่จะนำมาเป็นหลักฐานชี้ความเสียหาย  และไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจาก ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม “ผู้ประกอบการ” ต้องมีหน้าที่หลักที่จะพิสูจน์ความจริงให้ได้ยกตัวอย่าง  การซื้อรถยนต์ใหม่ ป้ายแดงที่อุปกรณ์ต่างๆไม่ได้มาตรฐาน  การซื้ออาหารที่ไม่สะอาดมีสิ่งแปลก ปลอมปนอยู่หรือไม่ได้คุณภาพ  รวมถึงการซื้ออาหารกระป๋องที่มีสารอันตรายปน เปื้อนอยู่  เป็นต้นข้อดีอีกประการ  คือ  ระยะเวลาการฟ้องคดีผู้บริโภค สามารถใช้สิทธิได้ภายใน 3 ปี  นับจากวันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับ ผิด  หรือไม่เกิน 10 ปีนับแต่ผู้บริโภครู้ถึงความเสียหาย  เพราะสินค้าที่มีความทันสมัย  มี เทคโนโลยีสูงขึ้น  กว่าที่ผู้บริโภคจะรู้ตัวตรวจพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัย  จะ กระทำได้ยากหรืออาจทำไม่ได้เลย  รู้ตัวอีกทีก็เมื่อเกิดผลร้ายของสินค้า นั้นๆ มากระทบกับตัวเรากับครอบครัวหรือคนที่เรารักนั่นเอง  หากท่านถูกเอารัดเอา เปรียบหรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ หรือได้รับอันตรายจากสินค้า  สามารถติดต่อไปที่ สคบ. ได้ที่ สายด่วนผู้บริโภค 1166  หรือที่อีเมล consumer@ocpb.go.th

ข้อมูล  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค


ที่มากดเลยครับ
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:10:58 pm »



กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:15:33 pm »

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและคุ้มครองผู้บริโภค กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:30:55 pm »

คลอด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ ให้ผู้เสียหายดำเนินการฟ้องร้องผู้ประกอบการได้โดยไม่ต้องจ้างทนายประชาชน ดำเนินการเองได้ง่ายขึ้น

นายจิรชัย มูลทองโร่ย ผอ.กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้
ไปแล้ว และ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ได้ให้สิทธิ์ของผู้บริโภคเพ้มมากขึ้น คุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภคโดยตรง จากเดิมผู้เสียหายต้องฟ้องศาลเอง จ้างทนายเอง หลังพบถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ แต่ต่อไปนี้ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากผู้ประกอบการ สามารถมาที่ศาลแพ่งทั่วประเทศ ขอเข้าพบเจ้าพนักงานคดีคุ้มครองผู้บริโภค แล้ว "ฟ้องด้วยวาจา" หรือเล่าเรื่องให้ฟัง จากนั้นเจ้าพนักงานจะเรียกคู่กรณีมาไต่สวน โดยศาลจะมีการสืบสวนเอง ส่งผลให้การทำงานดีขึ้น
หลายด้าน คือ 1. มีความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจาก ผู้บริโภค สามารถเดินทางไปที่ศาลแพ่งได้ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าพนักงานคดีคอยรับเรื่อง จากนั้นจะเรียกผู้ประกอบการมาสืบสวนเอง เพื่อเรียกคู่กรณีมาไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ส่ง
ฟ้องศาลต่อไป 2.กรณีมีปัญหา ศาลจะมีการพิจารณอย่างต่อเนื่อง และกรณีที่เหตุเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเป็นกรณีที่มีผู้เสียหายหลายท่าน จากผู้ประกอบการเดียว ศาลจะตัดสินได้เลย 3.ประหยัด เนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่อศาลและไม่ต้องจ้างทนาย 4. คดีมีอายุความนาน 3 ปี ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิด หรือ 10 ปีนับจากวันที่เสียหาย ซึ่งหลักฐานที่นำไปประกอบ ในการไปฟ้องร้องประกอบด้วย 1.เอกสารโบรชัวร์ของสินค้าที่ร้องเรียน 2.กรณี นำคำกล่าวอ้าง,คำโฆษณา,คำอวดอ้าง ของสินค้า สามารถนำมาเล่าต่อเจ้าพนักงานได้ 3.กรณี ที่สินค้ามีการเปลี่ยนแปลงโฆษณาภายหลัง ผู้บริโภคสามารถมายื่นคำร้องได้ 4.กรณี จำหน่ายผ่านเซลสามารถเอาพยานบุคคล มาประกอบได้ ทั้งนี้ ไม่อยากให้
ผู้ประกอบการวิตกกังวลแต่อย่างใด ควรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นธรรมต่อสังคม ซึ่งภาครัฐให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายอยู่แล้ว


ทีมา..กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:42:12 pm »

ขอบคุณมากเลยครับลูกสาวเขาจะหาไปทำรายงานครับ
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:47:40 pm »

พี่ถาวรครับ ถ้าครบแล้วบอกหน่อยนะครับ Smiley
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:54:25 pm »

ครับคงหลายวัน ไว้ จะบอกครับ
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 07:57:42 pm »

เครือข่ายผู้ป่วยฯ ลั่นประเดิมใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 23 ส.ค.นี้แน่

เครือข่ายผู้ป่วยฯ ลั่นประเดิมใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 23 ส.ค.นี้แน่ จวก แพทยสภา-กรมสนับสนุนฯ-กองประกอบโรคศิลปะ หากเป็นที่พึ่งของ ปชช.ไม่ต้องมีกฎหมายใหม่ ด้านแพทยสภาส่งจดหมายเปิดผนึกถึง รมช.สาธารณสุข ขอให้กฤษฎีกาตีความห่วงฟ้องร้องแพทย์สูงขึ้นอีก

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ กล่าวว่า เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายฯ จะร่วมหารือกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในวันที่ 17 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณา ว่า มีผู้บริโภคด้านสาธารณสุข รวมถึงผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบในด้านต่างๆ พร้อมที่จะไปฟ้องร้องเป็นกรณีตัวอย่างในวันที่ 23 ส.ค.ซึ่งเป็นวันแรกที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้

“ขณะนี้มีผู้ร้องเรียนมากมายหลายร้อยราย ที่มาขอความช่วยเหลือจากเครือข่าย ดังนั้น เมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ คงจะทยอยให้เคสเหล่านี้เข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกัน ก็จะทำหน้าที่แบ่งเบาการทำงานของศาลในการจัดลำดับเหตุการณ์ ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดเท่าที่มี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีของศาล แต่ยังบอกไม่ได้ว่าในวันที่ 23 ส.ค.จะมีผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายกี่รายที่จะไปร้องตามกฎหมายใหม่” นางปรียนันท์ กล่าว

นางปรียนันท์ กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวเปรียบเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่มืดมิดของผู้บริโภคอย่าง แท้จริง เพราะที่ผ่านมา กลไกในการเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่พิกลพิการมาโดยตลอด จึงถือเป็นการมาเติมเต็มสิทธิของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นภาระการพิสูจน์ถูกผิดจะไม่ตกเป็นของผู้เสียหายอีกแล้ว ค่าธรรมเนียมศาลก็ไม่ต้องเสีย ทนายความก็ไม่ต้องหา ฯลฯ ทำให้การเข้าถึงสิทธิของผู้เสียหายเป็นไปได้ยาก

นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า การฟ้องร้องจะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากการฟ้องร้องสามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้นอีกทั้งความเป็นจริง คือ คดี ความเสียหายต่างๆ มีเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่การเข้าถึงสิทธิของผู้เสียหายทำได้ยาก มีการซุกซ่อนเรื่องราวเพื่อไม่ให้เกิดเป็นคดีความ นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพทั้งหลายไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องเหล่านี้ ควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน มาสร้างเป็นองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด แทนการปิดบังซุกซ่อนอย่างที่เป็นอยู่

“แพทยสภา กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่ดูแลสถานพยาบาลเอกชน และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลสถานพยาบาลภาครัฐในสังกัด ถ้าทั้ง 3 หน่วยงานนี้ทำตัวเป็นที่พึ่งของประชาชนผู้เสียหาย คงไม่ต้องมีกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นนี้ และจะให้ประชาชนอยู่อย่างไร อะไรไม่ดีก็โวย อะไรดีเป็นผลประโยชน์กับพวกก็ดีใจ ต้องถามกลับไปว่าแล้วชีวิตของคนไข้ที่ตายจะรับผิดชอบอย่างไร ส่วนที่แพทยสภาเรียกร้องให้ตีความว่าสถานพยาบาลเอกชนเข้าข่ายในกฎหมายนี้ หรือไม่นั้น แพทยสภาควรทบทวนบทบาทว่าทำหน้าที่อะไรอยู่ ทำให้วงการแพทย์เสื่อมหรือไม่ กับการที่ลุกมาเต้นกับเรื่องนี้” นางปรียนันท์ กล่าว

ขณะที่ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา อนุกรรมการพัฒนากฎหมายแพทยสภา กล่าวว่า ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รมช.สาธารณสุข ในฐานะรักษาการสภานายกพิเศษแพทยสภา เพื่อขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 เนื่องจาก ฝ่ายผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เช่นแพทยสภา แพทยสมาคม สภาพยาบาล และกลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนของกระทรวงสาธารณสุขได้แสดงความ วิตกกังวลว่า หากการพิจารณาคดีผู้รับบริการทางการแพทย์ยึดถือตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 จะก่อให้เกิดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์มากขึ้น

“ถ้าจะใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาพิจารณาคดีการบริการทางการแพทย์และโรง พยาบาลรับรองว่า จะเกิดปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะความลังเลในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยหนัก เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะตายทั้งๆที่แพทย์ได้รักษาอย่างสุดความ สามารถแล้ว เพราะแพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษาผู้ป่วย เนื่องจากกลัวว่าผู้ป่วยจะตายในมืออันจะนำไปสู่ความเสียหายแก่ประชาชนและ แพทย์ทั่วไป” พญ.เชิดชู กล่าว

พญ.เชิดชู กล่าวด้วยว่า รมช.สาธารณสุข ควรพิจารณาทำคำขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ถ้า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 รวมเอาคดีฟ้องร้องในการรับบริการทางการแพทย์ด้วย ก็ควรมีการแก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วไปที่จะได้รับการรักษาโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ที่มีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกฟ้องร้องและได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่เป็นธรรม


ที่มา..กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 08:00:29 pm »

หมอรุมค้าน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค หวั่นฟ้องร้องพุ่งกระฉูด

หมอรุมค้านพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ที่มีผลบังคับใช้ 23 ส.ค.นี้ ชี้เพิ่มอายุความจาก 1 ปีเป็น3- 10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หวั่นฟ้องร้องสูงขึ้นอีก ขณะที่ “วิชาญ” ลั่นทำอะไรไม่ได้ ต้องเตรียมพร้อมหารือทุกฝ่ายรับมือ ด้านศาลยันไม่กระทบ เพราะใช้ตามกฎหมายที่มีอยู่

วันที่ 25 ก.คค.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สภาวิชาชีพต่างๆ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากพ.ร.บ.วิธีพิจารณคดีผู้ บริโภคที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค. เนื่องจากในพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องที่ง่ายขึ้น และจะทำให้ฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นด้วย

นายวิชาญ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่ได้รับผล กระทบ ความเสียหาย จากการบริโภคสินค้าต่างๆ รวมถึงบริการทางด้านการแพทย์ด้วย อาทิ มาตรา13 ระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการดำเนินการไปแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผลสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ยังแสดงอาการ รู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบ ขยายอายุความจากกฎหมายละเมิดเดิมที่ใช้ขณะนี้คือ 1 ปี เป็น 3 ปีและไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันรู้ถึงความเสียหายและมาตรา 40 ให้ศาลที่พิพากษาให้ผู้บริโภคชนะคดี โดยได้รับชดเชยค่าเสียหาย ให้สามารถสงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขคำพิพากษา เพิ่มค่าเสียหายในภายหลังได้ ถ้าปรากฏว่าเสียหายเพิ่มขึ้นหรือเดือดร้อนมากขึ้น ให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาเดิมได้ไม่เกิน 10 ปี นายวิชาญ กล่าว

“ในส่วนที่ภาคเอกชนกังวลว่า ไม่เกิดความชัดเจน ว่าจะเข้าข่ายกฎหมายนี้ด้วยหรือไม่ คงต้องรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้และให้ประธานศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีเป็นกรณี ตัวอย่างเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่า ไม่เพียงภาคเอกชนเท่านั้นที่เป็นการเข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการโดยมีการรับ จ้าง สธ.ก็เข้าข่ายทั้งหมดด้วย เพราะมีการทำสัญญางบประมาณรายหัวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย และแม้ว่ายังไม่มีบทพิสูจน์อะไรว่าจะเกิดปัญหาขึ้นหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ แล้ว ดังนั้นภายหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ และเกิดผลกระทบหรือไม่ อย่างไรคงต้องปรับแก้ต่อไป”นายวิชาญ กล่าว

นายวิชาญ กล่าวว่า ขณะนี้แพทย์ทั้งหลายต่างไม่กล้าที่จะรักษาเหมือนเดิม จึงเกิดความกังวลหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ซึ่งแพทย์จะกลัวเรื่องการฟ้องร้องที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแนวโน้มการฟ้องร้องก็เพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยปีละประมาณ 150 เรื่อง สาเหตุการร้องเรียนมากที่สุดคือ ไม่รักษามาตรฐาน ส่วนคดีฟ้องร้องแพทย์เข้าสู่ศาลยุติธรรม สาเหตุอันดับ 1 ได้แก่ ผลแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา รองลงมาเป็น ความคาดหวังต่อผลสำเร็จสูง การได้รับข้อมูลไม่พอไม่ตรงกัน รวมทั้งเพื่อเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ในอนาคตโรงพยาบาลเอกชนคงจะซื้อประกันความเสี่ยงเพื่อ ป้องกันการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ได้สั่งการให้ทุกจังหวัด เปิดสายด่วน 1669 รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนในด้านบริการ การรักษาพยาบาล อาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มดำเนินงานพร้อมกัน 76 จังหวัด เพื่อขจัดปัญหาที่มีต่อสุขภาพอนามัยให้รวดเร็วที่สุด
ด้าน นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวให้ความสำคัญในการเป็นเครื่องมือกับผู้บริโภค เพราะช่องทางการฟ้องร้อง รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าธรราเนียมศาล แต่ถ้าฟ้องร้องเพราะกลั่นแกล้ง ก็ต้องจ่ายในภายหลัง และการพิจารณาคดีก็เป็นไปตามกฎหมายหลักที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายแพ่ง และอาญา อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าจะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพราะมีระบบการกลั่นกรองเรื่องฟ้องร้อง โดยมีประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการฟ้องร้องทั้งหมดว่า คดีใดมีมูลนำเรื่องเข้าพิจารณาคดี ส่วนแพทย์จะรับโทษทางแพ่งหรืออาญามากขึ้นหรือไม่นั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกระทำผิด ซึ่งศาลมีกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอยู่แล้ว

ขณะที่ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า หากสธ.ไม่ดำเนินการถามความชัดเจนไปยังประธานศาลอุทธรณ์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตีความว่า โรงพยาบาลเอกชนเข้าข่ายตามพ.ร.บ.นี้หรือไม่ แพทยสภาจะดำเนินการถามเอง เนื่องจากหากไม่เกิดความชัดเจนจะกระทบกระเทือนต่อการรักษาพยาบาลคนไข้ เพราะถ้าแพทย์เกิดความกังวลว่าจะถูกฟ้องร้องมากขึ้น จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ อ้างอิงว่า แพทย์ส่วนของสธ.ถูกฟ้องร้องแพ่งจำนวน 70 ราย ส่วนภาคเอกชน มีประมาณ 400-500 ราย แต่เชื่อว่าภาคเอกชนน่าจะมีเพียง 200-300 รายเท่านั้น ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้

“หากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้การฟ้องร้องแพทย์ผู้ให้บริการโดยเฉพาะคดี แพ่งเพิ่มมากขึ้น แพทยสภาเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อการรักษาพยาบาล เพราะมีโอกาสค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนอาจขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อเตรียมการหากถูกฟ้องร้องแพ่ง รวมถึงไม่อยากให้เกิดการทำประกันภัยการฟ้องร้องด้วย ทั้งนี้หากโรงพยาบาลเอกชนไม่เข้าข่ายกฎหมายดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านสาธารณสุขก็ยังมีกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการ บริการสาธารณสุขที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายอีกฉบับที่ดูแลด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงมาดูแล เรื่องดังกล่าวเช่นกัน”นพ.อำนาจ กล่าว

นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาการฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้นในฐานะที่สมาคมฯอยู่ภายใต้การดูแลของกอง การประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นหากจะดำเนินการอะไรก็ขอเป็นผู้ตาม ให้สธ.นำไปก่อน


ที่มา...กดเลยครับ

บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 08:03:24 pm »

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 กดเลยครับ

ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค

ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เพิ่มแผนกคดีผู้บริโภคในศาล ยกเว้นค่าธรรมเนียม หากศาลอุทธรณ์รับเรื่องให้เร่งตัดสินใน 6 เดือน และศาลเรียกค่าเสียหายเพิ่มจากผู้ประกอบการแทนผู้บริโภคได้

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (3 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ

โดยมีสาระสำคัญ ให้มีการจัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคขึ้นในศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคทุกแห่ง รวมทั้งหากผู้บริโภคฟ้องคดีกับผู้ประกอบการ ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม

“วัตถุประสงค์ของการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายมากขึ้น และมีความสะดวก การพิจารณาคดีจะรวดเร็วขึ้น เพราะจะมีวิธีพิจารณาโดยเฉพาะ เมื่อศาลรับเรื่องไว้แล้ว จะมีการไกล่เกลี่ยก่อน หากตกลงกันได้ จะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว สามารถอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไปยังศาลอุทธรณ์และศาสอุทธรณ์ภาคได้ หากคดีนั้นมีสินทรัพย์เกิน 300,000 บาท” นายชาญชัย กล่าว

นอกจากนี้ นายชาญชัย กล่าวว่า กฎหมายยังกำหนดว่า เมื่อศาลอุทธรณ์รับเรื่องไว้แล้ว จะต้องตัดสินให้เสร็จภายใน 6 เดือน หากยังไม่แล้วเสร็จ สามารถขยายต่อไปได้อีก ครั้งละ 1 เดือน

เมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินเรียบร้อยแล้ว ให้ถือว่าคดีถึงที่สุด แต่จะมีข้อยกเว้นให้เฉพาะข้อกฎหมายที่สำคัญ ให้สามารถฎีกาขึ้นไปยังศาลฎีกาได้ และกฎหมายยังได้ให้อำนาจศาล ปรับผู้ประกอบการที่กระทำไม่สุจริตให้มากยิ่งขึ้น

“แม้ว่าผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้บริโภค จะเรียกร้องค่าเสียหายน้อย แต่หากศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นน้อยเกินไป และผู้ประกอบการกระทำไม่สุจริต ศาลสามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มได้อีก” นายชาญชัย กล่าว


ที่มา...กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 08:11:38 pm »

เปิดเวทีให้ความรู้ พ.ร.บ.คดีผู้บริโภค-มีผลบังคับใช้ 23 ส.ค.นี้

อมา รี แอร์พอร์ต 17 ส.ค.- หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคเปิดเวทีสภาผู้บริโภคให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ สาระสำคัญ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุ พ.ร.บ.ฉบับนี้คุ้มครองข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค มีกลไกเยียวยาให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
 
นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กล่าวในเวทีสภาผู้บริโภค “ทุกข์ของเรา...ศาลผู้บริโภคช่วยได้หรือไม่” ซึ่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สภาทนายความ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจัดขึ้นที่โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ การจัดเวทีสภาผู้บริโภคในวันนี้เพื่อให้ประชาชนรู้และเข้าใจสาระสำคัญของพระ ราชบัญญัติฉบับนี้ สามารถนำปัญหาการถูกละเมิดสิทธิของตนมาร่วมแลกเปลี่ยน เพื่อนำไปสู่สิทธิการเรียกร้องตามพระราชบัญญัติฯ นี้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงสาระสำคัญและประโยชน์ของพระราช บัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นายชาญณรงค์ กล่าวว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคครอบคลุมคดีพิพาทระหว่างผู้ประกอบ ธุรกิจกับผู้บริโภคทั้งผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภค หรือผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าและบริการ โดยต้องมีการใช้สินค้าและบริการนั้น ๆ มีกลไกเยียวยาให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ผู้บริโภคซื้อบ้านแล้วไม่ได้บ้าน อาหารและเครื่องดื่มทำให้ท้องเสีย ผู้ประกอบธุรกิจคือธนาคารฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ โดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคไม่นับอายุความระหว่างที่มีการ เจรจาข้อพิพาท จะเริ่มนับอายุความ 3 ปีเมื่อการเจรจาไม่เป็นผลหรือภายใน 10 ปีนับตั้งแต่รู้ถึงความเสียหาย

ขณะที่กฎหมายแพ่งมีอายุความ 2 ปีตั้งแต่ใช้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ หากสินค้าไม่มีความปลอดภัยมีกลไกให้เปลี่ยนสินค้าใหม่ ภาพการทุบรถป้ายแดงคงจะหมดไป นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติไว้ว่า สามารถบังคับให้ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลรับผิดชอบชำระค่าเสียหายให้กับผู้ บริโภค ซึ่งเดิมนั้นประสบปัญหา “ล้มบนฟูก” คือ ผู้บริโภคชนะ แต่กลับไม่ได้อะไร เพราะมีการถ่ายโอนทรัพย์สินไปเป็นของส่วนบุคคล หากเป็นประเด็นพิพาทเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ ส่วนผสมสินค้า การให้บริการหรือการดำเนินการใด ๆ ภาระการพิสูจน์ในเรื่องเหล่านี้ตกเป็นของผู้ประกอบธุรกิจ การฟ้องคดีผู้บริโภคจะได้รับการยกเว้น “ค่าธรรมเนียมฤชา” ทั้งหมดและฟ้องด้วยวาจาได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานมีทนายอาสามาตั้งโต๊ะให้คำปรึกษากับผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเพื่อหา แนวทางในการเยียวยาซึ่งปัญหาที่นำมาปรึกษามีหลากหลาย เช่น ซื้อบ้านที่อยู่อาศัยแล้วมีปัญหาการโอน ปัญหาบัตรเครดิต เป็นต้น.


ที่มา...กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 08:06:54 am »

 มีประโยชน์ครับ  Sad
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 08:09:38 am »

ครับผม  Smiley
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 11:18:51 am »

ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ถือว่าก้าวหน้ามากที่สุดในยุคปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการและความทุกข์ยากของประชาชนเกี่ยวกับการเอารัด
เอาเปรียบของผู้ประกอบ
การหรือนายทุนมากที่สุด หลังจากที่ชาวบ้านผิดหวังกับการพึ่งพาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรีมานาน
       
       กฎหมายฉบับนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับคณะทำงานของศาลยุติธรรม ที่เล็งเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน เพราะเห็นว่าผู้บริโภคมักถูกเอารัดเอาเปรียบในสินค้าและบริการมาตลอดระยะเวลายาวนาน อันเนื่องมาจากคุณภาพของสินค้าและบริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่เป็นไปตามการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่เป็นไปตามคำรับรอง หรือตราหรือโลโกหน่วยงานมาตรฐานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่รับรองไว้ จนต้องเกิดกรณีมีข้อพิพาทขึ้นมากมาย อีกทั้งกระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและยุ่งยาก
       
       ดังนั้นศาลยุติธรรมจึงได้เสนอกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนสามารถนำกฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ช่วยเหลือชาวบ้านหรือผู้บริโภคได้ (แปลกใจไหมว่าเรามี ส.ส.กันมามากมายหลายยุคสมัย ทำไมไม่คิดเสนอกฎหมายประเภทนี้กันเลย) กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จึงเป็นกฎหมายที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค และขณะเดียวกันจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ พร้อมหันมาพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นโดยเร็วในอนาคตอันใกล้ เพราะหากยังคงใช้แนวคิดเดิม ๆ ในการทำธุรกิจค้าขายสินค้าและบริการ ที่เอาเปรียบผู้บริโภคทุกวิถีทาง ก็จะพบกับการลงโทษทางกฎหมายอย่างสูงสุด
       
       กฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีทางแพ่ง (เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง) โดยเป็นกฎหมายเพื่อการเยียวยาด้วยความรวดเร็วให้แก่ผู้บริโภค เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของการดำเนินคดีทางศาลจากระบบกล่าวหา คือ ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่หรือภาระในการนำสืบหรือพิสูจน์ให้ศาลเห็น มาเป็นระบบไต่สวน คือ ศาลมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐานทั้งฝ่ายกล่าวหาและผู้ถูกล่าวหามาให้ศาลพิจารณาได้ตามสมควร โดยผู้ที่เสียหายจากการบริโภคสินค้าและบริการ ไม่จำเป็นต้องไปเสาะแสวงหาทนายความมาช่วยดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทนให้ เหมือนในคดีความปกติก็ได้ (ถ้าจะมีก็ได้) เพราะสำนักงานศาลคดีผู้บริโภคที่เกิดขึ้นใหม่จะมีบุคลากรของศาลมาช่วยดำเนินการทางคดีให้กับผู้ร้องทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การไต่สวน รับคำร้องเรียนจะด้วยวาจาหรือเอกสารก็ได้ ทำคำฟ้องให้
       
       ถ้าเรื่องที่เดือดร้อนสามารถที่จะนำไปสู่การเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ เจ้าหน้าที่ของศาลก็จะดำเนินการให้ก่อนเป็นหลักก่อนๆ ที่จะส่งสำนวณคดีเข้าสู่กระบวนการสืบพยานโจทก์และจำเลยหากไม่สามารถตกลงกันได้ ดังนั้นคดีผู้บริโภคจำนวนมากคาดว่าจะสามารถยุติลง หรือจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ยในเบื้องต้นก่อนได้เป็นจำนวนมาก (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยเช่นนี้เช่นกัน แต่ก็มักเป็นกรณีเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเป็นกรณีใหญ่ๆ ก็ไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่ชัดเจนมาดำเนินการได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้) ที่สำคัญ การฟ้องคดีประเภทนี้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งปวง เว้นแต่หากปรากฏแก่ศาลว่า ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุอันควร มีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสม ประวิงคดี ศาลอาจจะสั่งให้ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมได้ ถ้าไม่ชำระศาลก็จะสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้
       
       เมื่อกฎหมายนี้ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมาก ก็อาจจะทำให้ผู้คนแห่แหนกันมาใช้บริการศาลคดีผู้บริโภคกันมาก บางครั้งอาจจะใช่หรือไม่ใช่คดีเกี่ยวกับผู้บริโภค ชาวบ้านก็อาจจะมาร้องกันเปรอะไปหมดหรือไม่ หากมีกรณีเช่นว่านี้ว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่นั้น ทางออกก็คือ ศาลอุทธรณ์จะเป็นผู้วินิจฉัย และคำวินิจฉัยของศาลจะเป็นที่สุด ส่วนในเรื่องอายุความนั้น ขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น และข้อเท็จจริงบางอย่างเป็นรายกรณี เช่น ถ้าเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือ อนามัย อายุความใช้สิทธิเรียกร้องกันนั้นกฎหมายจะระบุว่าเป็นภายใน 3 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย นอกจากนี้ หากมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงชดใช้กันก่อนได้ อายุความก็จะสะดุดหยุดอยู่ไม่นับต่อไป
       
       ในการฟ้องคดีต่อศาลคดีผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคที่เสียหายจากสินค้าหรือบริการ พึงต้องสังวรไว้ก่อนว่าตนเองต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นจริง ต้องมีข้อเท็จจริง มีพยานหลักฐานเพื่อนำเสนอต่อศาลให้เห็นหรือเข้าใจได้ และต้องระบุคำขอไว้ให้ชัดว่าจะให้ศาลบังคับคดีให้อย่างไร เริ่มจากต้องรู้ว่าเราจะฟ้องหรือกล่าวหาใคร ด้วยเรื่องอะไร มีพยานหลักฐานใดเก็บไว้บ้าง เช่น ทุกครั้งที่ซื้อสินค้าและบริการต้องเรียกร้องเอาใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จนั้นๆ จะต้องมีการเขียนข้อมูลที่ครบถ้วน มีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ประกอบการของผู้ผลิต ผู้ขาย เพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานว่าได้ซื้อสินค้าและบริการมาจากใคร ที่ไหน เมื่อใด ราคาเท่าใด เพื่อที่จะฟ้องได้ถูกตัวนั่นเอง
       
       หากสินค้าและบริการนั้นๆ มีการพิมพ์โปสเตอร์ ใบปลิว แผ่นพับ หรือเอกสารโฆษณาใดๆ หรือแม้แต่ใบรับรองสินค้า ใบรับประกันสินค้า เพื่อประกอบการขายหรือบริการไว้ ก็ควรที่จะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย เพราะกฎหมายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา สามารถใช้นำมาเป็นหลักฐานในการบังคับให้ผู้ประกอบการสินค้าและบริการรับผิดชอบได้ หากไม่สามารถหาได้ก็อาจจะใช้ภาพถ่ายที่มี หรือใบเสร็จที่เกิดขึ้นจากการซ่อมแซมสินค้า รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็น เช่น ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้สินค้านั้นๆ หรือถ้าไม่มีหลักฐานใดๆ ก็อาจจะต้องนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้นั้นไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่โรงพัก แล้วขอคัดถ่ายสำเนาพร้อมให้ตำรวจรับรองสำเนา มาประกอบการร้องหรือฟ้องก็ได้
       
       กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคฝ่ายเดียวไม่ หากแต่ผู้ประกอบการต่างๆ กฎหมายก็รับรองสิทธิให้ด้วยอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ประกอบการก็มิสิทธิฟ้องผู้บริโภคได้เช่นเดียวกัน อาทิ กรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต กรณีหนี้จากการเช่าซื้อยานยนต์ ฯลฯ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องร้องไล่เบี้ยเอากับผู้บริโภคได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นการไล่เบี้ยเอาด้วยความเป็นธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น ไม่ใช่จะขูดเข็ญเรียกเอาค่าเสียหาย ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยเท่าใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการฟ้องผู้บริโภคนั้น กฎหมายกำหนดให้ฟ้องได้เฉพาะผู้บริโภคเท่านั้น ถ้าเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นเหล่านี้ จะตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
       
       หากเป็นกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีผู้บริโภคใดแล้วต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีการฟ้องกับผู้ประกอบธุรกิจรายเดียว
กันอีกโดยมีข้อเท็จจริงที่พิพากษาเป็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ศาลในคดีหลังอาจมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นเป็นอันยุติไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งก็จะทำให้กรณีพิพาทเสร็จสิ้นเร็วขึ้น ไม่เป็นภาระต่อรูปคดีและศาล
       
       ในการดำเนินคดีผู้บริโภคนั้น ศาลท่านจะพิจารณาตรวจสอบถึงความสุจริตในการฟ้องร้องคดีที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ ผู้บริโภคที่มาร้องเรียนต่อศาล จะต้องมีความเดือดร้อนจริง เสียหายจริง อย่าคิดว่าฟ้องเล่น ๆ หรือกลั่นแกล้งเจ้าของสินค้าหรือบริการให้เสียหายเล่น ๆ เพราะอาจมีความผิดตามกฎหมายได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน...


โดย ศรีสุวรรณ จรรยา    
บันทึกการเข้า
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 05, 2008, 05:31:43 pm »





กดเลยครับ

OR

กดเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!