ทริปเล็กๆ สำหรับช่างมือใหม่ จ่ายไฟ+PROTECT+ตัวอย่างหลายยี่ห้อ update 11/7/12
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 21, 2024, 05:25:35 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 5 ... 23   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทริปเล็กๆ สำหรับช่างมือใหม่ จ่ายไฟ+PROTECT+ตัวอย่างหลายยี่ห้อ update 11/7/12  (อ่าน 632893 ครั้ง)
TRT
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2008, 09:53:55 pm »

1. อาการเปิดไม่ติด...
อาการเปิดไม่ติดไม่แสดงอะไรให้เห็นเลย หรืออาจแสดงทางLED ่หรือมีเสียงออสซิเลส ช่างเราๆเรียกว่า เปิดไม่ติดนั้นแหละครับ  .. อาการนี้ส่วนตัวผมชอบเพราะเกือบร้อยเปอร์เซ็นเสียที่ภาคจ่ายไฟ ไม่ช้าก็เร็วต้องหาตัวเสียเจอ  แต่สำหรับเพื่อนช่างที่ยังใหม่หรือชั่วโมงบินยังน้อยอาจทำให้เสียเวลา หรืออาจเสียค่าอะไหล่เพิ่มขึ้นทั้งที่ไม่น่าเสีย และที่มากกว่านั้นคือ มิเตอร์ตัวเก่งอาจพังได้เพราะขาดหลักการที่ถูกต้อง...บทความนี้ผมขอเสนอ การซ่อมที่ใช้เวลาให้สั้นลงและปลอดภัยต่อเครื่องมือของเรา อุปกรณ์ที่น่าจะมีเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากมิเตอร์วัดไฟนั้นคือหลอดไฟ 60W หนึ่งหลอดและ200Wอีกหนึ่งหลอด เนื่องจากการจัดวงจรของทีวีแต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันบ้างก็ขอยกเอาแท่นที่แยกเป็นกราวด์ร้อนกราวด์เย็นมาเสนอเพราะมีจำนวนมากกว่า......มาเริ่มกันเลยครับ
                  1.  เมื่อเครื่องมาถึงมือเราแล้วไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเข้าเครื่อง เมื่อเปิดฝาหลังออกมาสัญชาตญานช่างต้องปล่อยออกมาให้หมด เช่นอุปกรณ์สมบูรณ์หรือไม่เช่นหายแตกหักไหม้หรือเปล่าและดูสิ่งสกปรกที่เห็นเป็นแบบไหนเพราะถ้าเป็นเขตโรงงานอุตสาหกรรมสาเหตุใหญ่ ก็น่าจะมาจากตรงนี้...เรื่องความสะอาดเป็นศาสตร์ขั้นสูงในการซ่อมครับอย่ามองข้าม
                 2. เมื่อพลิกPCB มาด้านตะกั่วให้ดูดีๆว่ามีหลวมมีร่อนหรือไม่ โดยเฉพาะเครื่องที่ยังไม่เคยซ่อมตะกั่วมักไม่ดี ไม่แนะนำให้เปิดไฟเข้าเครื่องถ้าเห็นตะกั่วที่ภาคจ่ายไฟร่อนหลวมอยู่  ตรงนี้ระวังไฟ300v มักค้าง
                 3. จับมิเตอร์มาพร้อมวัดไฟ ยังไม่เสียบปลักไฟนะครับ ผมจะให้ตรวจสอบว่ามีไฟค้างที่คอนเดนเซอร์ตัวใหญ่ที่สุดหรือไม่ เพราะบางท่านตั้งมิเตอร์โอห์มไปวัดแล้วมิเตอร์พัง ไฟค้างหรือไม่มันบ่งบอกอะไรหลายๆอย่างทำให้เราประเมินว่าน่าจะซ่อมไปทางไหน
                 4. ถ้าไฟค้างให้ใช้หลอดไฟดิสชาร์ทออกให้หมด นั้นแสดงว่าด้านกราวด์ร้อนนี้อาจไม่ชอร์ท จะบอกว่าไม่ชอร์ทแน่ๆก็ต้องไปดูรีซิสเตอร์ค่าต่ำๆขาดหรือเปล่า
                 5. ตรงนี้สำคัญครับ ให้ตั้งมิเตอร์x1k  สายสีดำวัดขั้วบวกของคอนเดนเซอร์300v และสายสีแดงวัดขั้วลบของคอนเดนเซอร์300v เช่นกันแล้วดูผลที่มิเตอร์ ถ้าเข็มตีขึ้นสุดแล้วค่อยๆลงมา นั้นแสดงว่าปลอดภัย ทางด้านกราวด์ร้อนไม่น่าจะมีอุปกรณ์ชอร์ท แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีตัวอะไรเสียนะครับ เช่นอาจมีรีซิสเตอร์ขาด  Cเสื่อม แต่ชอร์ทน่าจะสบายใจได้
                 6. ถ้าเข็มขึ้นค้างไม่ยอมลงก็ลดมิเตอร์ลงมาเป็นx10 หรือ x1 จะได้รู้ว่าค่าโอห์มจริงๆได้เท่าไหร่ ถ้าวัดได้ไกล้ศูนย์โอหฺมนั้นแสดงว่ามีอุปกรณ์ชอร์ทอยู่ครับ....ตัวที่เสียมีไม่กี่ตัวครับ 90% เป็นไอซีชอร์ทเอง ในกรณีนี้ฟิวส์ต้องขาดดำด้วยหรือรีซิสเตอรืตัวใหญ่โอห์มต่ำต้องขาด
                7. ถ้าวัดได้10 ถึง 100 โอห์มโดยประมาณให้ไปดูพวกซีแดมป์มันมักมีรอยไหม้หรือแตกให้เห็นเลย....แต่จะให้แน่ให้ลอยอุปกรณ์ที่น่าสงสัยทีละตัว เมื่อลอยแล้วการวัดโอหฺ์มเป็นไปในทางที่ดีก็จบ ตัวที่ลอยออกนั้นแหละเสีย ในกรณีไฟสามร้อยโวล์ทค้างตัวเสียไม่จำเป็นที่จะอยู่ทางด้านกราวด์ร้อนเสมอไป เดี๋ยวนี้ด้านกราวด์เย็นชอรฺ์ทเช่น ฮอร์ชอร์ทอยู่ไฟสามร้อยก็ค้างได้เหมือนกัน ่เจอบ่อยมากๆกับทีวีรุ่นใหม่ๆ
               8. ทางด้านกราวด์เย็นหรือทางฝั่งกราวด์ของไฟบีบวกอยากจะรู้ว่าชอร์ทอยู่หรือไม่ก็ทำเหมือนกันตามข้อ5-6-7  ถ้าโอห์มต่ำก็ให้ลอยอุปกรณ์ที่อยู่ในลายของบีบวกออกรวมทั้งทรานซิสเตอร์ฮอร์ด้วย ถ้าชอร์ทอยู่ต้องหาให้เจอ ไม่เจอห้ามกินข้าว จะเห็นว่าทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่ได้เปิดไฟเข้าเครือ่งเลย ที่สำคัญสุดๆๆๆ อย่าลืมย้ำตะกั่วให้ดีๆอย่าคิดว่าตะกั่วแพง เดี๋ยวเครื่องตีกลับแล้วต้องจ่ายแพงกว่าค่าตะกั่ว

              9. ถ้ามั่นใจทั้งทางด้านกราวดฺ์ร้อนและกราวดฺ์เย็น ก่อนจะเปิดไฟเข้าครื่องขอแนะนำว่าให้ลอยฮอร์ออกก่อน รวมทั้งสายดีเก๊าให้ดึงออกด้วยเพื่อความปลอดภัยหลายอย่าง แล้วให้ถอดฟิวส์ออก จากนั้นนำหลอดไฟ200w มาต่อแทนฟิวส์ ถ้าจอใหญ่กว่า21นิ้วให้เพิ่มหลอดไปอีกหนึ่งหลอด 29นิ้วบางรุ่นอาจใช้ถึงสามหลอด จากนั้นให้นำหลอดไฟ60w มาต่อคร่อมคอนเดนเซอร์บีบวก ถ้าหาไม่เจอก็ให้ต่อขั้วหนึ่งลงกราวด์อีกขั้วต่อที่ขาCของฮอร์ที่ลอยออกไปนั้นแหละแล้วเปิดไฟเข้าเครื่องได้เลย

            10- การเปิดไฟเข้าครั้งแรกสำคัญมากประสาทเราต้องไว คือตาซ้ายดูเข็มมิเตอร์ ตาขวาดูหลอดไฟ หูรอฟังเสียง มือ่ซ้ายเตรียมชักปลักไฟออกมือ่ขวาวัดไฟ ...หลอดไฟ200w ต้องสว่างไม่เกินสามวินาทีแล้วหรี่ลง ถ้าเราไม่ถอดสายดีเก๊ามันจะสว่างนานขอแนะนำให้ดึงออกก่อน ถ้าเกินสามวินาทียังสว่างจ้าอยู่แสดงว่าด้านกราวด์ร้อนยังมีปัญหาอยู่ให้ตามไปแก้ไข หรือให้เริ่มต้นข้อ1 ใหม่  ถ้าหลอดไฟ60w สว่างขึ้นมาแสดงว่าไฟบีบวกออกมาแล้ว จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้ตามที่สเปคเครื่องกำหนดมา

            11. อันนี้ก็สำคัญ...ว่า หลอดไฟ200w ที่ต่อแทนฟิวส์อยู่ให้ต่อไว้แบบนั้นจนกว่าจะซ่อมเสร็จ มีภาพมีเสียงแล้วค่อยถอดออก



บันทึกการเข้า

Paul♥
วีไอพี
member
***

คะแนน31
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 251


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 09:50:27 am »

ชอบจังครับ!!! ทุกคำแนะนำ ของคุณ TRT ยืนอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีที่แน่นปึ๊กๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
uca
member
*

คะแนน7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 151


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 11:09:27 am »

ข้าน้อยขอคาราวะครับ ขอบคุณมากๆๆครับ
บันทึกการเข้า
anuchat007
Full Member
member
**

คะแนน95
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1312



« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 11:36:35 am »

ดีครับช่างใหม่ๆได้อ่านแล้วก็คงเข้าใจได้ดีบางครั้งช่างใหม่ที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว อาการง่ายๆอาจซ่อมได้เลยครับคงไม่ต้องเสียเวลามาตั้งกระทู้อีก
 wav!! wav!! wav!!
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:23:57 pm »

2. อาการ protect
... สำหรับ TV รุ่นใหม่ๆสมัยนี้ คำว่า protect เข้ามามีส่วนร่วมกับการเปิดไม่ติดด้วยแล้ว ทำให้ช่างที่ชั่วโมงบินยังน้อยอยู่ หรือช่างที่ไม่เคยซ่อมเครื่องแท่นนี้ งง... ได้เลยแหละ เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า protect กันก่อน protect คือการที่เครื่องทำงานแล้วอยุดทำงาน โดยระยะเวลาในช่วงที่เริ่มทำงานจนอยุดนี้ จะมีทั้งช้าและก็เร็วจนไม่ทันได้เช็คอะไรเลย บางเครื่องเปิดจนมีภาพ มีเสียงแล้ว protect ถึงจะทำงานก็มี หรือเครื่องเปิดไม่ติดเลยก็มี ดังนั้น เราต้องสรุปให้ได้ก่อนครับ ว่าเครื่อง protect หรือ standby กันแน่ ซึ่งโดยส่วนมาก ช่างที่ชั่วโมงบินสูงๆ ( นายช่างว่างั้นเถอะ ) เขาจะมองกันที่แรงไฟ B+ เป็นอันดับแรก คือมองว่าตอนที่เปิดเครื่อง ไฟ B+ อยู่ในอัตราแรงดันไฟปกติแล้วลดลง นี่คือ protect หรือจะมาดูกันง่ายๆก็คือ ถ้า Hor ทำงานแล้วตัด นั่นแหละ protect แล้ว หรือบางแท่น ติด protect ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องเลยก็มี แล้ว protect อะไร ยังงัยล่ะ....นี่แหละที่เราต้องใล่ตรวจสอบกัน
1.อันดับแรก เราต้องดูที่ IC ก่อน ว่า protect มันทำงานอยู่ที่ขาใหนของ IC  ง่ายๆเลยก็คือ ต้องหาวงจรให้ได้ก่อน แล้วคราวนี้เราก็มาดูซิ คำว่า protect มันอยู่ที่ขาใหน แต่บางเครื่อง...เอ...หาไม่เห็น ...บางเครื่องนั้นอย่าง sharp รุ่นเก่าๆ จะเป็นคำว่า RST หรือภาษาไทยก็รีเซทนั่นเอง แต่รุ่นใหม่ๆของ sharp ตั้งแต่รุ่น one ship TDA9381 จนมาถึงรุ่นที่ใช้ IC IX…….นั้น จะเป็นคำว่า PROT ...แล้ว คราวนี้มาดูของ pana บ้าง    pana รุ่นก่อนๆจะใช้คำว่า X-RAY  แต่รุ่นใหม่ๆ จะเป็นคำว่า EHT/Protect  และก็ของ sony  ก็จะเป็นคำว่า protect หรือ X-RAY ที่ตำแหน่งขา IC ในวงจร แต่บางวงจร ไม่เขียนบอกเลย แล้วทำงัยล่ะคราวนี้ เรามามองวงจรรวมทั้งหมดดูซิ มีคำว่า protect อยุ่ตรงใหนบ้าง เจอแล้วก็ลองใล่ไปหา IC ดู
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:28:14 pm »

2. เมื่อเจอตำแหน่งขา protect แล้ว เรามาดูว่าปกติแรงดันไฟเป็นโลว์หรือเป็นไฮแน่ ผมจะยกตัวอย่างของ sharp ให้ดูนะ ครับเพราะจะทำให้เราเข้าใจเรื่อง protect ได้ง่าย เพราะวงจร protect ไม่ซับซ้อนมากเท่าไหร่  รุ่น 21F-PD300
 - IXB741WJ  ตัวนี้ ขา protect จะอยู่ที่ขา 63 นะครับ สภาวะปกติ จะเป็นไฮ มีไฟประมาณ 5 โวลย์      แล้วทีนี้เรามองไปที่ ไดโอด และทรานซิสเตอร์ที่ต่ออยู่กับขานี้ ซึ่งมีอยู่หลายตัว ตามระบบที่ทำใว้ ว่าจะให้มี protect กี่จุด  ซึ่งตรงนี้เราต้องดู ว่ามีทั้งหมดกี่จุด เราจะได้ตรวจหาได้ครบทั้งหมด
จากรูปเป็นการดึงเอาเฉพาะ ไดโอด protect และทรานซิสเตอร์ protect มาโชว์ให้เห็นเท่านั้น  และดูวงจรประกอบไปด้วยจะเข้าใจได้ง่ายเลยล่ะ  วงจรผมจะ UPLOAD ใว้ในนี้นะครับ 
https://file2.uploadtoday.com/download/?6357&A=764606


เดี๋ยวงวดหน้าจะเอาตัวอย่างมาให้ดูกันครับ

บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 06:31:56 pm »

เยี่ยมมากครับ ... มีคนดีเกิดขึ้นในวงการอีกท่านแล้วครับ ..ขอให้กำลังใจ ปักหมุดกระทู้ให้นะครับ  Cheesy Smiley
บันทึกการเข้า
kaewtawee
member
*

คะแนน72
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 700

ครูของตัวเอง คือ ตัวเอง...ขอบคุณสำหรับครูทุกท่าน..


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 08:32:25 pm »

ดีมากครับ
 Cheesy
บันทึกการเข้า

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน..ขอบคุณสำหรับเวปดีดี
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 08:42:10 pm »

 Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
moopc1323
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 10:21:22 pm »

ได้ประโยชน์กับช่างมือใหม่มากครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
somjate♥
member
*

คะแนน142
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 169


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 08:00:43 am »

สุดยอดเลยครับ  อ่านแล้วเข้าใจขึ้นมากเลย ขอบคุณมากๆเลยครับ
บันทึกการเข้า
Fec_service
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 83


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 11:24:31 am »

เยี่ยมมาก อยากได้คนแบบนี้ เยอะๆๆครับ 
บันทึกการเข้า
anuchat007
Full Member
member
**

คะแนน95
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1312



« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 12:00:07 pm »

ท่าน TRT เป็นคนที่เสียสละมากๆเลยทุกกระทู้จะมีท่านคอยชี้แนะและสนับสนุนเรื่องวงจรตามที่ท่านจะหาได้ ช่างใหม่ๆคงอุ่นใจได้บ้างหากเจอปัญหา
อย่าท้อแท้หรือเลิกอาชิพนี้เลยครับ มันจะมีเครื่องที่ซ่อมง่ายและยากปะปนกันไป ครับพวกพี่ๆจะคอยเป็นกำลังใจให้ครับ wav!!
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 04:46:58 pm »

pana MX-5Z
คราวนี้เรามาดูตัวอย่าง protect pana กันนะครับ จากวงจรจริงๆ  มาลองดู และวิเคราะห์กันนะครับ กับการทำงานของวงจร protect แท่น MX-5Z โดยรุ่นนี้ protect จะมีสภาวะเป็น low ถ้ามีไฟมาที่ขา 36 จะทำให้เครื่อง protect ทันที รุ่นนี้มี protect อยู่ 6 จุดด้วยกัน มาดูกันครับ

1.   Protect ไฟ B+  อันนี้เป็นวงจรป้องกันกระแสของ Hor ใหลมากเกินไป โดยการตรวจสอบนี้ใช้ R520 และ R521 มาเป็นตัวตรวจสอบกระแส โดยมี C 520 เป็นตัวหน่วงเวลาในช่วงแรกของการเปิดเครื่อง ในสภาวะปกติ การดึงกระแสของ Hor จะไม่ทำให้เกิดแรงดันตกคร่อม R ตรวจสอบกระแสมากเท่าใด แต่ถ้าเมื่อใด Hor ช็อต ลี๊ก จะทำให้กระแสใหลผ่าน R520 และ R521มากขึ้น และมีแรงดันตกคร่อมมาก ส่งไปไบอัสให้ TR 520ทำงาน มีไฟออกที่ขา C และส่งต่อไปไบอัสที่ Q605 และ Q605 จะดึงให้ไบอัสที่ขา B Q603 ทำให้ Q603 ทำงานจ่ายไฟออกขา C  ผ่าน D660 ไปที่ขา 36 IC601 ทำให้ขา 36 มีไฟ เกิด protect ทันที



บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 04:49:43 pm »

2.   Protect Vert  อันนี้จะใช้ R401 และ Q401 เป็นตัวตรวจจับกระแสไฟที่ใหลไปหา IC Vert มากเกิน การทำงานของ protect ชุดนี้จะอาศัยแรงดันตกคล่อม R401 และมาไบอัส Q401  ให้ส่งไฟไปไบอัส Q605  และ Q605 จะดึงไฟไบอัสขา B Q603 และส่งไฟไปที่ขา 36 IC 601 ( Protect )



บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 04:50:31 pm »

3.   Protect Sound ไฟ 22 V ตรวจสอบโดย  ซีเนอร์ไดโอด D865 ( 24 V ) ถ้าเครื่องทำงานมีไฟ 22 V ปกติ  ซีเนอร์ก็จะไม่นำกระแส เพราะไฟที่ขา A ของ D865 มีไฟ 22 V และไฟที่ขา K ของ D865 มีไฟ 26 V ( 26 V มาจากไฟเลี้ยง Vert ) ดังนั้นก็ไฟรีเวอร์ส ก็เท่ากับ 2 V D865 ก็ยังไม่นำกระแส แต่ถ้าเมื่อใด ไม่มีไฟ 22 V ซีเนอร์ D865 ก็จะนำกระแส และดึงไบอัสที่ขา B Q401 ด้วย ทำให้ Q401 ทำงาน และส่งไฟไปไบอัส Q605  และ Q605 จะดึงไฟไบอัสขา B Q603 และส่งไฟไปที่ขา 36 IC 601 ( Protect )



บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 05:38:08 pm »

4.   Protect ไฟจุดใส้หลอดเกิน อันนี้ จริงๆแล้วเป็นตัวตรวจจับการทำงานของ Hor จ่ายไฟเกิน การตรวจสอบ จะตรวจสอบโดยเช็คแรงไฟจุดใส้หลอด ไม่ให้เกินค่าที่กำหนดใว้ โดยใช้ซีเนอร์ D511 ( ซีเนอร์ 10.8 V )เป็นตัวตรวจสอบ ถ้าไฟเกิน 10.8 V  D511 ก็จะเกิดรีเวอร์สไบอัส นำกระแส ใหลไปไบอัส Q605 เมื่อ Q605 ทำงาน ก็จะดึงไบอัสของ Q603 ให้มีไฟใหลผ่าน D660 ไปที่ขา 36 Protect

บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 05:39:52 pm »

5.   Protect ไฟ 215 เลี้ยง RGB การทำงานจะใช้ R631 และ R630 ต่ออนุกรมกันใว้แบ่งแรงดันไฟ โดยเอาแรงดันที่ตกคร่อม R630 ไปตรวจสอบ โดยนำไฟจุดนี้ไปรีเวอร์ส D603 ถ้าเมื่อใด ไฟ 215 ไม่มี จะทำให้แรงดันตกคร่อม R630 ไม่มี D603 ก็ไม่มีไฟรีเวอร์ส ทำให้นำกระแสและดึงไบอัสของ Q603 ให้ Q603 ทำงาน มีไฟส่งไปที่ขา 36 Protect

บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 05:53:45 pm »

6.   Protect ABL เป็นการตรวจสอบป้องกันกระแสหลอดภาพมากเกิน  โดยปกติ ABL จะมีค่าเป็นลบ ประมาณ -12 V  ถ้าสภาวะปกติ D403 (ซีเนอร์ 33V ) จำไม่สามารถนำกระแสได้เลย เพราะไฟที่ขา K จะมีไฟอยู่เพียง 7 V และไฟที่ขา A ( ไฟ ABL นั่นแหละ ) จะมีไฟ -12 V เมื่อรวมกัน แรงดันตกคร่อมจะอยู่ที่ 19 V D403 ก็จะยังไม่นำกระแส  แต่ถ้าเมื่อใด ABL เป็น ลบมากๆ D403 ก็จะนำกระแส ดึงให้ Q603 ทำงาน มีไฟส่งไปที่ขา 36 protect



Protect ของ Pana MX-5Z ก็มีด้วยกันทั้งหมด 6 จุดเท่านี้ ส่วนรุ่นอื่นๆ ของ Pana ก็จะทำงานคล้ายๆกัน
เดี๋ยววันหน้า จะเขียนบทความ ถึงเรื่อง Protect ของยี่ห้ออื่นๆบ้าง แล้วจะเอามาให้ศึกษากันนะครับ

บันทึกการเข้า
อุทิศ บ้านช่าง-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน261
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 523


อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 09:58:26 pm »

น่าชื่นชมในความมีน้ำใจครับ Lips Sealed Smiley Smiley Smiley Cheesy
บันทึกการเข้า
capo
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37


อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2008, 01:37:44 pm »

ขอขอบพระคุณอีกคนครับ ท่านอาจารย์   
บันทึกการเข้า
big_aon
member
*

คะแนน-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 12:49:53 pm »

ขอบคุณมากครับ เยี่ยมมากเลยข้าน้อยขอคารวะ wav!!
บันทึกการเข้า
boonkuae35
วีไอพี
member
***

คะแนน12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 950


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 07:49:04 pm »

ขอบคุณครับ HAPPY2!! HAPPY2!! HAPPY2!! HAPPY2!! Wink Wink Wink
บันทึกการเข้า
HS6SGU♥
วีไอพี
member
***

คะแนน44
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 239


« ตอบ #23 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 08:21:30 pm »

 ขอบคุณที่ให้สาระความรู้ดี    Smiley  Smiley  Smiley
บันทึกการเข้า
tewa1 +525
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน74
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248


อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 09:04:12 pm »

ขอคุณครับขอให้รวยๆครับ Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
NarinK
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 139


« ตอบ #25 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 09:30:18 pm »

ขอบคุณมากๆครับได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว Cheesy Wink
บันทึกการเข้า
fly
วีไอพี
member
***

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 29


อีเมล์
« ตอบ #26 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 02:37:32 pm »

ขอบคุณมากๆครับได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว Cheesy
บันทึกการเข้า
boonkuae35
วีไอพี
member
***

คะแนน12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 950


อีเมล์
« ตอบ #27 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 05:05:38 pm »

คุณTRT ขอโปรเทคอีกครับแจ๋วมากครับ  ทุกแท่นเลยครับ
บันทึกการเข้า
TRT
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #28 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 06:45:08 pm »

มาอีกแล้วครับ คราวนี้เรามาดูวงจร Protect ของ JVC รุ่น AV-20N43 กันนะครับ
ตอนแรกเราไปดูกันที่ IC CPU กันก่อนครับ ที่ IC 701 เบอร์ MN1873287JM ที่ขา Protect ขา 22 ซึ่งปกติที่ขานี้มีไฟ 5 V โดยเอาไฟมาจาก Q704 และเรามาดูกัน ว่าที่ขา 22 นี้จะมีการแยก Protect อยู่ 2 ทาง ซึ่งทางแรกจะต่อไปที่ Q701 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ไฟที่ขา 22 เป็น 0V ได้ เมื่อมีคำสั่ง X-Ray  เป็น High มากระตุ้นที่ขา B Q701 และเครื่องก็จะ Protect และอีกทางนึงจะต่อไปที่วงจร Protect ย่อย แต่ละจุด ซึ่งคำสั่งทาง A-Prot นี้จะมีสภาวะเป็น Low  Protect ถึงจะทำงาน ขั้นตอนแรกสำหรับการตรวจเช็ค อยากให้แยกก่อนครับ ว่า Protect มาจาก X-Ray หรือ A-Prot กันแน่ โดยให้ลอย Q701 ก่อนเลย ถ้าลอยแล้ว ขา 22 มีไฟ 5 V ก็แสดงว่าเกิดมาจาก วงจร X-Ray แต่ถ้าลอย Q701 แล้ว ไฟ 5 V ก็ยังไม่มี ก็ให้ไปตรวจเช็คชุด Protect ย่อย ที่ต่ออยู่กับเส้นทาง A-Prot 
1.   X-Ray Protect เมื่อเราลอย Q701 แล้วมีไฟ 5 V มาที่ขา 22 ก็แสดงว่า Protect ที่ X-Ray ชุดนี้แน่นอน เรามาดูกันครับว่ามีไฟจากใหน ที่มาทำให้ Q701 ทำงาน ในวงจรในรูปเราจะเห็นว่า ไฟที่จะมาทริกให้ Q701 ทำงานได้ มีอยู่จุดเดียวคือ ไฟ รีเวิร์สไบอัสจาก D562 ตัวเดียว ( มาทำความเข้าใจกับการทำงานของซีเนอร์กันนะครับ เอาง่ายๆนะครับ ซีเนอร์ไดโอดนั้น ถ้าไฟที่ขา K มีมากกว่าค่าแรงดันตามสเป็กของซีเนอร์ ไฟนั้นจะสามารถรีเวอร์สไบอัสผ่านซีเนอร์ได้ ยกตัวอย่างนะครับ เมื่อเรามีซีเนอร์ 9 V แต่ไฟที่ขา K มี 12 V ซีเนอร์ตัวนี้ก็จะทำงานรีเวอร์สไบอัสมาที่ขา A ประมาณ  3 โวลย์ ) จากรูปจะเห็นว่า ถ้า FBT ทำงานมาก ก็จะมีไฟใหลผ่าน D561 มาที่ขา K ของ D562มากขึ้น จนซีเนอร์ตัวนี้ทำงานรีเวอร์สไบอัส มีแรงดันไฟไปกระตุ้นที่ขา B Q701 ได้ ทำให้ดึงไฟที่ขา 22 IC701 ลงกราวด์ เครื่อง Protect



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 ... 23   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!