TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 06:50:05 pm » |
|
. 2. A-Prot เส้นทาง A-Prot นี้ จะมีย่อยอีกหลายทาง เรามาเริ่มดูกันนะครับ 1. D982 ไดโอดตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นตัว Protect ไฟ 9 V เมื่อใดก็ตาม ถ้าไฟ 9 V ไม่มี เป็น 0V ( Ground ) ไฟ A-Prot ก็จะใหลผ่าน D982 ลง Ground ไป ทำให้ไฟที่ขา 22 ไม่มี เครื่องเกิด Protect 2. D983 ไดโอดตัวนี้ทำหน้าที่เป็นตัว Protect ไฟ 5 V การทำงานของไดโอดตัวนี้ ก็จะเหมือนกับ D982 ครับ เมื่อใดที่ไม่มีไฟ 5V ไฟ A-Prot ก็จะใหลลงกราวด์ เครื่องก็จะ Protect 3. Q402 ทรานซิสเตอร์ตัวนี้จะทำหน้าที่ Protect การทำงานของภาค Vert ถ้าภาค Vert ไม่ทำงาน หรือเสีย ก็จะไม่มีแรงไฟ O/P จากขา 2 ของ IC Vert ใหลผ่าน D425 และรีเวอร์สผ่าน D427 มากระตุ้นที่ขา B Q401 ทำให้ Q401 ไม่ทำงาน และเมื่อ Q401 ไม่ทำงาน ก็จะมีไฟใหลผ่าน R436 มากระตุ้นที่ขา B Q402 ทำให้ Q402 ทำงาน และไฟ A-Prot ที่ขา C Q402 ก็จะใหลลงกราวด์ไป ทำให้เครื่อง Protect 4. Q572 ทรานซิสเตอร์ตัวนี้ทำหน้าที่ Protect ไฟ B+ เกิน หรือ Hor O/P ดึงกระแสมาก โดยการทำงานของวงจรตรวจจับกระแส Q571 เมื่อ ไฟเกินหรือกระแสมาก Q751 ก็จะทำงาน ทำให้มีแรงดันไฟ รีเวอร์สไบอัสใหลผ่าน D751 มากระตุ้นที่ขา B Q752 ทำให้ Q752 ทำงาน ดึงไฟ A-Prot ลงกราวด์ ทำให้เครื่อง Protect 5. Q655 ทรานซิสเตอร์ตัวนี้จะทำหน้าที่ Protect ไฟเลี้ยงภาคขยายเสียง โดยทำงานร่วมกับ Q654 ตรวจจับแรงดันไฟที่ขา 10 IC ขยายเสียง เมื่อไม่มีแรงดันไฟ หรือแรงดันไฟต่ำกว่าปกติ ไฟก็จะไม่พอไปรีเวอร์ไบอัส D653 ไปกระตุ้นที่ขา B Q654 ให้ทำงาน ทำให้ที่ขา B Q655 มีแรงดันไฟ และ Q655 ก็จะทำงาน ดึงไฟ A-Prot ลงกราวด์ เครื่องจึง Protect
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
fathong
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 16
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 01:17:05 am » |
|
สุดยอดวิชา ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
boontheim ♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
คะแนน 35
ออฟไลน์
กระทู้: 280
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 12:31:38 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
big_aon
member
คะแนน -1
ออฟไลน์
กระทู้: 14
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 12:21:53 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
service
member
คะแนน 76
ออฟไลน์
กระทู้: 282
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2008, 02:42:28 pm » |
|
สุดยอดจริงๆ วิทยายุทธล้ำเลิศ ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Supun4252♥
วีไอพี
member
คะแนน 113
ออฟไลน์
กระทู้: 191
คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2008, 02:59:31 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sinchai
member
คะแนน 1
ออฟไลน์
กระทู้: 14
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2008, 05:23:23 pm » |
|
อ่านเข้าใจง่าย มีประโยชน์มากครับ ขอเสริมอีกนิด ในวงจรLG ขาโปรเทคใช้คำว่าabnormon,abnครับ ผมกับเพื่อนมักจะเรียกว่าABSครับจำง่ายดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samak
member
คะแนน 6
ออฟไลน์
กระทู้: 569
ทำความดีให้ดีที่สุด เพื่อสังคมและครอบครัว
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 02:58:56 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Knot_39
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 16
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 04:27:07 pm » |
|
เยี่ยมเลยคับ ขอบคุณคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 08:37:42 pm » |
|
รุ่น AV-29V314 เพิ่มเติมอีกครับ คราวนี้เรามาดูของ JVC กันบ้างครับ - รูปแรกเป็น Main Protect ครับ ขา 115 ของ IC701 สภาวะปกติเป็น Low นะครับขานี้ - รูปต่อไป ตัวนี้เป็น SUB Main protect ครับ เรามาดูที่ Q703 นะครับ ปกติตัวนี้จะไม่ทำงาน แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม ถ้า Protect ทั้ง 5 จุด เป็น 0 V เมื่อใด เท่ากับไฟขา B เป็น 0 ทรานซิสเตอร์ตัวนี้จะทำงาน แล้วส่งไฟจากขา E ไปขา C แล้วส่งไฟไปที่ขา 115 IC701 ทำให้เครื่อง Protect 1. คราวนี้มาดู Protect จุดแรกกันนะครับ D976 ไดโอดตัวนี้จะเป็นตัวคอยตรวจเช็คว่าไฟ 3.3 V มีปกติหรือไม่ ถ้าไฟที่จุดนี้ไม่มี ( 0 V ) 0 โวลย์นี้ก็จะไปไบอัสให้ Q703 ทำงาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 08:47:14 pm » |
|
2,3. D973 ตัวนี้เป็น Protect ไฟ 12 V ครับ และเรามาดู D975 ด้วยครับ เป็น protect ไฟ 5 V การทำงานก็เหมือนกับ Protect ไฟ 3.3 V เมื่อกี้นี้ครับ คือถ้าไม่มีไฟ หรือเป็น 0 V ก็จะไปไบอัสให้ Q703 ทำงาน เครื่องก็จะ Protect 4. D472 ตัวนี้จะเป็นตัวตรวจเช็คการทำงานของภาค Vert โดยปกติแรงดันไฟ Vert Output จะส่งผ่านไดโอด D471 แล้วผ่าน R471 มาที่ขา B Q471 แต่จะไม่ทำให้ Q471 ทำงานได้ เพราะ Q471 เป็นชนิด PNP แต่ถ้า Vert ไม่ทำงาน ไฟที่ Vert out ที่ส่งมาก็จะมีไฟเป็น 0 V ไปไบอัสให้ Q471 ทำงาน และจุดนี้ เราจะเห็นว่า จะมี Vert Protect อยู่ด้วย ถ้าภาค Vert ไม่ทำงาน จะทำให้ Q471 ทำงาน ไฟ Vert Protect ก็จะเป็น 0V ไปด้วย ( ปกติ Vert protect เป็น High ) 5. คราวนี้มาดูจุดสุดท้ายกันครับ Q572 ตัวนี้เป็น Protect ไฟ B+ ครับ ซึ่งการทำงานก็จะเอาความต่างศักดิ์ของแรงดันที่ตกคร่อม มาไบอัสที่ขา B Q572 ให้ทำงาน ทำให้ไฟ Protect เป็น 0 V ส่งไปไบอัสให้ Q703 ทำงาน และเครื่องก็จะ Protect
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tienkung
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 1
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: กันยายน 08, 2008, 11:59:06 am » |
|
ขอบคุณเป็นอย่างสูงคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
momen
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 5
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: กันยายน 09, 2008, 09:05:36 pm » |
|
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากเลยครับ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
neung3342
member
คะแนน 1
ออฟไลน์
กระทู้: 18
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: กันยายน 11, 2008, 10:22:42 am » |
|
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
capo
member
คะแนน 1
ออฟไลน์
กระทู้: 37
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: กันยายน 11, 2008, 07:56:13 pm » |
|
พี่แบ่งปันความรู้ผมมีอาชีพ ขอบคุณมากครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
walkalon
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 7
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 11:38:52 am » |
|
ขอบคุณครับ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากเลยสำหรับช่างมือใหม่ ขาดประสบการณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
premiumpri
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 6
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 01:22:11 pm » |
|
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tanawat_1422
member
คะแนน 2
ออฟไลน์
กระทู้: 130
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: กันยายน 20, 2008, 01:17:46 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: กันยายน 20, 2008, 08:26:02 pm » |
|
Samsung S17A UP Date ครับ คราวนี้มาดู Protect ของ Samsung กันบ้างครับ แท่น S17A ปัญหาอย่างนึงของ TV Samsung แท่น S17A นั่นคือเปิดแล้วตัด ลักษณะเครื่องติด Protect ครับ และ Samsung นี้จะมี Protect ไม่ซับซ้อนเหมือนของยี่ห้ออื่นๆ เพราะของ Samsung นั้น จะตรวจเช็คแค่ไฟจาก FBT นั่นก็คือ X-Ray นั่นเอง และก็อีกจุดก็คือการทำงานของ Vert สิ่งแรกที่ควรมองและตรวจเช็คคือ ค่าแรงดันไฟที่ขา 30 IC201 จุดนี้ถ้าไฟที่มีต่ำกว่า 3 โวลย์แล้ว จะทำให้เครื่อง Protect ทันทีครับ และแท่นที่ใช้ IC One Ship เบอร์เดียวกันนี้ จะเป็นจุดอ่อนที่เป็นบ่อยเลยครับ IC จะเสียบ่อยมาก เราจะใช้วิธีการเช็คทางลัดกันเลยนะครับ นั่นคือลอย Main Protect ก่อนเลย เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเป็นที่ IC ไม่ดีหรือเปล่า หรือว่าเครื่อง Protect จริงๆ นั่นคือลอย Q902 ออกก่อนครับ แล้วเปิดเครื่อง ไม่ต้องดูว่าหน้าจอจะเป็นยังงัยหรอกนะครับ มาวัดไฟที่ขา 30 IC201 ก่อนเลย ต้องมีไม่น้อยกว่า 3 โวลย์ ถ้าไฟมีมากกว่า 3 โวลย์แล้ว ก็แสดงว่า IC ยังไม่เจ้ง แล้วคราวนี้เราก็มาตรวจสอบกันอีกที ว่า Protect มาจากทางใหนแน่ โดยการใส่ Q902 ใว้เหมือนเดิม แต่มาลอย D901 ออกแทน เพื่อจะได้สรุปว่าเป็นที่ X-Ray หรือที่ภาค Vert กันแน่ ถ้าลอย D901 แล้วไฟที่ขา 30 ก็ยังมีมากกว่า 3 โวลย์อยู่ ก็แสดงว่า Protect มาจากทาง Vert คราวนี้เราก็ไปตรวจสอบภาค Vert ให้ละเอียดอีกครั้ง โดยเรายังไม่ต้องใส่ D901 ก็ได้ เอาให้ซ่อมเสร็จ มีภาพเต็มจอก่อน แล้วถึงใส่ใว้ครับ ในทางกลับกัน เมื่อลอย D901 แล้ว ไฟที่ขา 30 ก็ยังมีต่ำกว่า 3 โวลย์ ก็แสดงว่าเป็นที่ X-Ray Protect ซึ่ง X-Ray Protect นี้ มีที่มาอยู่หลายทางที่ทำให้ไฟไฮโวลย์มีมากกว่าปกติ อาทิ ไฟ B+ มากเกิน , ความถี่ Hor ผิดปกติ ฯลฯ ขอย้ำซักหน่อยนะครับ การลอย Protect ทั้งหลายนี้ ไม่ควรเปิดเครื่องนานนะครับ เปิดเครื่องเพื่อวัดไฟ Protect อย่างเดียวพอครับ และก็มีทริ๊ปเล็กๆอีกนิดนึง เรื่องการรีแพร์ IC One Ship ที่เสีย เรื่องไฟที่ขา 30 มีน้อย ทั้งๆที่ลอย Q902 แล้ว สาเหตุที่ลอย Q902 แล้วไฟที่ขา 30 นี้ยังมีน้อย เพราะว่า ภายในตัว IC จะมี Zener ต่อใว้ที่ขา 30 ลงกราวด์ใว้ เพื่อป้องกันแรงดันไฟที่ขานี้มีมากเกิน แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร Zener ตัวนี้คอยจะลี๊กอยู่บ่อย ๆ ทำให้ไฟที่ขา 30 มีน้อย ไม่ถึง 3 โวลย์ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของแท่นนี้เลยครับ มา..........มาดูวิธีการรีแพร์ IC กัน - หาแหล่งจ่ายไฟซัก 5 โวลย์ แต่ขอกระแสเยอะๆหน่อย ซักประมาณ 2 แอมป์ มาต่อสายกราวด์ของแหล่งจ่ายไฟเข้ากับกราวด์ของ TV - ดูดตะกั่วขา 30 IC201 ออก แล้วก็วัดความต้านทานของขาที่ 30 ที่ลอยออกกับกราวด์ใว้ เพื่อเอาใว้เปรียบเทียบกับตอนที่เรารีแพร์แล้ว เมื่อวัดความต้านทานแล้วก็เอาสายไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ 5 โวลย์นี้มาจิ้มที่ขา IC โดยการจิ้ม-ปล่อย จิ้ม-ปล่อยนะครับ แล้วก็มาวัดความต้านทานเปรียบเทียบกับค่าที่เราวัดใว้ก่อนการรีแพร์ ต้องให้ค่าความต้านทานมีมากกว่าเก่าครับ เมื่อความต้านทานมากกว่าเก่าแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการลองของจริง นั่นคือบัดกรีขา 30 กลับใว้เหมือนเดิม แล้วคราวนี้ลองเปิดเครื่อง แล้วลองวัดไฟที่ขา 30 นี้อีกที ถ้าไฟเกิน 3 โวลย์แล้ว ก็แสดงว่าใช้ได้แล้ว - แต่ต้องระวังเรื่องการจิ้มไฟจากแหล่งจ่ายด้วยนะครับ ต้องไม่จิ้มแช่ เพราเดี๋ยวจะรีแพร์ไม่ขึ้น อาจได้ซื้อใหม่...แพงด้วยนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vasant9
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 36
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: กันยายน 22, 2008, 05:21:50 pm » |
|
ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tuchsapong
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 17
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: กันยายน 28, 2008, 05:10:34 pm » |
|
ได้ควมรู้ดีมากๆเลยคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
boonkuae35
วีไอพี
member
คะแนน 12
ออฟไลน์
กระทู้: 950
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: กันยายน 30, 2008, 02:01:11 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #51 เมื่อ: กันยายน 30, 2008, 09:39:54 pm » |
|
อ้า....ครับผม แต่ใจเย็นนิ๊ดนึงนะครับ ช่วงนี้ออกทำงานข้างนอกทุกวันเลย เดี๋ยวว่างตอนใหนจะมาเขียนบทความนี้ ให้ดูให้ชมกันนะครับ
ใจเย็น....ใจเย็น.....คร๊าบบบบบบบบบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: กันยายน 30, 2008, 09:57:56 pm » |
|
Protect BG-3S เอาเรื่อง Protect อีกแท่นนึงก่อนนะครับ พอดีเขียนใว้แล้ว เอามาลงให้ดูก่อนครับ เดี๋ยวภาคจ่ายไฟจะตามมาครับ ....... คราวนี้เรามาดู Protect ของ Sony แท่น BG-3S จากรูปแรกเรามาดู Main Protect ที่ IC จังเกิ้ลกันก่อน อันนี้อยู่ที่ขา 18 ของ IC CXA2139S ครับ ปกติที่ขานี้จะมีสภาวะเป็น High ประมาณ 3.6 V ถ้าขานี้ไม่มีไฟ เครื่องก็จะ protect แล้วครับ มาดูต่อครับ การที่ไฟที่ขา 18 ของ IC จะลดนั้น ก็มี TR ที่ทำหน้าที่เป็น Sub Main protect ( Q503 ) คอยตรวจสอบอยู่ ถ้าเมื่อใด ที่ภาคใหน ( มี 4 จุด ) เกิดปัญหา ก็จะส่งไฟมาทริกที่ขา B Q503 ทำให้ไฟที่ขา 18 IC 301 ช็อตลงกราวด์ ทำให้เครื่องเกิดการ Protect ครับ - คราวนี้มาดู Protect จุดแรกกันนะครับ Protect B+ โดยมี R615 เป็นตัวตรวจสอบแรงดันตกคร่อม ซึ่งถ้ามีการช็อต การลี๊ก จะทำให้มีแรงดันตกคร่อม R615 ทำให้ Q604 ทำงาน และส่งแรงดันไฟไปทริกที่ขา B Q503 ทำให้ Q503 ทำงาน ดึงไฟที่ขา 18 ลงกราวด์ ทำให้เครื่อง Protect
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TRT
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #53 เมื่อ: กันยายน 30, 2008, 10:00:28 pm » |
|
- จุดต่อมาเรามาดูเรื่อง Protect Vert กันครับ โดย Protect ของภาค Vert นี้ มีอยู่ 2 จุดด้วยกัน โดยจุดแรกจะเป็นการตรวจสอบการทำงานของภาค vert เมื่อ Vert ทำงาน ก็จะมีสัญญาณมาผ่าน D511 , D512 แปลงไฟเป็นไฟตรงมาทริกให้ Q509 ทำงานอยู่ตลอด ทำให้ไฟที่ขา C Q509 มีแรงดันอยู่ที่ 0V แต่ถ้าเมื่อใดที่ภาค vert ไม่ทำงาน ก็จะไม่มีสัญญาณ ไม่มีไฟมาทริกให้ Q509 ทำงาน เมื่อ Q509 ไม่ทำงาน แรงไฟที่ขา C Q509 ก็จะมีไฟใหลผ่าน D506 ไปทริกให้ Q503 ทำงาน ( Sub Main Protect ) และเมื่อ Q503 ทำงาน เครื่องก็จะเกิดอาการ Protect มาดูอีกจุดของภาค vert กันครับ ที่ Q507 ตัวนี้จะเป้นตัวตรวจสอบการใหลของกระแสไฟ 15 V ที่ไปเลี้ยงภาค Vert เมื่อใดที่มีแรงดันตกคร่อม R534 มาก ( IC ภาค vert ช็อต ) ทำให้ Q507 ทำงาน มีแรงดันไฟส่งผ่าน D505 ไปทริกที่ขา B Q503 ทำให้เครื่อง protect - ต่อไปเรามาดูอีกจุดนึง เป็นจุดสุดท้ายครับ โดยจุดนี้เป็นตัวตรวจจับการทำงานเกินของภาค Hor หรือ X-Ray นั่นเอง โดยจะตรวจจับแรงดันของ Yock hor ครับ เมื่อใดที่มีแรงดันไฟไปที่ Yock Hor มาก ( FBT ทำงานมากเกิน ) ก็จะมีแรงดันไฟรีเวอร์สไบอัสผ่าน D526 มาทริกที่ขา B Q503 ทำให้ Q503 ทำงาน เครื่องก็จะ Protect ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
suthep2008
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 4
|
|
« ตอบ #54 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2008, 10:38:54 am » |
|
ขอบคุณทุกๆท่านที่ ลงบทความการแก้ปัญหาในการซ่อมทีวีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ronnarit
member
คะแนน 0
ออฟไลน์
กระทู้: 22
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2008, 07:46:25 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kongmee
member
คะแนน 3
ออฟไลน์
กระทู้: 236
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 05:43:03 pm » |
|
ขอบคุณมากคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kaewtawee
member
คะแนน 72
ออฟไลน์
กระทู้: 700
ครูของตัวเอง คือ ตัวเอง...ขอบคุณสำหรับครูทุกท่าน..
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2008, 02:44:27 am » |
|
ท่านอาจารย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน..ขอบคุณสำหรับเวปดีดี
|
|
|
|