มาแล้วครับพี่น้อง สินสุดการรอคอย
1 วัสดุ
เพื่อจะได้ทราบคุณสมบัติและน่าที่ เพื่อใช้ให้ถูกต้อง
1 โพลีเอสเทอร์เรซิน (Unsatu-rated Polyerter Resin)
เป็นพลาสติกเหลวที่นำมาใช้เป็นเนื้อผลิตภัณท์ ไฟเบอร์กล๊าสที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกกว่าอย่างอื่น และ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะนำมาใช้งาน
เช่น มีความแข็งเป็นพิเศษ ง่ายต่อการนำมาใช้หล่อ
โลิเอสเทอร์เรซินมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน เช่น ใส ทนความร้อน ทนกรดด่างเป็นพิเศษ และชนิดธรรมดา ดังนั้นก่อนจะซื้อควรศึกษาข้อมูล ว่าจะใช้ทำอะไร
เช่น ใช้ทำผลิตภันไฟเบอร์กล๊าส ผลิตพลาสติกหล่อ ผลิตภัณแก้วเทียม ผลิตภัณเครือบรูป ฯลฯ
ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีผู้ผลิต
1 บริษัทสยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด (Siam Chemical Industry CO.Ltd)
2 บริษัท เฮิกช์ไทย จำกัด (Eternal Resin Co.Ltd)
3 บริษัท ไทนมิตซุยโทอัสซุ จำกัด (Thai Mitsui Toatsu Co.Ltd)
โพลิเอสเทอร์เรซิน ชนิดที่ใช้ทำผลิตภัณท์ไฟเบอร์กล๊าส หรือ FRP ที่นิยมใช้ทั่วไป มี 5 ชนิด
1 ออโทฟาทาลิกอะชืด (Ortho-phthalic acid type)
2 ไอโซฟาทาลิกอะชิด (Isophthalic acid type)
3 เทเรฟทาลิกอะชิด (Terephthalic acid type)
4 บิสฟีนนอล-เอ (Bisphenol-A type)
5 ไวนิลเอสเทอร์ (Vinylester type)
โพลิเอสเทรอ์เรซินที่ใช้นำผลิตภัณท์ไฟเปอร์กล๊าสนอกจากจะมีคุณสมบัติต่างๆๆ กันดังกล่าว แล้ว ยังแบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพ เป็น 4 ชนิด คือ
ก. ชนิดผสมขี้ผึ้ง หรือแว๊ค (wax)
ชนิดแข็งตัวแล้วผิวจะแห้งตัวไม่เหนียวเหนอะ เช่น โพลิเอสเทอร์เรซิน เบอร์ FH-123 ของ บริษัทสยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งสามารถทำงานติดต่อกันจนเสร็จภายในเวลาสั้น
ข. ชนิดไม่ผสมขี้ผึ้งหรือแว๊ค (wax)
ชนิดนี้แข็งตัวแล้วผิวยังเหนียวอยู่ประมาณ 1-2 วัน เช่น โพลีเอสเทอร์เรซิน เบอร์ FH-123N ใช้สำหรับชิ้นงานใหญ่ต้องทำงานติดต่อกันนานหลายชั่วโมง หรือ หลายวัน
ผลิตภัณของ บริษัทสยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด ให้ดูในหัวเรื่อง AIR DRY โพลิเอสเทอร์เรซินตัวใดมีคำว่า YES แสดงว่ามีขี้ผึ้ง (wax) ผสมอยู่ตัวใดมีคำว่า NO แสดงว่าไม่มีขี้ผึ้ง (wax) ผสม
ค. ชนิดผสมตัวช่วยเร่งปฎิกิริยา
โดยปกติโพลิเอสเทอร์เรซินไม่ควรผสมตัวช่วนเร่ง ปฎิกิริยา (Accelerator หรือ Promoter) ไว้ก่อนเพราะจะทำให้ อายุ การเก็บรักษาสั้นลง
ง. ชนิดผสมผงเบา (Thixotropic)
โพลิเอสเทอร์เรซินหลายตัวผสมผงเบาเพื่อให้เรซิน มีความเข้มข้น และ มีแรงยึดเกาะมากขึ้น
แผนผังการผสมโพลิเอสเทอร์เรซิน
โพลิเอสเทอร์เรซิน
( UNSATURATED POLYESTER RESIN )
+
ตัวเร่งปฎิกิริยา 0.2%
ACCELERATOR-PROMOTER
( COBALT NAPHTHENATE )
+
ตัวทำให้แข็ง หรือ ตัวเร่งปฎิกิริยา 0.5-2%
HARDENER-CATALYST
( M.E.K.P.)
ปล. ตัวเร่งและตัวทำให้แข็ง มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับ โพลิเอสเทอร์เรซินและกรรมวิธีการผลิต
ชนิด ของใยแก้ว
ใยแก้วผืนเส้นสั้น (Chopped Strands Mat)
เป็นใยแก้วชนิดที่นิยมใช้กับงานทั่วไป มีผืนต่างกันไปแล้วแต่การใช้งาน เช่น ผืน 300 450 600 ตัวเลขผืนเบอร์ คือ นำหนักเป็นกรัมต่อตารางเมตร
ใยแก้วผืนเส้นยาว(Continuous Strand Mat)
ใยแก้วชนิดนี้เสริมให้ชิ้นงานแข็งแรงกว่า ชนิด ผืนเส้นสั้น เพราะเส้นใยแก้วยาวตลอดเป็นเส้นเดียวกัน ใช้กับชิ้นงานที่มีผิวเรียบตลอด โดนปกติจะใช้กับการผลิตที่ใช้เครื่องจักร เช่น เครื่องอัด ขนาดที่ นิยม คือ ขนาดเบอร์ 300 450 600
ใยแก้วชนิดผืนเส้นใยละเอีดย (Surfacing Mat)
ใช้สำหรับเสริมชั้นแรกต่อจากเจลโค๊ดในชิ้นงานพิเศษ หรือ ขนาดเล็ก ขนาดที่ นิยมใช้ คือ เบอร์ 30
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ในโรงงานมาตรฐาน จะใช้ใยแก้วชนิดผืนเส้นสั้น เบอร์ 300 เป็นชั้นแรกต่อจากเจลโค๊ต
ใยแก้วชนิดผืนทอละเอียด (Woven Roving)
ใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษหรือชั้นที่ 2-3 ต่อจากเจลโค๊ต มีชือเรียกง่ายๆๆทั่วไปว่า ใยแก้วสานเล็ก ขนาดที่นิยมใช้ คือ เบอร์ 25 100 130 200 300
ใยแก้วผืนทอหยาบ (Woven Roving)
ใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ต้องการความแข็งแรงมากๆๆ เช่น เรือ โดยใช้สลับกับใยแก้วชนิดผืนเส้นสั้น มีชื่อเรียกง่ายๆๆ ทั่วไปว่า ใยแก้วสานใหญ่ ขนาดที่นิยมใช้ คือเบอร์ 600 800
ใยแก้วชนิดผืนทอพิเศษ (Fabrics)
เป็นใยแก้วผืนชนิดดี มีความแข็งแรงสูง มีหลายขนาดตั่งแต่ 25 ก./ตร.ม ถึง 330 ก./ตร.ม.
เจลโค๊ต (Gel coat)คือส่วนที่ปิดผิวหน้าของผลิตภันไฟเบอร์กล๊าส หรือสีผิวนั้นเอง
วัตถุดิบมีลักษณะเหลวข้นคล้ายกาวแป้งเปียก ซึ่งสามารถผสมกับสีผสมเรซิน ให้เป็นสีต่างๆๆได้
ความสำคัญของเจลโค๊ตก็คือโพลิเอสเทอร์เรซินนั่นเอง แต่มีการผสมพิเศษ ผงทิกโซทรอปปิก (Thixotropic) หรือ ผงเบาทำให้มีลักษณะเข้นเหนียวกว่าโพลิเอสเทอร์เรซินธรรมดา มีคุณสมบัติในการเกาะยึดเข้ากับผิวของแม่แบบ ( Mold) ดีกว่า
เมื่อเวลาพ่นหรือทาจะไม่ไหลมากองอยู่ส่วนล่างของแม่แบบ ส่วนผสมหรือสารเคมีต่างๆๆ ในการใช้งาน เหมือนกับโพลิเอสเทอร์เรซิน เจลโค๊ดหากใช้พ่นอาจจะข้นเกินไปพ่นไม่ออก ดังนั้นจึงต้องผสม โมโนสไตรีนประมาณ 10-20% เพื่อให้เหลวมากขึ้น
สำหรับผู้ฝึกหัดทำเล่นเป็นงานอดิเรกไม่จำเป็นต้องซื้อเจลโค๊ด ใช้โพลิเอสเทอร์เรซิน เบอร์ที่ทำไฟเบอร์กล๊าสนั่นแหละ เพราะถูกกว่ามาก
เจลโค๊ต
(GELCOAT)
+
ตัวเร่งปฎิกิริยา 0.2%
(ความเข้มข้น 5%)
(ACCELERATOR หรือ PROMOTER)
+
สีเรซิน 15-20%
+
ตัวทำให้แข็ง 0.5-2%
(หรือตัวเร่งปฎิกิริยา)
(HARDENER หรือ CATALYST)
สีเรซิน คือสีผสมลงในเจลโค๊ดเพื่อทำให้มีสีต่างๆๆ
อัตราส่วนผสมลงในเจลโค๊ด หรือ โพลิเอสเทอร์ ประมาณ 15-20% โดยนำหนัก
วิธีการทดสอบว่าสีที่ผสมลงไป ในเจลโค๊ดว่ามีความเข้มข้น พอดีหรือไม่ โดยใช้ไม้ป้ายเจลโค๊ดที่ผสมสีแล้วบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ให้มีความหนาประมาณ 0.5 ม.ม.
หากความเข้มข้นของสีใช้ได้จะมองไม่เห็นตัวหนังสือข้างล่าง หากยังเห็นอยู่ควรเติมสีลงไปอีก แต่ไม่ควรเกินปริมาณที่กำหนดไว้ (ในกรณีที่ต้องการ สีใสใส่สีจำนวนเล็กน้อยก็พอ)
สีที่ใช้ควรเป็นสีเฉพาะที่ใช้กับโพลิเอสเทอร์เท่านั้น
นำยาล้าง(Solvent)
นำยาล้างที่นิยมใช้มากที่สุด คือ อะซีโทน(Acetone) มีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสีกลิ่นฉุน แรงกว่าทินเนอร์ ไวไฟ
ใช้ล้างทำความสะอาดเครื่องมือ และ อุปกรที่เปื้อนโพลิเอสเทอร์เรซิน หากไม่มี อาจใช้ทินเนอร์ แทน
ห้ามใช้อะซีโทนผสมโพลิเอสเทอร์เรซินเพื่อทำให้เหลวขึ้น เพราะจะกัดทำลายเนื้อโพลิเอสเทอร์เรซิน
ถ้าต้องการให้โพลิเอสเทอร์เรซินเหลวต้องใช้ โมโนสไตรีนเท่านั้น
ขี้ผึ้งขัดผิว(Rubbing Compound)
เป็นขี้ผึ้งขัดผิวแม่แบบ (ไฟเบอร์กล๊าส)หรือ ต้นแบบชิ้นงานให้สะอาดและเป็นมัน ลักษณะคล้ายจาราบีแต่เนื้อหยาบกว่า มี 2 ชนิด สีแดง และ สีขาว
รู้จักกันดีในชื่อยาขัดสีรถยนต์ สีแดงเนื้อหยาบ สีขาวเนื้อละเอียด
แว๊คนำ (Hard Wax)
ใช้สำหรับทาและขัดบนผิวแม่แบบ และต้นแบบ ต่อจากขัดด้วยขี้ผึง ทำให้ผิวเรียบมัน ทั้งยังเป็นตัวถอดแบบ
นำยาถอดแบบ พี.วี.เอ. (PVA Release Agent)
เนื่องจากผิวเรียบระหว่างแม่แบบและชิ้นงาน ทำให้เกิดแรงเกาะตัว หรือ ดูดผิว
ขี้ผึ้งถอดแบบ (Mold Release Wax)
ถูกพัตนาขึ้นเพื่อช่วยลดเวลาในการทำงาน ใช้แทน นำยาถอดแบบ พี.วี.เอ.
ปร. การทาขี้ผึ้งถอดแบบครั้งหนึ่ง จะถอดแบบได้ 3-4 ครั้ง
ผงทัลคัม(Talcum)
ใช้ผสมโพลิเอสเทอร์เรซิน ทำเป็นวัสดุรองพื้น (เรซินโป๊)
อุปกรณ์และเครื่องมือ
1 ภาชนะบรรจุ(ภาชนะผสม)
2ไม้กวน
3หลอดวัดปริมาตรของเหลว
4แปรง และ ลูกกลิ้ง
5กาพ่นสี
6ฟองนำ
7ผ้าขัด
8ผ้าทราย และกระดาษทรายนำ
9มีด และ กรรไกร
10สิ่ว และ ตะไบ
11ค้อน และ ลิ่มไม้
12เกรียง
13เครื่องขัด
กรรมวิธีการผลิต
มาต่อกันวัหนังนะ
ปล. เมือยนิ้ว