หลักการนี้ถือเป็นบรรทัดฐานในการทดสอบ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 02:08:22 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการนี้ถือเป็นบรรทัดฐานในการทดสอบ  (อ่าน 8923 ครั้ง)
chompoo
member
*

คะแนน8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2008, 10:53:27 am »

ช่างทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไร  หลัการของผมในการทดสอบดอกลำโพง และตู้ลำโพงแบบต่างๆ  1.หาดอกลำโพงยี้ห้อ และรุ่นเดียวกัน นำมาทดสอบกับตู้ที่ต่างรูปแบบกัน
เครื่องทดสอบตัวเดียวกัน เสียงย่อมไม่เหมือนกัน 2.หาดอกต่างยี้ห้อ (วอยซ์ 76.2 มิล) นำมาใส่ตู้ที่เป็นแบบเดียวกัน เครื่องทดสอบเดียวกัน  เสียงย่อมไม่เหมือนกัน (กรณีที่เป็นดอกยี้ห้อ และรุ่นเดียวกัน ไม่ควรถูกเปลี่ยนวอยซ์ หรือเปลี่ยนก็ควรเป็นวอยซ์ที่เหมือนกัน ทั้งเบอร์ลวดทองแดง ค่าโอมห์ บ๊อบบิ้น)  ถ้าหลักการนี้มีเปอร์เซ็นที่ถูกมาก  ท่านทั้งหลายที่เคยฟังทีมงานต่างๆมาเปิดในงาน แล้วเสียงออกมาดีมากถือว่าเป็นที่ถูกใจท่านละ  สิ่งแรกท่านคงไปดูแบบตู้ลำโพง ดูภายนอกยังไม่สมใจคงอยากล้วงเข้าไปข้างในบ้างละ  อันดับต่อมาถามว่าใช้ดอกยี้ห้ออะไรครับ   สมมุติว่าท่านชอบแต่ตัวตู้ แต่ท่านมีงบไม่มากพอจึงใช้ดอกที่ราคาหรือโทนเสียง ไม่เหมือนต้นแบบ  เสียงก็ไม่เหมือนตอนที่ท่านฟังในงานขณะนั้น จริงใหมครับ  และยังมีส่วนประกอบอีกมากมาย แล้วค่อยอ่านความคิดเห็นช่างอื่นๆต่อไป  (อย่าลืมครับถ้าท่านจะฟังเครื่องเสียง อย่าเพียรดืมเบียร์เหล้า
เดี๋ยวเสียงจะเมาไปด้วยกัน จะว่ามือมิกซ์เขาไม่มีความสามารถ โทษนั้นโทษนี้ ท่านที่ตอบและอ่านขอให้สุขเกษมสำราญตลอดทิวาราตรี  หมดหนี้ หมดโศรก หมดเศร้า แล้วค่อยมาเว้ากันใหม่  อ.ชมภู ตะวัน  ตลาดอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  089-7152253


บันทึกการเข้า

fa_zone
member
*

คะแนน7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 189



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2008, 03:34:13 pm »

ตามที่บอกมาก็ทำได้ครับผม แต่ตามมาตรฐานจริงๆแล้วการทดสอบเขาจะทดสอบโดยการวัดความถี่ที่ตอบสนองโดยใช้ไมค์วัดห่างจากลำโพงที่ระยะ 1 เมตร ไมค์จะต้องจ่อที่ศูยน์กลางของลำโพงพอดี และกำลังวัตต์ที่ใช้คือ 1 วัตต์ ก็จะได้กราฟความถี่ตอบสนองออกมาครับผมว่าลำโพงแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อนี่ตอบสนองความถี่ตั้งแต่ 20-20kHz ได้เท่าไรๆบ้าง
แต่ขอให้นึกไว้ก่อนครับว่าในกราฟที่วาดออกมาแล้วเนี่ยบางครั้งมันไม่สามารถบอกได้นะครับว่าลำโพงตัวไหนเสียงดีกว่ากัน หรือลำโพงตัวนั้นเสียงเป็นอย่างไร
ดังนั้นถ้าเราจะทำการทดสอบเองแบบที่คุณ chompoo บอกมาก็ได้ครับเพียงแค่ว่าเราต้องการหาอะไร และอะไรเป็นตัวแปรที่ต้อง fix เอาไว้
ส่วนหลักการการเลือกตู้นั้นผมว่ามันแล้วแต่นะครับว่าเราต้องการนำตู้นั้นไปใช้ในงานอะไร งานของเราเป็นประเภทไหน ถ้าให้ดีควรดูถึงการขนย้ายด้วยนะครับ ผมไม่เกี่ยงครับว่าตู้ที่ใช้จะเป็นตู้สูตรไหนแต่ขอให้เหมาะสมกับงานของเราก็แล้วกัน
ดังนั้นขอสรุป(แบบมั่วๆ)ก็แล้วกันว่าเสียงจะดีไม่ดีถ้าต้นกำเนิดมาไม่ดีมันก็จบกันครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือดอกลำโพง EQ ครอสโอเวอร์ และก็แอมป์ครับเหมือนปัจจัย 4 ต่อให้เราใช้ตู้สูตรที่ว่าเยี่ยมไม้เกรดดีขนาดไหนแต่องค์ประกอปที่ทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้นมาไม่ดีมันก็จบกันครับ
บันทึกการเข้า
chompoo
member
*

คะแนน8
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2008, 09:03:58 am »

การทดสอบแบบง่ายๆของผมที่ทำเป็นประจำ  1.ถ้าตู้ที่ผมทำเสียงออกมาถูกใจหรือไม่ ให้นำไปทดสอบกับตู้ที่ท่านใช้อยู่  หรือนำตู้ของท่านมา 1 ใบ พร้อมดอกที่เหมือนกัน
2 ดอก เพื่อเอามาใส่ตู้ของผม 2. ถ้าเสียงตู้ของผมที่ทำขึ้นมาใหม่ ไม่เป็นที่ถูกใจ ก็จะไม่ให้ช่างท่านนั้นตีตู้กับผม และจะแนะนำให้ตีตู้กับช่างอื่นๆ หรือรูปแบบตู้ตัวใหม่
3.การทำลักษณะนี้ช่วยให้ช่างที่จะตีตู้ ไม่ต้องเสียไม้อัดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าสั่งตีตู้แล้วเสียงไม่ถูกใจ  4.ช่างต่างๆที่เข้ามามักจะให้ตีตู้ต่างจากรูปแบบ
 เดิมที่ใช้อยู่ หรือตัดให้ต่ำลงพร้อมเดินลายวงจรตู้แบบใหม่ให้ด้วยยิ่งดี  (โซนนี้แบบตู้แปลกใหม่ยังมีไม่มาก)  ขอฟังความคิดเห็นช่างอื่นๆด้วยครับ
บันทึกการเข้า
thorngbai
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 130



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 09:50:01 am »

เห็นด้วยกับคุณ fa_zone ครับ
บันทึกการเข้า

แบ่งปันความคิด ไม่ยึดติดผลประโยชน์แห่งตน
noi3535-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน565
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1706



อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 10:45:24 am »

เห็นด้วยกับคุณ fa_zone ครับ
      ถ้างั้นเราก็ไม่พูดถึงเครื่องกำเหนิดเสียงเลยสิครับ เอาเป็นว่าตัวต้นเสียงถึงเพาเวอร์นั้นดีสมบูรณ์fixไว้ แล้ว เอามาพูดตรงลำโพงอย่างเดียวกันเลย  Smiley
บันทึกการเข้า

884-200-9496      ชื่อบัญชี นายนพดล  รอดภัย
      ไทย พาณิชย์ สาขาย่อยบิ๊กซีเพชรบุรี       ออมทรัพย์
   086-3119516 -ทรูมูฟ  088-2356231-ดีแทค
   083-5565916-ดีแทค
nporn
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 04, 2008, 02:19:42 pm »

เห็นด้วยกับคุณ fa_zone
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 08, 2008, 04:18:20 pm »

ลําโพง PA ใช้การวัดจะดีกว่า    คนที่ชํานาญในการอ่านกราฟ  จะรู้เลยว่าเสียงเป็นอย่างไร   เส้นกราฟที่เกิดขึ้นเเต่ละเส้น  สามารถเเยกลําโพงไม่ดีออกไปได้   เเต่ในระดับโลก  ไม่ได้วัดเพียงผลตอบสนองเพียงอย่างเดียว   มีหลายๆค่าที่ใช้วัด  ซึ่งสามารถระบุได้เลยลําโพงตัวไหนไม่มาตรฐานโดยไม่ต้องฟังมาก่อน    เเละหลักฐานจากการเทสก์ในเเต่ละครั้ง  เป็นความจริงเกิน 80 เปอร์เซนต์    วันนี้มีรูปมาให้ดูด้วย   มาจากจี่น  ตอนนี้ในประเทศของเขามีการพัฒนากันอย่างมาก   เพื่อที่จะเข้ามาเสียบในด้าน audio ไม่ว่าจะ PA หรือ ลําโพงบ้าน    ช่วงหลังๆถ้าใครติดตาม   จะเห็นว่าจีนได้รุกเข้ามาผลิตเเผ่น audiophile เเล้ว  เเละก็ทําได้ดีด้วย

http://www.yopi.co.th/prd_1948663
บันทึกการเข้า
nichapat
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 10:23:04 pm »

จากรูปที่ถ่ายจากจีนที่ คุณ Thawach post มา เขาใช้ โปรแกรม smaartlive ของ siasoft ซึ่งตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ EAW แล้ว ผมใช้อยู่ครับมีประโยชน์มากครับ ผมให้ความสำคัญของเครื่องมือวัดเกิน 70% อีก 30% หูครับ เพราะผมมีความคิดว่า เครื่องมือมีความเที่ยงตรง ไม่มีปัจจัยด้านอารมณ์ที่จะทำให้เกิดความเอนเอียงมาเกี่ยวข้อง ไม่เหมือนมนุษย์ 10 คน ฟังก็ได้ผลไม่เหมือนกันแล้ว (คนเมาไปอีกแบบ) อยากให้ผู้ที่สนใจจะทำงานด้านเครื่องเสียงและต้องการพัฒนาตัวเองอาจจะไม่ถึงกับเป็นมืออาชีพ แต่อย่างน้อยก็ไม่น้อยหน้าชาติอื่น
ตัวโปรแกรมเขามีจำหน่าย (ประมาณ 30,000 บาท ครับ ผิดพลาดอย่างไรขออภัยนะครับ) แต่ก็มีให้ download มาลองใช้งาน 30 วัน จาก www.eaw.comผมเองก็ยังใช้ version ที่เป็น Demo อยู่เลย  อาศัยขยัน Format hardisk และลง windows ใหม่ก่อนจะครบ 30 วัน เพราะตัว demo นี้ลงได้ครั้งเดียวไม่สามารถ install ทับได้
ส่วนเครื่องมืออย่างอื่นที่ต้องใช้ร่วมกับโปรแกรมก็จะเป็น mic สำหรับวัด ใช้แบบ condensor นะครับ (ต้องใช้ Phantom 48 V) ในตลาดบ้านเราก็มี superlux รุ่น ECM999 อะไรทำนองนี้แหละไม่แพงมาก อีกยี่ห้อก็เป็น Behringer แล้วก็ pre-mic ดีๆสักตัวครับ

ลองดูนะครับ
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 19, 2008, 02:03:17 am »

มีคุณภาพดีทีเดียว   ตัว Trial version รู้สึกว่าเขาปล่อยให้ใช้เต็มๆเลย   ถ้าไม่ค่อยวัดบ่อย  ขยัน Format hardisk ก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 19, 2008, 04:00:28 pm »

คุณ nichapat  ไม่ใช่เเต่จีนประเทศเดียวหรอก   เวียดนามก็เล่นกันอย่างหนักเหมือนกัน   DIY เเอมป์หลอดของจีนกับเวียดนามบ้ากันหนักกว่าไทยอีก  ส่วนรัสเซียเขาเล่นมานานเเล้ว   รัสเซียลําโพง PA ไม่ค่อยเท่าไหร่เลย  เขาเล่นของบ้านมากกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!