ก่อนที่จะนำเครื่องยนต์ดีเซลเปลี่ยน มาติดเครื่องยนต์เบนซินแทน แล้วติดแกส ลองดูบทความนี้ก่อน จะได้ช่วยให้การตัดสินใจได้ดีขึ้น
การนำเครื่องยนต์ดีเซลที่มีอยู่มาใช้ LPG มาเป็นเชื้อเพลิงร่วม และสามารถช่วยให้ประหยัดเงินขึ้น 25-30 % , 25 % สำหรับรถวิ่งในเมือง , 30 % สำหรับวิ่งต่างจังหวัด
ลงทุนเพียง 10,000 บาทกลางๆสำหรับผู้ที่ติดตั้งเอง ถ้าให้ช่างติดตั้งก็บวกค่าแรงอีก รวมแล้วประมาณ 10,000 บาทปลายๆอุปกรณ์จากตุรกีและ 20,000 ต้นๆจากอิตาลี ถ้าสมมุติว่าวิ่งวันละ 100 กิโลเมตร. ก็จะคืนทุน
ภายใน 6-8 เดือน อย่างนี้ OK ใหม?
อย่างรถผมแต่เดิมกินน้ำมัน 10 กม./ลิตร ( รถ IZUSU 2800 turbo. Grand adventure ของไทยรุ่ง ) หลังจากติดแกส LPG เข้าไปเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับดีเซลแล้ว
ช่วยให้รถวิ่งประหยัดขึ้นเป็น 16-18 กิโล./ลิตร ในเมือง , 18-20 กิโล./ลิตร ต่างจังหวัด + กับค่าแกสอีก
สรุป ประหยัด คิดเป็นจำนวนเงิน 30 %
อะไรที่ทำให้เกิดการประหยัด
1. ที่ Load เท่ากัน แต่เหยียบคันเร่งน้อยลง กินน้ำมันน้อยลงเพราะใช้ LPG เข้ามาเสริม แต่ LPG ราคาประหยัดกว่ามาก ผลที่ตามมาจึงประหยัดกว่า
2. ที่ระยะทางเท่ากัน การเหยียบคันเร่งที่ความเร็วสูงจะสิ้นเปลืองเชื้องเพลิงสูงกว่าช่วงความเร็วต่ำมาก หลังจากที่ใช้แกสเข้าไปเป็นเชื้อเพลิงร่วมแล้ว ความเร็วรถคือ 100 กิโลเมตร/ชม. ความจริงการเหยียบคันเร่งของเรา จะเท่ากับการเหยียบคันเร่งเพียง 70-80 กิโลเมตร/ชม.ขณะที่เราใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียว
3.เครื่องยนต์ดีเซล การเผาไหม้ มีประสิทธิภาพเพียง 75-80 % เท่านั้น การมี LPG เข้าไปร่วม ช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ไปอยู่ที่ 95-98 %
อุปกรณ์ ที่ใช้เป็นอุปกรณ์ ส่วนใหญ่ใช้ในเครื่องยนต์เบนซินอยู่แล้ว หากต้องการที่จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์เบนซินก็ใช้ได้เลย ดังนั้นการใช้เครื่องยนต์ดีเซลมาใช้ LPGเป็นเชื้อเพลิงร่วมก็ไม่ลงทุนสูญเปล่า และหากจะเปลี่ยนใจมาใช้เครื่องยนต์เบนซินภายหลัง อุปกรณ์เหล่านี้ก็ยังใช้ได้เหมือนเดิม
การทำงาน : หลักการเราจะปล่อย LPG เข้าไปผสมกับดีเซลที่หม้อกรองอากาศหรือท่อร่วมไอดี ในอัตราส่วน 30:70 ( ดีเซล 70,LPG30)
การเปิด LPG เข้าไปผสมโดยใช้ stepping motor เป็นตัวเปิดให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (rpm) โดยการควบคุมของกล่อง ECU ( electronic control unit ) โดยLPG จะเริ่มจ่ายเข้าท่อร่วมไอดีที่ความเร็วเหนือความเร็วเดินเบาประมาณ 1000-1200 rpm และจะเปิดมากขึ้นเรื่อยๆ จนความเร็วรอบใกล้ 3000 rpmจะค่อยๆลดลง และที่3500 rpm ก็จะเปิดน้อยมาก เพื่อป้องกันส่วนผสมที่หนา ( rich) เป็นที่มาของการชิงจุดระเบิดก่อนกำหนด ( detonation)ดังกราฟแสดง อุณหภูมิอากาศภายนอกมีผลต่อมวลของอากาศที่เข้ามายังห้องเผา
ไหม้ กล่องECU จะปรับค่าการเปิด stepping motor ให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิอากาศภายนอกด้วย กล่าวคือถ้าอากาศภายนอกร้อนถึงจุดที่ตั้งไว้ กล่อง ECU จะเปลี่ยนไปใช้อีกโปรแกรม ( โปรแกรม B ) ณ.อุณหภูมิอากาศร้อนมวลของอากาศจะลดลง ดังนั้นกล่อง ECU จะสั่งให้ลดการเปิดของ Stepping motor ลง เพื่อให้อัตราส่วนผสมระหว่างเชื้อเพลิง( LPG + ดีเซล )กับอากาศเหมาะสมต่อการเผาไหม้ทุกๆสภาพอากาศ เป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์น๊อก
นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันกรณีที่อุณหภูมิน้ำสูงๆเช่นช่วงรถติดนานๆ หรือการปรับแต่งส่วนผสมของเชื้อเพลิงที่หนาเกินไป กล่อง ECU จะสั่งปิด Stepping motor ทันทีหรือกรณีเกิดอุบัติเหตุความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่ขึ้น กล่อง ECU ก็จะปิด Stepping motor เช่นกัน
ผลที่ได้รับจากการติดตั้งดีเซล+ LPG
1. การเหยียบคันเร่งจะดูเบาขึ้น เพราะ LPGจะเข้ามาเสริมที่ความเร็วเหนือความเร็วเดินเบา .อัตราเร่งดีขึ้น ตามหลัการ จะเพิ่มขึ้น 20 %
2. ควันไม่ดำ เพราะการเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น
3. เครื่องยนต์เดินเสียงเบาขึ้น
4. เครื่องยนต์ความร้อนไม่ขึ้น
5. ไม่ต้องมีการจูนปั๊มหรือดัดแปลงส่วนใดๆ
6. เครื่องยนต์ไม่น๊อก หากมีการจูนและการขับขี่ที่ถูกวิธี
7. สามารถใช้ได้ทั้งรถยนต์เกียร์ manual และ auto.
8. ประหยัดค่าเชื้อเพลิงประมาณ 30 %
จุดเด่น ดีเซล+LPG ของ AEROTECH ( ขอจดอนุสิทธิบัตรไว้แล้ว )
1. ที่คันเร่งไม่มีส่วนใดๆที่จะเกาะยึดเหมือนระบบอื่นๆ เช่น สปริง ซึ่งทำให้การเหยียบคันเร่งรู้สึกเหมือนเดิม ไม่แข็งเหมือนบางยี่ห้อ
2. ราคาประหยัด ค่าอุปกรณ์ ไม่รวมถัง ราคาแค่ 6,000 บาท
3. จูนง่ายไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ทางเราจะมีกล่องจูนให้ สะดวกต่อการจูน
4. อุปกรณ์มีจำนวนน้อย ไม่ยุ่งยากแต่ใช้การได้ดี
5. มีการดัดแปลงส่วนใดๆของเครื่อง
6. กรณีเกิดอุบัติเหตุ ความเร็วรอบไม่ขึ้น Stepping motor จะถูกปิด ป้องกันแกสรั่วออกมา
7. มีระบบป้องกันกรณีเครื่องร้อน( จากอุณหภูมิน้ำ )เช่นช่วงรถติดนานๆ จะสั่งปิด Stepping motor เช่นกัน
8. Stepping motor ออกพิเศษเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลโดยเฉพาะ
9. ข้อดีการติดตั้ง Mixer ใว้ที่หม้อกรองอากาศ ช่วยให้การคลุกเคล้าอากาศกับแกสมีระยะทางที่นานขึ้น รวมกันดีขึ้น ส่งผลให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น และหากมีการรั่วของน้ำจากหม้อต้มก็จะไม่ไหลเข้าเครื่องยนต์ แต่จะถูกระบายออกที่ก้นของหม้อกรองอากาศ และตัวหม้อกรองก็ช่วยกรองสิ่งต่างๆขั้นสุดท้ายก่อนที่จะถูกส่งเข้าห้องเผาไหม้ด้วย
10. กล่อง ECUสามารถควบคุมการทำงานทุกย่านของสภาพอากาศ เพื่อป้องกันการน๊อก
ราคาอุปกรณ์
1. กล่อง ECU 2,500 บาท
2. stepping motor 600 บาท
3. limited sw. 250 บาท
4. หม้อต้ม 2,000 บาท
5. ติ๊กแกส 450 บาท
6. หัว ( stainless mixer ) 150 บาท
7. สวิทช์ on-off 50 บาท
รวม 6,000 บาท
.กล่อง จูน 1,500 บาท( สำหรับช่าง )