มาถึงบทสรุปของผมอีกครั้งนึงครับ สำหรับประสบการณ์ซ่อมนับตั้งแต่วันที่ 7ตค2010 ที่ได้โพสข้อความไว้ เพื่อให้ผู้ที่เป็นช่างที่มาทีหลังได้ไม่ต้องเสียเวลางมหาประสบการณ์และเพื่อให้เส้นทางสายอาชีพนี้ลัดสั้นอย่างมีคุณภาพที่สุดครับ
สรุปมีดังนี้ครับ สำหรับตู้ที่รั่ว+เหตุผล ทั้งระบบ น้ำยา R12 และ R134a
1. ช่องฟิตที่รั่ว ต้องอุดช็อคเขียวก่อน หรือจะเรียกว่ากาวเขียวก็ตามแต่เข้าใจ(อาจจะเชื่อมอลูมิเนียมก็ตามแต่
สะดวก)
2. ช่องฟิตไม่ว่าจะรั่วจุดไหน ด้านไหน ก็ต้องล้างระบบใหม่ทุกครั้ง เพื่อตัดปัญหาค่าใช้จ่ายและการเสียเวลา
3. ล้างระบบคือ
ั
ล้างช่องฟิต = ลนไฟ + ไนโตร (5-20psi ก็พอ)
ห้ามลง F11 การลนให้ลนตั้งแต่หัวท่อดูด(หรืออาจจะเรียกว่าทางท่อกลับก็แล้วแต่จะเข้าใจ)ไล่
ตามเส้นทางเดินของท่อในช่องฟิตจนไปสุดทางคือแคปทิ้ว(แค่ไนช่องฟิตก็พอน่ะ)
แค่ไหนถึงจะพอ? ถ้าลนไปจนสุดรอบช่องฟิตแล้ว 1 รอบแล้วไม่มีน้ำหยดออกอีกเลยก็ถือว่าสำเร็จเสร็จสิ้นแต่
ถ้าลนไปแล้วน้ำยังไม่หมดก็ลนไปจนกว่าจะแห้งสนิท บางทีที่หยดออกมาไม่ใช่น้ำ ! แต่เป็นน้ำมัน
วิธีทดสอบก็ง่ายๆ ใช้มิเตอร์ย่าน R x10k วัดดูของเหลวที่หยดออกมา เข็มต้องห้ามขึ้นโดยเด็ดขาด
จุดที่อุดช๊อคเขียวเวลาลนไฟให้เว้นไว้หรือหาฟองน้ำหรือผ้าชุปน้ำมาโป๊ะไว้
เพื่อที่แรงดันของไนโตรเจน 5-10psi นี้ำไม่ทะลุออกมา
4. การล้างชุดแผงความร้อน = F11 + ไนโตร(100-250psi)
ใช้ได้ทั้งตู้ ระบบ R12 และ R134a แต่จริงๆแล้วตามทฤษฏีแนะนำว่า ตู้ระบบ R134a
นั้น สารที่ล้างระบบนี้ควรเป็น R 141b ถ้าท่านใดไม่ติดขัดเรื่องทุนทรัพย์ก็จัดไปตามหลักการ
แต่อีกอย่างที่ผมก็เข้าใจมาว่าจริงๆแล้วนั้น F11 ตัวนี้ก็มีส่วนของสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลกอยู่ด้วย
ซึ่งจัดเป็นอยู่ในหมวดน้ำยาตัวเก่าอย่าง R12 ที่กำลังจะเลิกใช้ นี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตผลก็ใด้ที่หลายๆแห่ง
พยามให้ลดการใช้ F11
มาเข้าเรื่องกันต่อครับโดยส่วนตัวคิดว่าชุดแผงความร้อนของตู้เย็นท่อเดินทางเป็นเส้นเดียว
ไม่มีการแยก เป็น 2หรือ3 ทางแล้วมารวมกันเป็นทางเดียวเหมือนในท่อของช่องฟิตจึงไม่น่ามีการตกค้างของ
น้ำยา F11 ที่เราน้ำมาล้าง(แต่จริงๆก็ไม่ควรใช้) เทคนิคเวลาอัดไนโตรคือเราต้องตั้งแรงดันที่ไนโตรไว้ก่อน
ใช้สายต่อโดยไม่ต้องผ่านเกจน้ำยา แล้ว เปิด-ปิดที่ถังไนโตร(โดยทั่วไปเรียกท่อไนโตร) อย่างเร็ว!
เปิด-ปิดอย่างนี้ซัก 2-3 ครั้งเมื่อเห็น F11เริ่มหมดไป ก็ ให้ใช้หัวแม่มือมาอุดปลายท่อทางออก
แล้วเปิดแรงดันจากไนโตรอีก แล้วเอาหัวแม่มือที่ปิดไว้แล้วเปิดออกอย่างเร็ว สลับไปสลับมาจนไม่เหลือละออง
ของ F11 อีก ก็ถือว่าเสร็จ
มีอยู่หลายครั้งหลายครั้งที่ลูกค้าทำตู้รั่วแล้วปล่อยไว้นาน(นานแค่ไหนไม่แน่ใจ คิดว่า 1เดือน
ขึ้นไป)จนทำให้ท่อในชุดแผงความร้อนเป็นสนิมเพราะอากาศจากภายนอก ถ้าท่อทองแดงก็จะเป็นสนิมสีเขียว
ถ้าท่อเหล็กก็จะเป็นสนิมของท่อเหล็ก เวลาอัดให้หาภาชนะมาใส่รองรับ F11 ดู เพื่อดูความสะอาดของ F11
ในกรณีนี้ต้องล้างจนกว่า F11 จะใสไม่มีตะกอน อาจจะต้องล้างหลายรอบหน่อยตามความสกปรกมากน้อย
เหตุผลก็เพื่อไม่ใ้ห้ตันในดายเออ เพราะตะแกรงกรองที่อยู่ในดายเออละเอียดมาก ถ้าให้ดีอยากแนะนำให้ลองผ่าดู
***** ชุดคอยเย็น = ไฟ + ไนโตร(5-20 psi)
***** ชุดคอยร้อน = F11 + ไนโตร(100-250 psi)
5. ส่วนการเช็คว่ามีน้ำในตัวคอมเฟรสเซ่อหรือเปล่านั้น ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาถอดคอมมาเทน้ำมันดูอีกแล้วครับ
เพราะตั้งแต่ทำมายังไม่มีน้ำตกถึงคอมเลย เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในส่วนนี้ครับ(เทคนิคข้อ 5 นี้
เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ทำมาซัก 20 ลูก ไม่ได้เทน้ำมันดูเลยแต่ก็ผ่านครับ ก็เอาไว้เป็นสถิติแล้วกันครับ)
*****จุดอันตรายที่พบอีกจุดล่าสุด เวลาจะเอาดายเออร์ตัวเก่าออกถ้าตัดได้ก็ตัด
แต่ถ้าใช้วิธีใช้ไฟลนเป่าออกต้องระวัง! เพราะวันนี้ให้น้องชายทำได้มีน้ำมันค้างอยู่มากในดายเออร์
พอใช้ไฟเป่าออก น้ำมันที่ค้างอยู่ไปลวกเอาหลังมือพองเป็นน้ำข้าวไปเลยครับ
ขอจบข่าว และ ขอบคุณอาจารย์เล็กมากๆครับ