หม้อแปลงสวิทชิ่ง ไฟบ้านพันกี่รอบครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 05:38:17 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หม้อแปลงสวิทชิ่ง ไฟบ้านพันกี่รอบครับ  (อ่าน 40439 ครั้ง)
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 03:08:38 pm »

ผมศึกษาข้อมูลจากเว็ปฯนี้แล้วสรุป(เดา)เองไว้แบบนี้ครับ  ด้วยความที่เป็นมือใหม่  คงมีหลายจุดที่เข้าใจผิด
รบกวนท่านผู้รู้วินิจฉัย+แนะนำด้วยครับ

ไม่ทราบว่าใช้สูตรเดียวกันกับ หม้อแปลงรถยนต์หรือเปล่าครับ
สมมติว่าใช้กับแกนเฟอร์ไรท์ 8cm (สอบถามแล้วร้านที่ขายแกนบอกว่า  รับความถี่ได้เกิน 100kHz)

ไฟบ้าน 220V เอซีผ่านบริดจ์เร็คคิฟายเออร์แล้ว ได้ไฟตรง 310V
ไฟแบ็ตรถยนต์ 12V  ใช้งานจริงอาจขึ้นไปถึง 14.4V .........นิยมใช้รอบไพรมารี่ ๔รอบต่อเฟส หนึ่งรอบรับภาระก็ประมาณ 3.5V

ถ้าใช้เรทใกล้เคียงกันกับหม้อแลงสวิทชิ่งไฟฟ้ารถยนต์ (หนึ่งรอบรับภาระก็ประมาณ 3.5V)
ก็เท่ากับว่า ๑เฟสของไพรมารี่รับภาระ 310VDC พันลวด ๘๘รอบกว่า  หรือโดยคร่าวๆจำง่ายก็ ๙๐+๙๐ รอบโดยประมาณ

สมมติว่าถ้าเราต้องการไฟขาออก 31-0-31V DC  เราก็พันขาออกเพียง 9+9 รอบ

เรื่องกำลัง กระแสขาออกและการใช้ลวด (Pin=Pout ไม่คิดค่าสูญเสียเพราะน้อยมาก)
ถ้าใช้ไพรมารี่ ลวด(สายไฟ)เบอร์ ๑๖ (รับกระแสได้ประมาณ ๘แอ็มป์กระมัง)  พัน๙๐รอบ
เซ็คคั่นดารี่ เราก็สามารถใช้เบอร์ ๑๖ เช่นกัน  โวลท์ต่ำกว่า ๑๐เท่า  ก็เท่ากับว่าใช้สายไฟได้ ๑๐เส้นพัน9+9 รอบ
ได้หม้อแปลงจ่ายกระแสสูง ๘๐แอ็มป์

สมมติว่ากำลังขาเข้า (ลวดขาเข้าขอคิดที่เรท ๘แอ็มป์สูงสุดก็แล้วกันนะครับ)
310  V x 8A           = 2480W.  x 2 ชุด  คือ  4960W
31.0 V x 8Ax10เส้น =2480.      x 2 ชุด   คือ 4960W

ในทางปฏิบัติ แกน ๘ซม  อาจรับภาระนี้ไม่ไหว  ต้องซ้อนแกน ๒ ชั้นหรือใช้ขนาดโตกว่านี้ อะไรทำนองนี้หรือเปล่าครับ

เรื่องเพาเวอร์มอสเฟ็ท  ก็ควรคำนาณการทนกำลังให้เพียงพอ  สมมติว่า IRFP460 =500V 280W  20A
ควรใช้ ๑๐คู่  เพื่อรองรับภาระนี้  ให้ทำงานได้โดยปลอดภัย

ผิดถูกตรงไหน รบกวนชี้แนะด้วยครับ

ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า

luyleag
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 212


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 03:47:25 pm »

เอทำไมผมเห็น ในวงจร ที่เขาบอกไว้นะ ครับ ไม่เห็นถึง90เลย และมีขดเดียวเอง ความถี่กับจำนวนรอบเกี่ยวกันมั้ยอะ ผมก็อยากรู้ครับ
เท่าที่ทราบมาก็ อยู่ในช่าง เข้า20-50 ออก รอบละ6 โวลท์
ข้อมูลที่ผมมีอยู่ก็เท่านี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
hs5icj
วีไอพี
member
***

คะแนน118
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 191


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 04:19:15 pm »

ประมาณ  30 บวกลบ 5  จะว่าไปแล้วมันขึ้นกับแกน ความถี่ด้วย แล้วก็ยังมีวงจรควบคุมแรงดันอีก ถ้าไม่มีวงจรนี้พอไฟบ้านตกมันก็ตกตาม
แต่ที่แน่ๆ ถ้าพันประมาณนี้วงจรทำงานได้  แต่จะทนจ่ายกระแสได้สูงหรือเปล่าอันนันละครับ ที่เขาไม่ค่อยจะบอกกันว่าใช้อะไรทำยังไงเบอร์อะไร
บันทึกการเข้า
kan
Full Member
member
**

คะแนน78
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 05:28:38 pm »

พันประมาณนั้นหละ ดูขนาดบ็อปบิ้นด้วย ถ้าโตลดลงมาอีกก็ได้ขนานลวดเพิ่มด้วย ความถี่ใช้ประมาณ40ถึง50Kก็พอ ถ้าสูงมากๆอ๊อสซิเลทง่าย ใช้ไปนานๆลวดร้อนจะโดดข้ามขดได้ง่าย ถ้าต้องการกระแสสูงๆก็ใช้หม้อแปลงสองลูก  ขนานไดโอดเล็คติฟายด้วยคู่เดียวไม่อยู่หรอก ร้อนกว่า OUTPUT อีกถ้าโหลดต่อเนื่องต้องหา ริงคลอ มาร้อยขาไดโอดอีก ไม่งั้นก็ต้อง ใส่ คอยบิคลอ ขนานคู่ จะต้องมีโช๊คอีก โช๊คอากาศไม่เครีย ต้องมีเฟอไรท์ด้วย แค่นี้ก็ แหล่มเลย ถ้าใช้กับเครื่องเสียง จำต้องมีจะได้ไม่จุกจิกกวนใจ มาแจมเฉยๆเห็นห้องนี้เงีบยนะ
บันทึกการเข้า
x_tao
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 75


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2008, 09:08:00 pm »

ขอถามต่อครับ เรื่องหม้อแปลงครับ
ผมไปแกะ หม้อแปลง จากวงจร Inverter ของ UPS ครับ เป็นแกน EE55
ตามรูปข้างล่างครับ ด้วยความซุกซน จึงแกะดูข้างใน มันเป็นยังงัย

พบเจอดังนี้ครับ ขด pri เป็นแผ่นทองแดง บางครับ พันรอบ แกน 6+6 รอบ
และ ขด sec เป็นลวดน่าจะเบอร์ 30 ครับตีเกลียว 20 เส้นรวมกัน พันรอบแกน 32+32 รอบ
อยากทราบว่าจะจะเอา มาใช้เป็นหม้อแปลงสวิทชิ่งได้ไหมครับ

มีหม้อแปลงหลายตัวครับ ถ้าต้องการไฟซัก 90 โวลครับ ต้องต่อยังงัยครับ
ขอบคุณครับ

บันทึกการเข้า

ความทุกข์ที่เกินทน จะหลอมคนให้ทนทาน....... เด็กสุรินทร์ครับ
kan
Full Member
member
**

คะแนน78
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2008, 08:44:47 am »

การทำหม้อแปลง รักพี่เสียดายน้องครับ จะเอาโวล์ หรือ กระ แส ได้อย่างไดอย่างหนึ่งครับ ถ้าจะเอาสองอย่าง เปรี่ยนแกนใหม่บ๊อปบิ้นใหญ่กว่าเดิม ลวดโตกว่าเดิม การทำขยาย ทำไมชอบโวล์สูงๆ เป็นความคิดของคนรักเครื่องเสียงคนนึง ใช้หม้อแปลงขนาดเท่าเดิมแต่ใช้โวล์สูง กระแสก็ต้องลดลง คาปาโวลย์สูง ราคาก็สูงตามไปด้วย เวลาอัดมากๆ โวลย์ก็ตกมาก ถึงเสียงไม่แตกแต่ก็ เบส ไม่แน่น ทำไมไม่ทำใช้ไฟไม่สูงมาก แล้ว ชุดจ่ายไฟ จ่ายกระแสได้เหลือ พ่วง OUTPUT เยอะหน่อย แค่นี้ก็ไม่มีลำโพงให้เปิดแล้ว ถ้าไฟฟ้าเมนไม่กระพริบตามเบส อัดไปเลยให้ใส้เดือนอยู่ไม่ได้ ที่ทำๆกัน ส่วนมากทำตามกระแส ความฮิต อาจจะนอกเรื่อง แต่อยากจะให้เอาไปคิด หม้อแปลงสวิทช์ชิ่ง ที่ผมทำ ไม่มีหลักแกนแน่นอน คร่าวๆเท่านี้เอง อยู่ที่องประกอบหลายอย่าง ไม่เหมือน ดีซีคอนเวอร์เตอร์ ผมจะสั่งปรับโวลย์ที่อ๊อปโต้และให้ 431 เป็นตัวโพรเทค สำหรับท่านอื่น ไม่รู้ ก็อยากจะพาทำอยู่หรอก สวิทช์ชิ่ง ไม่ใช่ไฟ12โวล์เหมือดีซีคอนเวอร์เตอร์ ต้องชั่วโมงบินสูงหน่อย ถึงจะทำได้ ที่เข้ามา มีหลายกลุ่ม ผมคงตอบคำถามไม่ไหวหรอก อยู่เงียบๆคงจะดีกว่า
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2008, 09:34:33 am »



ขอบคุณมากครับคุณ kan   คอนเส็ปเดียวกันกับผมเลย
ทำแอ็มป์ใช้ทั้งในบ้านในรถ ผมจะใช้โวลท์ต่ำ แต่กระแสสูง (เพราะลำโพงทำงานโดยใช้กระแส ขับดัน ...ขณะเดียวกันโวลท์ต่อไม่ตกวูบวาบ)
หม้อแปลงแอ็มป์ใช้ไฟบ้านสั่งพันมาเป็นแบบสองชุดใน๑ลูก  38-0-38V 15A rms x2ชุด  กลายเป็นหม้อแปลงขนาด ๒๒๘๐วีเอ  ซึ่งน่าจะเกินพอสำหรับใช้งานทั่วไป (ถ้างานพีเอผมจะใช้ดอกประสิทธิภาพสูงเฉียด ๑๐๐ดีบี  ๘โอห์มสองดอกขนานกัน เป็น ๔โอห์ม  ต่อแอ็มป์ ๑แชแน่ล ครับ)

..ดีใจจังที่ทำสำเร็จครับ  ....ถ้าเรื่อง ไฟ12โวล์ดีซีคอนเวอร์เตอร์ ผมคิดว่า น่าจะผ่านจุดนั้นมาได้แล้วครับ
สำหรับ ทริกในการทำหม้อแปลง ใช้ไฟบ้าน 220V คิดว่าตอนนี้พร้อมที่จะศึกษาแล้วครับ คุณ kan
รบกวนส่งข้อมูลโค้ชชิ่งด้วยครับผม 
mmcaaha@ego.co.th 
ขอบคุณครับ
วัฒน์
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2008, 09:38:07 am »

พึ่งมาสังเกตุว่า  วงจรสวิทชิ่งไฟบ้านบางวงจร  คงคำนึงถึงความปลอดภัย  จึงใช้ซีโพลีค่าไม่มาก แต่ตัวใหญ่ โวลท์สูง คัปปลิ้งสัญญาณพัลช์ผ่านหม้อแปลงเอ้าท์พุท แล้วเอาไปใช้งานอีกที 
วิธีการนี้ การพันลวดหม้อแปลงจึงมีจำนวนรอบต่างออกไปได้หลากหลาย  เพราะทำงานเฉพาะสัญญาณพัลช์แรงๆ  ไม่เกี่ยวกับดีซีโวลท์เลย
บันทึกการเข้า
hs5icj
วีไอพี
member
***

คะแนน118
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 191


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2008, 11:39:05 am »

เพิ่มเต็มคุณเคนครับ การทำสวิทชิ่งมือใหม่เรื่องการหาจำนวนรอบออก   สำหรับคนมีสโคป  ให้เอาเส้นลวดพันเข้าไปกับหม้อแปลง 1 รอบ เอาสายสโคปวัดสัญญาณออกมา 
 ปรับแรงดันให้ได้ตามต้องการ  พัลช่วงที่เกิดจะในช่วงที่ปกติยังไม่มีการใช้กระแสมาก ผมจะให้ไม่เกิน 10%  จาก 50%   เมื่อมีการใช้กระแสมาก โวลท์ตก ภาคควบคุมก็จะสร้างพัล
กว้างขึ้น   แต่ห้ามเกิน 50 เกินนั้นแกนอิ่มตัวร้อนพัง   
  ถ้าดูจากปติพัลกว้างยังไม่ใช้กระแสแสดงว่าเราพันลวดน้อยให้เพิ่มเข้าไปอีก 
ถ้ามากไปพัลจะน้อยไฟตกเร็วภาคควบคุมจะทำงานไม่เสถียร   

 พอละครับพิมไม่เก่ง ยังงัยลองพิจารณาดูนะครับอย่าเชื่อทั้งหมดให้ลองดู
บันทึกการเข้า
kan
Full Member
member
**

คะแนน78
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



« ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2008, 11:50:46 am »

ตามที่ท่าน hs5icj บอก ผมก็ไม่เคยครับ อ่านแล้วผมก็งง นึกภาพไม่ออก ขอรีเพล์ชัดๆได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
hs5icj
วีไอพี
member
***

คะแนน118
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 191


« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2008, 10:13:31 am »

หลักการ  ก็คือดูช่วงที่จ่ายกระแสน้อยพัลวิดก็ต้องแคบ  เฟสทำงานน้อย     แต่ถัเราพันลวดน้อย เฟสก็ต้องทำงานมากเพื่อให้ได้แรงดันตามต้องการ ซึ่งเฟสน่าจะทำงานมากช่วงที่วงจรต้องการกระแสมาก
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2008, 05:03:30 pm »

เอาอย่างนี้ดีไหมครับ  เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ  ก่อนจะงงไปกันใหญ่

ขอเชิญท่านทั้งหลาย มาช่วยกันแชร์ วิเคราะห์วงจรกันก่อนว่า วงจร(สองวงจรที่ผมหยิบเอามาจากในกระทู้อื่น  ขอบคุณคนโพสท์มากครับ)
เหล่านี้ ทำงานได้หรือไม่ได้เพราะอะไร
หม้อแปลงที่พันไว้ตามรอบที่บอก  ดีแล้ว หรือสามารถทำให้ดีกว่า  เพราะอะไร  ควรทำอย่างไร เป็นต้น
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2008, 05:06:20 pm »

อีกหนึ่งวงจรครับ  ชัดเจนดีมาก
บันทึกการเข้า
ninja_mosfet
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2008, 11:13:27 pm »

อิอิ
วงจรก่อนหน้า์ ในรูปเขียนว่า 50kH SMPS Sad
แต่ผมว่าดูจากวงจรแล้วมันจะทำงานที่ 100-120 kH นะครับ น่าจะมีอะไรผิดพลาดนะ
เพราะถ้าทำงานที่ 50kHz ถ้าใช้แกน ETD59 ควรใช้ค่า delta B เท่ากับ 200mT คำนวณแล้วได้ 43 รอบ ครับ ถึงจะพอดี

แต่ในวงจรนั้นมันทำงานที่ 120kHz ถ้าใช้แกน ETD59 ควรใช้ค่า delta B เท่ากับ 120mT คำนวณแล้วได้ 30 รอบ ครับ ถึงจะพอดี 24 รอบน้อยไป
การคำนวณนี้รองรับในกรณีที่ความกว้างพัลซ์สูงสุดนะครับ (49%) และพัลซ์สูง 310V ดังนั้น ใช้ได้หมด สำหรับ full bridge หรือ push pull แต่ใช้กับ Half bridge ไม่ได้ๆๆๆ นะ
อิอิ แต่ถ้ามีผู้แย้งว่า เคยสร้า้งแล้วใช้จำนวนรอบต่างจากนี้ก็ยังใช้ได้เหมือนกัน ถูกครับ ใช้ได้ แต่กำลังสูญเสียในแกนมันจะเยอะ (แกนร้อน) หรือ วงจรอาจจะกินกระแสแม้ไม่มีโหลด (เฟทร้อน) อิอิ

ถามว่า ถ้าพันเยอะกว่านี้ล่ะ ตอบคือ ไม่มีประโยชน์แต่มีโทษครับ ลวดยาวขึ้น กำลังสูญเสียในลวดมากขึ้น แรงดันตกมากขึ้น อิอิ
อ้างอิง ทฤษฎีการสร้า้งนะครับ ถ้าผิดพลาดขออภัยด้วย การสร้า้งคำนึงถึง กำลังสูญเสียในแกนให้น้อยที่สุด และกำลังสูญเสียในลวดน้อยที่สุดครับ อิอิ
ฝากอีกนิด ถ้าใครใช้แกน ETD 49 จำนวนรอบก็จะต่างจากนี้นะครับ ไม่ควรใช้ค่าเดียวกันอย่างยิ่ง

เป็นความเห็นของกระผมนะครับ อิอิ อาจไม่ถูกก็ได้ รอคนอื่นเสริมละกัน

 
บันทึกการเข้า
ninja_mosfet
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2008, 02:05:16 am »

เอ..... แต่วงจรนี้มันเปนฮาร์ฟบริดจ์นี่นา คำนวณแบบฮาร์ืฟบริดจ์ ก็ได้ 30 รอบ ที่ 120kHz เหมือนเดิม
แสดงว่าใช้ด้วยกันได้ ถ้า สัญาณดิวตี้ไซเคิล 50 % นั่นเอง
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2008, 06:08:01 pm »

เริ่มเข้าทางครับผม

แล้วทีนี้เจ้าหม้อแปลงแยกพัลช์ ที่ทำหน้าที่ไอโซเลทไดรฟ์  หละครับ  พันยังไง  คำนวณยังไงครับ  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
prawit penboon
member
*

คะแนน35
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 345


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2008, 04:48:53 pm »

..
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2008, 10:10:52 am »

ขอบคุณมากครับ คุณ Prawit
วงจรโซลิทสเตทแบบนี้มันสามารถทดแทนหม้อแปลงไดรฟ์ได้จริงๆด้วย  เพียงแต่มันอาจจะเสี่ยงไปนิดนึง  ไม่ไอโซเลทไฟสูง


ยังไม่เข้าใจเรื่อง I & P ที่จ่ายเอ้าท์พุทออกมาได้จริงครับ
จากวงจร  ถ้าผมยังต้องการ +-50V ตามเดิม  แต่ต้องการกำลังเป็น 3000VA   (I=30A) แกนที่ใช้ควรจะมีขนาดเท่าใดครับ
เช่นถ้าผมจะใช้แกนทอรอยดัล 8 cm สองแกนซ้อนกัน  พอไหมครับ
ขาเข้าเบิ้ลลวดเป็น ๔เส้น และ IRFP460 เพิ่มเป็น ๔คู่ (๔ชุด)
ขาออก เบิ้ลลวด ๔ชุดเช่นกัน

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
prawit penboon
member
*

คะแนน35
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 345


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2008, 11:13:03 pm »

เอาจำนวนรอบ  กับค่าแรงดันไปก่อน  รอค่ากระแสมาคูณก็เป็นเพาเวอร์
บันทึกการเข้า
prawit penboon
member
*

คะแนน35
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 345


อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2008, 12:20:49 pm »

ไม่มีผลการทดลองมายืนยันนะครับโปรดพิจารณา...ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
NUILOSO
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #20 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 11:44:50 am »

ผมพันหม้อแปลง primary 33 /second 15 รอบ 2 ขอ แต่พอ จ่ายไฟเข้าวงจร หม้อแปลงร้อง วัดไฟที่เอาท์พุทได้150โวลท์ แต่ ใช้หลอดไฟ 220 V ต่อเข้าที่ขั้ว+- เอาท์พุต ไฟไม่ติดเลยและแรงดันก็ไม่ตกด้วย งง อย่าแรงใครให้คำตอบได้บ้างครับ
 
บันทึกการเข้า
zeroshi
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 142


..เด็กเทคนิคอุบลแล้วครับ..

sonwent@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 10:50:24 am »

หลอดไฟขาดอ๊ะป่าว....ล้อเล่นครับ
ลงเชคสายไฟดูดีๆครับว่าเป็นไงบ้างขาดหรือชำรุดหรือปล่าว
ถ้าใครอยากลองออกแบบหรือทำพวกนี้ดูก็ลองไปหาหนังสือเล่นนี้ดูอาจเป็นทางเลือกครับ

หนังสือการออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซับพลาย
หน้าปกเป็นรูบซับพลายของคอมพิวเตอร์อ่ะครับลองดูครับผมก็กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
NUILOSO
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #22 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 11:15:11 am »

ขอบคุณ คุณ Zeroshi ครับ ตอนนี้ ได้แล้วครับมันขึ้นอยู่กลับการพันหม้อแปลงนั้นเองครับ ตอนนี้ Work สุดๆ output ออกบวกลบ 95 โวลท์ ประมาณ2500วัตต์ ได้ พัลท์ทำงานที่95% พอ เฟตอุ่นๆ หม้อแปลงไม่ร้อน จ่ายpower amp 2000 W / ch สบายเลยครับ
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 02:09:58 pm »



"ตอนนี้ ได้แล้วครับมันขึ้นอยู่กลับการพันหม้อแปลงนั้นเองครับ "

รบกวนเฉลยด้วยครับผม  ว่าทำอย่างไร   ขอภาพประกอบด้วยยิ่งดีครับผม

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
boom
member
*

คะแนน9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217

boom464_44@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 10:44:22 pm »

ขอถามนิดนึงนะครับ ถ้าเราเปลี่ยนแกน ETD59 เป็นแกน EI-35 ที่มีขายในร้านนัฐพงษ์ จะได้ไหมครับ แล้วถ้าได้ต้องเปลี่ยนอะไรต่อบ้างอ่ะครับ เช่น พวกเบอร์ลวด รอบของขดลวด ต้องเปลี่ยนแปลงไหมครับ
บันทึกการเข้า
NUILOSO
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #25 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 05:54:19 pm »

ตอนนี้กำลังประกอบอยู่ทำ PCB ใหม่เดี๋ยว ประมาณต้นเดือนจะเอามาให้ชมครับ หาโรงงานพันหม้อแปลงอยู่ด้วยครับถ้ารูปก็ขอคำแนะนำด้วยครับ
 
บันทึกการเข้า
prawit penboon
member
*

คะแนน35
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 345


อีเมล์
« ตอบ #26 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 06:26:15 pm »

หลอดไฟขาดอ๊ะป่าว....ล้อเล่นครับ
ลงเชคสายไฟดูดีๆครับว่าเป็นไงบ้างขาดหรือชำรุดหรือปล่าว
ถ้าใครอยากลองออกแบบหรือทำพวกนี้ดูก็ลองไปหาหนังสือเล่นนี้ดูอาจเป็นทางเลือกครับ

หนังสือการออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซับพลาย
หน้าปกเป็นรูบซับพลายของคอมพิวเตอร์อ่ะครับลองดูครับผมก็กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ
ส่วนผมชอบที่ปกหลังครับ ตรงที่ขีดเส้นไว้....
รู้จัก ฟลายแบค  สนับเบอร์  FALME RETARDANT FERROX CUBE ฯ...ก็เล่มนี้แหละ
บันทึกการเข้า
prawit penboon
member
*

คะแนน35
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 345


อีเมล์
« ตอบ #27 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 08:28:40 am »

แก้ไขครับ FLAME RETARDANT  ต้านทานการติดไฟ
บันทึกการเข้า
zeroshi
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 142


..เด็กเทคนิคอุบลแล้วครับ..

sonwent@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #28 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2008, 01:30:48 pm »

คนนี้หล่ะครับช่ายเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!