สวดมนต์ทำวัตรเย็น wmv.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ทำวัตรเย็น wmv.  (อ่าน 6370 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 02:22:20 pm »

ถ้าขี้เกียจภาวนาก็...เปิดฟังเช้าเย็นจะเป็นมงคลกับชีวิตครับ

<a href="http://www.oknation.net/blog/home/video_data/824/8824/video/6890/6890.mp3" target="_blank">http://www.oknation.net/blog/home/video_data/824/8824/video/6890/6890.mp3</a>

สวดมนต์ทำวัตรเย็น

( คำบูชาพระรัตนตรัย )

โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
( พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้โดยชอบแล้ว )
สวากขาโต เยนะภะคะวะตา ธัมโม
( พระธรรมคือ ศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
( พระสงฆ์คือ ผู้ทรงวินัย ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว )
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังโฆ
อิเมหิ สังกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
( ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งพระสัทธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ขาพเจ้าได้ยกประดิษฐานไวดีแล้ว
ในที่อันสมควรอย่างยิ่ง เช่นนี้ )
สาธุโน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
( พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานแล้วก็ตาม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่ แก่สาธุชนทั้งหลาย )
ปัจฉิมา ชะนะตา นุกัมปะมานะสา
อิเม สักกาเร ทุคคะตะ ปัณณาการะภูเต ปะฏิคคันหาตุ
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
( ขอรับเครื่องสักการะบรรณาการของคนยากเหล่านี้ด้วย เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชนผู้เกิดแล้วนภายหลังด้วย
เพื่อเป็นประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ )

( คำนมัสการพระรัตนตรัย )

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
( พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ; )
พุทธัง ภควันตัง อะภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
(กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;
ธัมมัง นะนัสสามิ.
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.
(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
(กราบ)

--------------------------------------------------------------------------------
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส. )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
( ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ; )
อะระหะโต
( ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ; )
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
( ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง )
( ๓ ครั้ง )


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
( ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า )

อิติปิ โส ภะคะวา( เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง, ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส )
สัมมาสัมพุทโธ, ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน, ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต, ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี )
โลกะวิทู, ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ,
( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ, ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
ภะคะวา ติ. ( เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้ )

(๒.. พุทธาภิคีติง )
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
( พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น )
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
( มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์ )
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
( พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน )
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง.
( ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า )
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
( พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย )
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.
( ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า )
พุทธัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
( ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า )
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.
( พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า )
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
( ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า )
วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
( ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า )
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
( สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า )
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
( ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา )
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่พระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
( อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น )

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ .
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------


(๓ . ธัมมานุสสติ )
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก, ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก, ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก, ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ )

(๔. ธัมมาภิคีติ )
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)
สฺวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
( พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ
คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น )
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
( เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน )
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
( เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว )
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
( ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด )
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
( พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย )
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
( ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า )
ธัมมัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
( ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า )
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
( พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า )
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
( ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม )
วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
( ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม )
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
( สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า )
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
( ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา )
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
( ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้ )
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
( อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น )

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ( ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี )
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
( กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม )
ธัมโม ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง, ( ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น )
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม. ( เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป )

(๕. สังฆานุสสติ )
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
( คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย, ( เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย, ( เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเณยโย, ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
อัญชะลิกะระณีโย, ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
( เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

(๖. สังฆาภิคีติ )
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
( พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น )
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
( เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก )
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
( มีกายและจิต อันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้น อันบวร )
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง.
( ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี )
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
( พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย )
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.
( ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็ที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า )
สังฆัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
( ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า )
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.
( พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า )
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
( ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์ )
วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
( ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์ )
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
( สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า )
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
( ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนา ของพระศาสดา )
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
( ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้ )
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
( อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น )

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ( ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี )
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
(กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์ )
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ( ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น )
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ. ( เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป )


กรวดน้ำอิมินา
( หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส )
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
( ด้วยบุญนี้ อุททิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ )
อาจะริยูปะการาจะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา ( ปิยา มะมัง )
( และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ )
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
( สูรย์จันทร์ และราชา ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ )
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา
( พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล )
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
( ยมราช มนุษย์มิตร ผุ้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ )
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
( ขอให้สุขศานติ์ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน บุญผองที่ข้าทำจงอำนวยศุภผล )
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง
( ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน )
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
( ด้วยบุญนี้ที่เราทำ และอุทิศให้ปวงสัตว์ )
ขิปปังหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
( เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน )
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
( สิ่งชั่วในดวงใจ กว่าเราจะถึงนิพพาน )
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
( มลายสิ้นจากสันดาน ทุกๆ ภพ ที่เราเกิด )
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
( มีจิตตรง และสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย )
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
( โอกาส อย่าพึงมี แก่หมูมารทั้งสิ้นทั้งหลาย เป็นช่อง ประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม )
พุทธาทิปะวะโร นาโถธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
( พระพุทธผู้วรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม )
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
( พระปัจเจกะพุทะสมทบ พระสงฆ์ ที่ผึ่งพยอง )
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา
( ด้วยอานุภาพนั้น อย่าเปิดโอกาสให้แก่มาร ( เทอญ)

( หันทะ มะยัง อะภิณหะปัจจเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส )

ชะรา ธัมโมมหิ ชะรัง อะนิตีโต
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
พะยาธิ ธัมโมมหิ พะยาธิง อะนะตีโต
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต
เรามีความตายเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งหมดทั้งสิ้น
กัมมัสสะโกมะหิ กัมมะทายาโท
เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
กัมมะปะฏิสาระโณ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสามิ เราทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณํง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่วก็ตาม
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: