ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา
อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,
การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น
การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้
คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท
อวิชชาปัจจะยา สังขารา ( เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี )
สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ( เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี )
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ( เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี )
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ( เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี )
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ( เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี )
ผัสสะปัจจะยา เวทนา ( เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี )
เวทะนายะปัจจะยา ตัณหา ( เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี )
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ( เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี )
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ( เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี )
ภะวะปัจจะยา ชาติ ( เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี )
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
( การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )
อวิชชายะ เตววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
( เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ )
สังขาระนิโรธา วิญาณะนิโรโธ ( เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ )
วิญญาณะนิโรธา นามรูปะนิโรโธ ( เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ )
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ ( เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ )
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ ( เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ )
ผัสสะนิโรธา เวทนานิโรโธ ( เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ )
เวทนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ( เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ )
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ ( เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ )
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ( เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ )
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ ( เพราะภพดับ ชาติจึงดับ )
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจจึงดับ )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ
( การดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )