เรียนรู้ดูบัว 150 สายพันธุ์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 03:00:38 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนรู้ดูบัว 150 สายพันธุ์  (อ่าน 16575 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2008, 07:34:40 am »





“พิพิธภัณฑ์บัว”เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

“ ดอกบัว ” ดอกไม้ที่คนไทย นำมาใช้บูชาพระและผูกพันกับวิถีไทยมาช้านาน ความงามของดอกบัวดูเพียงเผินๆสามารถมองหาความงามได้โดยง่ายดาย แต่น้อยคนนักที่รับรู้ความจริงว่า ดอกบัวสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์ไทยแท้ ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยเต็มที หากไม่มีการอนุรักษ์รักษาไว้

โชคดีที่ในวันนี้ มีพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งสำคัญรวบรวมพันธุ์บัว ปลูกรักษา ศึกษาการใช้ประโยชน์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์บัวทั้งไทยและต่างประเทศไว้

ที่มาของพิพิธภัณฑ์บัวแห่งนี้  ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พาย้อนความไปว่า หลายปีก่อนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่จบการศึกษา ด้วยสายพระเนตรยาวไกลทรงเห็นว่าเมืองปทุมธานีเป็น ถิ่นบัวหลวง ซึ่งนับวันจะสูญพันธุ์ไปจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ ดำเนินโครงการอนุรักษ์ศูนย์รวบรวมพันธุ์บัวไว้ ในปี2543  พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น มีการรวบรวมสายพันธุ์บัวต่างๆจากกลุ่มผู้ปลูกบัว ไปหาตามแหล่งต่าง ๆทั้งเก็บและซื้อจากพันธุ์ เริ่มแรกมีพันธุ์บัวเพียง 40 สายพันธุ์




ผศ.ภูรินทร์เล่าว่า  ในอดีตปทุมธานีได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นบัวหลวง แต่ด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ทำให้หาดูบัวหลวงได้ยากเต็มที ท้องทุ่งนา ท้องทุ่งคลองที่เคยมีบัวหายไป มีปัญหาโรคแมลง หอยเชอร์รี่ระบาดซึ่งหอยเชอร์รี่เป็นศัตรูร้ายของบัว ชุมชนรุก โรงงานอุตสาหกรรมรุก น้ำที่เคยสะอาดมีน้ำเสียไป ธรรมชาติไม่สมดุล ถ้าไม่หาพื้นที่เพาะพันธุ์บัวจะสูญพันธุ์

หลังจากรับทราบแนวพระราชดำริในครั้ง ในปีพ.ศ.2546 ได้นำพิพิธภัณฑ์บัว เข้าโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เริ่มมีความหลากหลายขึ้น มีการเก็บรวบรวมสายพันธุ์เพิ่มขึ้นมากมายกระทั่งในปัจจุบันมีบัวพันธุ์ไทยพื้นเมือง พันธุ์สายพันธุ์ต่างประเทศและพันธุ์ผสมมากกว่า 150 สายพันธุ์บนเนื้อที่18 ไร่ ทั้งในรูปแบบที่อยู่ในกระถางและบึงน้อยใหญ่ พร้อมกันนี้จัดกิจกรรมปลูกรักษาบัวไม่ให้สูญหาย มีศูนย์ข้อมูลสายพันธุ์บัว , กิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้ความรู้อนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชและกิจกรรมพิเศษรูปแบบทั้งจัดนิทรรศการและบรรยายให้ความเกี่ยวกับเรื่องบัว




นักพฤกษศาสตร์แบ่งบัวเป็น 3  สกุล 1. บัวหลวงหรือปทุมชาติ บัวสกุลนี้คนไทยนิยมนำไปไหว้พระ และนำรากทำอาหาร, 2. บัวฝรั่ง บัวผัน บัวเผื่อน บัวสายและจงกลนีซึ่งแยกเป็น 2 ชนิด คือ บัวบานกลางวันได้แก่ บัวฝรั่ง บัวเผื่อนและบัวผันซึ่งเป็นดอกบัวที่มีกลิ่นหอมมาก ส่วนบัวบานกลางคืนคือ บัวสาย ส่วนบัวสกุลที่ 3 คือ สกุลบัวกระด้งหรือบัววิคตอเรีย

ผศ.ภูรินทร์ เล่าให้ฟังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมบัวสวยงามและหายาก ไว้จำนวนมาก อาทิ “บัวจงกลนี” มีอยู่ที่นี่เท่านั้นเท่านั้น  เป็นบัวพันธุ์ไทยแท้ และมีที่ประเทศไทยที่เดียวในโลก มีมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สมัยพระบรมไตรโลกนาถประมาณ 700 -800 ปี ความเด่นของ “บัวจงกลนี” มีดอกตูมป้อมสีชมพูอ่อน มีกลีบขึ้นซ้อนเยอะและหนากว่าบัวทั่วไป ด้วยธรรมชาติที่สร้างกลีบดอกมาก ทำให้ดอกบานไม่หุบ งามตลอด

 “บัวนางกวัก” บัวที่จัดอยู่ในประเภทบัวผัน เด่นตาตรงกลีบเลี้ยงสีเขียวคล้ายรูปทรงดอกบัวตูมตัดสีกลีบดอกบัวที่มีทั้งสีขาว แดง ชมพู ม่วงและเหลือง




ไม่เพียงบัวสายพันธุ์เก่าแก่ที่หาชมยากและมีให้ชมเพียงที่พิพิธภัณฑ์บัวแห่งเดียวเท่านั้น ยังมีบัวสายพันธุ์ใหม่ชื่อ มังคลอุบล เป็นบัวฝรั่งสัญชาติไทย ดอกมีสีส้มแสด ดอกออกตลอดทั้งปี บัวชนะเลิศการประกวดบัวโลกเมื่อปี 2543ซึ่งผศ. ภูรินทร์ แทรกความรู้เกี่ยวกับบัวมังคลอุบลไว้ว่า ปกติบัวฝรั่งพักตัวตอนหน้าหนาว แต่บัวมังคลอุบล เป็นบัวฝรั่งสัญชาติไทย มีปรับตัวแล้วดอกจะออกตลอดทั้งปี มีดอกใหญ่ เติบโตง่าย                             

ส่วนบัว2 สายพันธุ์ใหม่ที่พบล่าสุด ที่ตั้งใจนำเข้าร่วมประกวดสมาคมบัวโลก (International Water Lily and Water Garden Society) หรือ IWGS ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2551 มีให้ชมชื่อบัว "ธัญกาฬ" เป็นบัวกลุ่มสายเขตร้อน บานเวลากลางคืน ดอกตูมทรงดอกค่อนข้างเรียวยาว สีแดงเหลือบเขียวที่โคนดอก

ความเด่นของบัวธัญกาฬ เวลาดอกบาน จะเห็นความงามของสีกลีบดอก ออกสีแดงเหลือบม่วงบริเวณขอบกลีบทั้ง2 ข้าง กลีบเลี้ยงด้านในมีสีแดงชมพู ด้านนอกมีสีน้ำตาลมีขีดเส้น 5 ทรงดอกบานแผ่ครึ่งวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 12-15 ซ.ม. การให้ดอกจะทยอยออกดอกตามกันบานอยู่ 3 วัน




สายพันธุ์ที่ 2 ชื่อว่า "รินลอุบล" เป็นบัวลูกผสมเปิดเกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์บัว ลักษณะใบอ่อนเป็นรูปไข่ หน้าใบสีเขียว มีแถบสีน้ำตาล หลังใบสีเขียว มีกระสีน้ำตาลแดงเข้มทั่วไป ใบแก่มีสีเช่นเดียวกับใบอ่อน ดอกตูมโคนดอกโคนกว้างปลายเรียวมีจุดกระปลายเข็มสีน้ำตาล ดอกบานสีกลีบดอกปลายกลีบมีสีชมพู   เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 12-18 ซ.ม. กลิ่นหอมเล็กน้อย
       
ผศ.ภูรินทร์บอกถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับบัวว่า  บัวได้ชื่อว่ามีความงาม ต้องมีคุณสมบัติคือ สีต้องสวย รูปทรงของดอก กลีบดอกยิ่งมีมากชั้นยิ่งสวยงาม กลิ่นหอม บัวทุกชนิดมีกลิ่นหอมอยู่แล้ว แต่จะหอมมากหอมน้อยเท่านั้น เพราะดอกบัวต้องใช้กลิ่นล่อแมลง บัวสายพันธุ์ใหม่ตั้งชื่อนั้นจะดูจากสี การตั้งชื่อบัวต้องเป็นผู้หญิง บัวมาจากนิมเฟีย “ Nymph” แปลว่า เทพธิดาแห่งไม้น้ำ ต้องตั้งเป็นชื่อเพราะๆ ส่วนการมาดูบัวที่พิพิธภัณฑ์บัว ควรมาประมาณ 9 โมงเช้า ช่วงสายอากาศดี ไม่ร้อน แต่ที่สำคัญจะได้ชมความงามของบัวบานกลางคืนและบัวบานกลางวัน




“ต่อไปในดอกบัวคงไม่ใช่ดอกไม้งามที่สายตามองความงามแค่ผ่านเลยเท่านั้น หากว่าดอกไม้งามประเภทนี้คงย้ายมาอยู่ในความรู้สึกที่ดี ที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ไว้ตกเป็นมรดกทางธรรมชาติสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในวันข้างหน้าอย่างจริงจังเสียที” ผู้รู้เรื่องบัวทิ้งท้าย



บันทึกการเข้า

watchareeya
member
*

คะแนน175
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 06, 2009, 09:57:34 pm »





บันทึกการเข้า
watchareeya
member
*

คะแนน175
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 06, 2009, 09:58:20 pm »





บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!