บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 01:36:17 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด  (อ่าน 44845 ครั้ง)
aj anucha
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47


« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2008, 10:27:12 pm »

ตู้เปิด vs ตู้แบนด์พาส
ผมยังคงใช้เวลาหลายวันในการตรึกตรอง สมควรสนองตอบกระทู้ท่านนี้หรือไม่ ? แม้เจ้าของกระทู้ได้ใช้สิทธิ์อันชอบธรรมในการอ้างสิ่งที่ผมได้พูดไปในรายการไฮไฟประดับยนต์ว่า “ตู้แบนด์พาสดังกว่าตู้เปิด” และหลังจากนั้นก็มีคนตอบแย้งผมมาว่า “ตู้เปิดดังกว่าตู้แบนด์พาส” ในรายการเดียวกัน โดยคนที่พูดแย้ง ได้แจงจากภาพที่เห็น จากการแข่งขันความดังหลายสถาบัน ที่ส่วนใหญ่ใช้ตู้เปิดกันนั้น คืนนั้น… ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่นักฟังรายการดังกล่าวทั่วล้า ผมได้รับรู้กระทู้นี้มาหลายวันจากคุณชานนท์ เจนกิตติยนต์ ในฐานะเจ้าของเว็บ แต่… ผมยังคงรักการเก็บตัวมากกว่าที่จะกระทู้ตอบ เพราะอาจถูกลอบโจมตี จากฝ่ายไหน ผมยังไม่รู้อยู่ถึงทุกวันนี้! … จากการตรวจสอบ คุณชานนท์ เจนกิตติยนต์ ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์ อยู่ระดับที่ไว้ใจได้ คงไม่ปล่อยให้เว็บไซต์ของตัว กลายเป็นเว็บไซต์ที่ด่าทอกันมั่ว กลายเป็นเว็บไซต์ถั่วๆในที่สุด … ที่สุดผมคงต้องตอบ และเนื่องจากว่ากว่าผมจะตอบก็เสียเวลาไปหลายวัน ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทู้ตกหล่น ผมจึงหยิบเฉพาะกระทู้ขึ้นมาใหม่โดยไม่ได้สนใจคำตอบของอีกหลายท่านที่ตามหลังเข้ามาแสดงความคิดเห็น
เมื่อพิจารณาอย่างเป็นธรรม วลีคำที่ผมได้พูดออกไปหรือแม้แต่คำพูดของบุคคลที่เห็นแย้งกับผมล้วน “ถูกทั้งคู่” แต่สิ่งที่พูด ผูกเหลี่ยมไว้คนละเหลี่ยม จึงดูเหมือนว่า “มีการขัดแย้ง” แต่ข้อเท็จจริง เราเล่นกันคนละสนาม การตีความจึงเป็นคนละเรื่อง
สนามที่ผมเล่นคือ สนามของการฟังเพลงทั่วไปในรถ ซึ่งมีเมโรดี้และโน๊ตเพลงกำกับ
ส่วนสนามของคนที่พูดแย้งเป็นสนามการแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน ย่อมรู้แก่ใจว่า การแข่งขันความดังนั้น ใช้ความถี่เดียวเพียวๆในการตัดสิน ไม่ใช่โน๊ตเพลงและไม่มีเมโรดี้ เราเรียกความถี่ที่ใช้สำหรับการแข่งขันว่า “รูปซายน์”(sine wave)
เรามาดูรายละเอียด … หลักการและเหตุผลกันต่อไป ซึ่งผมจะพยายามใช้ภาษาให้ง่ายที่สุด
ตู้แบนด์พาส เริ่มเล่นกันเมื่อประมาณ 74 ปีที่ผ่านมา เพื่อการฟังเพลง ลำโพงที่ใช้รูปแบบของตู้แบนด์พาสที่โด่งดังคือลำโพง Bose โดยใช้คุณสมบัติของตู้ปิดและตู้เปิดในแต่ละส่วน กรองความถี่ด้วยระบบตัวตู้เอง จึงทำให้ลำโพง Bose ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่ผลิตกำลังงานได้ดังมาก โดยในส่วนของตู้เปิดใช้ค่าตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งในการคำนวณ เรียกว่า S หรือ Band pass Ripple หรือ Variation in magnitude response หรือระดับการกระเพื่อมของขนาดของรูปคลื่น ส่วนตู้ปิดนั้น ใช้ค่าตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งเป็นฐานคำนวณเช่นกันเรียกว่าค่า Qbp
ค่า Qbp ที่ว่า จะเป็นค่าที่ใช้เป็นฐานการคำนวณ เพื่อกำหนดช่วงกว้างของความถี่สำหรับการใช้งาน(Band pass) ดังนั้น เมื่อระบบตู้มีการกรองความถี่ในตัวมันเองทั้ง 2 ส่วน คือตู้ปิดและตู้เปิด การตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาส จึงมีความแตกต่างไปจากตู้เปิดและตู้ปิด ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของตู้แบนด์พาส เราจะพบว่าการตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาสเป็นไปลักษณะของช่วงความถี่แคบๆ เช่น ตอบสนองความถี่ระหว่าง 40 – 160 Hz เป็นต้น ลักษณะการตอบสนองความถี่ช่วงแคบๆเช่นนี้ รูปคลื่นจึงมีลักษณะของการ “พีค”(Peak) ของรูปคลื่นหรือมีลักษณะเป็นภูเขาแหลมพุ่งสู่ท้องฟ้า ซึ่งมีผลต่อความดังที่มาพร้อมกับตัวของรูปคลื่นอย่างปราศจากข้อสงสัย เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่า …
เมื่อลำโพงในตู้แบนด์พาสต้องทำงานภายในกรอบของตู้ปิดและตู้เปิดนั้น กำลังงานที่พุ่งตัวออกจากดอกลำโพง จะถูกกักด้วยระบบตู้ปิดและตู้เปิดไม่ให้ไปไหน แต่จะไหลออกจากท่อที่กำหนดเพียงทางเดียวเท่านั้น เมื่อกำลังงานที่เกิดจากหน้าดอกลำโพงทั้งหมด ถูกบังคับให้ออกเพียงทางเดียว อากาศจึงอยู่ในสภาวะถูก “รีด” อย่างแรงและฉับพลัน การรีดอากาศอย่างแรงและฉับพลันนี้เอง จึงทำให้ตู้แบนด์พาสมีประสิทธิภาพสูง นั่นก็คือมีความดังมากกว่าระบบตู้เปิด ซึ่งรูปคลื่นของตู้เปิด ไม่อยู่ในสภาวะของการถูกรีดอากาศเหมือนกับตู้แบนด์พาส เพราะการทำงานของตู้เปิด ดอกลำโพงจะถูกยึดอยู่ที่หน้าตู้อย่างเปิดเผย ไม่ได้อยู่ในตู้ที่ปิดทึบเหมือนตู้แบนด์พาสนั่นเอง
ขอยกอุปมาอุปมัยง่ายๆ เพื่อเทียบเคียงให้เห็นภาพดังนี้ เหมือนเวลาพวกเรารดน้ำต้นไม้ เมื่อเราเปิดก๊อกน้ำ น้ำจะไหลมาตามสายยาง จะแรงมากแรงน้อยก็ขึ้นอยู่กับแรงดันของน้ำจากน้ำก๊อกที่เราเปิดเอาไว้ แต่เมื่อเราทำการบีบปากสายยางให้ตีบลงเมื่อไร เราจะพบว่า น้ำนั้น พุ่งแรงขึ้น ฉันใด รูปคลื่นที่ผ่านจากท่อ ที่บังคับให้อากาศออกทางเดียว จึงไม่ต่างไปจากการรีดของน้ำ เมื่อเราบีบสายยางให้ตีบลง ฉันนั้น …
เพราะรูปคลื่นถูกรีดออกมาจากตัวท่อเพียงทางเดียว อากาศที่ถูกรีดออกเพียงทางเดียวโดยผ่านท่อ จึงมีลักษณะของการพีคของรูปคลื่น เมื่อเราฟังเพลง เสียงเบสจากตู้แบนด์พาสจึงดังกว่าตู้เปิดด้วยเหตุผลนี้ แม้จะมีความดังมากกว่าตู้เปิดในแง่ทฤษฎีทางเสียง แต่เป็นความดังที่ได้จากตู้แบนด์พาส เสียงเบสจะดังแบบตึงๆ ห้วนๆสั้นๆ โด่งๆ ถ้าการคำนวณผิด เสียงเบสจะอื้ออึง เหมือนดังเพราะแรงลมมากกว่า ดังมาจากหน้าดอกลำโพง เพราะเหตุนี้ เสียงเบสที่ได้จากตู้แบนด์พาสจึงขาดน้ำหนักของเนื้อเบส โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงปะทะ ซึ่งเป็น 1 ในอุดมคติของเสียงเบสที่ดี ขอให้พวกเราสังเกตให้ดีจากรถของคุณหรือของเพื่อนฝูง
ตั้งใจว่าจะอ้างสูตร แต่เปลี่ยนใจ เนื่องจากมันต้องอ้างอิงหลายสูตร ยากต่อการเข้าใจ จึงขออ้างอิงสำนวนฝรั่งที่พูดไว้ในตำรา ซึ่งผมขอตัดมาแค่บางประโยคเท่านั้น พิจารณาอ่านด้วยตัวของคุณเอง
“the efficiency of the subwoofer system within that bandwidth increases and can reach gains of up to 8 dB(sometime even higher) จาก JL Audio: Tutorials: Magic box … Page 1 of 3
“Acoustical gain can be built in. This means that one speaker can be as loud as four of more at a limited part the spectrum. จาก Kicker Enclosure Training
ดังนั้น ตู้แบนด์พาสจึงดังกว่าตู้เปิด ไม่ว่าเราจะมองทางกายภาพของตู้ หรือมองจากสูตรการคำนวณ แต่พวกเราอาจจะสงสัย ทำไม! ตู้แบนด์พาส จึงไม่นิยมใช้ในการแข่งขันทั้งๆที่มันดังกว่าตู้เปิด แต่จะใช้ตู้เปิดเสียส่วนใหญ่ … คำตอบมีให้ ณ บัดนี้ และตั้งใจอ่านให้ดี อ่านช้าๆ และจินตนาการตามด้วย
แม้ตู้แบนด์พาสจะใช้วิธีรีดอากาศออกจากตู้โดยผ่านท่อ ก่อให้เกิดความดังกว่าตู้เปิดในแง่ของสูตรและการใช้งานในการฟังเพลง แต่ตู้แบนด์พาสก็ไม่ได้รับความนิยมสำหรับการแข่งขัน เพราะตู้แบนด์พาสมีจุดอ่อน 2 จุด …
1.- การตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาส เป็นช่วงแคบๆ จึงขาดน้ำหนัก และยากต่อการควบคุมความถี่เพียงความถี่เดียวเพียวๆ จากแผ่นที่ใช้สำหรับการแข่งขัน ซึ่งนักแข่งขันความดังทุกคนรู้ดี
2.- กำลังงานของตู้แบนด์พาสทำงานเพียงฐานเดียว คือ รูปคลื่นที่ไหลออกมาจากท่อเท่านั้น แรงปะทะจากหน้าดอกลำโพงจึงไม่มี เพราะดอกลำโพงทำงานอยู่ภายใต้กรอบของตู้ปิดและตู้เปิด ความถี่ที่เกิดจากการเดินทางผ่านท่อ จึงขาดแรงกระแทกกระทั้นจากหน้าดอกลำโพง ดังนั้น ตู้แบนด์พาสจึงขาดอำนาจของแรงปะทะอย่างสิ้นเชิง
แม้ตู้เปิดจากดังน้อยกว่าตู้แบนด์พาส ในแง่ทฤษฎีทางเสียง หรือ เมื่อใช้การฟังเพลงทั่วไป แต่สำหรับการแข่งขันแล้ว ตู้เปิดกลับมีจุดเด่นดังนี้
1.- มีรูปคลื่นยาว การควบคุมเฟสเพื่อไปปะทะตัวเซ็นเซอร์ จะควบคุมได้ง่าย
2.- จูนความถี่เดียวเพียวๆสำหรับการแข่งขันได้แม่นยำกว่า
3.- มีหน้าดอกลำโพงช่วยเกื้อหนุนให้เกิดแรงปะทะที่ทรงอำนาจอีกชั้น คุณจะพบว่า นักแข่งขันจะหันหน้าดอกลำโพงพุ่งเป้าไปยังตัวเซ็นเซอร์จับความดังเสมอ แต่สำหรับตู้แบนด์พาสแล้ว คุณจะหันหน้าตู้ไปทางไหน คุณจะไม่เห็นหน้าดอกลำโพงเลย ดังนั้น หน้าดอกของลำโพงในตู้แบนด์พาส จึงไร้ประโยชน์เมื่อมองจากภาพการแข่งขันทันที
ตู้แบนด์พาส … อุปมาเหมือนนักมวยช่วงสั้น มักจะใช้วิธีเข้าชกวงใน การชกวงใน น้ำหนักหมัดจึงขาดความรุนแรง ยากที่จะน๊อคคู่ต่อสู้ได้
ตู้เปิด … อุปมาเหมือนนักมวยช่วงยาว ย่อมปล่อยหมัดตรงได้ดีกว่า การทิ่มด้วยหมัดตรงจึงมีแรงปะทะสูง และเมื่อปล่อยหมัดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน หมัดของนักมวยช่วงยาวจะถึงหน้าของนักมวยช่วงสั้นก่อนเสมอฉันใด การน๊อคคู่ต่อสู้ด้วยหมัดตรง จึงเป็นเรื่องที่ง่าย
นี่คือเหตุผล ทำไม! ตู้เปิดจึงนิยมใช้ในการแข่งขันมากกว่าตู้แบนด์พาส ทั้งๆที่ตัวระบบของตู้เปิดดังน้อยกว่าตู้แบนด์พาส ไม่ว่าจะมองผลทางการคำนวณและวีธีรีดกำลังงาน
ดังนั้น ถ้าป้อนความถี่เดียวเพียวๆ ตู้เปิดดังกว่าตู้แบนด์พาส เพราะเหตุนี้ ผู้ที่ตอบแย้งกับผม จึงถูกต้องในส่วนของภาพของการแข่งขันความดัง
ดังนั้น ถ้าเป็นการฟังเพลงทั่วๆไป ตู้แบนด์พาสดังกว่าตู้เปิด และวันที่ผมตอบในรายการไฮไฟประดับยนต์ ผู้ถามถามถึงการใช้งานเพื่อการฟังเพลง ไม่ใช่การแข่งขัน ดังนั้น คำตอบของผมจึงชอบธรรม
และพวกเราทั้งหมดที่พูดคุยกันในเรื่องของตู้เปิดและตู้แบนด์พาสในขณะนี้ เรากำลังพูดคนละหัวเรื่อง
ทั้งๆที่เป็นคนละเรื่อง แต่พวกเราก็พยายามโยงให้มันเป็นเรื่องเดียวกัน … เชื่อว่า การตอบกระทู้ของผมครั้งนี้ คงคลี่คลายความสับสนเรื่องของตู้เปิดและตู้แบนด์พาสเบาบางลงไปบ้าง
เรื่องของการแข่งขัน ตู้ทุกประเภทมีสิทธิ์ชนะการแข่งขัน ขอให้รู้จริงและเก่งจริงเท่านั้น


บันทึกการเข้า

aj anucha
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2008, 10:30:55 pm »

ลองพิจารณาดูครับ...เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาฝาก
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2008, 03:08:54 am »

ข้อความทั้งหมดนี้  พี่ให้ความเห็นว่ามีบางอย่างที่เห็นด้วยเเละบางอย่างไม่เห็นด้วย
อ้างถึง
ความดังที่ได้จากตู้แบนด์พาส เสียงเบสจะดังแบบตึงๆ ห้วนๆสั้นๆ โด่งๆ

ไม่เเน่เสมอไปมันอยู่ที่การออกเเบบมากกว่าว่าต้องการอะไรจากการออกเเบบ

อ้างถึง
ดังนั้น ถ้าเป็นการฟังเพลงทั่วๆไป ตู้แบนด์พาสดังกว่าตู้เปิด

ไม่จริงเสมอไปลองพิจารณาbandpass sub ที่ใช้กับ roger ดู   เป็นไปไม่ได้ที่ roger จะออกเเบบซับเพื่อฆ่าตัวเอง  เเละเป็นไปไม่ได้ที่ roger จะทําซับเสียงห้วนๆสั้นๆหรือมี่ค่า SPL สูงกว่าลําโพงหลักเพื่อกลบรายละเอียดลําโพงเล็กของตัวเอง   สรูปคือพูดมั่วเเบบคิดไปเอง   ok เห็นด้วยที่ว่าเเรงปะทะตู้เปิดดีกว่าbandpass(พี่เคยบอกไว้นานเเล้ว)
ส่วนเรื่องการทําเเข่งพี่ไม่ออกความเห็นเพราะพี่ไม่ได้ยืนอยู่จุดนี้
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2008, 03:12:25 am »

อ้างถึง
ลำโพงที่ใช้รูปแบบของตู้แบนด์พาสที่โด่งดังคือลำโพง Bose โดยใช้คุณสมบัติของตู้ปิดและตู้เปิดในแต่ละส่วน

พี่ไม่ทราบว่าเขาพูดถึง bose รุ่นไหน  ไม่เคยเห็นเลย bose รุ่นดังกล่าว   ไม่ทราบว่าเขารู้หรือไม่ bose ออกเเบบตู้ด้วยระบบไหน

เท่าที่ทราบ bose ไม่เคยทําตู้ที่มีส่วนของห้องปิดเลย   

ป.ล เขียนยังเขียนไม่ถูกเลย   box กับ chamber ใช้ศัพท์ตัวเดียวกันผสมกันมั่ว 
บันทึกการเข้า
aj anucha
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2008, 09:29:24 am »

ครับ...มีท่านอื่นอีกไหม๊ครับ Wink
บันทึกการเข้า
Thawach
Full Member
member
**

คะแนน243
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2413



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2008, 05:38:33 pm »

ประวัติของ dr.amar bose พี่จําได้ดี    ติดตามมาตั้งเริ่มตั้งบริษัทใหม่  ก่อนจะปล่อย bose 901 ออกมาภายหลัง    ลําโพงที่bandpassที่ bose ทําเขาจะใช้ชื่อระบบว่า multi chamber โดยเเบ่งห้องออกเป็น 3 ห้อง  จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ได้เปลี่ยนเป็น wave guide  technology   ซึ่งดูคล้ายระบบ Transmission line  เเละก่อนที่ bose จะทําระบบbandpass  ก่อนนั้นได้มีลําโพงอีกยี่ห้อหนึ่งได้ทําbandpassเเละเจาะทะลวงกลุ่มในระดับ hi-end  นั่นคือลําโพงยี่ห้อ kef 104/2  ที่ยังคงเป็นตํานานจนถึงทุกวันนี้    ลําโพงรุ่นนี้ใช้วูฟเฟอร์ 8 นิ้ว 2 ตัว  ลองดูสเปค  ความไว 92 ดีบี  ถ้าสมมุติเขาใช้ดอกเพียงดอกเดียว   ความไวจะเหลือเเค่ 92-3=89 db  ถามว่าที่เขาออกเเบบไว้มันดังถล่มทลายเลยใช่มั๊ยกับความไว้ 89ดีบี/ข้าง?   
บันทึกการเข้า
KIKDH
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7


« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 19, 2011, 09:57:38 pm »

พวก Sub ของเขาอ่ะหรอ

ไม่น่ามีรุ่นไหนใช้ตู้ปิดเลยนะแต่ใช้หลักการอคูสติคมากกว่ามั๊ง

ถ้าดูผิวๆในตระกูลแอมป์คล้ายๆ ตู้ Bandpass เลยมีรูเบสออกมาทางเดียว

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!