1.ให้เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับความต้องการ เช่นต้องการค้นสิ่งที่ใกล้เคียงกับคำเงื่อนไข ควรเลือกใช้บริการค้นแบบไดเรกทอรีอย่าง yahoo.com, exite.com เพราะมีโอกาสพบกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องได้ง่ายกว่า แต่ในกรณีที่ต้องการค้นแบบที่เจาะจงและมีกรอบข้อจำกัด เช่น ข้อมูลของบุคคล เป็นต้น ควรใช้ระบบ Search Engine อย่าง Infoseek.com, AltaVista.com เป็นต้น
2.ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Bird คุณควรเลือกใช้บริการของ Internet movie Database ที่
www.imdb.com เพราะจะช่วยให้ได้ผลการค้นที่ตรงความต้องการมากกว่า
3.ใส่เครื่องหมายคำพูดลงในกลุ่มคำหรือชื่อคน เช่น Benjamin Franken เพื่อให้ Search Engine แสดงผลการค้นหาเฉพาะเว็บไซต์ที่มีสองคำนี้เท่านั้น
4.ระวังเรื่องการขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่หรือเล็ก ปกติควรใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กเนื่องจากผลการค้นหาจะได้ทั้งตัวอักษรพิมพ์เล็กและใหญ่ แต่ถ้าใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (Capital Letter) จะได้ผลการค้นที่เหมือนกับคีย์เวิร์ดทุกประการ
5.หลีกเลี่ยงการใช้คำสามัญ เช่น shopping เพราะคำเหล่านี้จะทำให้ได้ผลการค้นออกมาจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้คำเฉพาะหรือใช้คำเหมือน (Synonyms) แทน
6.ควรใช้คำมากกว่า 1 คำในการค้นหา เพราะจะช่วยจำกัดวงในการค้นหาให้แคบลง เช่นต้องการค้นหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวใน Mexico ก็ควรใช้ Travel and Mexico เป็นคำเงื่อนไขในการค้นเป็นต้น ซึ่งคุณอาจใช้เครื่องหมายบวก (+) แทน And ก็ได้ ผลการค้นที่ได้จะไม่เหมือนการใส่เครื่องหมายคำพูด เพราะกลไกการค้นหาจะแสดงแต่เว็บไซต์ที่มีคำ 2 คำนี้ ส่วนการใส่เครื่องหมายคำพูดจะเป็นการสั่งให้ตัวค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำสองคำอยู่ติดกันแสดง
7.ใช้ Not หรือเครื่องหมายลบ (-) ตัดคำที่ไม่ต้องการ เช่น racing and bike not car จะหมายถึงการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการแข่งจักรยาน ไม่เกี่ยวกับรถ เป็นต้น
8.ในการพิมพ์ตัวเชื่อม + จะต้องไม่มีช่องว่าง แต่ถ้าเป็น ต้องมีช่องว่างหน้าเครื่องหมาย ด้วย
9.ใช้ Wildcard (*) ช่วยหาคำได้หลากหลายขึ้น เช่น cook* จะได้ผลการค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำว่า cooking, cooks, cookbooks เป็นต้น
10. ศึกษาวิธีการใช้งานของเว็บแต่ละแห่ง เพราะจะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการค้นหาได้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก
http://www.arip.co.th