วัตต์ของแอมป์ขึ้นอยู่ที่กำลังไฟหม้อแปลง หรือตัว TR ที่ใช้ประกอบแอมป์ครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 26, 2024, 11:17:00 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัตต์ของแอมป์ขึ้นอยู่ที่กำลังไฟหม้อแปลง หรือตัว TR ที่ใช้ประกอบแอมป์ครับ  (อ่าน 6499 ครั้ง)
tumcom84
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2008, 09:13:06 pm »

วัตต์ของแอมป์ขึ้นอยู่ที่กำลังไฟหม้อแปลง หรือตัว TR ที่ใช้ประกอบแอมป์ครับ  อยากทราบจริงๆครับ เห็นบางตัวใช้ไฟน้อยแต่วัตต์สูงครับ  Cheesy Cheesy Cheesy Kiss


บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2008, 09:36:05 pm »

V.ต่ำแต่กระแสสูงครับ
บันทึกการเข้า

Liang
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2008, 05:26:39 am »

           เอาการใช้งานจริงของผมเปรียบเทียบนะครับ   แอมป์ตัวเดิมต่อกับลำโพงตัวเดิม   ถ้าเพิ่ม TR มันก็ได้กำลังเท่าเดิม   แต่จะต่อลำโพงได้มากกว่าเดิม
ซึ่งจุดนี้ก็อาจได้กำลังวัตต์เพิ่มขึ้น   แต่ถ้าเพิ่มแรงดันไฟขึ้นอีก   แตกต่างเห็นๆเลยครับ   เร่งได้มากขึ้นกว่าเดิม    แต่ต้องดูเพาเวอร์แอมป์เราด้วยนะว่าจะทน
ได้หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2008, 06:24:17 am »

ทั้งสองอย่างต้องไปด้วยกันครับ
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
FIR2029
วีไอพี
member
***

คะแนน19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 839


FIR2029@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2008, 03:57:49 pm »

 

เคยตั้งกระทู้บ่นไว้ แนวๆนี้เหมือนกันครับ
พูดถึง  หลายๆครั้ง ที่ บางท่าน  ทำวงจรวัตต์สูง  นับ1000วัตต์
ขนานTRเข้าไปหลายๆคู่  แต่ ใช้หม้อแปลงแค่400VA 

แต่ก็ยังบอกว่า ประกอบลงไปแล้ว แรงเกิน500+500 Wrms แน่ๆ

บางครั้ง คำนวนจาก แรงดัน ใช่ครับ  มันถึง  แต่
กระแสมันไม่ได้นี่สิ

เช่นเรามีแหล่งจ่ายไฟ 800VA  ผ่านวงจรเร็กติไฟล์แล้วได้ ไฟ+-80Vdc
มันก็จะได้กระแสแค่5A เท่านั้นเอง ==>>> 800/(80+80)=5

ดังนั้นเวลาเรานำไปใช้งานจริงมันก็คงจะได้ที่  800W ที่8โอห์ม
แต่ถามว่า  ถ้าโหลดโอมต่ำกว่านี้  จะได้วัตต์สูงขึ้นมั้ย

ได้วัตต์สูงขั้นแน่นอนครับ  แต่มันก็จะเกินกำลังของหม้อแปลงขนาด800VAที่เรามีอยู่
ถ้าอัดแรงๆ  อย่างต่อเนื่อง ภาคจ่ายไฟก็คงจะลาโลกไป ก่อนวัยอันควร

ประมาณนั้น


นี่เป็นแบบคิดง่ายๆ คร่าวๆเท่านนะครับ  ยังไม่ได้คิดการสูญเสียกำลัง  ใดๆเลย

ดังนั้นท่านที่อยากได้ ภาคขยาย ซัก ข้างละพันวัตต์ล่ะก็  ควรใช้หม้อแปลงซัก2400VA ก็จะดีเด้อ
บันทึกการเข้า

การเสียสละของเราเพียดนิด  อาจเป็นหนทางสว่างของใครหลายๆคน
lerdluk
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 30


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 08, 2009, 10:34:05 am »

2400VA หมายความว่า?  ถ้าเป็นแอม ของหม้อแปลงประมาณกี่แอมครับ
บันทึกการเข้า
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 08, 2009, 11:08:18 am »

สมมติว่า
ถ้าท่านใช้ไฟ 80-0-80Vrms  (+- 110 V  DC โดยประมาณ) =160Vrms x กระแส 15Arms = 2400VA

แอ็มป์ คงใช้ทรานซิสเตอร์มากกว่า ๒๐ คู่ ต่อข้างเลยกระมังครับนั่น  จึงจะทำงานได้อย่างปลอดภัย

สนับสนุนให้ใช้หม้อแปลงข้างละลูกไปเลยครับ 2400VA  ถ้าต้องการแบบ อัด  อึด  อิ่ม


แต่เอ  ผมนึกแปลกใจบ้างเหมือนกันครับว่า  วงการเครื่องขยายออกงาน
ทำไมมุ่งใช้ไฟสูงๆ กันจัง  ทั้งๆที่ดูจากคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์แล้ว  ยิ่งทำงานที่โวลท์สูง  มันจะรองรับการผ่านกระแสได้น้อยลง  และไม่ควรใช้มันเกินระยะปลอดภัย   ถ้าใช้แบบต่อเนื่องแช่นานๆที่การสูญเสียความร้อนสูงๆมันก็พังง่าย

ยิ่งการทดลองฟังจริง  จะพบว่า  เสียงจะแข็ง(กร้าน)แกนๆ  ไม่ปลอดโปร่ง

ถ้าทำระบบลำโพง ให้มีประสิทธิภาพการเปล่งเสียงได้ดี (ไม่ใช่แค่ตัวเลขดีบี อย่างเดียว ขอเป็นระบบลำโพงที่ขับง่าย  ใช้กำลังน้อยก็ขับออก  ไม่ใช่โครงสร้างแข็งโป๊ก ) จะพบว่ามันไม่ได้ต้องการโวลท์มากมายในการขับดันว้อยซ์คอยล์  แต่มันต้องการกระแสต่างหาก

แต่ก็พอจะเข้าใจคำตอบในใจของหลายท่านบ้างว่า ส่วนหนึ่งคือเป็นเพราะ "ลำโพงที่ดีๆ เข้าข่ายนี้  มันราคาสูง ซะเป็นส่วนใหญ่ "  จึงหันมาคบดอก ที่คุณภาพทั่วๆไป (บ่อยครั้งแทบหาสเป็คฯโดยละเอียดไม่เจอ) แล้วใช้แอ็มป์วัตต์(โวลท์สูงๆ มาชดเชย)

อย่างที่ทุกท่านทราบ ยิ่งขนานลำโพงมากตัว  แต่ละดอก มันก็ยิ่งต้องการกระแสแยะๆ  ด้วยในการขับดันมันให้ได้ดี

การทำแอ็มป์ แบบ  "วัตต์+มีแฮง" น่าจะลองลดโวลท์ลงบ้าง  (ไม่ได้ลดลงฮวบฮาบนะครับ อย่าเข้าใจผิด  โดยที่ยังขนานทรานซิสเตอร์แยะๆ เช่นเดิม เพื่อการส่งผ่านกระแสแบบเหลือเฟือ)
แล้วเอางบ  ค่าซีโวลท์สูงๆ  ซึ่งแพงมาก  มาลงทุนในส่วนของหม้อแปลง หรือวงจรสวิทชิ่ง  ให้จ่ายกระแสมากขึ้น  น่าจะให้ผลลัพท์โดยรวม (สุ้มเสียง  กำลังขับดันจริง  ความทนทาน) ได้เข้าท่ากว่ากระมังครับ

ถ้าต้องการโวลท์สูง  กระแสสูงด้วย  ก็ลองแบบนี้คือ
๑) ไฟสองระดับพวก คลาสH น่าจะตรงประเด็นกว่า  หรือไม่ก็
๒) บริดจ์แอ็มป์ (แน่นอนว่า ต้องยิ่งเผื่อกระแสของหม้อแปลง ให้มากๆ เป็นหลายเท่า)

จุดอั้น(กระแส) อีกส่วนหนึ่ง ก็มาจาก  สายไฟทั้งหลาย  ตั้งแต่เต้ารับ เอซี  สายไฟเอซีเข้าเครื่อง
สายไฟ และจุดต่อทั้งหลายภายในเครื่อง  ผ่านไปยังทรานซิสเตอร์ขาออก  ไล่ไปจนถึงสายไฟขาออกลำโพง
สายลำโพง

พบว่าบ่อยครั้ง  ใช้สายขนาดเล็กเกินไป    มันก็อั้นเสียง (วัดด้วยมิเตอร์  อาจปกติ  ฟังออกรับรู้ได้ด้วยหู)

บางเครื่อง บอกกำลังไว้ เป็นพันๆวัตต์  แต่ใช้หม้อแปลงเล็ก  (อย่างที่ท่านFIR2029 กล่าวไว้ข้างบน ) บางเครื่องสายไฟเอซีเข้าเครื่องเล็กจิ๋ว 1sqmm2 ก็มี

มิน่า  เครื่องเสียงฝรั่งถึงชอบใช้ AC Inlet 15-20A (คล้ายของคอมพ์) เพื่อให้เลือกใช้สายไฟ ขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมได้

เล่าสู่กันฟังครับ
 สวัสดีปี ๕๒ ทุกท่านครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!