ครับผม จากที่มีเพื่อนๆพี่ๆถามมาในเรื่องที่ว่าทำไมเสียงเบสตรงจุดกึ่งกลางของลำโพงทั้ง2ข้างถึงแน่นกว่าด้านใดด้านหนึ่ง เดี๋ยวผมจะอธิบาย(แบบงูๆปลาๆ)ให้ฟังครับผม
ต้องขอโทษไว้ล่วงหน้าก่อนนะครับถ้าหากว่าข้อมูลที่ผมเขียนลงไปนี้ไม่ถูกต้อง ท่านใดที่มีความคิดเห็นอย่างอื่นเสริมได้นะครับผม ช่วยๆกันครับ
เอาเป็นว่าเริ่มต้นกันก่อนครับ ธรรมชาติของเสียงจะเดินทางผ่านตัวกลางตัวกลางหนึ่งคืออากาศ ดังนั้นเราลองสังเกตุว่าทำไมตู้ซับเบสจึงต้องมีขนาดใหญ่กว่าตู้เสียงกลางหรือเสียงแหลม ก็เพราะว่าในย่านเสียงต่ำต้องการใช้พลังงานที่มากเพื่อที่จะทำให้ woofer ลำโพงขยับตัวเพื่อผลักอากาศถึงจะทำให้เสียงนั้นเดินทางผ่านอากาศไปได้
การขยับตัวของลำโพง 1 ครั้งใน 1 วินาทีมีหน่วยคือเฮิร์ส (Hz) ซึ่งก็คือหน่วยของความถี่นั่นเอง ดังนั้นที่ความถี่ 100 Hz ลำโพงก็จะขยับตัว 100 ครั้ง/1วินาที 1000 Hz หรือ 1 kHz ลำโพงก็จะขยับตัว 1000 ครั้ง/1วินาที โดยความถี่ที่มนุษย์ได้ยินจะอยู่ที่ 20 - 20000 Hz ถ้าใครว่าสามารถได้ยินเสียงที่ต่ำหรือสูงกว่านั้นก็ไม่ใช่มนุษย์แล้วครับ
คลื่นเสียงแต่ละความถี่ก็จะมีความยาวคลื่น( wave lenght) ที่ต่างกันโดยความยาวคลื่นที่แต่ละความถี่สามารถคิดได้โดยสมการของ
ความเร็วเสียงในอากาศ/ความถี่นั้น ความเร็วเสียงในอากาศ = 331+(0.6 x T) ; T คืออุณหภูมิในขณะนั้น ในที่นี้ขอใช้ตามเอาสารครับคือ15องศาเซลเซียส ถ้าบ้านเราอาจจะใช้มากกว่านี้ครับ เพราะมันร้อนเหลือเกิน
ดังนั้นเราจะได้ความเร็วเสียงในอากาศ = 331+(0.6 x 15) จะได้ความเร็วเสียงในอากาศ 340 เมตร/วินาที
ฉะนั้นความยาวคลื่นที่แต่ละความถี่จะได้ดังนี้
31.5 Hz ; 340/31.5 = 10.79 เมตร/1ช่วง
40 Hz ; 340/40 = 8.5 เมตร/1ช่วง
50 Hz ; 340/50 = 6.8 เมตร/1ช่วง
63 Hz ; 340/63 = 5.39 เมตร/1ช่วง
80 Hz ; 340/80 = 4.25 เมตร/1ช่วง
100 Hz ; 340/100 = 3.4 เมตร/1ช่วง
จะเห็นได้ว่ายิ่งความถี่ที่สูงขึ้นนั้นความยาวคลื่นจะสั้นลง เดี๋ยวเราลองมาดูรูปกันครับว่าความยาวคลื่นใน 1 ช่วงเขาวัดกันอย่างไร