ท่านใดมีวิธีกำจัดเพลี้ยบ้างครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 28, 2024, 01:38:24 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านใดมีวิธีกำจัดเพลี้ยบ้างครับ  (อ่าน 15130 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2007, 11:06:46 am »

ผมเด็กหอครับ หน้าห้องพัก มีที่ว่าง ๆ อยู่นิดหน่อย ผมเลยจัดการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้  Tongue(ตัวเองไม่ค่อยได้กินเท่าไรครับ ปลูกทิ้งไว้ให้เพื่อนร่วมหอใช้ประโยชน์)  Tongue

เอาเมล็ดมาโรย ๆ ทิ้งไว้ ใช้ได้เลยครับ ออกดอกออกผลกับพรึบพรับ  มะเขือพวง มะเขือเทศ(อันนี้กว่าจะได้กินลำบากมาก ต้องนั่งไหว้ก่อน  Tongue)  กระเจี๊ยบ พริก แฟง ยี่หร่า โหระภา แมงลัก กระเพราะ... อิอิ ร่ายยาว ครับ

ผมมีปัญหากับเจ้ากระเพราะครับ มันมีตัวเพลี้ย สีดำ ๆ เกาะกินใบ ทำให้ใบมันแห้ง ครับ ผมใช้วิธีรูดใบทิ้งหมดทั้ง ต้นเลยครับ เสียดายแต่ก็ต้องทำ รดน้ำใหม่ก็ออกใบใหม่

ท่านใดมีวิธีกำจัดบ้างครับ โดยไม่ใช้สารเคมี  Tongue
 Smiley



บันทึกการเข้า

e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2007, 11:33:46 am »

เด็กหอ...อิ อิ... ผมก็เด็กหอเหมียนกัน แต่คุมหอนะ... สาว ๆ พรึบ Cool

เพลี๊ยเหรอ  ถ้าจำไม่ผิดจะใช้ มวน มาเป็นตัวเบียนนะครับ แต่ถ้า หนัก ๆ เอาไม่อยู่เหมือนกัน

อีกสูตรเขาว่าใช้ สารสะเดา หากพืชนั้นใบมัน หรือ สารจับติดยากให้ผสมสารจับใบ ครับ...

อีกวิธี แน่นอน  กางมุ้ง   ให้เธออยู่ครับ  อันนี้แน่นอนครับ  ดีที่สุด ชัวร์ที่สุด คุมได้เรื่องแมลง

ส่วนเรื่องมุดมุ้ง ผมถนัด....นัก  อิ อิ  Cool   Embarrassed    Grin
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2007, 11:38:07 am »

เพลี้ยไฟ          หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม/แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี

เพลี้ยอ่อน         สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หางไหล  “ เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู “

วิธีทำ              สมุนไพร 1 กิโลกรัม บดละเอียด หมักด้วยน้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง ได้หัวเชื้อ

อัตราการใช้    หัวเชื้อน้ำหมักสมุนไพร 20-30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ทุก 3-5 วัน

เคล็ดที่ไม่ลับ    สารสกัดครั้งแรกได้หัวเชื้อน้ำแรก ใช้หมดแล้วหมักน้ำสอง และน้ำสามต่อได้ด้วยส่วนผสมตัวเดิมแต่หัวเชื้อที่ได้จะเจือจางลงตามลำดับ ดังนั้นอัตราใช้ต้องเพิ่มขึ้นตาม   ใช้สมุนไพรหลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง ตัวไหนได้มาก่อนหมักก่อน ได้มาที่หลังหมักตามที่หลังในภาชนะเดี่ยวกันได้    สารสกัดสมุนไพรไม่ทนแดด ควรฉีดพ่นตอนเย็นและฉีดพ่นให้โชกทั่วทรงพุ่ม  สารสกัดสมุนไพรอยู่  ไม่ทน ต้องฉีดพ่นบ่อยๆ ทุก 3-5 วัน และควรผสมสารจับใบด้วย    สารสกัดสมุนไพรทุกสูตรสามารถใช้ร่วมกับสารเคมี ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยเคมี และฮอร์โมนได้ทุกประเภท ต้องใช้ล่วงหน้าแบบป้องกันอย่ารอให้ศัตรูพืชระบาดก่อนแล้วจึงใช้จะไม่ได้ผล  ทดสอบความเข้มข้นก่อนใช้จริงทุกครั้งที่หมักใหม่ เพราะเข้มข้นเกินทำให้ใบไหม้


จากเอนก อิ่มจิตร สำนักงานเกษตรอำเภอสรรพยา (056) 49918



..ไม่เคยลองนะ อิๆ  Tongue
บันทึกการเข้า
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2007, 06:56:54 pm »

ขอบคุณครับ...  Smiley
ความจริงผมก็ไม่ได้ค่อยซีเรียส สักเท่าไรครับ ตอนแรกกะว่าจะปลูกเล่น ๆ ครับ แต่พอเห็นมันเจริญงอกงามขึ้นทุกวัน รู้สึกแอบปลื้มในใจครับ พอมันมีพวกเพลี้ยมารบกวนก็ไม่สบายใจ แต่ยิ่งเห็นมีคนมาขอ ยิ่งดีใจใหญ่ครับ

ต้น.... ขอพริกหน่อยนะ
ต้น...ขอกระเพราหน่อยนะ
ต้น.... ขอ ฯลฯ

 Wink Tongue
บันทึกการเข้า
aod3177
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 02, 2011, 11:05:10 am »

การป้องกันก่อนการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้อาวุธชีวภาพ คือ "หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส" ซึ่งประกอบเชื้อราที่เป็นศัตรูธรรมชาติ 3 ชนิด คือ บิววาเรีย  เมธาไรเซียม และ พาซิโลมัยซิส อยู่ในรูปผงสปอร์พร้อมใช้  ใช้ง่ายและสะดวก ปลอดภัยต่อผู้ใช้

              การใช้สารเคมีทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะไม่สามารถทำลายเพลี้ยได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพศเมีย  1 ตัว  ไข่ครั้งละ 5-7 ฟอง  ไข่วันละ  5  ครั้ง  รวม  25-35  ฟอง ต่อตัว ต่อวัน  ประมาณ   10-15  วัน ก็จะกลายเป็นตัวเต็มวัย  เมื่อพ่นสารเคมีก็จะสามารถกำจัดได้เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้น  ส่วนไข่จะยังอยู่และกลายเป็นตัวเต็มวัยในเวลาต่อมา  และต้องพ่นยาฆ่าแมลงอยู่ตลอดเวลา  นั่นเป็นหลุมพรางของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
   
ประโยชน์: บิววาเรีย และ เมธาไรเซี่ยม มีความสามารถเข้าทำลาย แมลงศัตรูพืชทุกชนิด โดยผ่านเข้าทางผิงหนังของแมลง ด้วยการสร้างหลอดออกมาแทงทะลุผิวหนังของแมลงเข้าไปภายใน เชื้อจะสร้างกลุ่มเส้นใยเข้าไปตามท่ออาหารและขยายจำนวนมากขึ้น โดยเส้นใยแตกและหักออกเป็นท่อนสั้นๆเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆในตัวแมลง และเพิ่มจำนวนภายในตัวแมลง ซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อของแมลง และ ปล่อยสารพิษทำลายแมลงด้วย ทำให้แมลงป่วย ร่างกายอ่อนแอ และตายในที่สุดและติดต่อไปยังแมลงข้างเคียงอย่างรวดเร็ว และทำลายแมลงตัวอื่นๆด้วย  ส่วนแมลงไม่สามารถ แสดงอาการดื้อยา เหมือนสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป ในขณะที่ พาซิโลมัยซิส  จะกำจัดไข่ของแมลงทุกชนิด เช่น ไข่หนอนเจาะลำต้น ไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไข่หนอนใยผัก ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย ไข่หนอนกระทู้หอม และไข่ของแมลงทุกชนิดทั้งปากกัดและปากดูด รวมทั้งไข่หอยเชอรี่ในนาข้าว   แต่ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซัสไม่เป็นอันตรายต่อ มนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด จึงปลอดภัยกับคนฉีดกว่าสารเคมี

     วิธีการใช้:
    1. แช่ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส อย่างน้อย 5-8 ชั่วโมง  เพื่อให้ จุลินทรีย์เพิ่มปริมาณและขยายตัว ก่อนนำไปฉีด
     2.ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส   อัตรา 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดช่วงเช้าหรือเย็น ช่วงเย็นจะเหมาะที่สุดเพราะผ่านช่วงกลางคืน ทำให้จุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดทำงานได้เต็มที่  และฉีดให้โดนตัวแมลงให้มากที่สุด ถ้ากรณี เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะเกาะ  อยู่ตามโคนต้นและใต้ใบ
      3.กรณีป้องกัน ใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส  สลับกับสารเคมี หรือผสมกับสารเคมีได้   พร้อมกัน เพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลงทุกชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดน้ำตาลที่ดื้อสารเคมีได้รวดเร็วมาก 
     4.กรณีแมลงระบาดแล้ว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส   กับ สารเคมีได้เลย ฉีดไปพร้อมกัน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถสร้างภูมิต้านทานสารเคมีได้ แต่ไม่สามารถสร้างความต้านทาน หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัสได้
     5.สามารถใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส ลดจำนวนแมลงตัวแก่ได้โดยฉีดไปที่ตัวแมลงที่ มาเล่นไฟโดยตรง โดยเฉพาะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะเป็นตัวเมียส่วนใหญ่ที่มาเล่นไฟ ทำให้ตัวแก่ตัวเมียตายไม่สามารถออกไข่ได้
      6.หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัสมี “พาซิโลมัยซิส”  เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เกาะอยู่ตามใบข้าว ไม่ให้ฟักออกมาเป็นตัว ทำให้ช่วยลดจำนวนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อีกทางหนึ่ง สาเหตุที่สารเคมี ใช้ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ค่อยได้ผล เป็นเพราะ การดื้อยา และ สารเคมีฆ่าเฉพาะตัวอ่อนกับตัวแก่เท่านั้น แต่ฆ่าไข่ไม่ได้ เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวก็จะทำลายข้าวได้อีก

ดังนั้น “หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส” จึงมีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าและปลอดภัยต่อผู้ใช้มากกว่าสารเคมีในการควบคุมกำจัดเพลี้ย หนอน แมลงศัตรูพืช ทุกชนิด    บรรจุ 500 กรัม ใช้ได้ 5-8 ไร่ เฉลี่ยไร่ละ 30 บาท เท่านั้น

 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าปลีก/ส่ง คุณอำนวย โทร.089-1777260
www.amnuaykaset.com
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!