>>> หลักการติดตั้ง อิ้งแท้งแบบ ไร้ปัญหา
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 11:40:30 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: >>> หลักการติดตั้ง อิ้งแท้งแบบ ไร้ปัญหา  (อ่าน 38985 ครั้ง)
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 04:03:34 pm »

ขอจั่วหัวไว้ก่อนละกันนะครับ
วีกนี้วุ่นเล็กน้อย

ถามว่าอิงแทงแบบไร้ปัญหา เป็นไง
คุณทิ้งไว้ข้ามเดือน หลายๆ เดือน หมึกก็ไม่ไหลย้อนลงตลับ
น้ำหมึกไม่ร่นไปมา (เครื่องผม
เองครับ ปัจจุบัน MP160)
และไม่เยิ้มที่หัวพิม
เวลาพิมเท่านั้น ที่หมึกจะเคลื่อนสู่หัวพิมพ์แทนที่

สีสันออกมาสวยที่สุดเหมือนการเติม (เนื่องจาก pressure เป็นไปตามที่ผู้ผลิต design ไว้)
แต่โทนสีเหมือนตลับแท้แค่ไหนนั้น
ขึ้นกับยี่ห้อหมึกที่คุณใช้ บวกกับการตั้งค่าสีในไดรเวอร์นะครับ

หากสนใจก็โพสบอกไว้นะครับ  ถ้าหลายๆ คนผมก็จะลงหลักการไว้ให้

มีเวลาผมจะได้เรียบเรียงความเข้าใจเกี่ยวกับ Deniel Benoulli  ครับ
และวาดรูปให้ดูบ้าง ทำได้เกือบทุกรุนปริ้นเตอร์ครับ (ยกเว้น
Lexmark ข้างในตลับมันทลุถึงกัน ต้อง Modify เยอะ)
อย่างเครื่องแพงมากๆ ที่ตลับหมึกไว้ด้านนอก ก็หลักการนี้แหละครับ
หากคุณเข้าใจหลักการแล้ว  ง่ายมากครับ


บันทึกการเข้า

narit25
member
*

คะแนน106
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 82


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 04:31:38 pm »

แล้วเมื่อไหร่จะมาต่อยอดละครับ
บันทึกการเข้า
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 06:02:37 pm »

ต่อเลยครับติดตามชมอยู่
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
ช่างยุทธ YTN
วีไอพี
member
***

คะแนน99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1101


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 06:21:50 pm »

ต่อเลยครับ อยากรู้เหมือนกัน  Cool
บันทึกการเข้า

1 + 1 = ?
c_amorn
member
*

คะแนน13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147

ประสบการณ์นำมาซึ่งความรู้ จงต่อสู้อย่าท้อถอย


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 08:38:06 pm »

มารอฟังจ๊ะ
บันทึกการเข้า
jinda55
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 14, 2008, 11:33:29 pm »

 Sad ของผม R230 หมึกไหลย้อนกลับตลอดเลยครับ..2-3 ชั่วโมง  Cry
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 09:52:00 am »

ครับ ช่วงเช้าวันนี้ว่างพอดี
ผมขอเริ่มเลยละกัน

จะมี 2 ส่วนนะครับ
คือ ส่วนที่อ้างอิงวิชาการ
และ ส่วนประยุกต์ เพื่อนำมาทำอิงแทงค์ อย่างไร้ปัญหา

XXX. เนื่องจาก "อิงแทงค์" คือ ถังสำรองหมึก
โดยการศัยการ Flow ของๆ เหลว
เจ้าพ่อแห่งของไหล คงต้องยกให้ Deniel Bernoulli
นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสครับ

เขากล่าวว่า   :
"ของไหลจะส่งผ่านความดัน (Pressure ย่อด้วยอักษร P)
ไปยังทุกๆ โมเลกุลของๆ เหลว อย่างต่อเนื่อง"

และจาก ความดัน P = Dgh (TextBook หลายๆ เล่ม ใช้ตัว ρ แทน D)

เมื่อ D = Density หรือความหนาแน่นของน้ำหมึก
      g = gravity หรือค่าสนามโน้มถ่วงโลก (ประมาณว่าคงที่ได้ครับ คือ 10 m/s square)
      h = ระดับความสูง (โดยเมื่อวัดจากระดับอ้างอิง)

จากข้างต้นเราจึงทราบว่า
ระดับความดันของๆ เหลว มีตัวแปรอยู่ 3 ตัว
ในที่นี้ เป็นค่าคงที่แล้ว 2 ตัว คือ D กับ g
แสดงว่า ค่าที่เราต้องควบคุม คือ ค่าระดับความสูงของน้ำหมึก
ที่ปลายทั้งสองของสายยางส่งผ่านน้ำหมึก

จากความเข้าใจข้างต้น
ในการทำอิงแทงค์  ผมมีข้อแนะนำดังนี้

1. ห้ามมีอากาศรั่วที่ตลับ หรือข้อต่อใดๆ อย่างเด็ดขาด
(ถ้ามี ...
ปัญหาที่สังเกตได้ คือ จะมีฟองอากาศ ณ จุดที่รั่ว  เช่น ตามท่อส่งหมึก, ข้อต่อ)
เราต้องให้อากาศ Flow เข้าทางเดียวเท่านั้น*** คือ ตรงรูที่ระดับ B (ดังรูป)
ซึ่งมันเป็นตัวกำหนดความดันในตลับหมึก

สังเกตุว่า หลายๆ เจ้า ใช้ ปืนกาวบ้าง หรือกาวร้อนบ้าง
เพื่ออุดช่องว่างเหล่านี้

ผมว่าก็ดีครับ แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร อายุการใช้งานอาจจะสั้น

คุณสมบัติวัสดุที่ต้องคำนึงถึง คือ อุดช่องว่าง และต้องเหลว
เนื่องจากต้องแซกซึมตามซอก เช่นบนหัวพิมพ์ จะมีทางเดินอากาศ

และไม่ควรร้อนมาก (เช่น ปืนกาว) เนื่องจากวัสดุจำพวกยาง มันมีขีดจำกัดทางด้านนี้
ถ้าจะใช้ความร้อน แนะนำว่า สายส่งหมึกต้องมีน้ำหมึกอยู่ด้วยครับ
เพื่อป้องกันท่อยางส่งหมึกเสียหาย

สำหรับผมแนะนำ กาวประสานท่อน้ำประปาครับ หรือไม่ก็ เทียนไขนี่แหละ

กาวประสานท่อประปา ...
มีข้อดีอย่าง มหันต์ คือ ทนแรงดันได้สูงมากกกก ยือหยุ่นตัวพอประมาณ
และเหลว สามารถแทรกซึกไปอุดช่องว่างได้สนิทมากจริงๆ
แต่ก็มีข้อเสียครับ คือมันแห้งช้ากว่าอย่างอื่น แต่อันนี้ผมรับได้ เพราะทำใช้เอง รอได้ครับ

บางเครื่อง
ผมก็ใช้เทียนครับ ปรากฎว่า เวิร์คเลย พิมพ์มาราธอน ก็ไร้ปัญหา

ผมใช้มาเกือบปีละ เทศการใช้งาน พิมมาราธอนทีละเป็น รีมๆ หน้า-หลัง ไม่งอแงเลย
ยามที่ไม่ได้ใช้ (ไป ตจว) ทิ้งไว้นานนนนน เป็นเดือน
หมึกไม่ไหลย้อนกลับ และซึมเปื้อน(เอ... ความหมายมันแปลกๆ พิกลๆ)

เครื่องพิมพ์คุณ เครื่องนึงหลายพัน กับแค่น้ำยาประสานท่อ PVC  (ซึ่งควรมีไว้ประจำบ้านอยู่แล้ว)
ลงทุนเถอะครับ นอกเสียจากคุณขี้เกียจรอ เพราะมันแห้งช้ากว่ากาวอื่นๆ
แต่แลกมากะความอึด และยืดหยุ่นกำลังดี ไม่กรอบเหมือนกาวตราช้าง หรือจำพวกกาวร้อน
(บางร้านใช้กันนะครับ ผมสงสารเจ้าของเครื่องจริงๆ ไม่นานก็ ...
พัง  !T_T!   เพราะมันกรอบ เมื่อเวลาผ่านไป)

2. ระดับ B ต้องอยู่ต่ำกว่าระดับ A เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ห้ามอยู่สูงกว่าเด็ดขาดครับ

(ถ้าสูงกว่า ... 
ปัญหาที่สังเกตได้ คือ หมึกจะท่วมตลับครับ โดยไหลจากแทงไปสู่ตลับตลอดเวลา
เจ๊งครับ ฟันธง !!!

ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย ก็สังเกตได้จาก เวลาพิมพ์ภาพที่ออกมาจะเยิ้ม เพราะแรงดันที่หัวพิมสูงเกินไป

ถ้าเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนกับคนที่เติมหมึกทีละมากๆ จนเกินขีดที่ฟองน้ำในตลับหมึกจะรับได้
น้ำหมึกส่วนเกิน จึงไหลออกจากหัวพิมพ์ หรือ Nozzle ลงสู่กระดาษตลอดเวลา)

สังเกตนะครับ ว่า ผมไม่พูดถึงหัวพิมเลย
เนื่องจากของไหลที่ Flow นั้น ไม่ขึ้นกับระดับหัวพิมพ์ครับ
แต่ขึ้นกับปลายทั้งสองของสายส่งหมึก
ในที่นี้ ก็คือปลาย A (ระดับ A) และปลาย B (ระดับ B)

แล้วควรเป็นอย่างไร
ถ้าถามผมว่า ควรจะให้ปลาย B อยู่ต่ำกว่าปลาย A แค่ไหน

ย้อนกลับมองในอุดมคติ...
ถ้าเราจะ Balance Pressure ต้องเท่ากันครับ
แต่ ปฏิบัติจริง หลังจากเติมน้ำหมึกแล้วปลาย B อาจอยู่สูงกว่าปลาย A บ้าง
เนื่องจากคคุณสมบัติความตึงผิวของของเหลว

ดังนั้น สำหรับเครื่องผม จะประมาณ 1 นิ้วครับ หรือ 2.54 cm
แต่ห้ามต่ำกว่ามากนะครับ

เนื่องจากระดับ B ต่ำกว่าระดับ A เกินไป
ระยะนี้ เป็นผลให้ ระดับความดัน (Delta Pressure) สูงมาก
หมึกจะไหลย้อนลงสู่แท้งค์เก็บหมึก เพราะธรรมชาติของๆ เหลว จะไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
(ปลาย A ลงสู่ ปลาย B)
และ หัวพิมพ์ ก็เสียหายไวด้วย เหมือนกับ คุณยืนอยู่ และหยิบของจากที่ต่ำบ่อยเข้าๆ
ผลเป็นอย่างไรครับ ผมว่าส่วนรับภาระคือ กระดูกสันหลัง และข้อต่อ ต้องเดี้ยงก่อนเวลาอันควร
ฉันใดก็ฉันนั้น หัวพิมที่ต้องฉีดหมึกลงสู่กระดาษ เมื่อความดันภายในตลับต่ำมากเกินไป
อันเนื่องมาจากระดับ B อยู่ต่ำมากๆ หมึกจึงไหลสู่ Nozzle ไม่บริบูรณ์ ภาพที่พิมออกมาจึงแหว่งๆ ขาดๆ

หากเป็นเครื่อง Epson ไม่น่าห่วงมาก เพราะใช้การดีดหมึกทาง Mechanic

แต่จะเป็นอันตราย ถ้าเครื่องพิมพ์คุณ เป็นประเภทใช้ความร้อนพ่นหมึก เช่น ยี่ห้อเครื่องปริ้นที่เหลือเกือบ
ทั้งหมด

พอหมึกไหลสู่ Nozzle ไม่บริบูรณ์แล้ว
จะเกิดความร้อนสะสมขึ้นที่ Nozzle
นานเข้าๆ หัวอาจจะเสียหายถาวรนะครับ เนื่องจากมันเผาตัวเอง
เพราะหมึกจะเป็นตัวหล่อเย็นให้กับหัวพิมพ์



***ที่ปลาย A ผมไม่แนะนำให้ใช้เป็นเข็มนะครับ***
ถ้าเป็นเช่นนั้น เมื่อคุณแทงเข็มลงไป ฟองน้ำส่วนเหนือเข็มนานวันเข้าอาจจะเริ่มแข็งตัว
และก็เก็บหมึกไม่อยู่ เจ๊งครับ อย่างที่เขาพูดกันว่าตลับเจ๊งแล้วนั่นแหละ
เนื่องจากไม่มีการ เก็บ-ปล่อย หมึกจากตัวมันเลย

เหมือนคนเป็น อัมพาต นานเวันเข้าแขนขาก็ลีบ เพราะไม่ได้ใช้งาน

ทางที่ดี น่าจะเป็นดังรูปครับ ต่อให้คุณวางปลาย B ต่ำกว่าปลาย A บ้าง ก็ไม่เป็นไร
เพราะฟองน้ำมันอุ้มหมึกไว้ และเมื่อ...


หมึกถูกใช้ไป ==> ความดันในตลับต่ำ  ==> อากาศดันหมึก (ที่ปลาย B)
เคลื่อนมาทางปลาย A แทนที่หมึกที่ถูกพิมพ์ออกไป


ส่วน รูปแบบการเดินสายยาง ก็ลองพาดสาย และจำลองการเคลื่อนของหัวพิมพ์ดูครับ
ถ้าไม่มั่นใจ ก็ดูจากเวปต่างๆ ที่เขาทำมาแล้ว Work ก็ได้ครับ ง่ายดี

และข้อควรระวังอีกอย่างนะครับ  สำหรับปริ้นเตอร์ที่พิมพ์เร็วมากๆ (เช่น Canon รุ่นหลังๆ Pixma)

เนื่องจากความเร็วมากกกกก ของมัน การวางสายส่งน้ำหมึก
ต้องมีรูปแบบที่ไม่ขวางการเคลื่อนของหัวพิมพ์เป็นอันขาด จะสะดุดนิด สะดุดหน่อย ก็ไม่ควร

ไม่เช่นนั้น   ก ร ะ จุ ย ค รั บ พี่ น้ อ ง   ต้องยึดสายต่างๆ แน่นหนาจริงๆ นะครับ
อาจใช้ปืนกาว หรือกาวซิลิโคนอย่างดี ติดตัวล็อค หรือ ตีนตะขาบ
(ร่วมกับสายรัด หรือถ้าหาไม่ได้ สายไฟแข็งก็ได้ สายไฟบ้านนั่นแหละ
ปลอกเอาแต่ทองแดง)


ถ้าหากคุณเข้าใจตั้งแต่ต้นตามนี้  ผมกล้ายืนยันนั่งยันเลยครับ
เป็น 4 5 ปี หัวพิมพ์ก็ไม่เสีย ไม่งอแง
ไม่ได้พูดลอยๆ นะครับ ผมใช้อยู่

ระวังอีกอย่าง คือ คุณภาพหมึกครับ
ภาพจะสวยแค่ไหน ก็อยู่ตรงนี้แหละ
ของถูกมากๆ หัวพิมอาจถูกกัดกร่อนก่อนเวลาอันควรนะครับ
(ผมใช้ขวดละครึ่งลิตรครับ หมึกโหลๆ  อิอิ  เพราะพิมพ์ทีละมากกกกก  ทำโบว์ชัวครับ)
และบางยี่ห้อ  น้ำหมึกแห้งตัวไวเกินไป  หัวพิมอาจต้องคลีนบ่อยครั้งนะครับ
ฟองน้ำซับหมึกก็คงเต็มเร็ว
ลองเลือกๆ ดูครับ

เครื่องเก่าผม...
Pixma ip1000 ผมใช้มานานนนนนน มากจนจำวันซื้อไม่ได้
จนวันสุดท้ายก่อนขายทิ้ง ยังพิมได้ไม่ต่างจากเครื่องใหม่ๆ เลย (ขายได้พันนิดๆ ครับ ซื้อมาพันปลายๆ)

ล่าสุดใช้ All in one Canon MP160 พิมมาหลายรีมมากๆ  บทจะไม่ใช้ ทิ้งไว้ข้ามเดือน
สั่งพิมใหม่ นิ่งๆ เลย ไม่งอแง แต่เวลาพิมภาพสีมากๆ เบื่อตอนเติมหมึกลงแทงนี่แหละ

ถ้ามีรมณ์ อาจจะลงรูปเครื่องที่ผมใช้ และติด อิงแทงค์ ไว้ให้ดูครับ
คงต้องหา กล้อง ก่อน

หากมีข้อสงสัย ลองโพสถามดูนะครับ  เผื่อมีท่านผู้รู้อื่นๆ มาช่วยร่วมแจมด้วย
หรือถามมาทางเมล์ก็ได้ pututor@yahoo.com
เพราะผมนานนนนนนนๆ ทีจะดู เวป เกี่ยวกับ Printer ซักทีนึง

ก็ ขอให้โชคดีครับ  ไร้ปัญหาจุกจิกกวนใจใดๆ ในการใช้ เครื่องปริ้นเตอร์ สุดที่รัก

และหากบทความ (โม้) นี้มีประโยช์บ้าง ขออุทิศบุญนี้กับผู้มีพระคุณของผมทั้งหลายทั้งปวง.....

หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอขมามา ณ ที่นี้ละกันครับ

      สวัสดีครับ  ___________________/|\___________________
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 10:30:51 am »

ลองดูอีก 2 ภาพนะครับ
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 10:38:10 am »

ภาพเพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 10:51:39 am »

ขอแก้นิดนึงครับ

กลัวคุณอ่านแล้วงง
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 10:56:34 am »

แก้ไขภาพอีกนิดครับ
บันทึกการเข้า
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 11:54:46 am »

ขอบคุณครับ จะลองทำดูบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
ช่างยุทธ YTN
วีไอพี
member
***

คะแนน99
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1101


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 05:08:38 pm »

 Wink Wink เยี่ยมครับ
บันทึกการเข้า

1 + 1 = ?
หน่อย CB 245CH9
member
*

คะแนน143
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 485



อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: มีนาคม 15, 2008, 05:29:15 pm »

 Cheesy     
บันทึกการเข้า

จงคิดแต่สิ่งดีดี พูดแต่สิ่งดีดี แล้วคุณ จะได้พบแต่สิ่งดีดีตลอดไป
ใจ
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: มีนาคม 16, 2008, 10:43:06 am »

สำหรับคุณ jinda230 นะครับ

Epson รู้สึกว่าน้องชายผม (คนละบ้าน) มันใช้อยู่
เท่าที่ผมดูตลับหมึก เข้าใจว่ามีนมีช่องอากาศที่ แยบคาย วกไปวนมา
ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมขนาด และปริมาณการ Flow ของหมึกออกจากตลับ
(ถ้าเทียบกับวงจรไฟฟ้า คงคล้ายตัวต้านทาน ที่เป็นตัว Bias กระแส ให้ไหลตามที่ผู้อกแบบตั้งไว้)

และ Epson ต้องระวังเรื่อง อากาศรั่ว ณ จุดที่ตลับหมึกสัมผัสกับหัวพิมพ์(รู้สึก คล้ายๆ กะเดือย)

ถ้าดัดแปลงทำแทงแล้ว ต้องปิดรูไม่ให้อากาศเข้าได้เป็นอันขาด
ผมหมายความถึง ตั้งแต่หัวพิมพ์ ไล่ไปจนถึงปลาย B เลยนะครับ
ซึ่งถ้าอากาศไม่เข้าแล้ว  และระดับ B ไม่ต่ำกว่าระดับ A จนเกินไปนัก

หมึกไม่มีทางร่นหรอกครับ

ผมเคยเจอเคสนี้ กะ Canon ip1000 มาแล้ว
อากาศรัั่เข้า ณ จุดที่ตลับหมึกสัมผัสกับหัวพิม

คุณลองนำแผ่นยางซิลิโคนเล็กๆ (ขายที่บ้านหม้อ ใช้ในอิเลคโทรนิค แผ่น 3-4 บาท
จริงๆ แล้ว ทางอิเลคโทรนิคใช้เผื่อส่งผ่านความร้อน จาก Active Device ไปยัง HeatSink)
ดัดแปลงมารองกันอากาศรั่ว ณ จุดคอนแทคของตลับ กับหัวพิม แต่ต้องตัดแต่งเล็กน้อยนะครับ
ผมว่าน่าจะหายขาด เข้าขั้น ชงัดเลย (หากเครื่องคุณอากาศรั่วเข้า ณ จุดนั้น)

เนื่องจาก แผ่นยางซิลิโคน มีความหยุ่นตัวดีทีเดียว
และการเสียรูปอย่างถาวรเนื่องจากแรงกดของตลับหมึกนั้น... เป็นไปได้ยาก
ผมว่า ดีกว่าแผ่นยางถูกๆ ซะอีก หากมองระยะยาวหลายปี ยางถูกๆ ยังเสื่อมสภาพง่ายกว่า

ลองแก้ไขดูครับ

 Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue Tongue
บันทึกการเข้า
jinda55
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #15 เมื่อ: มีนาคม 16, 2008, 09:32:48 pm »

ขอบคุณมากครับ จะลองทำตามที่แนะนำดูครับ  Cheesy
บันทึกการเข้า
samachai
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 27, 2008, 03:51:12 pm »

 น่าสนใจดีครับอยากทำบ้าง  แต่จะกำหนดระดับ a-b ยังไงครับ
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2008, 08:21:23 pm »

น่าสนใจดีครับอยากทำบ้าง  แต่จะกำหนดระดับ a-b ยังไงครับ

ครับ...
สำหรับ ระดับ A และ B
ในสายตาผมนั้น  หากห่างกันมากเกินไป ... เมื่อไม่ใช้นานๆ หมึกจะร่นไปทาง Tank ครับ
เราจะสังเกตุเห็นว่า มีอากาศที่สายส่งหมึกที่ยึดกับหัวพิมพ์

แต่หากเท่ากันเลย ... ในทางปฏิบัต ผมว่าไม่น่าเหมาะสมเท่าไร
เนื่องจากน้ำหมึก มีค่าความตึงผิวอยู่ด้วย 
อาจทำให้แรงดันหมึกที่หัวพิมพ์สูงเกิน
เราจะสังเกตุเห็นว่า ผลงานที่พิมพื ออกมา มีริ้วขาวๆ เพราะที่หัวพิมพ์มันเยิ้ม

เท่าที่ผมติดตั้งมา ผลงานพิมแบบ เนียนๆ และไร้ปัญหาใดๆ
ลงตัวที่ประมาณ 1 นิ้วครับ

ตอนนี้ผมมี 3 เครื่องละ MP160 ล้วนเลยครับ
ทำโรงเรียน และแจกชีท + หนังสือ+ปกสี ให้เด็กๆ
ไม่เข้าร้านถ่ายเอกสารเลย  เพราะปริ้นเองตลอด พิมสีได้ด้วย อิอิ
ทำโบว์ชัว (สีทั้งแผ่น) ทีนึง หลายพันเลยครับ
ที่ระยะ 1 นิ้ว โดยประมาณ มันนิ่งๆ เลยนะ Canon ทนมากครับ และไม่จุกจิกใดๆ

ลองดูครับ

 

 
บันทึกการเข้า
groomer
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19


ไม่ลอง.....ก็ไม่รู้


« ตอบ #18 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2008, 01:04:33 pm »

ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ให้.....คับ
จะลองทำตามที่  คุณ tao  แนะนำคับ     
บันทึกการเข้า
CPBE
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 16


« ตอบ #19 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 11:31:22 am »

   เยี่ยมครับ  นับถือ ๆ   
บันทึกการเข้า
asonsan
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2008, 10:03:22 pm »

ขอบคุณนะครับ  ผมงงมาตั้งนาแล้ว
บันทึกการเข้า
mitrapap
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 31


อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2008, 10:22:03 pm »

เป็นสุดยอดความรู้เลยครับ ผมขออนุญาตเอากระทู้ไปแนะนำไว้ที่บล็อกด้วยครับผม
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2008, 09:22:09 pm »

>>  ยินดีครับ  <<


 
บันทึกการเข้า
kit9595
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: เมษายน 22, 2009, 09:20:09 am »

ขอบคุณนะครับ  ลองผิดลองถูกมาตั้งนาน เป็นความรู้ประกอบอาชีพได้
บันทึกการเข้า
samachai
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 24, 2009, 04:15:50 pm »

 THANK!! THANK!! THANK!! ตอนนี้ติดตั้งเสร็จมาหนึ่งอาทิตย์แล้วยังไม่พบปัญหาครับ ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆๆครับ ติดตั้ง ip1980 ครับ
บันทึกการเข้า
phnu
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 412


PHET

phnu6657@hotmail.com phnu2522@yahoo.com
อีเมล์
« ตอบ #25 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2009, 11:15:24 am »

ได้ความรู้มากครับ อ่านอยู่หลายรอบ เมื่อเข้าใจแล้วอยากจะลองทำบ้าง แต่ไม่มีเครื่อง print  พอดีมีเพื่อนคนหนึ่งซื้อ print hp f4280 มา prin ภาพได้ไม่กี่แผ่นหมึกหมด รุ่นนี้หมึกน้อยครับ จะซื้อตลับ xl ก็แพงเหลือเกินgเพื่อนผมบอกว่าจะไปซือรุ่นที่หมึกถูกกว่านี้ ผมเลยจััดการติด inktankให้ซะเลย ก่อนติดได้ทำการศึกษาอยู่หลายรอบ ช่างหลายคนบอกว่า ปัญหาเยอะไม่แนะนำให้ติด ยังไงยังไงก็จะทิ้งอยู่แล้ว มานั่งอ่านกระทู้นี้หลายรอบ ก็ลงมือทำพอเสร็จก็ลองปริ้น ที่ร้านเป็นร้านอินเตอร์เน็ต ซ่อมคอมพิวเตอร์ ก็พิมพ์งานทุกวัน เช้าก็มาดูหมึกไม่ไหลย้อนกลับ นี้ก็ 1 เดือนแล้วยังไม่พบปัญหาแต่ต่อไปไม่แน่ เดี๋ยวจะมาเล่าสู่กันฟัง
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #26 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2009, 08:44:01 pm »



ดีใจด้วยครับ

พูดถึงปัญหา การติดตั้ง inktank
เกือบทั้งหมด ก็เกิดจาก ความดันคลาดเคลื่อนแหละครับ
หากมั่นใจว่าแน่่นหนา ไม่มีรูรั่วที่ข้อต่อใดๆ นานเป็นปี หมึกก็ไม่ไหลย้อนกลับหรอกครับ

 
บันทึกการเข้า
phnu
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 412


PHET

phnu6657@hotmail.com phnu2522@yahoo.com
อีเมล์
« ตอบ #27 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2009, 12:19:23 am »

เค่รื่องทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ต้องมี ท่อทิ้งหมึก หรือเปล่าครับ โดยเฉพาะ hp มีสายท่อทิ้งหมึกทุกรุ่นหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
tao
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


อีเมล์
« ตอบ #28 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2009, 11:22:29 am »

เค่รื่องทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ต้องมี ท่อทิ้งหมึก หรือเปล่าครับ โดยเฉพาะ hp มีสายท่อทิ้งหมึกทุกรุ่นหรือเปล่าครับ

ผมไม่รู้ทุกรุ่นหรอกครับ  แต่โดยปรกติ HP และ Lexmark จะไม่มี
เพราะ 2 จ้าวนี้ ใช้การปาดหัวพิมพ์เท่านั้น
ไม่เหมือน Canon Epson และ Brother ที่มีระบบดูดหัวพิมพ์เวลามันตัน
และมันก็จะต่อท่อ และดูดไปทิ้งไว้ในตัวเครื่องด้านล่างๆ
ก็...  เลือกหมึกที่มันตันยากๆ หน่อยละกันครับ อาจแพงขึ้นเล็กน้อย
เพราะ หากมันตัน งานเข้าแน่นอน  ต้องเอาหัวออกมาทำเอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!