บทความ..โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) DTV
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 26, 2024, 08:52:38 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ..โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) DTV  (อ่าน 14521 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 13, 2008, 04:24:19 pm »

ไปเที่ยวมาเจอบทความเลยนำมาแบ่งปันกันครับ   ผม รู้เรื่องไม่เล๊ย ถ้าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหละก้อ ขออภัยนะครับ  Credit mon33th   Grin


                   โทรทัศน์แต่เดิมใช้ระบบอนาลอก (analog) หรือเชิงเส้นทั้งในภาคการส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณ
แต่ต่อมาเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์
นำมาพัฒนาใช้ในการช่วยโทรทัศน์ แต่ต่อมาได้มีผู้เล็งเห็นว่าหากนำ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีของโทรทัศน์ คงจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลคอมพิวเตอร์นั้นใช้ส่งสัญญาณและ
รับสัญญาณในระบบดิจิตอล ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงโทรทัศน์ให้ใช้ระบบดิจิตอลด้วย
เนื่องจากโทรทัศน์ใช้กันทั่วโลก การเปลี่ยนระบบจากอนาลอกเป็นระบบดิจิตอล จึงต้องเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการสหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) กำลังประชุมกันอยู่ โดยกำหนดมาตรฐานดังนี้
1.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting Satellite System)
2. ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านสายเคเบิ้ล ( DVB-C the digital cable eleliverly system)
3. ระบบแพร่ภาพดิจิตอลภาคพื้นดิน ( DVB-T the Digital Terrestrial Television System
            ดิจิตอล คือ อะไร
ดิจิต แปลว่า นิ้ว ในสมัยโรมันการคิดเลขใช้วิธีนับนิ้ว ดังนั้น อะไรที่ใช้คิดเลขก็จะเรียนกว่า ดิจิตอล เนื่องจากนิ้ว
ดังนั้นอะไรที่ใช้คิดเลขก็จะเรียกว่า ดิจิตอล เนื่องจากนิ้วมี 10 นิ้ว การนับจึงเรียกว่าเลขฐาน 10 คือ นับ ตั้งแต่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,0 เมื่อถึง 0 แล้วจะนับต่อต้องเอาเลขมาเรียนกันก็จะได 10,11,12,13,14,15 เป็นต้น
มีวิธีนับอีกวิธีหนึ่ง ที่เรียนกว่า เลขฐาน 2 คือ 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 2 นี้จะเรียงต่อกันไปและเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 ได้เช่น
0 เท่ากับ 0 , 1 เท่ากับ 1 , 10 เท่ากับ 2 , 11 เท่ากับ 3 เป็นต้น ตัวเลข 0 และ 1 ที่วิ่งตามกันเป็นแถวก็จะสามารถปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ถูกต้องได้ไม่ยาก เพราะไม่ใช่ 0 ก็ต้องเป็น 1 ไม่ใช่ 1 ก็ต้องเป็น 0
คอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิตอล คือ เลข 0 และ เลข 1 เวลาส่งสัญญาณก็แปลงเป็นไฟฟ้าก่อน ที่ใดมีสัญญาณ 0 คือ ปิดสวิทซ์ ถ้าเปิดสวิตซ์ สัญญาณก็จะเป็น 1 ด้วยวิธีการเปิด และปิดสวิตซ์นี้ เราก็สามารถส่งสัญญาณดิจิตอบได้ การเปิดและปิดสวิตซ์นี้ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เปิด-ปิดได้เร็วและเรียบร้อย
               คอมพิวเตอร์เข้ามาในโทรทัศน์ได้อย่างไร
ในระยะแรกคอมพิวเตอร์เข้ามาในวงการโทรทัศน์เพื่อมาช่วยในบริหารและการจัดการ เช่น คิดบัญชี ทำบัญชีสิ่งของ ทำบัญชีบุคลากร และการใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน เป็นต้น
ต่อมาก็ใช้ในการทำระบบอัตโนมัติในสำนักงาน ใช้ในการช่วยส่งข่าวบ้าง ใช้ในการบันทึกข้อความบ้าง
ต่อมาเมื่อมีระบบกราฟฟิคเข้ามา ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวอักษรและทำกราฟิคต่างๆ
ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณาต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณา ภาพพิเศษต่างๆ ภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นทำได้สวยงามวิจิตรพิสดารเป็นอย่างมาก เช่น ภาพนกกินหยดน้ำ
นกที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์สวยยิ่งนัก ทำให้เกิดภาพอื่นๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายแบบ
จนกระทั่งทำให้ภาพนิ่งเคลื่อนไหวได้ (Animation) ตัวการ์ตูนตัวเดียว สามารถเคลื่อนไหวได้สารพัด ทำให้ สามารถสนองตอบจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน ได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพราะดิจิตอลสามารถเปลี่ยนแปลง
และแปรผันได้ตามโปรแกรมที่จัดเข้ามา

                   การบันทึกภาพในระบบอนาลอกนั้น เมื่อนำไปกระทำซ้ำต่อกันหลายครั้ง ภาพจะมีคุณภาพลดลง คือ ไม่ชัดเท่ากับต้นฉบับ แต่ในระบบดิจิตอลนั้นแม้จะนำไปกระทำซ้ำ ต่อเนื่องกันหลายสิบครั้งภาพก็ยังคงมีคุณภาพคงเดิม ด้วยข้อดีนี้จึงมีการนำเอาระบบดิจิตอล มาใช้ในเครื่องบันทึกภาพโทรทัศน์และเครื่องบันทึกภาพ แบบอื่นๆ
ต่อมาได้มีการพัฒนากล้องโทรทัศน์ให้เป็นระบบดิจิตอลบ้าง การนำเอาดิจิตอลมาใช้กับกล้องโทรทัศน์นี้ มิใช่ว่าจะทำให้คมชัดอย่างเดียวเพราะกล้องที่คมชัดมากๆ ภาพจะไม่สวย เพราะจะเห็นสิวฝ้า ตลอดจนรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ชนิดที่เจ้าของหน้าเห็นเข้าอาจเป็นลมไปเลยก็ได้ แต่ดิจิตอลมีข้อดีตรงที่บังคับ และเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่มอัตโนมัติ ใบหน้าที่เต็มไปด้วยสิวและรอยเหี่ยวย่นก็จะกลายเป็นหน้าที่มีผิวสีชมพูระเรื่อ ผิวเนียนอย่างนางงามผิวเนียนอะไรอย่างนั้น แต่ก็จะเป็นเฉพาะบางกล้องเท่านั้น เพราะกล้องดิจิอตอลที่คุณภาพต่ำก็มี แตถ้าคุณภาพสูง ภาพจะสวยแต่ราคาก็จะแพงมากเช่นกัน
                 เมื่อกล้องก็เป็นดิจิตอลแล้วอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องตัดต่อภาพ เครื่องลำดับภาพ เครื่องทำภาพพิเศษ เครื่องกำเนิดสัญญาณซิงค์ เครื่องกระจายสัญญาณและเครื่องควบคุมอื่นๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นดิจิตอลไปด้วยรวมถึงทั้งอุปกรณ์ห้องส่ง หรืออุปกรณ์ห้องผลิตรายการทั้งหมด แม้แต่การบังคับไฟที่ให้แสงในการถ่ายทำก็บังคับด้วยดิจิตอล รวมความแล้ว่าระบบในห้องส่งโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบเป็นดิจิตอลทั้งหมด สายที่ส่งสัญญาณเข้ามาก็ถูกเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล แต่การส่ง สัญญาณ จากสถานีไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านผู้ชมนั้นยังไม่ได้ ใช้ระบบดิจิตอล เพราะเครี่องรับโทรทัศน์ของผู้ชมยังเป็นอนาลอกอยู่ การที่จะเปลี่ยนเครื่องรับหลายพันล้านเครื่องให้เป็นระบบดิจิตอล โดยโยนเครื่องเก่าทิ้งหมดนั้นทำไม่ได้ เป็ฯการเดือดร้อนต่อประชาชนผู้รับชมแต่ความจำเป็นในการเปลี่ยนระบบก็ยังคงมีเพราะทุกวันนี้ความถี่วิทยุมีจำนวนจำกัด ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ตลอดจนการสื่อสารต่างๆ เกิดขึ้นทุกวันจึงมีความจำเป็นต้องใช้ความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นระบบดิจิตอลจึงสามารถตอบรับความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดีเพราะระบบดิจิตอลสามารถบีบอัดความกว้างของช่องสัญญาณให้ลดลง ทำให้สามารถเพิ่มช่องทางการส่งสัญญาณได้อีกมากมาย
                      ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม 1 ดวงมี ช่อง สัญญาณดาวเทียม 12 ช่องสัญญาณถ้าจะส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกไม่มีการบีบอัดสัญญาณจะส่งได้ ทั้งหมด 24 ช่องโทรทัศน์ คือ 2 ช่องต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลและมีการบีบอัดสัญญาณ (Compression) จะสามาระส่งได้ถึง 10 ช่อง โทรทัศน์ต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมดวงหนึ่ง 12 ทรานสปอนเดอร์ จะส่งโทรทัศน์ได้ถึง 120 ช่อง
                    สายเคเบิ้ลก็เช่นเดียวกัน ถ้าส่งในระบบอนาลอกก็จะส่งได้น้อยช่องกว่าส่งด้วย
                    ระบบดิจิตอลที่มีการบีบอัดสัญญาณ
           การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้เริ่มต้นโดยการส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียมและโทรทัศน์ทางสาย หรือ เคเบิ้ลเทเลวิชั่น ( Cable Television ) และเนื่องจากระบบดิจิตอลนี้    ควบคุมได้ง่าย การสั่งการก็ง่าย จึงเกิดโทรทัศน์ 2 ทางขึ้นและเกิดรายการ เปย์เปอร์วิว ( Pay Per View ) หรือการรับชมรายการที่ต้องจ่ายเงินเป็นรายเรื่อง
           และเนียร์วีดิโอออนดีมานด์ ( Near video on Demand ) คือการรับชมตามเวลาที่กำหนดโดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนและ
วิดิโอออนดีมานด์ ( Video on Demand ) คือ การรับชมรายการใดก็ได้ตามรายการที่ระบุไว้โดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน
                          ส่วนการรับสัญญาณนั้นก็จำเป็นจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้อยู่เดิมรับได้ด้วย ดังนั้นหากใครต้องการที่จะรับโทรทัศน์จากดาวเทียมก็ต้องมีจานรับประกอบกับอุปกรณ์ร่วม
         คือ กล่องไออาร์ดี (IRD) ซึ่งต้องนำมาติดตั้ง กับเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะสามารถรับโทรทัศน์ จากดาวเทียมในระบบดิจิตอลได้ ซึ่งเรารู้จักกันในนาม ดีทีเอช ( DTH ) หรือ ไดเร็คทูโฮม ( Direct to home ) โดยจานจะรับสัญญาณจากดาวเทียมมาขยายและส่งเข้ากล่องไออาร์ดี กล่องนี้จะแปลงสัญญาณดิจิตอลจากดาวเทียมให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์ ในระบบอนาลอกแล้วส่างเข้าเครื่องรับโทรทัศน์
                ส่วนระบบเคเบิ้ลทีวีก็มีกล่องอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมเช่นกัน เรียกว่าเซททอป (Set Top) กล่องนี้ก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณโทรทัศน์ในระบบอนาลอกและเปลี่ยนช่องสัญญาณส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนการควบคุมการใช้ทางเคเบิ้ลทีวีก็จะควบคุมจากรีโมทคอนโทรลและเนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล การควบคุมก็จะทำได้อย่างสะดวกการสั่งฉายภาพยนตร์เรื่องที่ต้องการก็สามารถสั่งได้ตามเวลาที่กำหนดไว้
หรือเปลี่ยนช่องสัญญาณได้ง่ายการปรับแต่งต่าง ๆ ทำได้ง่าย ๆ
                การพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ( Terrestial Television )
ในขณะที่โทรทัศน์จากดาวเทียมขยายกิจการมากขึ้น มีการถ่ายทอดข้ามโลกและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
ทางเคเบิ้ลทีวีก็พัฒนาระบบมากขึ้น มีการให้บริการมากขึ้น ทางโทรทัศน์ที่ส่งด้วยสายอากาศภาคพื้นดิน
ก็ต้องขยับตัวเพราะต้องการช่องสัญญาณมากขึ้น การพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้น มีความพยายามที่จะเพิ่มสถานีโทรทัศน์ให้มากขึ้นโดยการใช้ช่องสัญญาณความถี่ในย่านยูเอชเอฟ นอกจากนั้นยังมีความพยายามทำโทรทัศน์ให้มีความคมชัดมากขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้นที่เรียกว่า เอชดีทีวี (HDTV)
แต่ก็ต้องเลิกล้มไปเพราะเห็นว่าระบบที่พัฒนานั้นเป็นระบบอนาลอก ซึ่งจะพัฒนาต่อไปก็คงยากจึงหันมาพัฒนาโทรทัศน์ HDTVในระบบดิจิตอลแทน
              การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ( Digital )
เดิมทีการส่งโทรทัศน์จะส่งในระบบอนาลอก ( Analog ) แต่เมื่อมีสถานีส่งโทรทัศน์มากขึ้นก็เกิดปัญหาการรรบกวนเกิดขึ้น เพราะความถี่มีจำนวนจำกัด การส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกนั้น ในเมืองเดียวกันจะส่งความถี่ใกล้เคียงกันไม่ได้ ต้องส่งช่องเว้นช่อง
เช่นใน กทม. ส่งช่อง 3 5 7 9 11 จะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 ไม่ได้ ถ้าจะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 จะต้องส่งให้ห่างจาก กทม. อย่างน้อย 200 กม.
เช่นที่ นครสวรรค์ ระยอง หรือ ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก อาทิ
1. สัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กอื่น ๆ ทำให้ภาพไม่คมชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องต่ำ
2. สัญญาณที่ส่งมาจากสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์อื่น ๆ มารบกวนทำให้รับไม่คมชัด
3. สัญญาณที่สะท้อนจากตึก สิ่งปลูกสร้าง หรือภูเขาทำให้เกิดเงาที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ ทำให้ได้รับไม่      ชัดเจนและน่ารำคาญ
4. เนื่องจากไม่สามารถบีบอัดสัญญาณได้ จึงต้องใช้ความถี่มากทำให้มีสถานีได้น้อย
5. การที่จะส่งสัญญาณอื่น ๆ ร่วมไปด้วยทำได้โดยยาก
             ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก แต่เหตุผลที่สำคัญคือ การมีช่องสัญญาณน้อยไม่พอใช้ จึงต้องนำระบบดิจิตอล
มาแก้ปัญหาเพื่อให้มีช่องสัญญาณออกอากาศรายการได้มากขึ้น
ประโยชน์ของการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้ประโยชน์หลายประการ เช่น
1.ทำให้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้มากขึ้น เช่น เดิม 1 ช่องใช้ได้ 1 รายการ เมื่อหันมาใช้ระบบดิจิตอล มีการบีบอัดสัญญาณ ( Digital Compression ) ก็จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม
2. ให้บริการเสริมได้ ( ถ้ากฎหมายอนุญาต )
3. สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับโทรทัศน์บนรถยนต์ได้ชัดเจนในบางความถี่
4. สามารถให้บริการฟรี ( Free to Air ) หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้
5. ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศต่อ 1 รายการลดลง เพราะเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ
6. พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรับกับวิวัฒนาการของการส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคต เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN ) โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV )
7. ประหยัดพลังงานในการส่งโทรทัศน์ เนื่องจากเครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง
8. คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา การรบกวนน้อย เพราะถ้าจะรับได้ชัดก็ชัดเลยแต่ถ้าอยู่ในที่รับไม่ชัดก็จะรับไม่ได้ ดังนั้นหากต้องการรับชมก็ต้องขวนขวายหาวิธีรับจากทางอื่น เช่น จากเคเบิ้ลทีวี หรือจากดาวเทียม ซึ่งถ้ารับได้ก็จะได้ชัดเจนไม่มีเงาและสิ่งรบกวน หรือถ้ามีการรบกวนก็จะมีในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก
         การรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
เมื่อมีการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เป็นการส่งในเชิงตัวเลข แต่เครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นเครื่องรับแบบอนาลอก ซึ่งมีอยู่มากมาย ทั่วโลกนับพันล้านเครื่อง เฉพาะในประเทศไทยมีถึง 15586000 เครื่อง ( ตามข้อมูลของสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ) ถ้าจะให้ทิ้งเครื่องรับโทรทัศน์เก่าทั้งหมด ก็จะเป็นปัญหาแน่ คือ
1. จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อเครื่องใหม่ซึ่งจะประมาณเท่ากับ 15 ล้าน คูณด้วย 1 หมื่นบาท เท่ากับ 1 แสนห้าหมื่นล้านบาท
2. การที่จะสร้างเครื่องรับ 15 ล้านเครื่องในวันเดียวกันนั้นทำไม่ได้ดังนั้นจึงต้องใช้เครื่องรับโทรทัศน์เก่าไปก่อนและ แก้ปัญหาโดยทางสถานีโทรทัศน์ส่งสัญญาณทั้งในระบบอนาลอกแบบเดิม และส่งในระบบดิจิตอลควบคู่กันไป ผู้ใดที่ต้องการรับในระบบอนาลอกกรับไป ผู้ใดต้องการรัรบในระบบดิจิตอลก็รับไป
          การรับสัญญาณในระบบดิจิตอลใช้เครื่องรับในระบบอนาลอกธรรมดานั้นเพียงแต่ติดเซททอป
( SET TOP ) ไว้ที่ด้านหน้าเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาลอกก่อนที่รับสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณออกให้เท่าเดิมจึงจะรับกันได้ หรือมีเครื่องที่รับได้เฉพาะสมาชิกบอกรับก็จะต้องมีเครื่องถอดรหัสสมาชิกบอกรับด้วย

ปัญหาที่จะเกิดก็คือเครื่องเซททอป (SET TOP) ราคายังแพงมาก คือ 20000 บาทต่อเครื่อง ถ้าเครื่องนี้มีราคาถูกลงก็จะทำให้คนรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมากขึ้น

                     ผู้ประกอบการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องส่งออกอากาศให้ได้ ทุกฝ่ายก็ต้องหาทางเอาเองเช่น
1. ทำเครือข่ายเล็ก ๆ ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเครื่องรับแล้วมีไม่เกิน 1000 เครื่อง ค่าใช้จ่ายก็คงไม่มาก
2. ในที่ที่ไม่สามารถจะส่งระบบอนาลอกได้จริง ๆ ก็จำเป็นที่จะส่งในระบบดิจิตอล เช่น ในท้องถิ่นที่
ความถี่เต็มแล้วหรือโทรทัศน์ท้องถิ่น เป็นต้น
3. ทางด้านการศึกษาซึ่งต้องการรายการมาก เนื่องจากมีหลายสาขาสวิชาและแต่ละสาขาก็มีวิชาที่จะต้องสอนอย่างหลากหลาย ดังนั้นการที่จะไปสร้างสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินตั้ง 20 ช่อง ก็คงไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลไปยังผู้รับชมกลุ่มเป้าหมายจำนวนจำกัดก็คงไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก
4. สถานีที่ทำไว้เพื่อความทันสมัยในวันข้างหน้า ควรทำการส่งในระบบดิจิตอลทางภาคพื้นดินขนาน ไปกับการส่งในระบบอนาลอกด้วย รายการเดียวกัน อาทิเช่น สถานโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในอนาคต ข้างหน้าอาจส่งออกอากาศทั้ง 2 ระบบ ดังนั้นใครรับช่อง 3 ไม่ชัดก็สามารถหันไปรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ ทำให้ประชาชนมีทางเลือก ระยะแรกคนที่รับดิจิตอลก็อาจมีไม่มากนัก แต่เมื่อเซททอปมีราคาถูกลงหรือมีผู้ทำเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับได้ทั้งอนาลอกและดิจิตอลในตัวของมันเองขึ้นมา ราคาก็คงจะไม่แพงมากนัด เหมือนกันซื้อเครื่องรับธรรมดากับเครื่องรับที่รับได้ทุกระบบทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งผู้ซื้อไม่รู้สึกว่าแพงเลย แต่มีความคมชัดมาก
5. โทรทัศน์ 2 ทาง ซึ่งใช้ในการศึกษา การแพทย์ การประชุมทางไกล และอื่น ๆ ที่ใช้ดิจิตอล
6. มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน วิทยาลัย กิจการทหารและกิจการพิเศษบางอย่างจะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการนำเสนอรายการมากรายการ
7. โทรทัศน์ท้องถิ่นจะใช้ดิจิตอล เพราะเป็นเครื่องส่งเล็กสามารถใช้ความถี่ซ้ำกันได้
8. โทรทัศน์พิเศษอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์เพื่อคนพิการ โทรทัศน์เพื่อการกีฬา จะใช้ดิจิตอล เพราะสามารถส่งข้อมูลอื่นควบคู่ไปได้ด้วย
9. โทรทัศน์โรงแรมซึ่งมีรายการพิเศษเฉพาะในโรงแรมของตนจะใช้ระบบดิจิตอล เพราะความสามารถให้ความหลายหลายทางด้านรายการกับผู้มาใช้บริการและที่สำคัญค่าใช้จ่ายต่อรายการถูกกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
10. โทรทัศน์สมาชิกบอกรับ จะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการช่องรายการมาก
11. โทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง ( HDTV )
12. โทรทัศน์กิจการพิเศษ ซึ่งใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายในเชิงปิดลับจะใช้ดิจิตอล
13. โทรทัศน์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม ( Telecom Network ) เช่น อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
              มาตรฐานการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีการส่งในมาตรฐานต่างกัน เช่น
1. ประเทศอเมริกาใช้มาตรฐาน เอทีเอสซี ( ATSC ) ซึ่งย่อมาจาก อเมริกัน แอดวานซ์ เทเลวิชั่น ซิสเต็ม ( AMERICAN ADVANCE TELEVISION SYSTEM ) ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1998
2. ยุโรป ใช้มาตรฐาน ดีวีบี ( DVB ) ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอ บรอดคาสติ้ง ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING ) ติดตั้งและใช้งานในปี 1998
3. ญี่ปุ่นใช้มาตรฐาน ไอเอสดีบี ( ISDB ) ย่อมาจากคำว่า อินทีเกรดเต็ด เซอร์วิส ดิจิตอล บรอดคาสติ้ง
( INTEGRATED SERVICE DIGITAL BROADCASTING ) ในปี ค.ศ.1998
ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ได้เริ่มทดลองใช้งานหรือศึกษาว่าจะใช้ระบบใด เช่น จีน ใต้หวัน ใช้ระบบอเมริกัน
( ATSC )
กลุ่มประเทศยุโรป สแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ใช้ระบบ ดีวีบี ( DVB )
สำหรับสิงคโปร์ติดตั้งและทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบ คือทั้งอเมริกัน ( ATSC ) และยุโรป ( DVB ) ทั้งนี้โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อจะค้าขาย 2 ระบบนี้ ผ่านประเทศของตนเองสำหรับลูกค้าในภูมิภาคนี้ เพราะเล็งเห็นว่าลูกค้าสามารถจะไปดูตัวอย่างสถานีที่สิงคโปร์ได้ง่ายเพราะใกล้กว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่า และสิงคโปร์ก็สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้อย่างสบาย และเนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีความประสงค์จะแข่งขันกับญี่ปุ่นจึงไม่นำระบบของญี่ปุ่นมาติดตั้ง ส่วนประเทศไทยจะคิดอย่างไรก็ไม่ทราบ ขอกราบเรียน
ว่าน่าจะใช้ระบบเดียวกันก็จะดี เพราะจะเป็นผลดีกับประชาชน จะได้ไม่ต้องซื้อเครื่อง 2 ระบบ อย่างระบบเสียง 2 ภาษาซึ่งมี 2 ระบบอย่างทุกวันนี้ ส่วนถ้าจะคิดค้าขายแบบสิงคโปร์ก็ควรจะตั้งสถานีระบบอเมริกันเพียงสถานีเล็กสถานีเดียวก็พอ เรื่องนี้สุดแต่จะพิจารณา
            ระบบการส่งและการรับโทรทัศน์ในอนาคต
การส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะเป็นดังนี้
1. การส่งและรับโทรทัศน์ในระบบอนาลอกโดยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ( Terrestrial Television )
2. การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ( Digital Terrstrial Television )
3. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบอนาลอก
4. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบดิจิตอลฃ
5. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับ ชนิดไร้สาย หรือระบบมัลติพอยท์ มัลติแชนแนล ดิสทริบิวชั่น ซีสเต็ม
( Multipoint Multichannel Distribution System ) หรือ MMDS เป็นการส่งโทรทัศน์โดยใช้คลื่นผ่านไมโครเวฟเป็นตัวกระจายคลื่น 1-2.3 กิ๊กกะเฮิรตซ์ ความถี่ย่านนี้จะรับโดยใช้ระบบอนาลอก
6. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับชนิดไร้สาย หรือ MMDS โดยใช้ระบบดิจิตอล
7. การส่งเคเบิ้ลทีวีชนิดใช้สายในระบบอนาลอก
8. การส่งเคเบิ้ลทีวีชนิดใช้สายในระบบดิจิตอล
9. การให้บริการโทรทัศน์โดยผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมในระบบดิจิตอล
10. การส่งโทรทัศน์โดยการบีบอัดสัญญาณในระบบดิจิตอล ผ่านดาวเทียม
11. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง ( Interactive Television ) ในระบบดิจิตอล
12. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง โดยผ่านดาวเทียมทางหนึ่ง และผ่านเคเบิ้ลใยแก้อีกทางหนึ่ง
13. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านดาวเทียม ( HDTV VIA SATELLITE )
14. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านเคเบิ้ลในระบบดิจิตอล
          จากรายละเอียดข้างต้นจะเห็นว่าโทรทัศน์อนาลอกก็ยังคงอยู่และโทรทัศน์ดิจิตอลก็จะค่อย ๆ มากขึ้น
เป็นสัดส่วนกลับกันคือโทรทัศน์อนาลอกจะค่อย ๆ มากขึ้นเป็นสัดส่วนกลับกันคือโทรทัศน์ อนาลอกจะค่อยๆ น้อยลง และโทรทัศน์ดิจิตอลจะค่อยมากขึ้น เหมือนเครื่องรับเอเอ็มกับเอฟเอ็มที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในระยะเวลาอันไม่นานนัก ผู้คนจะได้รับชมโทรทัศน์ที่มากมายหลายระบบ สามารถเลือกชมได้ ทั้งโทรทัศน์ในเชิงพาณิชย์ โทรทัศน์เพื่อการบริการ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา โทรทัศน์ท้องถิ่น โทรทัศน์เพื่อคนพิการ โทรทัศน์เรื่องการเมือง การจราจร การซื้อขายโดยตรงก็เป็นไปได้
              สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะสามารถให้การศึกษาแบบมหาวิทยาลัยเปิดหรือการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างทั่วถึง มีทั้งที่ผู้เรียนต้องเสียค่าหน่วยกิต และไม่ต้องเสียค่าหน่วยกิต เพราะเป็นบริการของรัฐ และจากมูลนิธิการกุศลต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ได้มีการร่าง พรบ. สถาบันเทคโนโลยีทางการศึกษาแห่งชาติขึ้นแล้วแต่รูปร่างของพรบ. จะเป็นอย่างไรต้องรอรัฐบาลใหม่
เมื่อทุกคนต่างก็ต้องการใช้ความถี่ ทุกคนก็จะบอกว่ากิจการของตนมีความสำคัญ มีความจำเป็น การเพิ่มรายการก็จำเป็นดังนั้นในวันหนึ่งข้างหน้า ประเทศไทยก็คงจะต้องนำระบบดิจิตอลมาใช้อย่างไม่มีปัญหา เพราะถ้าโลกทั้งโลกเข้าใช้ดิจิตอล ประเทศของเราก็คงจะต้องใช้เหมือนชาวโลก แต่ทั้งโลกก็มิใช่มีมาตรฐานเดียว ดังนั้นน่าจะตกลงกันในเรื่องของมาตรฐานให้ได้เสียก่อนว่าจะนำมาตรฐานเดียว ดังนั้นน่าจะตกลงกันในเรื่องของมาตรฐานให้ได้เสียก่อนว่าจะนำมาตรฐานใดมาใช้สำหรับประเทศไทยในอนาคต
         การแพร่ภาพโทรทัศน์ (Television Broadcasting)
โทรทัศน์ (television)การถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเครื่องที่เปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเครื่องที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณภาพและเสียง เรียกว่า เครื่องรับโทรทัศน์
โทรทัศน์แอนะล็อก (analog television) คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณแอนะล็อกแบบA.M. และ F.M เช่น โทรทัศน์ที่ระบบ NTSC PAL และ SECAM ซึ่งก็คือโทรทัศน์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือน
โทรทัศน์ดิจิตอล (digital television) คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต ซึ่งหลายช่องสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันสามารถนำมาส่งเป็นช่องสัญญาณเดียวกันได้ โทรทัศน์ดิจิตอลจะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าแบบแอนะล็อก เช่น HDTV
การแพร่ภาพ (television broadcasting) การส่งกระจายภาพและเสียงออกไปในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ซึ่งจากเดิมที่เป็นการแพร่ภาพแบบไม่จำกัดผู้รับก็ได้พัฒนามาเป็นแบบแพร่ภาพเฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านสื่อนำสัญญาณ อาจรวมถึงการแพร่ภาพไปเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิกหรือเคเบิลทีวี
สัญญาณซิงโครไนซ์(synchronize signal) คือ สัญญาณที่ใช้ผสมกับสัญญาณภาพเพื่อให้การสแกนภาพเป็นไปอย่างถูกต้องตรงจังหวะ คือเริ่มต้นพร้อมกันและจบพร้อมกัน
ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC)เป็นระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมาจาก Nation Television System Committee โดยมีการส่ง ๕๒๕ เส้น ๓๐ภาพต่อวินาที อาจเรียกระบบนี้ว่าระบบ เอฟซีซี(FCC) ระบบนี้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา
ระบบพัล (PAL) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ย่อมาจาก Phase Alternative Line อาจเรียกว่าระบบ ซีซีไออาร์(CCIR) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบโทรทัศน์สีเอ็นทีเอสซี โดยมีการส่ง ๖๒๕ เส้น ๒๕ภาพต่อวินาที เช่น ระบบการส่งโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ไนประเทศไทย
               ระบบซีแคม (SECAM) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศฝรั่งเศสย่อมาจาก Se'quantiel Couleur à Me'moire (sequential color with a memory)โดยมีการส่ง ๖๒๕เส้น ๒๕ภาพต่อวินาที เป็นระบบที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศทางแถบยุโรปและแอฟริกา
การที่จะรับและส่งข้อมูลข่าวสารมีได้หลายวิธี แต่การที่จะรับและส่งข้อมูลได้ดีคือการที่ผู้รับสามารถรับข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นการส่งข้อมูลอีกวิธีหนึ่งที่สามารถที่ให้ผู้รับได้ทั้งข้อมูลทางภาพและทางเสียงเหมือนกับแหล่งที่มา ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ การแพร่ภาพโทรทัศน์แบบแอนะล็อก และการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการแพร่ภาพในแต่ละประเภทสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลายแบบ เช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และ การส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งอาจจะมากจากการถ่ายทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้
               ประเภทของโทรทัศน์
๑) โทรทัศน์แอนะล็อก (analog television)เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณแอนะล็อกแบบA.M. และ F.M.โดยส่งเป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า โทรทัศน์ชนิดนี้เป็นโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป เช่น โทรทัศน์ระบบ NTSC PAL SECAM
๒) โทรทัศน์ดิจิตอล (digital television)เป็นโทรทัศน์ที่มีรูปแบบมาตรฐานพัฒนามาจากโทรทัศน์แอนะล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบแอนะล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า multicasting การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบHDTV [๑]
               ประวัติความเป็นมาของโทรทัศน์
จากบันทึกในTelevision Technology Demystifiedได้ระบุว่าการเริ่มต้นของโทรทัศน์เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๖จากการที่ Leonard May พนักงานโทรเลขชาวไอริช ได้ค้นพบสารเซเลเนียมที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๒๗ Paul Nipkow นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้คิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไกเป็นครั้งแรก [๒] ต่อมาในปี ๒๔๕๔Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กลายเป็นแนวความคิดให้ Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscopeซึ่งทำหน้าที่เก็บรูปและสแกนรูปไว้เป็นสัญญาณไฟฟ้าหลายๆเส้น ในปี ๒๔๖๖ และในปี ๒๔๖๗ Vladimir Zworykinได้ประดิษฐ์ kinescope ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จาก iconoscope มายิงบนจอเรืองแสงที่มีตำแหน่งสอดคล้องกัน [๓] และในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ได้มีนักวิทยาศาตร์สองคนคือJohn Logie Baird ชาวอังกฤษ และCharles Francis Jenkins ชาวอเมริกันได้ทำการทดลองส่งภาพเงาโดยไม่ใช้สายซึ่งเป็นการทดลองออกอากาศครั้งแรกโดยใช้จานหมุนของ Paul Nipkow ต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาระบบสีมาใช้ร่วมกับจานหมุน Nipkow โดยในปี พ.ศ.๒๔๗๑ John Logie Baird ได้นำแผ่นกรองสีมาแยกสัญญาณสีได้สำเร็จโดยใช้จานหมุนแยกสีในการแยกสัญญาณออกเป็นสีพื้นฐาน ๓ สีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน [๒]
ซึ่งการแพร่ภาพโทรทัศน์ขาว-ดำ เป็นครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษในปีพ.ศ.๒๔๗๙ และการแพร่ภาพโทรทัศน์สีเป็นครั้งแรกของโลกได้เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ [๒]
๔) หลักการแพร่ภาพเบื้องต้น
                      การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนเรียงกันตั้งแต่ ๑๖ ภาพต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทันทำให้มองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพเนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง
                หลักในการแพร่ภาพคือการส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณเอ.เอ็ม. และส่งสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณเอฟ.เอ็ม. โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนที่เครื่องรับจะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน [๔]
การสแกนภาพ
             ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพหรือพิกเซล ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง(ความสว่างของภาพ)ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง สีเขียว สีน้ำเงินในภาพโดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้นจากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมา
                   ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์แอนะล็อก
การส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์สีได้พัฒนามาจากการส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์แบบขาว-ดำ โดยที่ได้มีการกำหนดว่าการส่งสัญญาณระบบสีทุกระบบจะต้องให้เครื่องรับขาว-ดำสามารถรับสัญญาณได้ด้วยเพียงแต่จะเห็นเป็นภาพขาว-ดำเท่านั้น
๑) ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) หรือเรียกว่าระบบเอฟซีซี(FCC) เป็นระบบของสหรัฐอเมริการะบบนี้เป็นแม่แบบของระบบอื่นๆ โดยมีการส่งภาพ ๕๒๕ เส้น ๓๐ ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือแทรกความถี่พาหะย่อยของสีลงในสัญญาณภาพโดยไม่รบกวนกัน แต่ข้อเสียของระบบนี้คือจะมีความเพี้ยนของสีเกิดขึ้น [๒]
๒) ระบบพัล (PAL) ระบบพัลได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย Dr.Walter Bruchระบบพัลหรือเรียกว่าระบบซีซีไออาร์(CCIR) เป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบเอ็นทีเอสซีโดยปรับปรุงเรื่องความผิดพลาดของสีที่เกิดจากเฟสที่เปลี่ยนไปมา โดยมีวิธีการแก้ไขคือเพิ่มเฟสเข้าไป ๑๘๐ องศาเป็นระบบที่มีการส่ง ๖๒๕ เส้น ๒๕ ภาพต่อวินาที ซึ่งหลักการของระบบนี้จะเหมือนกันกับหลักการของระบบเอ็นทีเอสซี [๒]
๓) ระบบซีแคม (SECAM) ระบบซีแคมได้ถูกคิดค้นโดย Henri de Franceนักวิจัยชาวฝรั่งเศส ระบบนี้เป็นระบบที่มีการส่ง ๖๒๕ เส้น ๒๕ ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือ แยกส่งสัญญาณกำหนดความแตกต่างของสีสลับกันที่ละเส้น ในเครื่องรับจะจับสัญญาณไว้ชุดหนึ่งเพื่อรวมกับสัญญาณในเส้นถัดไปทำให้ได้ภาพสีที่ต้องการส่ง [๒]
              ระบบการส่งสัญญาณของโทรทัศน์ดิจิตอล
เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์มีการพัฒนามากขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาพัฒนาระบบสัญญาณโทรทัศน์ จากเดิมที่มีการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกให้เป็นการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ได้ภาพและเสียงที่ดีกว่าระบบแอนะล็อก เช่น HDTV[๕]
ซึ่งระบบการส่งสัญญาณในแบบดิจิตอลสำรวจได้เป็น ๓ ระบบ (พ.ศ.๒๕๕๐)
๑) Advance Television Systems Committee (ATSC) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
๒)Digital Video Broadcasting (DVB) เป็นระบบที่ใช้ในยุโรป๓)Integrated Services Digital Broadcasting (ISDB) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น [๕]
                   การทำงานของโทรทัศน์ดิจิตอล
สัญญาณดิจิตอลมีการส่งข้อมูลที่มากกว่าแบบ แอนะล็อก จึงต้องมีการบีบอัดสัญญาณก่อนออกอากาศ โดยมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ คือ การบีบอัดสัญญาณแบบ MPEG-2 ซึ่งการทำงานของ MPEG-2 จะทำการบันทึกเฉพาะ ภาพที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ภาพจรวดกำลังเลื่อนที่ขึ้นไปในอวกาศ ก็จะบันทึกเฉพาะการเคลื่อนที่ของจรวดเท่านั้น ฉากหลังที่เป็นอวกาศเหมือนเดิมจะถูกบันทึกเพียงครั้งแรกครั้งเดียว การบีบอัดสัญญาณสามารถบีบอัดได้ในอัตราส่วน ๕๕ ต่อ ๑ โดยที่คุณภาพของสัญญาณดีกว่าและระยะทางการส่งไกลกว่าระบบแอนะล็อก [๖]
                การส่งสัญญาณโทรทัศน์
๑) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
เป็นการแพร่กระจายสัญญาณไปในอากาศเมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่๓๐- ๓๐๐MHzจะเป็นช่วงของVery high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ ๓๐๐ - ๓๐๐๐ MHz จะเป็นช่วงของUltra high Frequency (UHF) [๗]
๒) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
๒.๑) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน
๒.๒) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
๒.๓) ระบบเสาอากาศชุดเดียว [๗]
๓) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟในการส่ง [๗]
๔) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย
ประเทศไทยใช้ระบบโทรทัศน์ PAL ซึ่งแบ่งแถบคลื่นความถี่ของการใช้งานโทรทัศน์ออกเป็นย่านความถี่ VHF และ ความถี่ UHF โดยที่ย่านความถี่ VHFได้ถูกใช้จนเต็มแล้ว ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่จึงต้องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในย่านความถี่ UHF แถบคลื่นความถี่ของความถี่การใช้งานโทรทัศน์ได้แบ่งตามตารางดังนี้
ช่องความถี่ใช้งาน   ย่านความถี่
ช่อง ๒-๖   VHF ๔๑-๖๘ เมกะเฮิร์ซ
สถานีวิทยุ FM   VHF ๘๘-๑๐๘ เมกะเฮิร์ซ
ช่อง ๗-๑๓   VHF ๑๗๔-๑๓๐ เมกะเฮิร์ซ
ช่อง๑๔-๖๙   UHF ๔๗๐-๘๐๖ เมกะเฮิร์ซ
๕) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
๑) ดาวเทียม ดาวเทียมมีความเกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ในแง่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ในทุกที่
๒) สายอากาศ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยคลื่นวิทยุโดยที่มีระยะทางจำกัด
๓) การผสมสัญญาณ เป็นการผสมสัญญาณระหว่างสัญญาณภาพกับสัญญาณคลื่นวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ เพื่อทำการส่งออกไปในรูปสัญญาณเอ.เอ็ม. และยังเป็นการผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นพาหะเสียงเพื่อส่งออกไปในรูปสัญญาณเอฟ.เอ็ม.
๔) คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระยะทางไกลเนื่องจากสามารถกำหนดทิศทางการส่งได้แน่นอน
๕) คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นที่กระจายไปได้ทุกทิศทาง ใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย สามารถส่งออกไปได้ในระยะทางไกลแต่เมื่อผ่านสิ่งกีดขวางกำลังในการส่งก็จะลดลงอย่างมาก
๖) จดหมายเหตุ
                โทรทัศน์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจากบันทึกในหนังสือเทคโนโลยีโทรทัศน์โดยได้ระบุว่า จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นผู้ริเริ่มให้นำโทรทัศน์เข้ามาในประเทศ โดยมีหนังสือถึงอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ความตอนหนึ่งว่า
 “...ผมอยากจะให้พิจารณาจัดหา และจัดการส่ง Television ขึ้นในประเทศของเรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของประชาชน จะควรทำเป็น Mobile unit อย่างที่สนทนาวันก่อน แล้วจัดหารถจี๊บขนาดเล็กมาทดลองต่อไป...”
          ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงได้มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นหลังจากนั้นมา
    การค้นพบและการใช้งาน
ปี พ.ศ.   การค้นพบและการใช้งาน
๒๔๑๖   Andrew Mayค้นพบสารเซเลเนียมซึ่งเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า [๒]
๒๔๒๖   Paul Nipkowคิดค้นหลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนแบบกลไก [๒]
๒๔๕๔   Campbell Swinton ได้นำหลอดรังสีแคโทดมาใช้ในการรับส่งภาพของการสแกนภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์[๓]
๒๔๖๖   Vladimir Zworykinประดิษฐ์ iconoscope [๓]
๒๔๖๗   Vladimir Zworykinประดิษฐ์ kinescope [๓]
๒๔๖๘   John Logie Baird และCharles Francis Jenkins ทดลองการออกอากาศโดยส่งภาพและเงาโดยไม่ใช้สาย [๒]
๒๔๗๑   James L. Bairdนำแผ่นกรองสีมาใช้แยกสัญญาณสี เกิดการส่งภาพสี [๒]
๒๔๗๙   แพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษด้วยระบบ ๔๐๕ เส้น ๒๕ ภาพต่อวินาที [๒]
๒๔๙๔    แพร่ภาพสีเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยระบบ ๕๒๕ เส้น ๓๐ ภาพต่อวินาที [๒]
๒๔๙๕   ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในพ.ศ. ๒๕๕๐ คือสถานีโทรทัศน์โมเดิลไนน์ ทีวี (modern nine TV) [๙]
๒๔๙๘    มีการแพร่ภาพขาว-ดำเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ (ในพ.ศ.๒๕๕๐ คือ สถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี) [๙]
๒๕๐๐   ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๗ และมีการแพร่ภาพเป็นภาพขาว-ดำ [๙]
๒๕๑๐   สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ แพร่ภาพเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL เป็นแห่งแรกของประเทศไทย [๙]
๒๕๑๓    ได้มีการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ โดยเป็นสถานีโทรทัศน์สีระบบ PAL [๙]
๒๕๑๗    สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๗ ย้ายมาเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง๕ และได้เปลี่ยนจากการแพร่ภาพระบบขาว-ดำมาเป็นโทรทัศน์สีระบบ PAL[๙]
๒๕๓๙   สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี(ใน พ.ศ.๒๕๕๐เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี) เป็นสถานีแรกที่ใช้ระบบ UHF เนื่องจากช่องสัญญาณในย่านความถี่ VHF ถูกใช้จนเต็ม



บันทึกการเข้า

drdr61♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน292
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2663


ดูสิ่งที่มากระทบใจ อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 13, 2008, 04:54:11 pm »

 Cheesy Cheesy Cheesy ขอบคุณครับ  แต่.เอ..สงสัยมานานทำไมท่านใช้ฟร้อนใหญ่ขนาดนี้ครับ
บันทึกการเข้า

คนเราต่างที่มา ต่างที่ไป ย่อมคิดและทำอะไรที่ต่างกัน ยอมรับและเข้าใจ  จะสงบสุข
ขายอุปกรณ์ไวเลส และสายอาศไวเลส wifi
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 13, 2008, 05:08:41 pm »

Cheesy Cheesy Cheesy ขอบคุณครับ  แต่.เอ..สงสัยมานานทำไมท่านใช้ฟร้อนใหญ่ขนาดนี้ครับ

555555555ผมแก่แล้วครับมองไม่ค่อยเห็น..ชอบหรือไม่หละครับ ที่อ่านง่ายดี หรือจะชอบตัวหนังสือเล็กๆ จะได้เปลี่ยนให้
กระทู้ที่ตัวหนังสือเล็กๆผมอ่านมองไม่เห็นครับ ขนาดใส่แว่นแล้วนะเนี่ยะ
  Grin
บันทึกการเข้า
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 13, 2008, 07:25:32 pm »

ขอบคุณมากครับ  มีประโยชน์มากครับ แต่ยังไม่ได้ซ่อมเลย ซ่อมแต่เครื่องสมัย เก่าแก่ครับ ตัวถังเป็นไม้ยังมีให้ซ่อมอยู่บ่อยๆๆๆ ครับ
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 13, 2008, 11:31:40 pm »

โอ้โห............. Wink แจ่มเลยลุงชา  Shocked  Cool  Cool  Cool  Huh? ขอบคุณคร๊าบ!!!!!!!!!!!!!!!

 Lips Sealed  Lips Sealed  Lips Sealed
บันทึกการเข้า
dragon_x
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 11, 2008, 04:07:38 pm »

 Embarrassed Embarrassed..มองหาอยู่ตั้งนาน..จะเอาไปทำรายงาน..ขอบคุณคับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!