'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 28, 2024, 12:51:01 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล  (อ่าน 6042 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 07:03:09 am »

'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล





'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล ปลูกสบู่ดำพัฒนาพลังงานทดแทน สร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง

ปัจจุบันภาวะน้ำมันราคาสูงทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นทุกปี กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตการใช้ไบโอดีเซลในระดับชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตไบโอดีเซลจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ได้แก่ น้ำมันพืชใช้แล้ว หรือน้ำมันพืชอื่นที่มีอยู่ในชุมชนนำมาใช้ประโยชน์หรือหากมีเหลือสามารถขายเพื่อนำรายได้ ซึ่ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง ในเวลานั้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 กลุ่มได้รวมตัวกันจัดประชุมสำหรับผู้สนใจ ณ ที่ตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ เลขที่ 54/9 หมู่ที่ 6 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีแนวคิดให้ชาวบ้านมีที่ว่างนำต้นสบู่ดำไปปลูก แล้วนำเมล็ดมาร่วมกันหีบเพื่อให้ได้ น้ำมันสบู่ดำ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลัง งาน มีโครงการเกี่ยวกับสบู่ดำ และน้ำมันใช้แล้วเพื่อทำ ไบโอดีเซล  ชุมชนขึ้น กลุ่มวิสาห กิจชุมชน พลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยองได้รับการติดต่อ โดยทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจาก  สบู่ดำ จ.ระยอง อย่างถูกต้อง




นายสุกิจ ตั้งไพบูลย์วณิช ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง  เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาปี พ.ศ. 2549 จนถึง ปี พ.ศ. 2550 เป็นช่วงของการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ อย่างมาก มีการพัฒนา การจัดการ การบริหาร การจัดระบบ และการจัดทำในเรื่องของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งสภาพความเป็นจริงของชุมชนเองเป็นที่ตั้งกลุ่มสมาชิกได้มีการประชุม วิเคราะห์ และวางแผนเป็นระยะในช่วงปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากน้ำมันราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองก็ให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากระยองจะมีทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำไบโอดีเซล ชุมชนแล้ว ยังได้มีการปลูกสบู่ดำมาก่อนคนอื่นอีกด้วย ต่อจากนั้นจึงมีการประสานงานจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนมาตลอด โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำ บลทับมา ได้เข้าร่วมสนับสนุนเป็นหน่วยประสานงานโครงการเข้าเยี่ยมชมและดูงานจาก อบต.ทั่วประเทศ   จึงเกิดเป็นความร่วมมือแบบบูรณาการขึ้น โดยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพลังงาน    ทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง เป็นแกนหลัก ได้ร่วมดำเนินงานและการสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีคณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินการ



อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าว อบต. ทับมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังคน และวิชาการบางส่วนทำกลุ่มขึ้นมาภายใต้โครงการเดียวกันนี้ คือ กลุ่มส่งเสริมอาชีพผู้ปลูกสบู่ดำ โดยมีคุณขวัญเรือน เฉียบแหลม เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสบู่ดำ ซึ่งมีหัวหน้ากลุ่มคือ คุณกิตติ ราชวัฒน์ เพราะฉะนั้นวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาและสาธิตการทดลองผลิต  ไบโอดีเซลจากสบู่ดำ ของกระ ทรวงพลังงาน จึงเป็นองค์ กรที่มีความเข้มแข็ง เพราะมีการทำงานแบบบูรณาการ ซึ่งจะสามารถบริหารได้จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
 
สำหรับการจัดหาวัตถุดิบนอกจากจะใช้น้ำมันจากสบู่ดำแล้ว ยังมีการจัดหาจากน้ำมันใช้แล้ว ในท้องตลาด จ.ระยอง ไม่ว่าจะเป็นในตลาดสด หรือกลุ่มผู้ผลิตของทอดต่าง ๆ ที่สำคัญก็คือ มีวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ มีกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตทุเรียนทอด ซึ่งก็มีน้ำมันใช้แล้วเป็นจำนวนพอสมควร วิสาหกิจชุมชนฯจึงมีการจัดระบบ โดยการ จัดสรรต่าง ๆ ผู้ส่ง น้ำมันใช้แล้ว มาก็จะใช้หรือเติม น้ำมันไบโอดีเซล กลับคืน จึงเป็นระบบที่เรียกว่าเกิดวงจรทั้งเรื่องของพลังงานและธุร กิจในชุมชน ซึ่งการจัดทำน้ำมันไบโอดีเซลของชุมชนนี้ ตั้ง แต่มีการติดตั้งเครื่องมือก็ได้ดำเนินงานมาโดยตลอดแทบไม่มีวันหยุดเลย ช่วงไหนมีน้ำมันมากก็ผลิตมาก การทำไบโอดีเซลชุมชนนี้ยังได้มีการส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความมั่นใจกับผู้ใช้น้ำมันที่ผลิตได้ตัวแรกที่เรียกว่า B100 นั้นจะถูกส่งเข้าตรวจสอบคุณภาพ แต่เมื่อชุมชนมีปริมาณความต้องการของสมาชิกที่จะเติมเครื่องยนต์มีจำนวนมาก ก็เลยต้องแย่งกันใช้โดยวิสาห กิจชุมชนฯ ได้ทำการผสมกับ น้ำมันดีเซล 50% จึงเป็นน้ำมัน B50 ขึ้น ปัจจุบันนอกจากที่จะมีหัวจ่ายที่เรียกว่า ปั๊มหลอด ในวิสาหกิจชุมชนพลัง งานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง เพื่อให้บริการแก่สมาชิกเองแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเติมได้ในราคาประหยัดกว่าดีเซล (หลายเท่า) ซึ่งแนวคิดที่จะจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปก็เพียงเพื่อการให้บริการที่มีการขยายตัวมากขึ้นกับการประชาสัมพันธ์หรือการรณรงค์ให้คนทั่วไปได้รับทราบ
 
ไบโอดีเซลที่เป็นสูตร B50 ของวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง ตั้งแต่เริ่มโครงการมาปีหนึ่งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงหลายแสนบาท แต่ยังมีผลดีด้านอื่นอีกหลายเรื่อง นั่นคือทำให้ประชาชนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับไบโอดีเซลมีจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน แต่ที่สำคัญที่สุด คือ วิสาหกิจชุมชนฯจะเป็นตัวจุดประกายในเรื่องพลังงานทดแทนแห่งชาติและคำตอบสุดท้ายก็คือเป็นการช่วยชาติโดยการอนุรักษ์พลังงาน ลดการนำเข้า เกิดความยั่งยืนในการใช้พลังงานของประเทศต่อไปในอนาคต.





บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!