เพาะพันธุ์แมงดาจานสำเร็จ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 28, 2024, 06:48:57 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพาะพันธุ์แมงดาจานสำเร็จ  (อ่าน 2853 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2008, 07:37:06 am »

เพาะพันธุ์แมงดาจานสำเร็จ





ขึ้นหน้า 1 ไทยรัฐ...เมื่อไม่กี่วันมานี้สร้าง ความหวาดแก่นักเปิบ เมื่อ นางนงนุช ปงเมฆ อายุ 40 ปี ชาวตำบลหาดทรายรี อ.เมือง จ.ชุมพร ที่กิน “แมงดาทะเล” แล้วสำแดงพิษต้องหามส่งโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ...อาการสาหัสเกือบม่องเท่ง

แล้วก็รอดได้ด้วยสมุนไพรไทย “ว่านรางจืด” ซึ่งญาติๆเชื่อในตำราโบราณ เอาทั้งต้นและรากมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำให้ดื่ม พิษเจ้า แมงดาทะเล จึงอ่อนล้าลงและอาการก็หายเป็นปกติ ทำเอาวงการแพทย์แผนปัจจุบันตะลึง ด้วยที่ว่ายังไม่มียาใดๆมาแก้พิษแมงดาทะเลได้

...ตามตำราได้บันทึกว่าเจ้าสัตว์ทะเลตัวนี้ เป็นสัตว์โบราณที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ก่อนมนุษย์ไม่น้อยกว่า 500 ล้านปี ในช่วงของยุคแคมเรียน Cambrian เป็นสัตว์โบราณที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ก่อนมนุษย์ไม่น้อยกว่า 500 ล้านปี โดยวิเคราะห์จากฟอสซิลที่พบในหลายพื้นที่

และ...ก็มีการศึกษาต่ออีกว่ามันมีอยู่ถึง 4 สายพันธุ์ แต่สามารถดำรงชีวิตอยู่มาได้ในโลกนี้เพียงวงศ์เดียวเท่านั้น คือ Xahosuridac

Mr.Jean Muller นักชีววิทยาศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ค้นพบแมงดาทะเลครั้งแรกเมื่อราว ค.ศ. 1828-1896 ที่บริเวณ มหาสมุทรแอตแลนติก และ อเมริกาเหนือ

ในบ้านเราโดย กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความ สำคัญต่อสัตว์น้ำเค็มตัวนี้ไม่น้อย จึงได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่า ทั้งในอ่าวไทย และ ฝั่งอันดามันมีแมงดาทะเลอยู่ 2 พันธุ์ คือ แมงดาจาน กับ แมงดาถ้วย

แมงดาจาน หรือ แมงดาหางเหลี่ยม มีชื่อสามัญ GIANT KING CRAB และชื่อวิทยาศาสตร์ Tachypleus gigas Mller....ส่วน แมงดาถ้วย หรือ แมงดาหางกลม ชาวบ้านมักเรียกว่า เหรา (เห-รา) หรือว่าเรียกให้หนักๆแบบกลัวกันไปเลยว่า แมงดาไฟ มีชื่อสามัญ HORSE SHAE CRAB

และ....ยังได้ทำการวิจัยต่อถึงขั้นทำการเพาะเลี้ยงเพื่อนำไปปล่อยเพิ่มพันธุ์ในธรรมชาติ โดยมอบหมายให้ น.ส.ฐิติทิพย์ ด้วงเงิน น.ส. ฐิติมา ทองศรีพงษ์ นายชัยวุฒิ สุดทองคง และ น.ส.ลิลา เรืองแป้น จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร รับผิดชอบในการปฏิบัติการนำแมงดาจานมาทดลอง

น.ส.ฐิติทิพย์ ด้วงเงิน หัวหน้ากลุ่มฯ เล่าว่า... โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2549 ด้วยการเอาพ่อแม่พันธุ์ แมงดาจาน ขนาดกระดองเฉลี่ย ยาว 42.5 กว้าง 23.5 เซนติเมตร มาทำการเพาะเลี้ยงศึกษาและวิจัยในบ่อซีเมนต์ ที่ปูพื้นด้วยทรายปน ดิน...ตัวผู้จะเข้าเกาะติดส่วนท้ายของกระดองตัว เมียตลอดเวลา (อันเป็นที่ มาของคำว่าผู้ชายแมงดา)

คเลี้ยงด้วยอาหารพวก ปลาเป็ดอยู่ประมาณ 1 เดือน เมื่อมันสมบูรณ์เต็มที่ ตัว เมียใช้ขาคู่ที่ 6 ขุดพื้นทราย ให้เป็นหลุม แล้ววางไข่ รั้งละ 200-300 ฟอง ในขณะเดียวกัน ตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ทันทีที่ตัวเมียวางไข่ในหลุม และมี การผสมพันธุ์ภายนอกเช่นนี้ 8-12 ครั้งต่อวัน จนกว่าวางไข่หมด (แม่แมงดา 1 ตัว จะออกเฉลี่ย 7,000-9,000 ฟองต่อรุ่น)

ไข่แมงดาทะเล....มีลักษณะกลมมนสีเหลืองอมเขียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.0 มิลลิเมตร มีไข่แดงอยู่ตรงกลางปริมาณมาก และมีไซโตพลาสซึมรอบๆ เมื่อได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วขนาดจะขยายขึ้น....

...และสีของเปลือกไข่จางลงเป็นสีเขียวอ่อนจนกลายเป็นโปร่งใส สามารถมองเห็นการแบ่งเซลล์และการพัฒนาของตัวอ่อนภายในได้ด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ในระยะเวลา 25-30 วัน






การฟักมีอัตราออกเป็นตัวประมาณ 86 เปอร์-เซ็นต์ จากจำนวนไข่ ซึ่งฟักในตะแกรงแขวนในตู้เพาะ โดยใช้น้ำทะเลความเค็ม 30 ppt (ผ่านการฆ่าเชื้อ) ที่อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในระดับ 29-31.5 องศาเซลเซียสไหลวนตลอดเวลา

ตัวอ่อนระยะแรกฟักเรียกว่า first trilobite กินอาร์ทีเมียที่เลี้ยงจากบ่อดินเป็นอาหาร มีอัตราการรอดตายจนถึงระยะ second trilobite (ลูกแมงดาทะเลมีขนาดความยาวและความกว้างสูงสุด 13.38๚8.75 มิลลิเมตร) ราวๆ 78 เปอร์เซ็นต์

การศึกษาครั้งนี้ถือว่าได้รับความสำเร็จ ทำให้ ได้ข้อมูลที่สำคัญต่องานวิจัยในอันดับต่อไป ตามเป้าหมาย จะผลิตและขยายพันธุ์แมงดาทะเลจากโรงเพาะฟักให้ได้จำนวนมากๆ..... เพียงพอต่อการปล่อยในธรรมชาติได้ในอนาคต...!!!


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!