เริ่มต้น การเป็นชางซ่อมมือถือ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 21, 2024, 04:14:17 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มต้น การเป็นชางซ่อมมือถือ  (อ่าน 99483 ครั้ง)
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 11:45:11 am »

อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ
อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดจากขนาดใหญ่โตจนมาเป็นขนาดเล็กๆ ซึ่งมีทั่วไปสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้อีเลคทรอนิคส์ทั่วไปอาทิเช่นวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง ฯลฯ แต่เมื่อยุคทองของระบบการสื่อสารเข้ามาถึงซึ่งแน่นอนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสื่อสารมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์จากเดิมที่มีขนาดใหญ่โตมีขาเกะกะก็ถูกย่อให้เล็กลง แต่มีคุณสมบัติและหน้าที่ของการนำไปใช้งานก็ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เราเรียกชื่อว่า SMD (SURFACE MOUNT DEVICE) เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีขาโผล่ออกมาแต่จะมีขาติดกับตัวมันเลยและจะวางบนแผ่นวงจร หรือ PCB ด้านเดียวทำให้ประหยัดเนื้อที่การใช้งาน

 1. รีซิสเตอร์ RESISTOR ชื่อย่อ “ R “  หรือตัวต้านทาน



บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย

tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 11:47:17 am »

ตัวต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม OHM ทำหน้าที่ให้ความต้านทานแก่วงจร เมื่อนำความต้านทานมาต่อเข้ากับวงจรใดๆ ความต้านทานนั้นจะต้านการไหลของ …

•  กระแสไฟฟ้า

•  แรงดันไฟ

•  สัญญาณต่างๆ

แต่ส่วนใหญ่ตัวต้านทานมักจะใช้ในการลดกระแสไฟในวงจร

หลักง่ายๆ ถ้าตัวต้านทานมีค่ามากกระแสจะไหลผ่านได้น้อย ในทางกลับกันถ้าความต้านทานมีค่าน้อยกระแสจะไหลผ่านได้มากและเมื่อกระแสไหลผ่านตัวต้านทานก็จะเกิดความร้อนซึ่งมีหน่วยเป็น “ วัตต์ “ WATT


การแทนค่าของความต้านทาน

1,000 โอห์ม       =    1 K    หรือ 1 กิโลโอห์ม

1,000,000 โอห์ม  =    1 M   หรือ 1 เมกกะโอห์ม
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 11:51:58 am »

2. คอนเดนเซอร์ หรือ คาพาซิเตอร์ CONDENSOR CAPACITOR

   ชื่อย่อ “ C “ หรือตัวเก็บประจุ
ภายในคอนเด็นเซอร์ประกอบด้วยแผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่น วางห่างกันโดยมีสารไดอีเล็คตริคกั้นอยู่ระหว่างแผ่นตัวนำทั้ง 2  เป็นอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโทรศัพท์มือถือ มักนำไปใช้ในวงจรกรองแรงดันไฟเพื่อให้ไฟเดินเรียบ ให้สังเกตง่ายๆในวงจรถ้า “ C “ ขาด้านหนึ่งต่อลงกราวนด์หรือไฟลบ และมีไฟบวกเชื่อมต่อกับขา “ C “ อีกข้างหนึ่งและต้นทางของไฟบวกหรือปลายทางของเส้นไฟบวกมีอักษรภาษาอังกฤษกำกับอยู่ว่า “ V “ นั่นแสดงว่า “ C “ ตัวนั้นทำหน้าที่กรองแรงดันไฟเส้นนั้น ซึ่งในไฟแต่ละเส้นอาจจะมี “ C “ ต่อขนานอยู่หลายๆตัวก็ได้
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 11:55:20 am »

ตัวอย่างวิธีการดู “ C “
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 11:57:28 am »

C ที่กรองแรงดันไฟอย่างเดียว

ในวงจรถ้าขาข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟลบหรือกราวนด์และอีกข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟบวก ( V ) ตัวแรกนำหน้าตัวอักษรตัวหลังอาจจะเป็นอะไรก็ได้อาทิเช่น Vchp Vsynte หรือ Vrxrf และปลายทางของลายวงจรเส้นนั้น จะมีคำว่า V นำหน้า อาทิเช่น VBB VRF_RX VPRE VCP หรือ VLO นั่นสรุปได้เลยว่าลายวงจรเส้นนั้นเป็นไฟแน่นอนและบางเส้นจะมี C กรองแรงดันไฟถึง 2 ตัว และ C แต่ละตัวก็จะมีหน้าที่กรองแรงดันไฟ

C ที่กรองแรงดันไฟและสัญญาณ

ในวงจรถ้าขาข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟลบหรือกรานด์และอีกข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟบวก แต่ตัวอักษรในลายวงจรต้นทางไม่มีตัว V แต่มีตัวอักษรตัวอื่นยกตัวอย่างในรูปด้านบนเป็นตัว T ( TXC ) หรือในบางเส้นของลายวงจรอาจจะเป็น AFC หรือ OUT_CP หรือตัวอักษรใดๆก็ได้ที่ไม่ใช่ตัว V นำหน้านั่นสรุปได้ว่า C ตัวนั้นทำหน้าที่กรองแรงดันไฟและสัญญาณ
C ส่งผ่านสัญญาณ

ในวงจรให้สังเกตุว่า C ทั้ง 2 ตัวขาของ C แต่ละตัวไม่ได้ต่อกับไฟลบหรือกราวนด์เลย C ที่ต่อลักษณะนี้จะทำหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณ และมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไฟ DC หรือไฟกระแสตรงผ่านเราเรียกการต่อแบบนี้ว่า คัปปลิ้ง ( COUPLING ) ซึ่งใช้เฉพาะในส่วนของวงจรเชื่อมโยงสัญญาณเท่านั้น
C มีหน่วยเป็น ฟารัด (FARAD) แต่เนื่องจากฟารัดเป็นหน่วยที่ใหญ่มากจึงต้องลดทอนหน่วยลงมาให้เป็นหน่วยย่อย โดยหน่วยที่ใช้กันมีดังนี้

  ไมโครฟารัด ( MICRO FARAD ) ตัวย่อ MF
  นาโนฟารัด (NANO FARAD ) ตัวย่อ NF
 พิโคฟารัด (PICO FARAD ) ตัวย่อ PF
 
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 12:01:33 pm »

3. คอยล์ COIL ชื่อย่อ L หรือ ขดลวด
ทำหน้าที่เหนี่ยวนำหรือลดความเร็วของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น เฮนรี่ HENRY ในวงจรของโทรศัพท์มือถือมักใช้เป็นมิลลิเฮนรี่ หรือ Mh รูปร่างบนแผงวงจรมีลักษณะ ขนาดและสีคล้ายรีซิสเตอร์มาก วิธีวัดคอยล์ ให้ใช้มิเตอร์ตั้งไปที่การวัดความต่อเนื่องถ้าวัดหัวและท้ายของคอยล์แล้วมีเสียงดังแสดงว่าคอยล์ปกติ ส่วนการวัดค่าเฮนรี่ของคอยล์ต้องใช้มิเตอร์ที่มีการวัดค่าคอยล์โดยเฉพาะ
อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น

ไฟฟ้าคืออะไร
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์สำนักงาน ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนแต่ต้องอาศัยพลังงานจากไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้น เราควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มากยิ่งขึ้นคำถามแรกที่ต้องค้นหาคำตอบก็คือ " ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร"

วัตถุ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก แล้ว " อะตอมคืออะไร " คำถามนี้ต้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นจะขออธิบายสั้นๆ ว่าอะตอมเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งในร้อยล้านเซนติเมตร อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส จำนวนอิเล็กตรอนของอะตอมแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน จึงทำให้คุณสมบัติของอะตอมนั้นๆ แตกต่างกันไปด้วย ภายในนิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน จำนวนโปรตอนจะเท่ากับจำนวนของอิเล็กตรอน ทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอนเป็นอนุภาคที่มีไฟฟ้า อิเล็กตรอนมีไฟฟ้าลบและปริมาณไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอนของอะตอมใดๆ จะมีขนาดเท่ากันหมด ส่วนโปรตอนมีไฟฟ้าบวกและปริมาณไฟฟ้าบวกของโปรตอน 1 ตัวจะเท่ากับปริมาณไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอน 1 ตัว อิเล็กตรอนหมุนรอบนิวเคลียสของอะตอมด้วยวงจรที่แน่นอน เป็นเพราะมีแรงดึงดูดระหว่างไฟฟ้าบวกของโปรตอนและไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอน ด้วยแรงดึงดูดนี้เองที่ทำให้อิเล็กตรอนติดอยู่กับอะตอม อิเล็กตรอนจึงหลุดไปจากอะตอมไม่ได้ แต่อิเล็กตรอนตัวที่อยู่วงโคจรนอกสุดซึ่งห่างจากนิวเคลียสมากมีแรงดึงดูดน้อย เมื่อมีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามารบกวน อิเล็กตรอนจึงหลุดพ้นจากวงโคจรนั้นได้ และสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระระหว่างอะตอมได้ ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ทางไฟฟ้า วัตถุใดที่มีอิเล็กตรอนอิสระจำนวนมาก จะมีคุณสมบัติเป็น ตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้ามีจำนวนน้อยจะมีคุณสมบัติเป็น ฉนวนไฟฟ้า วัตถุทุกชนิดประกอบด้วยอะตอมที่มีไฟฟ้า ดังนั้น วัตถุทุกชนิดควรมีไฟฟ้าด้วย ภายในอะตอมของวัตถุนั้นมีปริมาณไฟฟ้าบวกและลบเท่ากัน แรงกระทำจากไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบจึงหักล้างกันพอดี สภาพเช่นนี้เรียกว่า สภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ( ทั้งไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบยังคงมีอยู่ในจำนวนที่เท่ากัน )



เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าวัตถุมีไฟฟ้า คือ การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เช่น เมื่อเรานำวัตถุสองชนิดมาถูกัน จะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ขึ้น อธิบายได้ว่า อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในวัตถุชนิดหนึ่งเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้นจนสามารถหลุดพ้นจากแรงยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสของอะตอมและกระโดดไปอยู่ในวัตถุอีกชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนในวัตถุชนิดแรกมีจำนวนลดลง จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าบวกออกมา ในขณะเดียวกันวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอนอิสระจะทำให้มีไฟฟ้าลบมากกว่า จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าลบออกมา



โดยทั่วไป การที่วัตถุเกิดไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและประจุลบ ประจุไฟฟ้าแสดงถึงปริมาณไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ (Coulomb)

--------------------------------------------------------------------------------
 

 

กระแสไฟฟ้า , แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน

กระแสไฟฟ้าคืออะไร
เมื่อได้ทราบไปแล้วว่า ไฟฟ้าเกิดขึ้น ไ ด้อย่างไร เรามาพิจารณากันต่อไปว่า " กระแสไฟฟ้าคืออะไร " จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับไฟฟ้าสถิตย์ เรียกว่า ไฟฟ้าเคลื่อนไหว สายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current)

กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม


สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ

ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้านั้น กำหนดได้จากปริมาณของประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในเส้นลวดใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere ซึ่งแทนด้วย A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า 2 ตัวที่วางขนานกันโดยมีระยะห่าง 1 เมตร แล้วทำให้เกิดแรงในแต่ละตัวนำเท่ากับ 2 x 10 -7 นิวตันต่อเมตร หรือเท่ากับประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ ซึ่งเทียบได้กับอิเล็กตรอน 6.24 x 10 18 ตัววิ่งผ่านใน 1 วินาที


 

แรงดันไฟฟ้าคืออะไร
กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือเคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า


แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึง แรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า , แบตเตอรี่ , ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ
หน่วยของแรงดันไฟฟ้า , ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V) แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ คือ แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม

 

ความต้านทานไฟฟ้าคืออะไร
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลย่อมหมายถึงมีการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนในสายไฟ และอิเล็กตรอนจะวิ่งชนกับอะตอมของเส้นลวด เกิดการต้านทานการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟมีคุณสมบัติการไหลต่างกันเพราะมี ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) ความต้านทานไฟฟ้าเป็นสมบัติเฉพาะของวัตถุในการที่จะขวางหรือต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านวัตถุนั้นๆ ไป
หน่วยของความต้านทานไฟฟ้าเป็น โอห์ม (Ohm แทนด้วยสัญลักษณ์ ? )
ความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานของเส้นลวดที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ 1 แอมแปร์ เมื่อใช้แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์
วัตถุแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้แตกต่างกัน วัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า (Conductor) เช่น ทองแดง , เงิน , อะลูมิเนียม , สารละลายของกรดเกลือ , กรดกำมะถัน และน้ำเกลือ ฯลฯ สำหรับวัตถุที่ไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้หรือไหลผ่านได้ยาก เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า (Insulator) เช่น พลาสติก , ยาง , แก้ว และกระดาษแห้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีวัตถุอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เป็นวัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้และสามารถควบคุมการไหลผ่านได้ เช่น คาร์บอน , ซิลิคอน และเยอรมันเนียม ฯลฯ

ความต้านทานของตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ

•  ชนิดของวัตถุ วัตถุที่ต่างชนิดกันจะมีความต้านทานต่างกัน

•  อุณหภูมิของวัตถุ เมื่ออุณหภูมิของตัวนำไฟฟ้าหนึ่งๆ เปลี่ยนไป จะมีผลให้ความต้านทานของตัวนำนั้นเปลี่ยนตามไปด้วย


--------------------------------------------------------------------------------


การวัดกระแสไฟฟ้า , แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน
วิธีวัดค่ากระแสไฟฟ้า


เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าเรียกว่า แอมมิเตอร์ (Ampere meter)
ตัวอย่างการวัด ทำการต่อหลอดไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับแบตเตอรี่ และวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้า โดยนำปลาย + ของแอมมิเตอร์ผ่านหลอดไฟฟ้าต่อกับขั้ว + ของแบตเตอรี่ และนำปลาย - ของแอมมิเตอร์ต่อกับขั้ว - ของแบตเตอรี่ ดังรูป

                                         
                   



ข้อควรระวังในการวัดกระแสไฟฟ้า ดังนี้

•  แอมมิเตอร์แต่ละเครื่องมีการกำหนดขีดจำกัดในการวัดกระแสไว้ ดังนั้น ในการวัดแต่ละครั้งควรประมาณปริมาณกระแสที่จะวัดก่อน เพื่อเลือกใช้แอมมิเตอร์ที่มีขีดจำกัดที่เหมาะสม

•  อย่าต่อปลาย + และ - ของแอมมิเตอร์ผิดพลาด เพราะจะทำให้เข็มของเครื่องวัดตีกลับ

•  ห้ามต่อปลายทั้งสองของแอมมิเตอร์กับขั้วทั้งสองของแบตเตอรี่โดยตรง เพราะเข็มของเครื่องวัดจะตีจนสุดสเกล อาจทำให้พังได้

 

วิธีวัดค่าแรงดันไฟฟ้า


เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดแรงดันไฟฟ้าเรียกว่า โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)
ตัวอย่างการวัด ทำการต่อหลอดไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับแบตเตอรี่ และวัดแรงดันไฟฟ้าคร่อมหลอดไฟฟ้า โดยต่อโวลต์มิเตอร์ขนานกับหลอดไฟฟ้า ปลาย + ของโวลต์มิเตอร์

ต่อกับขั้ว + ของแบตเตอรี่ และปลาย - ของโวลต์มิเตอร์ต่อกับขั้ว - ของแบตเตอรี่ ดังรูป

                                     



ข้อควรระวังในการวัดแรงดันไฟฟ้า คือ

•  โวลต์มิเตอร์แต่ละเครื่องมีการกำหนดขีดจำกัดในการวัดแรงดันไฟฟ้าไว้ ดังนั้น ในการวัดแต่ละครั้งควรประมาณปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่จะวัด และเลือกใช้โวลต์มิเตอร์ที่มีขีดจำกัดที่เหมาะสม

•  ถ้าใช้มิเตอร์เข็มอย่าต่อปลาย + และ - ของโวลต์มิเตอร์ผิดพลาด เพราะเข็มจะตีกลับด้านทำให้มิเตอร์เสียหายได้

  แต่ถ้าใช้มิเตอร์ดิจิตอลสลับสายผิดด้านไม่เป็นไรเพราะอ่านค่าแรงดันไฟได้แต่ตัวเลขจะติดลบ เช่น - 4.5 V

 

วิธีวัดค่าความต้านทาน


เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความต้านทานเรียกว่า เทสต์มิเตอร์ (Test meter)

หรือมัลติมิเตอร์ (Multimeter)
ตัวอย่างการวัด เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวัดได้ทั้งกระแส , แรงดัน และความต้านทาน ดังนั้น ในการวัดค่าความต้านทาน ต้องสับสวิตช์มาที่ใช้วัดความต้านทานก่อน และเริ่มวัดค่าโดยนำปลายทั้งสองข้างของมิเตอร์มาแตะกัน ดังรูปที่ 1 แล้วปรับให้เข็มของมิเตอร์ชี้ที่ 0 โอห์ม จากนั้นนำปลายทั้งสองของมิเตอร์ไปต่อกับตัวต้านทานและอ่านค่าความต้านทานจากมิเตอร์ ดังรูปที่ 2

                     



--------------------------------------------------------------------------------





อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ
อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดจากขนาดใหญ่โตจนมาเป็นขนาดเล็กๆ ซึ่งมีทั่วไปสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้อีเลคทรอนิคส์ทั่วไปอาทิเช่นวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง ฯลฯ แต่เมื่อยุคทองของระบบการสื่อสารเข้ามาถึงซึ่งแน่นอนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสื่อสารมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์จากเดิมที่มีขนาดใหญ่โตมีขาเกะกะก็ถูกย่อให้เล็กลง แต่มีคุณสมบัติและหน้าที่ของการนำไปใช้งานก็ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เราเรียกชื่อว่า SMD (SURFACE MOUNT DEVICE) เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีขาโผล่ออกมาแต่จะมีขาติดกับตัวมันเลยและจะวางบนแผ่นวงจร หรือ PCB ด้านเดียวทำให้ประหยัดเนื้อที่การใช้งาน

 1. รีซิสเตอร์ RESISTOR ชื่อย่อ “ R “  หรือตัวต้านทาน

                                   

ตัวต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม OHM ทำหน้าที่ให้ความต้านทานแก่วงจร เมื่อนำความต้านทานมาต่อเข้ากับวงจรใดๆ ความต้านทานนั้นจะต้านการไหลของ …

•  กระแสไฟฟ้า

•  แรงดันไฟ

•  สัญญาณต่างๆ

แต่ส่วนใหญ่ตัวต้านทานมักจะใช้ในการลดกระแสไฟในวงจร

หลักง่ายๆ ถ้าตัวต้านทานมีค่ามากกระแสจะไหลผ่านได้น้อย ในทางกลับกันถ้าความต้านทานมีค่าน้อยกระแสจะไหลผ่านได้มากและเมื่อกระแสไหลผ่านตัวต้านทานก็จะเกิดความร้อนซึ่งมีหน่วยเป็น “ วัตต์ “ WATT


การแทนค่าของความต้านทาน

1,000 โอห์ม       =    1 K    หรือ 1 กิโลโอห์ม

1,000,000 โอห์ม  =    1 M   หรือ 1 เมกกะโอห์ม


2. คอนเดนเซอร์ หรือ คาพาซิเตอร์ CONDENSOR CAPACITOR

   ชื่อย่อ “ C “ หรือตัวเก็บประจุ

           

      ชนิดไม่มีขั้ว                ชนิดมีขั้ว                            ชนิดไม่มีขั้ว        ชนิดมีขั้ว


                         

                 ชนิดไม่มีขั้วในมือถือ                         ชนิดมีขั้วในมือถือ

ภายในคอนเด็นเซอร์ประกอบด้วยแผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่น วางห่างกันโดยมีสารไดอีเล็คตริคกั้นอยู่ระหว่างแผ่นตัวนำทั้ง 2  เป็นอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโทรศัพท์มือถือ มักนำไปใช้ในวงจรกรองแรงดันไฟเพื่อให้ไฟเดินเรียบ ให้สังเกตง่ายๆในวงจรถ้า “ C “ ขาด้านหนึ่งต่อลงกราวนด์หรือไฟลบ และมีไฟบวกเชื่อมต่อกับขา “ C “ อีกข้างหนึ่งและต้นทางของไฟบวกหรือปลายทางของเส้นไฟบวกมีอักษรภาษาอังกฤษกำกับอยู่ว่า “ V “ นั่นแสดงว่า “ C “ ตัวนั้นทำหน้าที่กรองแรงดันไฟเส้นนั้น ซึ่งในไฟแต่ละเส้นอาจจะมี “ C “ ต่อขนานอยู่หลายๆตัวก็ได้

ตัวอย่างวิธีการดู “ C “



C ที่กรองแรงดันไฟอย่างเดียว

ในวงจรถ้าขาข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟลบหรือกราวนด์และอีกข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟบวก ( V ) ตัวแรกนำหน้าตัวอักษรตัวหลังอาจจะเป็นอะไรก็ได้อาทิเช่น Vchp Vsynte หรือ Vrxrf และปลายทางของลายวงจรเส้นนั้น จะมีคำว่า V นำหน้า อาทิเช่น VBB VRF_RX VPRE VCP หรือ VLO นั่นสรุปได้เลยว่าลายวงจรเส้นนั้นเป็นไฟแน่นอนและบางเส้นจะมี C กรองแรงดันไฟถึง 2 ตัว และ C แต่ละตัวก็จะมีหน้าที่กรองแรงดันไฟ



C ที่กรองแรงดันไฟและสัญญาณ

ในวงจรถ้าขาข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟลบหรือกรานด์และอีกข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟบวก แต่ตัวอักษรในลายวงจรต้นทางไม่มีตัว V แต่มีตัวอักษรตัวอื่นยกตัวอย่างในรูปด้านบนเป็นตัว T ( TXC ) หรือในบางเส้นของลายวงจรอาจจะเป็น AFC หรือ OUT_CP หรือตัวอักษรใดๆก็ได้ที่ไม่ใช่ตัว V นำหน้านั่นสรุปได้ว่า C ตัวนั้นทำหน้าที่กรองแรงดันไฟและสัญญาณ


 

C ส่งผ่านสัญญาณ

ในวงจรให้สังเกตุว่า C ทั้ง 2 ตัวขาของ C แต่ละตัวไม่ได้ต่อกับไฟลบหรือกราวนด์เลย C ที่ต่อลักษณะนี้จะทำหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณ และมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไฟ DC หรือไฟกระแสตรงผ่านเราเรียกการต่อแบบนี้ว่า คัปปลิ้ง ( COUPLING ) ซึ่งใช้เฉพาะในส่วนของวงจรเชื่อมโยงสัญญาณเท่านั้น
 

สัญลักษณ์ของ ไฟลบ หรือกราวนด์ GROUND หรือ GND


กราวนด์ หรือไฟลบ ในวงจรมีมากมายหลายจุดเชื่อมโยงถึงกันหมดทั้งวงจรซึ่งสัญลักษณ์โดยทั่วไปจะเป็นลักษณะดังนี้



C มีหน่วยเป็น ฟารัด (FARAD) แต่เนื่องจากฟารัดเป็นหน่วยที่ใหญ่มากจึงต้องลดทอนหน่วยลงมาให้เป็นหน่วยย่อย โดยหน่วยที่ใช้กันมีดังนี้

  ไมโครฟารัด ( MICRO FARAD ) ตัวย่อ MF
  นาโนฟารัด (NANO FARAD ) ตัวย่อ NF
 พิโคฟารัด (PICO FARAD ) ตัวย่อ PF
 

3. คอยล์ COIL ชื่อย่อ L หรือ ขดลวด

                 

ทำหน้าที่เหนี่ยวนำหรือลดความเร็วของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น เฮนรี่ HENRY ในวงจรของโทรศัพท์มือถือมักใช้เป็นมิลลิเฮนรี่ หรือ Mh รูปร่างบนแผงวงจรมีลักษณะ ขนาดและสีคล้ายรีซิสเตอร์มาก วิธีวัดคอยล์ ให้ใช้มิเตอร์ตั้งไปที่การวัดความต่อเนื่องถ้าวัดหัวและท้ายของคอยล์แล้วมีเสียงดังแสดงว่าคอยล์ปกติ ส่วนการวัดค่าเฮนรี่ของคอยล์ต้องใช้มิเตอร์ที่มีการวัดค่าคอยล์โดยเฉพาะ

ตัวอย่างวิธีการดู “ L “ หรือ คอยล์

 



L เหนี่ยวนำกระแสหรือลดความเร็วของไฟ

ในวงจรสังเกตุว่าถ้าในลายวงจรต้นทางมีอักษร V ซึ่งแสดงถึงภาคของการจ่ายไฟ และให้สังเกตว่ามี ไฟผ่าน คอยล์หรือ L ด้วยและคอยล์หรือ L จะต่ออนุกรมกับเส้นไฟแสดงว่า L ตัวนี้ทำหน้าในส่วนของการเหนี่ยวนำกระแสไฟ หรือทำให้กระแส
L หรือ COIL เหนี่ยวนำสัญญาณ

ในวงจรถ้า C ไม่มีขาใดขาหนึ่งลงกราวนด์แสดงว่า C ตัวนั้นทำหน้าที COUPLING หรือส่งผ่านสัญญาณ และสังเกตที่ คอยล์หรือ L ขาข้างหนึ่งจะต่อลงกราวนด์หรอไฟลบ แสดงว่า คอยล์หรือ L ทำหน้าที่เหนี่ยวนำสัญญาณ

บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 12:38:22 pm »

โครงสร้างโทรศัพท์ 3310,3315,3330,3350
โทรศัพท์ NOKIA ประกอบด้วย 2 ภาคดังนี้

1. ภาคโครงสร้างหลัก BASE BAND

2. ภาควิทยุ RF RADIO FREQUENCY


โครงสร้างหลัก + ภาควิทยุ


1. ภาคโครงสร้างหลัก BASEBAND
ประกอบด้วย
1.1  UI หรือ USER INTERFACE
UI SWITCH  (N400)
หลอดไฟ LED ทำหน้าที่ให้แสงสว่างแก่ปุ่มกดและจอ LCD
มอเตอร์สั่น VIBRATOR
กระดิ่ง BUZZER

1.2 แฟลชคอนเนคเตอร์ FLASH CONNECTOR
MBUS ชุดเชื่อมโยง หรือถ่ายโอนข้อมูลระหว่างมือถือกับคอม ฯ
FBUS TX ชุดเชื่อมโยง หรือถ่ายโอนข้อมูลจากมือถือเข้าคอมฯ
FBUS RX ชุดเชื่อมโยง หรือถ่ายโอนข้อมูลจากคอมฯเข้ามือถือ

 1.3 HEAD SET และ CHARGER CONNECTOR
ชุดหูฟัง หรือชุดเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์กับสมอลล์ทอล์ค
ชุดชาร์จ หรือชุดเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์กับอแดปเตอร์หรือชาร์จเจอร์

1.4  แบตเตอรี่ BATTERY
แหล่งจ่ายพลังงานหลักสำหรับวงจรในโทรศัพท์ทั้งหมด
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 12:52:48 pm »

1.5  CHAPS
ไอซี ชาร์จที่ควบคุมการจ่ายกระแสและประจุไฟฟ้าให้ กับ แบตเตอรี่ถูกควบคุมโดย CCON และ CPU

1.6  SIM CARD
SUBSCRIBER IDENTITY MODULE เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์โทรศัพท์ภายในเป็น CHIP IC MEMORY ขนาดเล็ก แต่เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์เป็นเลขส่วนบุคคลจึงต้องนำ SIM ไปทำการจดทะเบียนหรือ REGISTER ก่อนแล้วจึงนำ SIM ไปใส่ในโทรศัพท์ซึ่ง SIM จะติดต่อกับ CCONT โดยตรงและ CCONT จะเชื่อมโยงหรือ INTERFACE ข้อมูลไปยัง CPU และ SIM จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีไฟเลี้ยง SIM จาก CCONT ชื่อ VSIM โดยทั่วไป SIM มี 2 ชนิด คือ SIM แผ่นใหญ่ ( รุ่นเก่า ) ขนาดเท่าบัตร ATM ใช้ไฟเลี้ยง 5 V. และ SIM ที่ใช้ในปัจจุบันคือ SIM ขนาดเล็ก หรือ PLUG IN SIM ใช้ไฟเลี้ยง 3V. นอกจากนี้ SIM ถูกควบคุมการทำงานโดยขา 2 ของแบตเตอรี่ ( BSI ) ด้วย ถ้าขณะที่ใช้งานขา 2 ของแบตเตอรี่หลุดหรือเคลื่อนจากตำแหน่ง หน้าจอ LCD จะแสดงคำว่า “ INSERT SIM CARD ” ทันที

1.7  COBBA
เป็น ASIC IC หรือ APPLICATION SPECIFIC INTEGRATED CIRCUIT
ทำหน้าที่ เชื่อมโยงหรือ INTERFACE ระหว่าง ภาคเบสแบนด์กับภาควิทยุ แปลงสัญญาณเสียงหรือ AUDIO FREQUENCY (AF) ซึ่งมาจาก ไมโครโฟนผ่านกระบวนการกรองความถี่ต่ำแล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล A/D เข้าสู่กระบวนการแปลงสัญญาณเป็น PCM หรือ PULSE CODE MODULATOR โดย การควบคุมของวงจร DSP หรือ DIGITAL SIGNAL PROCESSING จาก CPU แล้วแปลงให้เป็นสัญญาณ IQ หรือ INPHASE QUADRATURE ส่งต่อให้ HAGAR เราเรียกภาคนี้ว่าภาคส่งหรือ TX
ทำหน้าที่รับสัญญาณ IQ หรือ INPHASE QUADRATURE จาก HAGAR แปลงกลับมาเป็น PCM หรือ PULSE CODE MODULATOR ซึ่งเป็นสัญญาณดิจิตอล D/A ผ่านกระบวนการกรองความถี่ต่ำผ่านวงจรขยายออกสู่ ลำโพงหรือหูฟัง เราเรียกภาคนี้ว่า ภาครับ หรือ RX
ควบคุมหรือชดเชยความถี่อัตโนมัติ หรือ AFC (AUTO FREQUENCY CONTROL) สำหรับ 26 MHZ
ควบคุมวงจรปรับระดับกำลังส่ง (PWC) ใน HAGAR เพื่อให้ HAGAR จ่ายแรงดันไฟไปควบคุม PA หรือ POWER AMP ในระดับที่ต่างกัน สำหรับภาคส่ง หรือ TXC
ทำหน้าที่จัดเก็บเลข IMEI หรือ IMEI REGISTER

1.8  32.768 KHz (SLEEP CLOCK)
เป็นคริสตอล กำหนดสัญญาณนาฬิกา หรือ RTC (REAL TIME CLOCK)
เป็นคริสตอล กำหนดเวลา , ปฏิทิน , ตั้งปลุก , เวลานัดหมาย
เป็นคริสตอล กำหนดเวลา เปิดปิดไฟ LED และเสียงเรียกเข้า
หน่วงเวลาเปิดปิดเครื่อง
ควบคุมสัญญาณจากภาครับโดยเฉพาะ RSSI หรือ RADIO SIGNAL STRENGTH INDICATOR ในภาค RF TEMP SENSOR
ทำงานร่วมกับ CCONT และผลิตสัญญาณนาฬิกาให้กับ CPU

1.9   CCONT
เป็น IC โปรเซสเซอร์ ทำหน้าที่หลายๆ อย่างหน้าที่หลักๆ คือการจ่ายแรงดันไฟหรือกระจายแรงดันไฟไปยังภาคต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาคBASEBAND หรือ ภาควิทยุ (RF)
ควบคุมติดต่อระหว่าง SIM CARD และส่งข้อมูลของ SIM CARD ไป CPU เพื่อให้ CPU ประมวลผล
ตรวจสอบความผิดปกติของการจ่ายไฟและ RESET ระบบการจ่ายไฟ
ควบคุมการชาร์จไฟ โดยการจ่ายสัญญาณ PWM หรือ PULSE WIDTH MODULATOR ให้กับ IC CHAPS หรือ ไอซีชาร์จ เพื่อให้ไอซีชาร์จ จ่ายประจุไฟให้กับแบตเตอรี่ โดยคำสั่งของ CPU
ตรวจสอบชนิดและขนาดของ แบตเตอรี่ ซึ่งมาจากขาที่ 2 ของ แบตเตอรี่ หรือ BSI (BATTERY SIZE INDICATOR)
ตรวจสอบอุณหภูมิของแบตเตอรี่ ขณะที่จ่ายแรงดันไฟและขณะที่ชาร์จ ซึ่งมาจากขาที่ 3 ของแบตเตอรี่ หรือ BTEMP (BATTERY TEMPERATURE)

1.10  ไมโครโฟน MICROPHONE
ทำหน้าที่แปลงความถี่เสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าหรือ AF (AUDIO FREQUENCY)
1.11  หูฟังหรือลำโพง EARPIECE , SPEAKER
ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นความถี่เสียง หรือ AF โดยผ่านวงจรขยายเสียงหรือ AMPLIFIER

1.12  ปุ่มกด KEY PAD
ทำหน้าที่ มอดูเลท หรือผสมสัญญาณความถี่ 2 ความถี่เข้าด้วยกัน หรือ DTMF (DUAL TONE MULTI FREQUENCY) และลักษณะของปุ่มกดก็เป็นแบบแมททริกซ์ MATRIX มีโรว์ (ROW) หรือปุ่มกดวงนอก และ คอลัมน์ (COLUMN) ปุ่มกดวงใน ซึ่งแต่ละ ROW และ COLUMN จะมีความถี่ประจำตัวดังนี้

ตัวอย่าง สมมติว่า กดปุ่ม 1 ก็จะเกิดสัญญาณที่มอดูเลทระหว่างความถี่ 697 Hz กับ 1,209 Hz เป็นต้น และเมื่อความถี่ 2 ความถี่ มอดูเลทกันแล้วก็จะส่งความถี่ไปยัง CPU เพื่อให้ CPU ประมวลผลการกดปุ่มไปแสดงยังที่หน้าจอ LCD และอีกส่วนหนึ่ง จะประมวลผลการกดปุ่มทั้งหมดแปลงเป็นสัญญาณ IQ ไป มอดูเลท หรือ ผสมสัญญาณกับภาคส่ง (TX) ส่งสัญญาณเรียกไปยังเครือข่ายหรือ NETWORK ซึ่งเป็นจุดแรกที่โทรศัพท์ส่งสัญญาณถึงก็คือ BTS หรือ BASE TRANCIEVER STATION หรือเรียกอีกชื่อว่า CELL
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 12:59:18 pm »

1.13  จอ LCD
ทำหน้าที่แสดงผล ซึ่งจอ LCD จะมีชุด INTERFACE ซึ่งประมวลผลโดย CPU และมีแรงดันไปเลี้ยงจอ LCD จาก

บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 01:10:45 pm »




2. ภาควิทยุ RF RADIO FREQUENCY
       ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้
2.1 HAGAR

เป็น IC โปรเซสเซอร์ ซึ่งรวมเอาภาครับและภาคส่งและภาคสังเคราะห์ความถี่ หรือภาคผลิตความถี่ท้องถิ่นเข้าด้วยกันดังมีรายละเอียดดังนี้
 ภาครับ RX (RECIEVER) ทำหน้าที่ รับสัญญาณวิทยุหรือ RF (RADIO FREQUENCY) ซึ่งมาจากเสาอากาศผ่าน ฟิลเตอร์ 1 ผ่านวงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำ หรือ LNA ผ่านฟิลเตอร์ 2 ผ่านบาลัน ซึ่งภาคต่างๆ ที่กล่าวมานี้เรียกว่า ฟรอนท์เอนด์ (FRONT END) จากนั้นก็จะทำการถอดสัญญาณวิทยุ หรือ หักล้างสัญญาณวิทยุ (DEMODULATOR) แปลงให้เป็นสัญญาณ IQ (INPHASE หรือ สัญญาณเฟสร่วม ) และ (QUADRATURE หรือ สัญญาณต่างเฟส 90 ? ) จากนั้นก็จะทำการปรับแต่งรูปสัญญาณ IQ ให้เหมาะสมส่งต่อไปยัง COBBA เพื่อให้ COBBA แปลงสัญญาณ IQ ให้เป็นสัญญาณเสียงออกลำโพงหรือหูฟังต่อไป
 ภาคส่ง TX (TRANSMITTER) เริ่มจากไมโครโฟนที่แปลงสัญญาณเสียงหรือ AF (AUDIO FREQUENCY) ผ่านกระบวนการดิจิตอลแปลงให้เป็นสัญญาณ IQ (INPHASE QUADRATURE) ซึ่งมาจาก COBBA และส่งต่อมายัง HAGAR จากนั้น HAGAR ทำการผสมสัญญาณ IQ กับความถี่วิทยุ หรือ RF (RADIO FREQUENCY) การผสม IQ + RF นี้เรียกว่า MODULATOR แล้วส่งสัญญาณนี้ออกจาก HAGAR ผ่าน BALUN ไปยังวงจรขยาย ( สำหรับระบบ GSM) แล้วไปขยายสัญญาณอีกครั้งที่ PA (POWER AMPLIFIER) สำหรับระบบ 1800 สัญญาณจะออกจาก HAGAR เข้า PA โดยตรงเลยแต่เนื่องจากโทรศัพท์ แต่ละเครื่องอยู่ห่างเสารับสัญญาณไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดระดับของกำลังส่งให้พอเหมาะสมกับระยะห่างของเสา โดยการตรวจสอบ (DETECT) ความแรงของสัญญาณจากภาครับ (RX FILTER CALIBRATION) เพื่อให้ภาครับและส่งสัญญาณสมดุลกันเพราะโทรศัพท์รับและส่งสัญญาณไปยัง เครือข่าย (CELL SITE) เดียวกัน เพราะฉะนั้น PA (POWER AMP) ซึ่งเป็นวงจรขยายกำลังส่ง จึงจำเป็นต้องมีแรงดันไฟไปเลี้ยงในระดับที่ต่างกันเพื่อให้พอเหมาะกับระยะห่างของเครือข่าย (CELL SITE) ซึ่งไฟเลี้ยง PA (VPAC) มาจากวงจรควบคุมกำลังส่ง (PWC) ใน HAGAR โดยมี TXC จาก COBBA ทำหน้าที่เพิ่มหรือลดระดับกำลังส่ง และมี TXP จาก CPU ทำหน้าที่เปิดวงจรควบคุมกำลังส่ง ให้กับวงจร PWC ใน HAGAR กำลังส่งที่ส่งออกจาก PA จะส่งรูปแบบของสนามแม่เหล็กส่งผ่านไปยังสวิทซ์แอนเทนน่า หรือ DIPLEXER ออกเสาอากาศของโทรศัพท์มือถือ ส่งต่อไปยังเครือข่าย (CELL CITE) ต่อไป
ภาคสังเคราะห์ความถี่ (SYNTHESIZER) หรือภาคผลิตความถี่ท้องถิ่น (LOCAL OSCILLATOR) คือภาคที่ผลิตความถี่ LO เพื่อนำความถี่ที่ผลิตหรือสังเคราะห์ได้เข้าไปหาร 2 สำหรับ ( ระบบ 1800 ) และหาร 4 สำหรับ ( ระบบ GSM) ใน HAGAR สำหรับภาครับความถี่ที่ได้ จะนำไปหักล้างหรือถอดสัญญาณวิทยุกับความถี่ที่มาจากเครือข่ายให้เป็นสัญญาณ IQ เราเรียกภาคนี้ว่า DEMODULATOR สำหรับภาคส่ง ความถี่ที่ได้จะนำไปผสมหรือรวมกับสัญญาณ IQ เราเรียกภาคนี้ว่า MODULATOR หัวใจหลักของการผลิตความถี่คือ วงจร PLL (PHASE LOCKED LOOP) หรือ เฟส ล็อก ลูป เป็นระบบป้อนกลับที่บังคับให้วงจรผลิตความถี่ OSC (OSCILLATOR) มีความถี่หรือเฟสของความถี่เปลี่ยนแปลงไปตามความถี่หรือเฟสของสัญญาณอ้างอิงภายนอก เฟส ล็อก ลูป (PHASE DETECTOR)
ภาคเปรียบเทียบ เฟส (PHASE DETECTOR)
ภาคลูปฟิลเตอร์ (LOOP FILTER)
ภาค VCO (VOLTAGE CONTROL OSCLLATOR)
ปรีสเกลเลอร์ (PRESCALER)
     เนื่องจากโทรศัพท์มีการรับส่งสัญญาณในระดับความถี่และช่องสัญญาณที่ต่างกัน ดังนั้นการเข้าช่องสัญญาณหรือกำหนดช่องสัญญาณต้องแม่นยำ จึงจำเป็นต้องใช้ CPU เข้ามากำหนดช่องสัญญาณในภาค BUS CONTROL และที่สำคัญมากก็คือความถี่อ้างอิง 26 MHz ต้องมีความเที่ยงตรงมากด้วยเช่นกันใน IC HAGAR วงจร เฟส ล็อก ลูป (PLL) เป็นแบบปรีสเกลเลอร์ 2 DIVIDER หรือ 2 โมดูลัส ระหว่าง P กับ P+1 ซึ่งวงจรนั้นหารจะถูกควบคุมการหารโดย CPU ปรีสเกลเลอร์ตัวนี้สามารถหารด้วยตัวเลข 2 ตัว ซึ่งต่างกันอยู่ 1 เช่นหาร 10 หรือ 11 เรียกว่า 10/11 แต่สำหรับ HAGAR ใช้ 64/65 สังเกตว่าตัวหารทั้งคู่ต่างกันอยู่1เอาต์พุทของปรีสเกลเลอร์จะป้อนไปให้แก่วงจรนับหรือวงจรเคาน์เตอร์บางครั้งก็เรียกว่าวงจรหารตัวหนึ่งเป็นเคาน์เตอร์หลัก (MAIN COUNTER) ต่อย่อคือ M ส่วนอีกตัวเป็นเคาน์เตอร์เสริม (AUXILARY COUNTER) ตัวย่อคือ A ตัวเคาน์เตอร์เสริมจะเป็นตัวบังคับให้ ปรีสเกลเลอร์หารด้วยตัวหาร (DIVIDER) คือ 64 หรือ 65 เช่นสมมติว่า CPU ป้อนข้อมูล ( ความถี่ ) หรือปรีสเกลเลอร์ใช้ 65 เป็นตัวหาร เมื่อเคาน์เตอร์เสริมหยุดนับ จึงจะส่งคำสั่งไปบังคับให้ปรีสเกลเลอร์เปลี่ยนเป็นหารด้วย 64 ตัวเคาน์เตอร์หลัก (A) ก็เช่นเดียวกันจะค่อยๆ นับถอยหลังไปเรื่อยๆ จนเป็น 0 เมื่อเคาน์เตอร์หลักและเสริม (M) และ (A) นับถึงศูนย์เมื่อใดทั้งคู่จะถูก CPU เซตตัวเลขข้อมูล ( ความถี่ ) เนื่องจาก เคาน์เตอร์เสริมจะต้องนับถึง 0 ก่อน ดังนั้นตัวเลขที่ CPU เซตให้เคาน์เตอร์เสริม (A) จะต้องน้อยกว่าตัวเลขที่ CPU เซตให้เคาน์เตอร์หลัก (M)ตัวเลขที่เซตให้แก่เคาน์เตอร์หลัก (M) และเคาน์เตอร์เสริม (A) เริ่มแรกนั้นให้ปรีสเกลเลอร์อยู่ในภาวะหาร 65 ไปจนกว่าเคาน์เตอร์เสริม (A) จะนับลงเป็น 0 นั่นคือเวลาที่ใช้ในการนับเคาน์เตอร์เสริม ที่เป็น 0 โดยคิดจากจำนวนรอบหรือไซเคิลของ VCO ที่ผ่านไปเท่ากับจำนวน 65 คูณด้วย A ไซเคิลหลังจากนั้นปรีสเกลเลอร์จะถูกบังคับให้เปลี่ยนตัวหารเป็น 64 โดยเคาน์เตอร์เสริม (A) และในขณะที่เคาน์เตอร์หลักนับผ่านเคาน์เตอร์เสริม (A) ไปแล้ว พร้อมกันกับเคาน์เตอร์เสริม เช่นกัน ยังเหลืออยู่อีก (M-A) ไซเคิลก่อนที่นับเป็นศูนย์นั่นคือจะต้องใช้เวลาในการนับเคาน์เตอร์หลัก (M) ให้เป็นศูนย์ต่อไปอีกคิดเป็นจำนวนไซเคิล หรือจำนวนรอบของ VCO ที่ผ่านไปเท่ากับ 64 คูณด้วย (M-A) ฉะนั้นรอบเวลาที่ใช้จึงจำเป็นผลรอบของเวลาทั้ง 2 ข้างต้น คือ

VCO ไซเคิล = 65A + 64(M-A) = 64 M+A

ความถี่ของ VCO จะเท่ากับ (64M+A) เท่าความถี่อ้างอิงหรือ

Fsynth = Fref(64M+A)

     สมการที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นใช้กับ ปรีสเกลเลอร์ 64/65 ซึ่งเป็นชนิด 2 โมดูลัสหรือ DUAL MODULUS DIVIDER และความถี่ที่ได้จะเข้าไปวงจรเปรียบเทียบ หรือ PHASE DETECT ซึ่งต่อเชื่อมกับวงจรชาร์จปั๊ม CHAGE PUMP ซึ่งจะทำการเก็บและคายประจุแรงดันไฟในวงจรลูปฟิลเตอร์ (LOOP FILTER) แล้วจ่ายให้กับ VCO หลังจากนั้น VCO ก็จะผลิตความถี่ 3420-3840 MHz จ่ายผ่านบาลันเข้าไปยังวงจรหาร 2 หรือหาร 4 เพื่อถอดสัญญาณวิทยุ ในภาครับและผสมสัญญาณวิทยุในภาคส่งต่อไป ซึ่งวงจรทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะทำงานได้ก็ต้องมีแรงไฟมาเลี้ยงวงจร และไฟเลี้ยงวงจรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นวงจร ปรีสเกลเลอร์ 64/65 วงจรเปรียบเทียบเฟส วงจรเคาน์เตอร์หรือวงจรนับวงจรหาร 2 และ 4 วงจร ชาร์จปั๊มและ VCO มาจาก CCONT ทั้งหมดและคำสั่งที่กำหนดข้อมูล ( ความถี่ ) ให้กับวงจรเคาน์เตอร์หรือวงจรหาร มาจาก CPU ผ่าน BUS CONTROL ประกอบด้วย DATA CLOCK ENABLE และ RESET


2.2  VCO (VOLTAGE CONTROL OSCILLATOR)

วงจรแรงดันไฟควบคุมการผลิตความถี่หรือความหมายอีกนัยหนึ่งว่าความถี่ที่เกิดจากการจ่ายแรงดันไฟซึ่งแรงดันไฟเปลี่ยนแปลงไปความถี่ก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน เราเรียกว่าเรโซลูชั่น (RESOLUTION) ซึ่งแรงดันไฟที่ผลิตความถี่มาจากวงจร เฟส ล็อก ลูป หรือ PLL ผ่านวงจรชาร์จปั๊มใน HAGAR จ่ายผ่านวงจร LOOP FILTER แล้วจ่ายให้แก่ VCO และ VCO จะผลิตความถี่ที่สูงมากคือ SHF หรือ SUPER HIGH FREQUENCY ความถี่ที่ผลิตออกมาจาก VCO จะได้ความถี่อยู่ในช่วง 3420 MHz ถึง 3840 MHz ส่งเข้าไปใน HAGAR เพื่อหาร 2 สำหรับระบบ 1800 และหาร 4 สำหรับระบบ GSM เพื่อถอดสัญญาณวิทยุ ในภาครับหรือ ดีมอด (DEMODULATOR) และผสมสัญญาณวิทยุใน ภาคส่งหรือมอด (MODULATOR) ต่อไป


2.3   26 MHz หรือ VCTCXO

        ย่อมาจาก (VOLTAGE CONTROLLED TEMPERATURE COMPENSATED CRYSTAL OSILLATOR)

        ทำหน้าที่ 2 หน้าที่

ผลิตสัญญาณนาฬิกา 26 MHz ส่งเข้าไปหาร 2 ใน HAGAR ได้ 13 MHz แล้วจ่ายให้กับ CPU หรือเรียกว่า SYSTEM CLOCK  ( RFC )
ผลิตสัญญาณนาฬิกาเพื่อเป็นความถี่อ้างอิงหรือ FREQUENCY REFERENCE ให้วงจร เฟส ล็อก ลูป PLL ใน HAGAR เพื่อให้วงจร PLL ผลิตแรงดันไฟผ่านวงจรชาร์จปั๊ม (CHARGE PUMP) จ่ายผ่านวงจรลูปฟิลเตอร์ (LOOP FILTER) ให้กับ VCO และ VCO ก็ผลิตความถี่ 3420-3840 MHz ขึ้นมา แต่เนื่องจาก 26 MHz มีการตอบสนองความถี่ที่ไม่คงที่ขึ้นอยู่อุณหภูมิด้วย ดังนั้นจึงจะเป็นต้องมีวงจรมาชดเชยความถี่ให้คงที่ วงจรที่ชดเชยความถี่ให้คงที่ของ 26 MHz เรียกว่า AFC (AUTO FREQUENCY CONTROL) ซึ่งมาจาก COBBA


2.4   สวิทซ์แอนเทนน่า SWITCH ANTENNA หรือ DIPLEXER

ทำหน้าที่แยกสัญญาณระหว่างระบบ GSM และระบบ PCN,DCS หรือระบบ 1800 และแยกสัญญาณจากภาครับ RX และ ภาคส่ง TX ออกจากกัน สำหรับภาคส่งมีไฟเลี้ยง สวิทซ์แอนเทนน่า จาก HAGAR ด้วย คือ TX VGSM และ TX


2.5  ฟิลเตอร์ หรือ แบนด์พาสฟิลเตอร์ หรือ SAW ฟิลเตอร์

SAW หรือ SURFACE ACOUSTIC WAVE เป็นฟิลเตอร์ที่มี 2 ระบบ อยู่ในตัวเดียวกันหรือเรียกอีกชื่อว่า DUAL SAW FILTER ทำหน้าที่กรองสัญญาณและกำหนดความถี่ให้ตรงตามกำหนด ในระบบ GSM จะกำหนดความถี่ 925-960 MHz ส่วนระบบ 1800 จะกำหนดความถี่ 1805-1880 MHz ในภาครับจะมีอยู่ 2 ตัว ส่วนในภาคส่งจะมีเฉพาะระบบ GSM เท่านั้นเป็นอุปกรณ์



2.6   LNA หรือ LOW NOISE AMPLIFIER

เป็นวงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำ ซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์ เนื่องจากโทรศัพท์มือถือรับสัญญาณจากเสาส่ง หรือ (CELL) ไม่เท่ากันเพราะบางเครื่องอยู่ใกล้เสาบางเครื่องอยู่ไกลเสาเครื่องที่อยู่ใกล้เสาก็จะรับสัญญาณได้ดีกว่าเครื่องที่อยู่ไกลเสาส่ง ดังนั้นเพื่อการรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องปรับระดับการรับสัญญาณให้ใกล้เคียงกัน โดยมีวงจรควบคุมการรับสัญญาณเรียกว่า RFC หรือ RX FITER CALIBRATION ซึ่งจะไปควบคุมการจ่ายแรงดันไฟให้กับ LNA ในสภาวะที่เหมาะสม เช่น ถ้าเครื่องอยู่ไกลเสามากก็จะเพิ่มแรงดันไฟให้มากขึ้น เพื่อให้ LNA รับสัญญาณได้ดีขึ้น ในทางกลับกันถ้าเครื่องอยู่ใกล้เสา ก็ลดแรงดันไฟไปเลี้ยง LNA ให้น้อยลง เพื่อให้รับสัญญาณได้พอดี ไฟที่เลี้ยงวงจร LNA เราเรียกอีกชื่อว่า AGC หรือ AUTO GAIN CONTROL เป็นไฟมาจากภาค RX CONTROL ใน HAGAR ซึ่งถูกควบคุมโดย RXC จาก COBBA


2.7  บาลัน BALUN TRANSFROMER

คือหม้อแปลงเกี่ยวกับความถี่ ที่ทำหน้าที่กำหนดความสมดุลของสัญญาณให้เป็นบวกและลบ เพื่อให้มีความเหมาะสมทั้งสัญญาณทางด้านเข้าและออก สำหรับภาครับ สัญญาณจะเข้ามา 1 เส้น และออก 2 เส้น คือ บวกและลบสำหรับภาคส่ง สัญญาณจะเข้ามา 2 เส้น และออก 1 เส้น และมีไฟจาก CCONT มาเลี้ยงบาลันด้วยคือ ไฟ VTX หรือ




บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 01:12:52 pm »

ไอ ซี

IC ย่อมาจาก Integrated Circuit หมายถึง วงจรรวม โดยการนำเอา ไดโอด , ทรานซิสเตอร์ ,ตัวต้านทาน , ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิพ (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดมากๆ สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ความหนาแน่นขององค์ประกอบวงจร ที่บรรจุลงใน IC นี้ มีตั้งแต่หลายสิบตัวซึ่งเรียกว่า SSI (Small Scale Integrated) จนกระทั่งถึงหลายสิบล้านตัว ซึ่งเรียกว่า ULSI (Ultra Large Scale Integrated)


ข้อดีของ IC คือ ไอซีจะรวมวงจรที่ซับซ้อนเข้ามาเป็นวงจรเดียวกัน ทำให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะทำให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็กและเบาลงมาก วงจรในเครื่องจะถูกแบ่งเป็นบล็อกที่มีหน้าที่หลักเฉพาะ วงจรในแต่ละบล็อกจะถูกทำเป็น IC ทำให้การประกอบวงจรทั้งหมดทำได้ง่าย โดยเพียงต่อ บล็อกหรือ IC เหล่านี้เข้าด้วยกันเท่านั้น จึงทำให้การต่อสายน้อยลง จุดบัดกรีน้อยลง และจุดเสียที่จะเกิดก็น้อยลงด้วย

       การผลิต IC ชนิด Monolithic ซึ่งสร้างองค์ประกอบวงจรทั้งหมดลงบนแผ่นผลึกแผ่นเดียว ก็สามารถทำได้พร้อมกันหลายร้อยหลายพันตัวบนแผ่นผลึก เวเฟอร์ (Wafer) แผ่นเดียว โดยการสร้างแบบ IC ที่เหมือน ๆ กันลงบนแผ่นเวเฟอร์ทีเดียว แล้วจึงตัดแบ่งเป็น IC แต่ละตัวในภายหลัง ทำให้สามารถ ผลิต IC ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกันและราคาของ IC ก็จะถูกลงมาก IC อาจจะยังไม่สามารถรวมเอาองค์ประกอบวงจร ทุกชนิดเข้ามาในตัวมัน ได้หมด วงจรที่มีองค์ประกอบของวงจรขนาดใหญ่ เช่น คอยล์ หรือ ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ที่ใช้ในการขับกระแสขนาดใหญ่ก็ยังต้องนำมาต่อที่ด้านนอก ของ IC อีกครั้งเพื่อให้วงจรทั้งหมดทำงานได้อย่างถูกต้อง


       IC แต่ละตัวจะมีพื้นที่ในการสร้างวงจรประมาณ 20-200 ตารางมิลลิเมตร บน IC นี้จะรวมเอา ไดโอด , ทรานซิสเตอร์ , ตัวต้านทาน , ตัวเก็บประจุ บีบ รวม กันบนพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ จำนวนองค์ประกอบของวงจรจะเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ถ้าจำนวนของวงจรมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 ถึง 100,000 ตัว ก็เป็น LSI ถ้าจำนวนตั้งแต่ 100,000 ถึง 10,000,000 ตัวก็เป็น VLSI ซึ่งเป็นได้แก่หน่วยความจำที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ถ้าจำนวนมากกว่า 10 ล้านตัวก็เป็น ULSI  IC หน่วยความจำชนิด D-RAM ขนาด 16 M bit จะมีจำนวนองค์ประกอบของวงจรประมาณ 3.5 ล้านตัว และชนิด D-RAM ขนาด 64 M bit ซึ่งมีความ หนาแน่นที่สุดในปัจจุบัน จะมีจำนวนองค์ประกอบประมาณ 140 ล้านตัว

สำหรับโทรศัพท์มือถือ IC ที่ประกอบในโทรศัพท์มือถือเราเรียกว่า BGA/CSP หรือ BGA  Ball Grid Array/Chip Scale Packaging (BGA/CSP) หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า IC บอล เวลาทำขาใหม่เราจะเรียกกันว่า การบอลขา ซึ่งลักษณะของ IC จะมีขาอยู่ด้านล่างของตัว IC มีลักษณะของขาคล้ายลูกฟุตบอลครึ่งลูกเวลาถอดออกจากแผงวงจรต้องใช้ลมร้อนเป่าออกไม่สามารถใช้หัวแร้งถอดออกได้เพราะขา IC จะอยู่ด้านล่าง

แฟลช FLASH
โทรศัพท์มือถือจะมีหน่วยความจำอยู่ในเครื่องทุกเครื่อง ตัวอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำ ที่บรรจุข้อมูลเอาไว้นั้น เราเรียกว่า " ไอซี แฟลช " การที่นำเอาอุปกรณ์ประเภท " แฟลช " มาใช้นั้นเนื่องจากว่าอุปกรณ์ประเภท Micro Processor IC ถูกออกแบบให้มีความสามารถสูงมากขึ้น และมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น จึงต้องการเวลาในการเข้าถึงข้อมูลที่ต่ำ ( Access Time) คือใช้เวลาในการเข้าหาข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งในโทรศัพท์มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานที่รวดเร็ว จึงจำเป็นต้องนำ " แฟลช " มาใช้ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น

ข้อมูลเกี่ยวกับ FLASH
1. เป็น ไอซี ความจำประเภทหนึ่ง ( IC Memory)

2. ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าไว้ในตัวมันเองได้

3. เป็นลูกผสมระหว่าง EEPROM กับ Nonvolatile

       3.1 EEPROM ( Electrically Erasable Programable Read Only Memory )

เป็น IC ที่มีลักษณะเด่นคือรวม ROM กับ RAM เข้าด้วยกัน
เป็น IC ที่บันทึกและลบ แล้วบันทึกใหม่ได้โดยสัญญาณไฟฟ้า
สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้ประมาณ 10,000 ครั้ง
ขนาดความจุ 2-32 KB
เบอร์ของ EEPROM ขึ้นต้นด้วย 28 ตัวเลข 2-3 หลักท้ายเบอร์จะเป็นเลขบอกขนาดความจุ
       3.2 Nonvolatile

เป็น ไอซี ความจำที่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลทับได้ตลอดเวลา
สามารถรักษาข้อมูลให้คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะเขียนข้อมูลใหม่ทับเข้าไป
แม้ไม่มีไฟเลี้ยงอุปกรณ์ ก็ยังสามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ เพราะว่าภายใน Nonvolatile IC จะมีแบตเตอรี่ LI-ON จะเป็นตัวป้อนไฟเลี้ยงอยู่ ทำให้อุปกรณ์มีไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาแม้ปิดเครื่องโทรศัพท์
ไฟสำรองเลี้ยงวงจร LI-ON ในตัว IC มีแรงดันไฟ +3V มีอายุการใช้งานนาน 10 ปี
4. เป็น IC ที่มีความจำคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมีการเขียนข้อมูลใหม่เข้าไป

5. การลบและเขียนข้อมูลใหม่จะต้องเป็นไปตามกำหนดในรูปแบบของ อัลกอริทึ่ม Algolithm

6. สามารถลบและเขียนข้อมูลได้เป็นบล๊อกบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้ใช้งาน

7. เป็นหน่วยความจำที่มีค่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) น้อยมาก ทำให้นำไปใช้งานได้ความเร็วที่สูง

8. ไม่จำเป็นต้องมีการ Refresh

9. ค่าความจุของ แฟลช จะมีค่าเริ่มต้นที่ 32 - 256 KB

10. หมายเลขชื่อเบอร์จะขึ้นต้นด้วย 28F

บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 01:17:37 pm »

เรียนรู้หลักการพื้นฐานก่อนครับ  ศึกษาบล็อกไดอะแกรมก่อน ครับ หากรู้หลักการ  การทำงมัน การซ่อมก็จะไม่ใช่เรื่องยากครับ  หากท่านใดมีความรู้ก็ช่วยกันลงด้วยครับ     เดี่ยวผมจะมาต่ออีกครับ
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 01:41:45 pm »

  Smiley Smiley Smiley Lips Sealed
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 03:23:04 pm »

อ่านจบแทบซ่อมได้เลยนะเนี่ย Lips Sealed
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
sayam
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 211


ไทยช่วยไทย

s_shangla@hotmail.com
เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2008, 09:30:59 pm »

เมื่อวานไปหาร้านเรียน 15 วัน หมื่นบาท แถมตอนยกครูต้อง ซีวาส ครับ  Sad
บันทึกการเข้า
yossun
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 34


« ตอบ #15 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2008, 09:20:41 pm »

 Smiley Smiley Lips Sealedขอบคุณมากครับที่เสียสละเวลานับเป็นบุญกุศล
บันทึกการเข้า
zalenk
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2008, 01:20:41 pm »

ขอบคุณมากเลยครับเยี่ยมจริงๆทำให้ผมได้รู้อะไรอีกมากมายเลยครับ จากที่ไม่เคยรู้มาก่อนครับ Cheesy
บันทึกการเข้า
Tanaitp926
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: มีนาคม 20, 2008, 01:49:55 pm »

อุปกรณ์ข้างในมันออกจะเล็กๆอ่ะ และกาวที่เขาทาไว้ใต้ตัวไอซีแต่ละตัวก็แน่นมาก  เอาออกแทบไม่ได้  หรือใครเอาออกได้ก็ต้องลุ้นอีกว่าลายจะขาดหรือเปล่า ส่วนมากก็ซ่อมได้เล็กๆน้อยๆอ่ะนะ  เช่น  กระดิง   ลำโพง  ไมค์  ล้างเครื่องในกรณีน้ำเข้า  ชาต์ไฟไม่เข้า  กดปุมหน้าเครื่องไม่ได้  อาการปลานกลางก็พอซ่อมได้  แต่ว่าก็ต้องพึงเครื่องมือที่ราคาแพง ( คอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆของมือถึอ )  ลงทุ่นหลายหมื่อน  กับมานั่งซ่อมเครื่องที่เรียกราคาแพงไม่ได้  ไม่งันลูกค้าไม่ซ่อม  อาการหนักก็ต้องโยนทิ้ง  อะไหร่ก็ต้องหาบอรด์อื่นมายำ  เวลาเช็คตัวเสียก็ลำบาก  ถ้ามันหลวมๆ หลุด  ก็พอจะเป่าให้มันติดได้  และท่านยังจะซ่อมมันอีกหรือ  เห็นแถวบ้านเขาซ่อมกันราคา  50 บาท  หรือ 100  ถ้าเป็นจอ  ก็ประมาณ 500 บาท ถ้าสัญญาณไม่มีก็  100-150 บาท  ถ้ากระดิ่งไม่ดังก็  50-100  อื่น ๆ   ก็ประมาณ  50-150  บาท  ดูแล้วรวมๆ  ก็เรียกราคาได้เต็มที่ไม่เกิน 500 บาท  อาจเกินได้ในกรณีที่เป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ  แต่ว่าส่วนมากเขาก็ซือมือสองมาทั้งนั้น  และมีอีกพวกคือพวกรวยๆ  เขาเล่นมือหนึงกันละพอตกรุ่นก็เป็นของมือสอง  พอเสียคนซือมือสองก็ไม่อย่ากซ่อมแล้ว  หาเครื่องที่รุ่นต่ำกว่าไปใช้ไม่ค่อยมีปัญหาดีกว่า  เป็นช่างซ่อมก็ต้องแบบนี้ล่ะ  แต่ว่าผมตอนนี้มองเป็นอาชีพเสริมนะ  แต่มองแล้วอาชีพนี้ไม่คุ้มกับการลงทุ่นด้านเครื่องมือไม่เหมื่อนซ่อม TV มิตเตอร์ซันว่าห่วยๆเครื่อง  ราคาประมาณ 150-250 บาท  กับหัวแรงราคา  20-100  บาท  ไม่ต้องถึงขั้นเฮกโกหลอก หรือพวกราคาสุงๆ  กับที่ดูดๆตะกัว  60-130  บาท  และตะกัวมวนล่ะ  25-30  บาท ไขควงด้ามล่ะ  40-80  บาท  และก็อ่ะไหร่  (อันนี้ ตามตรวจเช็คว่าเสีย )  ถ้าจะให้ดีมีคีมตัดซักนิด   รวมๆแล้วราคาเครื่องมือไม่เกิน  1000 บาท  ซ่อมทีวี  21 นิ้ว  ได้ค่าซ่อมอย่างต่ำก็ 600  อย่างมากๆหน่อยก็ 800  ร้อย  ซ่อม  2  เครื่อง  ก็ได้ค่าเครื่องมือคืนและ  แต่โทรศัพท์หย่อ  กว่าจะได้ค่าเครื่องมือคืน  หืดขึ้นคอ  โชคดีนะเนียว่าเรียนซ่อม ทีวีมา  แอบยิ้มอยู่ในใจ  แต่ว่าถ้าใครลงทุ่นซ่อมโทรศัพท์ไปแล้ว  ก็สู่ๆนะ  เพระตัวผมเองก็เคยคิดจะซ่อมมันโทรสัทพ์
บันทึกการเข้า
peera-500 ♥
วีไอพี
member
***

คะแนน116
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1329


ไม่ชอบคนโกง เอารัดเอาเปรียบ รักความยุติธรรม


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: เมษายน 30, 2008, 11:26:18 am »

 มันไม่ง่ายอย่างที่คิด อุปกรณ์ มันตัวเล็กมาก หัวเเร้งธรรมดา คงถอดไม่ได้ เล็กมากๆ เลย คิดจะถอด ic ไปกันใหญ่
บันทึกการเข้า
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #19 เมื่อ: เมษายน 30, 2008, 12:35:56 pm »

อุปกรณ์ข้างในมันออกจะเล็กๆอ่ะ และกาวที่เขาทาไว้ใต้ตัวไอซีแต่ละตัวก็แน่นมาก  เอาออกแทบไม่ได้  หรือใครเอาออกได้ก็ต้องลุ้นอีกว่าลายจะขาดหรือเปล่า ส่วนมากก็ซ่อมได้เล็กๆน้อยๆอ่ะนะ


ถ้าทำถึงระดับหนึ่ง (ถ้ามีการฝึกฝนและความพยายามพอ) ก็สามารถทำได้ 
คนที่ทำได้ค่าซ่อมหลักพันขึ้นทั้งนั้นแหละครับ (นี่แค่งานส่งไม่ได้หน้าร้าน)
ไม่ใช่แค่หลักสิบหลักร้อยอย่างที่คิด  ที่วงการมือถือเป็นแบบทุกวันนี้ (ไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ)
ก็เพราะมีพวกมาอาศัยทำเป็นแค่คนซ่อมมือถือ..ไม่ได้เป็นช่างซ่อมมือถือโดยอาชีพ
บันทึกการเข้า
peera-500 ♥
วีไอพี
member
***

คะแนน116
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1329


ไม่ชอบคนโกง เอารัดเอาเปรียบ รักความยุติธรรม


อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: เมษายน 30, 2008, 10:11:06 pm »

สนใจและ  อยากขอศึกษาดูงานที่ร้าน ได้ไหม   
บันทึกการเข้า
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2008, 02:37:06 pm »

ตอนนี้ผมก็ยังหัดซ่อมเหมือนกัน  ใครมีหลัการซ่อมหรือเทคนิคอยากให้ช่วยกันแบ่งปันหน่อยนะครับ เพื่อนๆๆจะได้ความรู้นะครับ  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
max
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 07:49:44 pm »

ใครที่คิดว่าซ่อมมือถือไม่คุ้ม คิดนะครับ บางครั้งเครื่องเสียมาทางด้าน ซอร์ฟแวร์มา ลงโปรแกรมไม่ถึง 20 นาที เก็บเงินได้ 1500 เครื่องไม่มีสัญญาณมา เก็บ อย่างต่ำ 600 จอสีรุ่นธรรมดา เปลี่ยนสายแพร 600 -หลักพัน เครื่องมือมากก็จริง แต่งานไม่หนักไม่ต้องมาปัดผุ่น ดูดฝุ่น เครื่องติดล็อกมาแก้ 500 บาท ผมอยู่ชนบทครับ วันละ 10000 ผมก็ได้มาแล้วครับ บางเครื่อง ร้านอื่นซ่อมไม่ได้เราซ่อมได้ก็ได้เงินครับ ผมทำมา 5 ปีผมออกรถป้ายแดงได้ครับ ราคาอะไหร่ก็ไม่แพงกว่าทีวีเท่าไหร่ ไม่เปลืองพื้นที่ร้านด้วยครับ ไม่เสี่ยงไฟฟ้าแรงสูงเพราะไฟที่ใช้อย่างมาก 3.8-5 โวล์ครับ ส่วนอุปกรณ์มันแพงก็จริงแต่ซื้อครั้งเดียวกินยาวครับ แค่ ลวดทองแดง 1 ม้วน ผมใช้มา 5 ปี ยังไม่หมด เก็บเงินได้ไม่รู้เท่้าไหร่ (ต่อลาย) ส่วนอย่างอื่นก็กำไรงามนะครับ ลองดูสิครับแล้วจะรู้ ส่วนเรื่องอะไหล่เม็ดเล็กๆ ส่วนมากไม่เสียหรอกครับ จะเสียก็พวก ซีคอน ฮาร์ก่า คอบบร้า อะไรพวกนี้ครับ หัดบอลขาทำขาให้เก่งก็สะบายแล้วครับ
บันทึกการเข้า
tom ele
member
*

คะแนน62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1306


ช่างนอกเวลาเรียน

tom_phakdee@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 10:53:52 am »

ซ่อมอยู่แถวไหนครับ  ท่านมีข้อมูลอะไรดีๆมาแบ่งปันเพื่อนสมาชิกบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า

ช่างนอกเวลาเรียน ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่าง แต่เป็นช่างมืออาชีพ
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช รุ่นสุดท้าย
Bel80
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11


« ตอบ #24 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2008, 09:21:35 am »

ไม่อยากเชื่อยังมีคนใจดีอย่างนี้อยู่ (อย่างนี้แลเขาถึงเรียกว่าช่างมีน้ำใจให้กันเสมอ) HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
weber
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #25 เมื่อ: กันยายน 13, 2008, 09:53:22 pm »

ขอบคุณแทนคนไม่รู้อีกหลายล้านคนจ้า
บันทึกการเข้า
surachat sunonchai
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12


« ตอบ #26 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2008, 09:38:13 am »

ขอบคุณมากๆครับ อย่างน้อยถึงจะซ่อมไม่ได้ก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรครับ สำหรับผมบอกว่าดีมากๆครับสำหรับข้อมูลการเรียนรู้ คงมีคนสนใจมากแต่ไม่รู้จะหาแหล่งความรู้ได้จากที่ใด ขอบคุณอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
surachat sunonchai
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12


« ตอบ #27 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2008, 09:26:15 pm »

มีความรู้ดีมาก อ่านแล้วทำไม่ได้หรอกครับ แต่ดีมากๆเนื้อหาสาระอย่างน้อยถ้าติดตามบ่อยๆอาจแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
golfzazzz
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #28 เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 12:24:52 pm »

ชักอยากำเป็นอาชีพเสริมแล้วสิ   ตั้งแต่จบมาความรู้ฝุ่นเกราะหมดแล้ว

สงสัยต้องไปค้นตำราเก่าๆ  ดูมั่งแล้วหละ  ช่วงนี้  เศรษฐกิจไม่ดี  คนไม่ค่อยซื้อของใหม่กันน่ะเท่าที่เห็น

เพราะดูจากตัวผมเอง  เดียวนี้อะไรซ่อมได้ก็ซ๋อมเองจนไม่ไหวค่อยส่งร้านอะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!